Bambang Brodjonegoro รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอินโดนีเซียประกาศว่าบริษัทต่างชาติที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตแก่ประชาชนในอินโดนีเซียต้องทำการเสียภาษีจากรายได้แก่รัฐ มิฉะนั้นอาจถูกบล็อคการให้บริการ หรือจำกัดแบนด์วิดท์ในประเทศ
Brodjonegoro อธิบายว่าบริษัทต่างชาติอย่าง Google, Facebook หรือ Twitter ต้องดำเนินการจัดตั้งสาขา หรือตั้งบริษัทลูกเป็นนิติบุคคล พร้อมทั้งเสียภาษีตามข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยเรื่องการประกอบธุรกิจของบริษัทต่างชาติในอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับที่บังคับใช้กับกลุ่มบริษัทน้ำมันที่เข้าไปลงทุน
ด้าน Ismail Cawidu โฆษกกระทรวงการสื่อสารของอินโดนีเซียได้ชี้แจงเกี่ยวกับกฎหมายนี้ว่าภาครัฐกำลังหารือรายละเอียดกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศใช้กฎหมายในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ โดยจะมีผลบังคับใช้ครอบคลุมทั้งบริษัทที่ให้บริการสตรีมมิ่ง, บริการสนทนาข้อความต่างๆ รวมทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์
ที่ผ่านมาแม้ว่า Facebook และ Twitter ก็มีการตั้งสำนักงานตัวแทนบริษัทในอินโดนีเซีย ในขณะที่ Google เองก็มีการตั้งตัวแทนเพื่อดำเนินการทางกฎหมาย แต่บริษัทไอทีเหล่านี้ก็ไม่ได้มีการจ่ายภาษีให้แก่ภาครัฐ เนื่องจากการทำธุรกรรมทั้งหลายนั้นตัวเงินจะถูกส่งไปยังสำนักงานนอกประเทศโดยตรง
กล่าวถึงสาเหตุของการผลักดันกฎนี้ว่า รัฐบาลอินโดนีเซียสูญเสียรายได้ที่พึงได้รับจากบริษัทเหล่านี้เป็นเงินมหาศาล โดยกระทรวงการสื่อสารของอินโดนีเซียประเมินว่าในปี 2015 มูลค่าเงินในธุรกิจโฆษณาผ่านสารพัดบริการออนไลน์นั้นสูงถึง 800 ล้านดอลลาร์ แต่ทั้งหมดนั้นไม่ถูกนำมาคิดภาษีเป็นเงินเข้ารัฐเลย
ประเทศอินโดนีเซียนั้นถือว่ามีความสำคัญต่อธุรกิจของบริษัทไอทีหลายราย แม้จะมีจำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตแค่ 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรทั้งหมด 260 ล้านคน (ซึ่งมากเป็นอันดับ 4 ของโลก) ก็ตาม กระนั้นอินโดนีเซียก็ยังเป็นประเทศที่มีผู้ใช้งาน Facebook มากเป็นอันดับ 4 ของโลก และยังเป็นประเทศที่ถูกมองว่าเป็น "เมืองหลวงของ Twitter" เพราะเป็นประเทศที่มีกิจกรรมบน Twitter เกิดขึ้นมากที่สุดในโลก
พร้อมกันนี้ทางการอินโดนีเซียยังคาดหวังผลประโยชน์อีกเรื่องหนึ่งจากกฎหมายใหม่ที่จะบีบเหล่าบริษัทไอทีต่างชาติให้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทตัวแทนจดทะเบียนอย่างถูกต้อง นั่นก็คือเรื่องการสอดส่องดูแลเนื้อหาบนแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการเหล่านี้ซึ่งน่าจะทำได้อย่างสะดวกมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสื่อลามกอนาจาร และเนื้อหาที่อาจมีความเกี่ยวโยงกับเหตุก่อการร้าย
Comments
อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ เฮ! บางทีขอเค้าดีๆก็ได้ม้างง
อันนี้ เห็นด้วยนะครับ
มาเก็บค่าโฆษณา มาหากิน ก็ต้องมาจ่ายภาษีแหละ
มีอย่างที่ไหน หากินเสร็จ รายได้ที่เกิดจากคนในประเทศ ดันเอาไปจ่ายภาษีนอกประเทศ
หลักการนี้ จีนก็เลยเอามาใช้ไงครับ
แต่ไม่รู้ว่าเอาเข้าจริงๆ มันจะมีจุดลงจัวที่จรงไหน
เห็นด้วย
อย่างนั้นเวปหมูหมากาไก่ ก็ต้องเสียภาษีสิ คนอินโดเปิด blognone ที่นี่ก็ต้องเสียภาษีให้ เงี้ยะเหรอ
ถ้า blognone ดังมากในอินโด
มีบริษัทจากอินโดจ่ายเงินโฆษณามุ่งเป้าไปที่คนอินโดให้ blognone
ก็น่าจะเสียภาษีนะครับ
เป็นผมยอมให้ blognone ถูก block ไปดีกว่า เดี๋ยวเขาก็ vnp มุดมาดูกันได้เอง
ถ้างั้นผมว่าก็ต้องออกกฎให้ชัดเจนแหละครับ ว่าต้องเข้าเงื่อนไขใดถึงจะต้องจ่าย ดังมากใช้อะไรวัดว่าดังหรือไม่ดัง
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ผมว่าประเด็นไม่ได้อยู่ที่ดังหรือไม่ดัง แต่อยู่ที่รายได้มากกว่าน่ะครับ ถ้ามันเยอะมากก็คงต้องหาทางเก็บให้ได้
ผมว่าเว็บมันก็ต้องมีหลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการชำระภาษีเหมือนคนครับ แต่มองอีกแง่คือรัฐพยามใช้กลไกลนี้ควบคุมความอิสระของอินเตอร์เน็ตให้มีอยู่ในมือรัฐบาลเหมือนกัน
คือผมเห็นด้วยนะครับ แบบนี้เหมือนเงินออกนอกประเทศฟรีๆเลย หากินกับคนในประเทศเค้าแต่ไม่ได้เสียภาษีแบบเนี่ยผมว่าไม่ควรซักเท่าไหร่
แล้วในไทยล่ะเก็บได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยไหม??
กระนั้นอินโดนีเซียก็ยังเป็นประเทศที่มีผู้ใช้งาน Facebook มากเป็นอันดับ 4 ของ และยังเป็นประเทศที่ถูกมองว่าเป็น "เมืองหลวงของ Twitter"
ตรงประโยคที่ว่า "มากเป็นอันดับ 4 ของ . . . ." ของอะไรหรอครับ มันจบประโยคแบบงงๆ รบกวนอธิบายเพิ่มที่ครับ ^__^
บล็อก => บล็อค
แบนด์วิธ => แบนด์วิดท์
เป็นอันดับ 4 ของ ?
เห็นด้วยนะครับ ถ้าประชากรเยอะแล้วสูญเสียเวลาไปกับสิ่งใดคิดเป็นแมน-อาวได้เลย
เห็นด้วยครับ มองว่าก็เหมือนธุรกิจอื่นๆ เช่น โฆษณา ขาย app
*ไม่ทราบจริงๆว่าเวลาเราซื้อ app นี่ apple, google มีเสียภาษีให้รัฐรึเปล่าครับ (หรือเราเสีย vat รึเปล่า)
แต่บางบริษทอาจไม่ง้อบางประเทศที่มีใช้งานน้อยๆก็ได้ แต่ก็ถือว่าไม่ทำตามกฎหมาย ถึงคนใช้จะลำบากก็ตาม
แทนที่จะหาประโยชน์ด้วยการชักชวนให้มาลงททุนในประเทศพัฒนาโครงสร้างอินเตอร์เน็ต มีโครงการช่วยการเข้าถึงต่าง มาบอกบังคบจ่ายภาษีซะ ยิ่งอินโดคอรัปชั่นนี้เยอะนะครับอันดับพอๆกับไทยนั้นการใช้เงินไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยการเก็บภาษียิ่งเป็นการอุ้มชูคอรัปชั่น ซะป่าวๆ พอๆกับไทยนั้นแหละ
อ่านแล้วคือ...จะบอกว่าถ้าประเทศไหนคอรับชันเยอะ...เราไม่ควรจ่ายภาษีเหรอครับ?
การเก็บภาษีเยอะเป็นการสนับสนุนการคอรัปชัน...หมายความว่าแบบนี้หรือครับ?
ขออภัยที่ถาม...เนื่องจากไม่ค่อยได้เจอแนวคิดแบบนี้...หรือผมอาจจะเข้าใจผิด
อืม ผมกลับเจอแนวคิดแบบนี้บ่อยแหะ ประมาณว่า ไม่จ่ายภาษีหรอก เดี๋ยวมันก็เอาไปโกงกินบ้านเมือง
เอ๊าาาาาา เห้ย ว่าคนอื่นโกงตัวเองนี่ทำก่อนเลย
พวกธุรกิจสีเทานี่จะกลายเป็น hero เลยนะครับ ... เพราะถือว่าช่วยชาติไม่เสียภาษีคือการไม่สนับสนุนการ corruption
ผมเลยค่อนข้างงง...ว่าตรรกะแบบนี้มันโยงกันมาได้ยังไง
หมายถึงไม่ควรเสียภาษีหรือเปล่าครับ
ผมเห็นด้วยครับ แต่ยังงงเรื่องการคิดภาษีว่าควรคิดแบบไหน
1.คิดจากยอดเงินที่ออกจากประเทศ เช่นคนในประเทศลงโฆษณา หรือซื้อสินค้าบริการของเว็บนั้นๆ
2.คิดจากรายได้ที่ facebook ได้จากการโฆษณาที่เกิดขึ้นในประเทศนั้นๆ
เพราะสองแบบนี้มันจะต่างกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่นคนอินโดไม่มีใครลงโฆษณาบน facebook เลย แต่ใช้ facebook เยอะมาก(อันนี้แค่ตัวอย่างนะครับ) ถ้าคิดแบบที่ 1 ก็จะไม่มีภาษีเลย แต่ถ้าคิแบบที่ 2 ก็จะได้ภาษีจากที่คนอินโดดูโฆษณา ถ้าจะคิดทั้งสองแบบก็ไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นจ่ายภาษีซ้ำซ้อนอีก
ทดลองติดตั้ง 3 OS | Windows Ubuntu Android
รายได้จริงๆ เกิดจากการที่ agency โฆษณาจ่ายให้บริษัทพวกนี้ ... ผู้ใช้ไม่ได้จ่ายเงินเอง แค่ใช้บริการฟรี
... พอคิดเอาไปคิดเรื่องภาษีก็ยากจริง ๆ นั่นแหละ อาจจะคิดได้เฉพาะส่วนที่เป็น agency indo เป็นคนจ่ายให้หรือเปล่า ?
แต่เดี๋ยวเขาคงคิดหาวิธีได้เองล่ะครับ หน่วยงานพวกนี้เก่งเรื่องหาวิธีทำให้คนอื่นเสียเงินอยู่ละ
ขอบคุณครับ ผมก็เจ้าใจเรื่อง agency ผมอาจจะอธิบายไม่ดี อย่างตัวอย่างที่ผมยกมาคือผู้ใช้เป็นคนเปิดดูโฆษณาในอินโด แต่ agency ในอเมริกาเป็นคนจ่ายเงิน เงินตรงนี้ควรจะเสียภาษีทีมอินโด หรืออเมริกา
เฮ้อ ปวดหัวเลย ไม่รู้จะไปคิดแทนเค้าทำไม 555
ทดลองติดตั้ง 3 OS | Windows Ubuntu Android
มีตัวอย่างครับ คิดว่าตามโมเดลประเทศอื่นได้
https://www.facebook.com/business/help/133076073434794
https://support.google.com/adwords/answer/2375370?hl=en
อันหลังจะเห็นว่ามีประเทศเยอะมากที่คิด tax แล้ว ไม่มีไทยให้เลือกเลย
มองขาดมากๆ ประเทศกูล่ะ ?
แล้วพวก Line หรือ WeChat ล่ะ? กรณีนี้ก็ด้วยเหมือนกันใช่ไหม
แล้วBaiduที่ขนข้อมูลกลับไปอย่างมหาศาลละ น่าจะหาวิธีเก็บบ้างนะครับ
ถ้าไม่จ่ายก็Block Baidu ไปเลย ถึงคอมติดHAO123ก็ไม่ขึ้นหน้าเว็บHAO123อะไรอย่างนี้
อินโด Block Google ได้ แต่ใครละที่เสียประโยชน์ ก็คนอินโด กับ Google เอง มันไม่น่าคุ้มเท่าไหร่นะผมว่า
คนอินโดซื้อกระเป๋านำเข้าจากยุโรป ถามว่าบริษัทผลิตกระเป๋าต้องจ่ายภาษีให้รัฐบาลอินโดไหม ผมคิดว่าไม่นะ แต่ผู้ซื้อเป็นคนเสียภาษีนำเข้าเอง
บริการ Search Engine ต้นกำเนิด มันอยู่ตรงไหนจริงๆก็ควรเสียภาษีที่นั้น ไม่งั้นจะเจอภาษีซ้ำซ้อน ซึ่งบริษัทใหญ่น่าจะโยนค่าภาษีนี้ให้คนอินโดต่อไป จริงๆต้องดูกฏหมายกับอัตราภาษีทั้ง 2 ประเทศประกอบด้วย น่าจะทราบว่าทำไมกูเกิลถึงเสียภาษีที่ US
การเสียประโยชน์ผู้ใช้กับการทำตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ น่าจะคนละเรื่องกันครับ (ก็ปกติแล้วที่ทำกิจการในประเทศไหนก็ต้องตามกฎประเทศนั้น เพียงแต่บางประเทศยังไม่มี)
แต่เคสนี้ไม่มีผู้ซื้อและเป็นธุรกิจคนละแนวกัน
เท่าที่ลองอ่านไม่ได้เก็บตามต้นกำเนิด search engine แต่เก็บตาม address ของที่ billing (ไม่งั้นต้นกำเนิดคืออเมริกา ก็เป็นอเมริกาที่เดียว หรือถ้าเป็น cloud อาจจยิ่งงง) ประเทศอื่นๆก็มีเก็บเช่นกัน
คิดว่าประเด็นเก็บยังไงทางกฎหมายกำหนดได้อยู่แล้วแต่แค่ต้องมีกฎหมายมาควบคุม
เห็นด้วยนะว่าควรเก็บภาษี
ไม่งั้นเหมือนโกยเงินออกไปฟรีๆ
อย่างเช่นบ.ก ซื้อ โฆษณากับ Facebook โดนกลุ่มเป้าหมายเป็นคนในประเทศไทย
Facebook ต้องจ่ายภาษีให้ประเทศไทย
น่าคิด...