Tags:
Node Thumbnail

นักฟิสิกส์ญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ได้ยืนยันว่าสามารถทำฟิวชั่นแบบเย็นเป็นผลสำเร็จ การทดลองทำโดยการบังคับให้ก๊าซดิวเทเรียมเข้าสู่ห้องที่มีพัลลาเดียม (Palladium) กระจายอยู่ในเซอร์โคเนียมออกไซด์ (Zirconium oxide)ภายใต้แรงดัน ซึ่งทำให้ดิวเทเรียมดูซึมพัลลาเดียมไว้ เป็นผลให้เกิดเป็น เดนเซอร์ (densor) หรือ พินโค (pynco) ดิวเทเรียม ซึ่งนิวเคลียสของดิวเทียมเรียมจะเข้าใกล้กันจะสามารถรวมตัวกันได้ ส่งผลที่ไห้เกิดเป็นอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่า 70 องศาเซลเซียส และส่วนแกนกลางยังคงมีอุณหภูมิที่อุ่นกว่ารอบนอก นานกว่า 50 ชั่วโมง

การทดลองนี้ยังไม่มีใครยืนยันผลการทดลองหรือทำซ้ำ

ที่มา - จาก Foosci.com ผ่าน Engadget.com ผ่าน /.

ข้อมูลเพิ่มเติม - Physicsworld.com

ต้นฉบับ - lenr-canr.org และ lenr-canr.org

Get latest news from Blognone

Comments

By: mk
FounderAndroid
on 27 May 2008 - 17:05 #52966
mk's picture

อ่านเรื่อง cold fusion ทีไรนึกถึงเรื่อง The Saint ทุกที

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 27 May 2008 - 17:13 #52967 Reply to:52966
molek's picture

เรื่องนั้นเป็นตัวอย่างที่ดีครับ ผมเคยอ่าน paper โบราณกับประวัติเรื่องนี้ จำได้ว่าคนที่ประกาศได้ว่าทำได้คนแรก โดนนักวิจัยสมัยนั้นถล่มเละ จนต้องหายออกจากวงการวิทยาศาสตร์ไปเลย เหมือนโดนกล่าวหาว่าลวงโลกครับ

molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค

sci news on foosci.com


http://www.digimolek.com

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 28 May 2008 - 00:22 #53009 Reply to:52966

เรื่องนี้ชอบมาก

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 28 May 2008 - 00:30 #53010 Reply to:53009
lew's picture

ชอบตอนมัน encrypt ข้อความแฮะ น่าเขียนโปรแกรมทำแบบนั้นมั่ง

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: lancaster
Contributor
on 27 May 2008 - 17:16 #52968

อุณหภูมิน้อยมาก แบบนี้ถ้านำมาผลิตไฟฟ้าก็จะได้น้อยตามไปด้วยใช่ไหมครับ

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 27 May 2008 - 17:38 #52969 Reply to:52968
molek's picture

อุณหภูมิไม่เกี่ยวกับพลังงานที่ปล่อยครับ เพราะอันนี้ปล่อยพลังงานสูงในความร้อนที่ต่ำ ซึ่งนิวเคลียร์ปกติจะปล่อยอุณหภูมิที่สูงออกมาด้วย (อย่าลืมว่าเป็น นิวเคลียร์ฟิวชั่น (Nuclear fusion) แบบในสไปเดอร์แมน 3 ไม่ใช่แบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันที่เป็นนิวเคลียร์ฟิชชั่น (Nuclear fission)

molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค

sci news on foosci.com


http://www.digimolek.com

By: oooki
ContributoriPhoneRed HatSymbian
on 27 May 2008 - 17:57 #52974 Reply to:52969

แบบจตุคามบนหน้าอก Iron Man ใช่มั้ยครับ

By: lancaster
Contributor
on 28 May 2008 - 20:47 #53069 Reply to:52969

ยังงงๆอยู่ครับว่าฟิวชั่นมันให้พลังงานอะไรที่นำมาผลิตไฟฟ้าได้บ้างครับ ถ้าเป็นฟิชชั่นปกติมันก็เอาความร้อนไปต้มน้ำให้เดือดแล้วไปหมุนกังหัน แต่ว่าฟิวชั่นไม่ได้ใช้วิธีนี้เหรอครับ

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 28 May 2008 - 23:12 #53079 Reply to:53069
molek's picture

ลองไปอ่านดูใน วิกิ สิครับ หรือคิดตามหลักเคมีง่าย ๆ สร้าง คาย สลาย ดูด

molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค

sci news on foosci.com


http://www.digimolek.com

By: lancaster
Contributor
on 29 May 2008 - 02:12 #53093 Reply to:53079

อ่านแล้วครับ ในนั้นก็บอกว่าใช้ความร้อนไปต้มน้ำตามแบบฉบับโรงไฟฟ้าทั่วไป

Most design studies for fusion power plants involve using the fusion reactions to create heat, which is then used to operate a steam turbine, similar to most coal-fired power stations as well as fission-driven nuclear power stations.

ป.ล. ผมไม่ค่อยเก่งเคมีแต่คุ้นๆว่าสร้างคายสลายดูด มันสำหรับปฏิกริยา(พันธะ)เคมี ไม่ใช่ปฏิกริยานิวเคลียร์

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 29 May 2008 - 12:43 #53105 Reply to:53093
molek's picture

ผมพูดถึง "Cold fusion" นะ ไม่ใช่ "Fusion Power" ถ้าฟิวชั่นตามแบบปกติแล้วยังไม่มีเครื่องปฏิกรณ์ในโลก เพราะไม่สามารถควบคุมการเกิดของพลังงานมหาศาลนั้นได้ ยกตัวอย่างฟิวชั่นแบบปกติก็คือ ดวงอาทิตย์ แต่ cold fusion มันจะคนละแบบ

แบบ cold fusion มันจะได้อิเล็กตรอนที่เกินออกมาเป็นพลังงานแทน หรือแสง หรือความร้อนก็แล้วแต่ตามนี้http://www.nst.or.th/article/notes02/cfr01.htm

นิวเคลียร์เป็นเคมีแบบหนึ่ง ฟิวชั่นมันเป็นแบบนี้ มันจะรวมอะตอมของไฮโดรเจนเข้าด้วยกัน ให้เป็นธาตุที่ใหญ่ขึ้น เพราะฉะนั้นต้องมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา เพื่อให้เกิดการรวมของอะตอมได้

ปล. ผมอาจจะผิดก็ได้ เพราะอยู่ใน สายชีววิทยาระดับโมเลกุล ไม่ใช่ ควอนตัมเคมี หรือ ควอนตัมฟิสิกส์

molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค

sci news on foosci.com


http://www.digimolek.com

By: lancaster
Contributor
on 30 May 2008 - 11:28 #53216 Reply to:53105

ก็งงอยู่ตั้งนานนึกว่ามันเป็นอันเดียวกับ Fusion Power ตอนนี้เข้าใจแล้วล่ะครับ

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 27 May 2008 - 17:34 #52971
tekkasit's picture

ผมว่าต้องรอดูต่อไปอีกนิดอ่ะ
ข้อเด่น

  • ทำหลายๆครั้ง ดูเหมือนจะทำซ้ำได้
  • มีนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นหลายๆแห่งมาร่วมสังเกตการณ์

แต่

  • อุณหภูมิยังต่ำไป ต่ำพอที่จะเกิดได้จากปฏิกิริยาเคมี
  • ไม่ได้วัดพวกอนุภาคนิวเคลียร์ที่ตามทฤษฎีต้องได้เช่น อนุภาคอัลฟา นิวตรอนอิสระ วัดแต่ความร้อนอย่างเดียว มั่วได้
By: zda98
Windows Phone
on 27 May 2008 - 17:35 #52972

ทำได้อย่าลืมเอามาแบ่งกันมังเน้อได้ข่าวว่าน้ำ 1 แก้วผลิตไฟฟ้าได้ 1 เมืองเป็นเวลา 1 ปี จิงป่าวอ่ะครับ ฮ่าๆ

By: cwt
AndroidRed Hat
on 27 May 2008 - 18:12 #52977

มี "l" 2 ตัว น่าจะเป็น พัลลาเดียม และที่แน่ๆ ไม่ใช่ พาราเดียม

จริงๆ ก็ไม่เคยสนับสนุนนโยบายเขียนภาษาไทยทับศัพท์ของที่นี่ แต่เมื่อจะเขียนแล้วก็อยากให้เขียนให้ถูกต้อง

By: mk
FounderAndroid
on 27 May 2008 - 18:29 #52980 Reply to:52977
mk's picture

เรื่องการสะกดคำ ไปคุยกันใน forum ดีกว่าครับ

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 27 May 2008 - 18:14 #52978
molek's picture

http://www.digimolek.com

By: week
Windows PhoneBlackberry
on 27 May 2008 - 18:56 #52982

อ่านแล้วมึนตึบ แบบว่าถ้าไม่ใช่คนในวงการวิทยาศาสตร์ ไม่เข้าใจเลยว่ามันคืออะไร

By: BonBon
iPhone
on 27 May 2008 - 19:02 #52984 Reply to:52982

เอ่อผมก็ยังงงมึนตึ๊บ ศัพท์เฉพาะทางเยอะมาก synco , densor มึนไปเลย อ่านจนจบก็อยากหาคำตอบ ต้อง google กันสนุกสนานอีกสินะ

By: khajochi
WriteriPhoneIn Love
on 27 May 2008 - 19:07 #52986
khajochi's picture

นึกว่าเหมือนใน dragon ball

---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature


แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com

By: latesleeper
Android
on 27 May 2008 - 21:57 #52998 Reply to:52986

อืมมม... มันคือผลงานวิจัยของ Dr.Akira Toriyama สินะ

By: orbitalz
ContributorWindows PhoneAndroidUbuntu
on 27 May 2008 - 21:36 #52997

deuterium ดูดซึม palladium เหรอครับ

By: bongikairu
ContributoriPhone
on 27 May 2008 - 22:00 #52999

ปกติ nuclear fusion จะเกิดที่อุณหภูมิประมาณ สูงมากนับล้านองศาเซลเซียส เรื่องการทำฟิวชั่นในที่อุณหภูมิต่ำ เท่าที่อ่านมา รู้สึกจะมี แนวคิดมานานแล้ว ( อ้างอิงจาก wikipedia ) แต่ยังไม่เคยมีคนลองเท่านั้นเอง ( ถ้าครั้งนี้ประสบความสำเร็จจริง เราคงเห็นรถเติมน้ำแทนน้ำมันในไม่ช้า )

iMolecule blog : http://blog.imolecule.net/
::: Gamer and Programmer is who I am :::

By: tomyum
ContributorAndroidWindows
on 27 May 2008 - 23:00 #53004
tomyum's picture

สมมุติว่าทำสำเร็จจริงนะ... อีก 50 ปีต่อมา รุ่นลูกๆหลานๆของเราคงจะสงสัยว่าทำไมเมื่อต้นศตวรรษที่ 22 นี้ชาวโลกทำไมถึงต้องกังวลกับภาวะน้ำมันแพงถึงชะมัด ไหนจะเรื่องเก็บภาษีคาร์บอน ไหนจะต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอซซิลที่แสนจะล้าหลังเสียเหลือเกิน ทำไมสมัยนั้นคุณปู่ถึงยังคงใช้เชื้อเพลิงสกปรกกันมาได้ตั้งร้อยปีจนภูมิอากาศโลกเปลี่ยนไปหมด ต้องให้คนรุ่นหนูมาคอยเก็บกวาดให้ น้ำแก้วเดียวก็ปั่นไฟฟ้าได้ทั้งเมืองทำไมไม่รีบคิดค้นพลังงานนิวเคลียร์เย็นให้ได้ตั้งนานแล้ว...(วะ) ...หุหุ ฝัน \(@^_^@)/ M R T O M Y U M

By: invisibleMind on 28 May 2008 - 08:59 #53033

ถ้ามันร้อนมากเกินไปก็อันตรายละครับ ร้อนๆ น้อยๆ ซัก 100 องศา นี่ผมว่ากำลังดี และปลอดภัยด้วยครับ ต่อไปไม่ต้องง้อโรงไฟฟ้ากันแล้ว ไม่ต้องมีสายไฟฟ้าแรงสูงให้วุ่นวาย เมืองใหน อยากจะได้โรงไฟฟ้า ก็ซื้อเอาเป็นตู้ๆ

By: BonaFide on 28 May 2008 - 10:36 #53037

"...เมื่อต้นศตวรรษที่ 22..." หมายถึงตอนนี้หรือเปล่าครับ ตอนนี้น่าจะเป็นต้นศตวรรษที่ 21 มากกว่านะ
เพราะศตวรรษที่ 22 น่าจะยุคโดราเอมอนแล้ว อิอิ

~?Ja:aๅe ฯJกัU|S๐~

By: DoraeMew
AndroidSymbianUbuntuWindows
on 28 May 2008 - 16:09 #53051 Reply to:53037

นิวเคลียร์ฟิวชั่นจากโดรายากิเหรอ :P

By: bongikairu
ContributoriPhone
on 28 May 2008 - 19:53 #53064 Reply to:53051

ในกรณีของโดราเอมอนหน่ะใช่ ( โดเรมอนใช้เตาปฏิกรณ์ขนาดเล็กย่อยสลายทุกสิ่งที่เข้าไปในกระเพาะให้เป็นพลังงาน ) แล้วก็ตอนนี้ ศตวรรษที่ 21 นะครับ ปี 2000 - 2099 ยังอยู่ใน 21 ถ้า ศตวรรษที่ 22 ก็เช่น 2112 ( ปีเกิดโดราเอมอน ) , 2142 ( Battlefield )

iMolecule blog : http://blog.imolecule.net/
::: Gamer and Programmer is who I am :::

By: ds2kGTS
ContributorAndroidSymbianUbuntu
on 28 May 2008 - 22:18 #53072 Reply to:53064
ds2kGTS's picture

ศตวรรษที่ 21 น่าจะเป็นปี 2001-2100 มากกว่านะครับ ^^

By: anu
Contributor
on 28 May 2008 - 23:45 #53082 Reply to:53072

ถูก

It is commonly-held misconception that the 20th century ended on December 31, 1999. The 20th century actually ended on December 31, 2000, its centennial year.

By: tomyum
ContributorAndroidWindows
on 29 May 2008 - 00:40 #53086 Reply to:53082
tomyum's picture

อ๊ะ เบลอ...อะ...พิมพ์ผิดจิงๆด้วยเหะๆ ขอโทษค๊าบ...โดราเอม่อนช่วยด้วย ขอไทม์แมชีนกลับไปแก้ตัวที! \(@^_^@)/ M R T O M Y U M

By: bongikairu
ContributoriPhone
on 29 May 2008 - 19:37 #53169 Reply to:53086

ขอบคุณครับที่แก้ให้

iMolecule blog : http://blog.imolecule.net/
::: Gamer and Programmer is who I am :::