Peter Higgs นักฟิสิกส์ผู้ทำนายอนุภาค Higgs boson ไว้ตั้งแต่ปี 1964 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมาด้วยวัย 94 ปี
งานวิจัยของเขาทำร่วมกับ Robert Brout และ François Englert ทำนายถึง Brout-Englert-Higgs (BEH) field ที่กระจายอยู่ทั่วอวกาศ และเป็นสิ่งที่ทำให้อนุภาคต่างๆ เกิดขึ้นได้หลังเหตุการณ์ Big Bang
อนุภาค Higgs boson ได้รับการยืนยันโดยการทดลองของ CERN เมื่อปี 2012 ต่อมา Higgs และ Englert ก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2013
ที่มา - CERN
องค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของออสเตรเลีย Australia's Nuclear Science and Technology Organization หรือที่เรียกโดยย่อว่า ANSTO ได้เปิดทำการห้องปฏิบัติการใหม่เพื่อใช้ศึกษาเรื่องสสารมืด โดยสร้างขึ้นในพื้นที่ของเหมืองทองคำลึกลงไปใต้ดิน 1 กิโลเมตร
ห้องปฏิบัติการนี้มีชื่อว่า SUPL (Stawell Underground Physics Laboratory) ภายในมีเครื่องตรวจจับสสารมืด SABRE ซึ่งจะใช้สำหรับตรวจจับสัญญาณเพื่อยืนยันถึงการมีอยู่ของสสารมืดในเอกภพ โดยห้องปฏิบัติการนี้ถือเป็นแห่งแรกของซีกโลกใต้
DeepMind บริษัทพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ภายใต้ Alphabet ประกาศโอเพ่นซอร์ส FermiNet โครงสร้าง neural network เพื่อจำลองการเคลื่อนไหวของอิเล็กตรอน
ตามหลักของควอนตัมฟิสิกส์ อนุภาคอย่างอิเล็กตรอนไม่ได้มีตำแหน่งที่อยู่ที่ชัดเจน และโดยมากมักจะนิยมใช้กลุ่มเมฆความน่าจะเป็นเพื่อบ่งบอกโอกาสการพบอนุภาค ณ ตำแหน่งหนึ่ง และการอธิบายสถานะของควอนตัมเป็นสิ่งที่ท้าทายมากเพราะต้องนำค่าความน่าจะเป็นมาคำนวณเป็นค่าของตำแหน่งอิเล็กตรอนในรูปแบบของ wavefunction ที่มีค่าที่เป็นไปได้มากมายมหาศาล
Stephen Hawking นักฟิสิกส์ชื่อดังแห่งยุคสมัย เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขาในปี 1966 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของทฤษฎีด้านจักรวาล-อวกาศของเขา ล่าสุดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เปิดให้ผู้สนใจงานของเขา สามารถดาวน์โหลดมาอ่านกันได้แล้ว
วิทยานิพนธ์ของ Hawking ใช้ชื่อว่า Properties of Expanding Universes เปิดให้ดาวน์โหลดบนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ผลคือเสียงตอบรับล้นหลาม มียอดดาวน์โหลด 60,000 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมงแรก และเล่นเอาระบบของเคมบริดจ์ช้ากว่าปกติ จนสุดท้ายก็ล่มไปชั่วคราว
CERN ศูนย์วิจัยด้านฟิสิกส์ของสวิตเซอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการค้นพบอนุภาค Higgs boson เมื่อปี 2013 ล่าสุดทางศูนย์กำลังเดินหน้าค้นหาอนุภาคตัวใหม่ที่เรียกว่า dark photon
ในวงการฟิสิกส์ มีข้อเสนอทางทฤษฎีเกี่ยวกับ dark matter หรือ "สสารมืด" ซึ่งเป็นอนุภาคที่มองไม่เห็น ค้นไม่พบ แต่เชื่อว่ามีอยู่ และเป็นอนุภาคที่มีจำนวนมาก คิดเป็นสัดส่วน 27% ของมวลและพลังงานในจักรวาล (ในขณะที่อนุภาคแบบปกติที่เรารู้จักกัน visible matter มีสัดส่วนแค่ 4.9% และที่เหลือคือพลังงานมืดหรือ dark energy)
ส่วน dark photon หรือโฟตอนมืด เป็นอนุภาคทางทฤษฎีที่เป็นแรงยึดเหนี่ยว dark matter กับ visible matter เข้าด้วยกัน ถือเป็นแรงอีกประเภทนอกจากแรงดึงดูด (gravity) ที่ dark matter มี (และเป็นแรงประเภทใหม่ที่เรายังไม่รู้จัก เลยเรียกกันว่า dark ไปก่อน) ภารกิจของ CERN คือการค้นหา dark photon ตัวนี้
ถ้าคุณเป็นคนที่กระวนกระวายใจว่าเมื่อไร LHC จะเจออนุภาค Higgs boson (หรือที่เรียกกันติดปากว่า "อนุภาคพระเจ้า") สักที และกำลังรอคอยการแถลงรายงานผลของ CERN ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2012 ที่จะถึงนี้ อยู่อย่างงุ่นง่าน เกม Agent Higgs ของ Test Tube Games น่าจะเป็นทางออกอันเหมาะสมที่ช่วยคลายความเครียดให้คุณได้
เกม Agent Higgs เป็นเกมแนว puzzle ที่สร้างโดย geek เพื่อ geek แต่รับรองว่าทุกคนสามารถเข้าใจและเล่นได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ฟิสิกส์ชั้นสูง ขอแค่ให้ลากนิ้วหรือลากเมาส์เป็นก็พอ
หลัง NVIDIA บล็อคเครื่องที่ใช้การ์ด ATI ไม่ให้ใช้งาน PhysX ตอนนี้ทาง AMD โดยนาย Neal Robison ฝ่ายบริหารส่วน global independent software vendors ได้ออกมาให้ความเห็นในเรื่องนี้แล้วครับ
นาย Robison กล่าวว่า AMD รู้เสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ NVIDIA ตัดสินใจบล็อคการ์ดของ ATI ไม่ให้ใช้งาน PhysX การประมวลผลด้วยการ์ดฟิสิกส์นั้นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับนักเล่นเกม และเป็นสิ่งที่ควรจะมีไว้ให้สำหรับผู้ใช้ทุกคน ไม่ใช่แค่เป็นของแถมที่จำกัดเฉพาะผู้ใช้บางส่วนเท่านั้น การแสดงท่าทีเช่นนี้นอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อผู้ใช้ทั่วไปเท่าไหร่แล้ว ยังจะทำให้มาตรฐานการใช้การ์ดฟิสิกส์ประมวลผลนั้นเสื่อมความนิยมไปเองอีกด้วย
แม้ว่าหลายคนอาจจะไม่ค่อยใช้งานการ์ด Nvidia ร่วมกับ ATI กันบ่อยนัก แต่ก็มีรายงานว่าไดร์เวอร์ ForceWare 186.x เป็นต้นมาจะไม่สามารถใช้งานในส่วน PhysX ได้หากมีการใช้การ์ด ATI แสดงผลกราฟิก
แนวทางการพัฒนาเกมในอนาคตเริ่มมีความชัดเจนว่าระบบประมวลผลฟิสิกส์นั้นจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันมีหลายค่ายเช่น Microsoft DirectX Physics, Intel Havok Engine และที่สำคัญที่สุดคือ Nvidia PhysX ที่พัฒนามาก่อนเจ้าอื่นๆ
PhysX นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ทาง Nvidia ได้มาจากการเข้าซื้อ Ageia ไปตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว โดยแต่เดิมนั้น PhysX จะใช้ชิปเฉพาะทางของตน แต่ต่อมา API ก็สามารถใช้งานชิปกราฟิกของทาง Nvidia ในการประมวลผลได้
DZero เป็นโครงการทดลองด้านฟิสิกส์พลังงานสูง (High-energy physics) ต้องพึ่งพาการประมวลผลสมรรถนะสูงเพื่อคำนวณงานประเภท Simulation ที่มีจำนวนมากถึง 60,000 -100,000 งานต่อสัปดาห์ และงานทั้งหมดนี้จะถูกส่งไปประมวลผลยังเครือข่ายกริด * ที่มีคอมพิวเตอร์กระจายตัวอยู่ตามสถานที่ต่างๆถึง 23 แห่ง โดยในอดีตนั้น DZero ประสบปัญหาจากการที่เครือข่ายกริดดังกล่าวไม่มี storage สำหรับจัดเก็บข้อมูลขาเข้า (input data) ของงานที่จะนำไปประมวลผล ที่แล้วมา DZero จะแก้ปัญหาโดยส่งข้อมูลขาเข้าจากหน่วยงานของผู้ใช้ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางที่อยู่ในเครือข่ายกริด ซึ่งจะมีการขนส่งข้อมูลขาเข้าเช่นนี้ทุกครั้งที่งานต้องการข้อมูล แต่มีปัญหาที่ตามมา คือ ความล้มเหลวในการประมวลผลของงานมีโอกาสเกิดข
จากข่าว Large Hadron Collider จะกลายเป็นเครื่องมือล้างโลก? ความเป็นห่วงในความปลอดภัยของ LHC (เดินเครื่อง 10 กันยายนนี้) มีมากจนทำให้ทางศูนย์วิจัย CERN เจ้าภาพต้องออกมาสยบความเคลื่อนไหว
นอกจากหน้าเว็บอธิบายเรื่องความปลอดภัยตามปกติแล้ว CERN ยังสปอนเซอร์ให้ศิลปินแร็ปกลุ่มหนึ่งชื่อ Alpinekat เข้าไปถ่ายทำมิวสิกวิดีโอเพลงแร็ปที่อธิบายการทำงานของเครื่อง LHC ด้วย โดย CERN คงหวังว่าจะเข้าถึงวัยรุ่นที่ไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ ได้มากขึ้น (แต่ผมดูแล้วคิดว่ามันยังยากอยู่ดีนะ)
วิดีโอดูได้ด้านใน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (University of Pensylvania) ได้สร้างอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อยู่บนพื้นฐานของลวดนาโน (Nanowire) ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลเป็นจำนวนบิตได้มากกว่าหน่วยความจำแบบทั่วไป แทนที่จะเก็บข้อมูลอยู่ในรูปของ "0", "1" ก็จะสามารถเก็บได้เป็น "0", "1" และ "2" ความสามารถดังกล่าว นำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์เก็บข้อมูลรุ่นถัดไป ซึ่งมีความจุของข้อมูลสูงกว่าเดิม
ลวดนาโนที่ทางทีมวิจัยนำมาใช้ มีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับสาย โคแอ็กเชียล (Coaxial) โดยส่วนของแกนทำด้วยสารประกอบระหว่าง เจอร์เมเนียม, เงิน, เทลลูเรียม หรือ Ge2Sb2Te5 ในขณะที่ส่วนนอกสร้างมาจาก เจอร์มันเนียม เทลลูไรด์ หรือ GeTe
นักฟิสิกส์ญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ได้ยืนยันว่าสามารถทำฟิวชั่นแบบเย็นเป็นผลสำเร็จ การทดลองทำโดยการบังคับให้ก๊าซดิวเทเรียมเข้าสู่ห้องที่มีพัลลาเดียม (Palladium) กระจายอยู่ในเซอร์โคเนียมออกไซด์ (Zirconium oxide)ภายใต้แรงดัน ซึ่งทำให้ดิวเทเรียมดูซึมพัลลาเดียมไว้ เป็นผลให้เกิดเป็น เดนเซอร์ (densor) หรือ พินโค (pynco) ดิวเทเรียม ซึ่งนิวเคลียสของดิวเทียมเรียมจะเข้าใกล้กันจะสามารถรวมตัวกันได้ ส่งผลที่ไห้เกิดเป็นอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่า 70 องศาเซลเ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโกจะใช้เวลาประมวลผล 22 ล้านชั่วโมงต่อหนึ่งหน่วยการประมวล ฟิสิกส์ของการระเบิดของดวงดาว โดยทีมงานจะใช้เครื่อง Blue Gene/P ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ ห้องทดลองแห่งชาติ Argonne เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ 4 แบบของซุปเปอร์โนวา รวมถึงการสร้างภาพจำลองของการเผาไหม้ด้วยไฟเทอร์โมนิวเคลียร์ของดาวแคระขาว โดยเวลาที่ได้ระบุข้างต้นเป็นการคำนวนของ กระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกาด้วย โปรแกรม INCITE
นักฟิสิกส์สามารถจำลองการเกิดพายุบนดาวพฤหัสไว้บนฟองสบู่ได้ โดยสามารถทำให้เกิดได้แม้กระทั่ง "จุดแดงยักษ์" (จุดสีแดงที่เห็นได้อย่างชัดเจนบนดาวพฤหัส) การจำลองดังกล่าวใช้หลักการพาความร้อน หรือการถ่ายเทความร้อนภายในระบบที่เป็นของไหล ทีมวิจัยได้รายงานไว้ใน Physical Review Letters ฉบับวันที่ 7 เมษายน 2008 ไว้ว่าเมือพวกเขาได้ให้ความร้อนที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรของฟองสบู่ และทำให้ขั้วของฟองสบู่เย็นลง พลศาสตร์ภายในฟองสบู่ที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะคล้ายกับรูปแบบการพาความร้อนบนผิวของดาวพฤหัสเป็นอย่างมาก เจ้าฟองสบู่พายุนี้ยังสามารถช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพลศาสตร์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโลกและใ้ต้ผิวโลกได้เช่นกัน
ตามไปดูรูปสวยๆได้จากที่มานะครับ
หลังจากเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับเอเชียมาแล้วหนึ่งครั้งในปี 2546 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ปีหน้านี้ ประเทศไทย นำโดยมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา (สอวน.) จะเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง ในวาระครบรอบสิบปีของการแข่งขัน
การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับเอเชียครั้งที่ 10 นี้ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 เมษายน ถึง 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แอนติอะตอมที่พูดถึงนี้ คือแอนติอะตอมแบบง่ายๆ อย่างแอนติไฮโดรเจนอะตอมครับ แอนติอะตอมคืออะตอมเวอร์ชันปฏิสสาร ฉะนั้น แอนติไฮโดรเจนอะตอมจึงประกอบไปด้วย แอนติโปรตอน และโพสิตรอนอย่างละหนึ่งตัวครับ
ปัญหาหนึ่งอยู่ที่แอนติโปรตอน เพราะต้องผลิตมาจากการยิงอนุภาคชนกันด้วยพลังงานสูงในเครื่องเร่งอนุภาค เวลาจะนำมารวมกับโพสิตรอนจึงต้องทำให้พลังงานลดลงก่อน แล้วกักตัวทั้งสองไว้ในกับดักให้ two become one ...
นักฟิสิกส์อังกฤษนาม Peter Higgs กล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า การพิสูจน์ความเป็นไปได้ที่จะมีอยู่ของพลังงานที่ให้มวลต่อจักรวาลและทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นจะรู้ในไม่ช้านี้
Peter Higgs เป็นผู้ให้สมมติฐานเรื่องนี้เมื่อ 40 ปีที่แล้ว และตั้งชื่ออนุภาคว่า Higgs boson (อนุภาคพระเจ้า) ซึ่งเขาเชื่อว่าอนุภาคนี้กำเนิดจากแรงของจักรวาล เขายังเชื่อว่าสสารนี้จะถูกค้นพบจากเครื่อง LHC ที่สถาบันวิจัย CERN โดยเจ้า Higgs boson อาจจะปรากฏตัวให้เห็นเมื่อเดินเครื่อง LHC ขนาดยักษ์นั้นและเขาเองมีความมั่นใจมากกว่า 90% ที่จะค้นพบอนุภาคนี้
นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นวิธีปรับปรุงเซลล์เชื้อเพลิงใหม่ โดยทำให้ electrode ของเซลล์เชื้อเพลิงมีขนาดเบาและบาง ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายของ คาร์บอนนาโนทูบส์ ซึ่งสามารถเข้าไปใกล้ความจริงในการนำมาใช้ได้ตามบ้านเรือน
งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ Applied Physics Letters เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2008 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการคิดค้นของสถาบันวิจัย Max Planck และ มหาวิทยาลัยDarmstadt ประเทศเยอรมันนี
เครือข่ายนาโนทูบส์ที่สร้างขึ้นมาจะทำหน้าที่เป็น electrode ในการให้แก๊สแพร่เข้าไปยังชั้นที่ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งมีแพลทินัมเป็นส่วนประกอบ โปรตอนและอิเล็กตรอนของแก๊สจะทำปฏิกิริยาต่อวัสดุนี้และแยกอะตอมออกมาให้พลังงานออกมา
Large Hadron Collider (LHC) เป็นเครื่องเร่งความเร็วอนุภาค ของศูนย์วิจัย CERN ในสวิตเซอร์แลนด์ มีลักษณะเป็นท่อใต้ดินวนเป็นวงกลมยาว 27 กิโลเมตร เป้าหมายของ LHC คือใช้ทดลองเร่งความเร็วอนุภาคแล้วเอามาวิ่งชนกัน เพื่อตรวจสอบทฤษฎีทางฟิสิกส์อนุภาคว่าเป็นไปได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะ Higgs Boson ซึ่งถ้าสร้างขึ้นมาได้จริงตามทฤษฎี วงการฟิสิกส์จะก้าวหน้าขึ้นไปอีกมาก LHC ตอนนี้กำลังสร้างอยู่และมีกำหนดเปิดใช้งานเดือนพฤษภาคมนี้
นักวัจัยชาวฝรั่งเศส Albert Fert และชาวเยอรมัน Peter Grünberg ควัารางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากเทคโนโลยีที่มีื่อว่า Giant Magnetoresistance หรือ GMR ซึ่งแตกแขนงมาจากนาโนเทคโนโลยี โดยสามารถนำมาประยุกต์เพื่อเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์โดยที่ฮาร์ดดิสก์มีขนาดที่เล็กลง (อ่านประกอบ) หรือ พัฒนาเซ็นเซอร์แม่เหล็กหลายรูปแบบ
จากความคิดเรื่อง การโยกย้ายมวลสาร (teleport) จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เพื่อหลีกหนีจากการจารจรอันน่าปวดหัว ทีมนักฟิสิกส์ออสเตรเลียได้ทุ่มเวลาเพื่อให้พัฒนาเครื่องย้ายมวลสารให้ทำงานได้ (ในขนาดเล็ก) พวกเขาไม่ได้หวังว่าเครื่องจะถูกใช้ในอนาคตกับมนุษย์ แต่มันเป็นความหวังสำหรับหลายคนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตอนนี้พวกเขาทำได้แค่โยกย้ายอะตอมจากที่นึงไปที่นึง โดยทำให้มวลสารอะตอมมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ โดยใช้ลำแสงเลเซอร์ 2 ลำแสงยิงไปที่อะตอม และใช้ fiber optics ในการนำอะตอมพวกนั้นเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วแสงให้ไปถึงจุดหมายปลายทาง ให้อนุภาคเหล่านั้นรวมตัวกันและประกอบรูปร่างอะตอมให้เข้าแบบเดิม
ปล. ทางทีมพัฒนาบอกว่าถ้ามาลองกับมนุษย์เมื่อไหร่จะมาป่าวประกาศครับ