สัญญาณไฟจราจรถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 โดยสัญญาณไฟจราจรถือเป็นอุปกรณ์ช่วยการจราจรตรงทางแยก แต่ในอนาคตที่รถยนต์กำลังจะไร้คนขับอย่างเต็มตัวแล้ว เทคโนโลยีที่ใช้มานับร้อยปีอาจต้องเปลี่ยนใหม่
นักวิจัยกลุ่มหนึ่งจาก MIT ได้เสนอสัญญาณไฟจราจรยุคใหม่ ใช้วิธีการจัดตาราง (จากรายงานใช้คำว่า Slot-based Intersections หรือ SI) โดยใช้ทฤษฎีแถวคอย (queuing theory) เนื่องจากเมื่อรถกลายเป็นรถยนต์ไร้คนขับแล้ว การจะเปลี่ยนไปใช้ระบบจัดตารางการจราจรตรงทางแยกจึงเป็นไปได้ เพราะว่ารถยนต์แต่ละคันสามารถคุยกับคอมพิวเตอร์ หรือคุยกันระหว่างรถยนต์ได้ ฉะนั้นการจัดตารางก็จะให้รถยนต์คุยกับคอมพิวเตอร์
นักวิจัยกล่าวว่า ระบบไฟสัญญาณจราจรมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ศึกษาการไหลของจราจรผิดเพี้ยนไป ทำให้เกิดปัญหาการจราจรในเมืองหลายแห่ง เพราะว่าปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดคอขวดในการจราจร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมสูง
การจัดตารางรถยนต์นั้น จะสามารถลดความหนาแน่นของการจราจรตรงทางแยก และลดความล่าช้าลงได้ คือเมื่อรถยนต์แต่ละคันใกล้ถึงทางแยก จะมีการควบคุมความเร็วให้สัมพันธ์กัน ทำให้รถยนต์แต่ละคันผ่านทางแยกไปได้โดยไม่ต้องหยุดรถ ลักษณะคล้ายกับการจัดการจราจรเครื่องบิน ที่มีตารางบินที่ค่อนข้างแน่นอนว่าจะขึ้นบินหรือลงจอดเมื่อไร
จากผลการทดสอบโดยการใช้ซอฟต์แวร์จำลอง พบว่าสามารถลดเวลาล่าช้าลงไปได้มาก แม้ว่ารถยนต์จะใช้ความเร็วในการเข้าทางแยกได้ช้าลง ซึ่งนักวิจัยก็ได้สรุปว่า ช้าลงจะทำให้เร็วขึ้น (slower is faster)
แม้ว่าในทางทฤษฎีด้านการจราจรจะดูเป็นไปได้ แต่แง่ความปลอดภัยแล้ว ไฟสัญญาณจราจรถือเป็นสิ่งที่ไม่ปลอดภัยที่สุดสำหรับโครงสร้างพื้นฐานในเมือง การที่จะให้รถยนต์คุยกับคอมพิวเตอร์โครงสร้างพื้นฐานในเมืองนั้น จะเป็นหนทางทำให้เกิดช่องโหว่ได้ง่าย
ใครที่สนใจงานวิจัยชิ้นนี้สามารถอ่านฉบับเต็มพร้อมภาพประกอบได้จากที่มาครับ
ที่มา - Ars Technica, PLOTS ONE
Comments
เมื่อถึงวันนั้น การขับรถโดยใช้คนอาจจะเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย เพราะคนไม่สามารถใช้ระบบนี้ได้ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุกับคันอื่น
+1
โดนแฮคทีก็พัง
อันตรายตรงนี้มากกว่า
แล้วพวกคน สัตว์ ที่จะามถนนละ?
*ข้าม
อยากให้ตำรวจจราจรไทยดูคลิปนี้จังเลยครับ บ้านเราจ่าแกมาถึงก็จะไปกักทางที่รถมันโล่งๆไว้ แล้วไปปล่อยให้ทางที่รถติดๆรีบไปนานๆ ซึ่งก็ไม่รู้จะรีบยังไงได้อีกเพราะมันติดเหลือเกิน สรุปจากที่มันไหลๆไปได้บ้างเลยกลายเป็นติดหมดทุกทางหลังจากตำรวจมาช่วยอำนวยการจราจรนี่ล่ะ
ผมก็พร่ำบอกมาหลายทีแล้ว (ไม่ใช่ที่นี่ มั้ง) คนขับรถจำนวนไม่น้อยที่ไม่สนว่าจริงๆ แล้วจะทำให้การเดินทางทั้งหมดเร็วขึ้นหรือไม่ สนแต่ว่าตรงหน้า ตรงนี้ ตอนนี้ ต้องขยับไปข้างหน้าให้ได้แม้อีกนิดเดียวก็ยังดี ซึ่งหลายต่อหลายครั้งการทำแบบนั้นมันรู้สึกว่าไปได้อีกนิดนึง อาห์ สบายใจ ฟินสุดๆ แต่ผลกระทบที่แท้จริงคือมันทำให้ตัวเองไปได้ช้าลง การเคลื่อนตัวของรถในระบบมีปัญหา ส่งผลให้การระบายรถในระบบโดยรวมช้าลง แล้วก็ย้อนกลับมาทำให้ทุกคนเดินทางถึงจุดหมายได้ช้าลงไปอีก
เปิดเลนเพิ่มอีกนิด ชิดคันหน้าอีกหน่อย แซงคิวสักนิดน่า ปาดแถวสักหน่อยนึง จ่อคิวเลี้ยวไฟแดงด้วยก็ได้ขยับมาอีกตั้งสองช่วงรถ ฯลฯ เบื่อไปหมด
+100
"ย้อนกลับมาทำให้ทุกคนเดินทางถึงจุดหมายช้าลงไปอีก"
เห็นด้วยมากๆครับ อันที่จริงเรื่องพวกนี้คือเรื่องที่กรมการขนส่งฯควรจะปลูกฝังประชาชนทุกคนเวลาไปต่อใบขับขี่ครับ ผมเชื่อว่าเป็นเรื่องที่หลายคนไม่รู้จึงไม่ทำ หรือบางคนรู้แต่ไม่มีกระแสสังคมก็เลยไม่สนใจจะทำ ไม่ใช่มัวมาเน้นแต่ให้ดูวิดีโอโลกสวยทั้งหลาย เช่น ขับไม่เกิน 80 ตลอดทาง เว้นระยะรถคันหน้าด้วยการนับเสาไฟฟ้ากี่ต้น บางเรื่องถ้าไปทำตามเป๊ะก็ทำรถติดกันทั้งบางล่ะครับ
มีอีกเรื่องนึงที่ทำให้คนที่รู้ก็ไม่สนใจจะทำครับ คือมองว่าถึงฉันไม่ทำมันก็มีคนทำอยู่ดี แล้วก็พาให้รู้สึกเสียเปรียบหากไม่ทำบ้างไปด้วย
สุดท้ายก็ออกมาแบบที่เห็นๆ กันอยู่ orz
เห็นด้วยครับ
สมัยผมขับรถใหม่ๆนั้น พยายามเหลือเกิดแซง เปลี่ยนเลน เหนื่อยจนเบื่อ
พอขับไปได้สักปีก็เข้าใจว่าที่เราแซงเปลี่ยนเลนบ่อยๆ มันทำให้รถอื่นต้องชะลอตามเรา
อีกอย่างพอเราช้าๆค่อยๆไป อยู่เลนซ้ายก็ได้ไปเรื่อยๆ 60 ชิลๆ ไปพบว่า มันไปเร็วกว่าเราไปตะบี้ตะบันเผื่อแซงแล้วเปลี่ยนเลนอีก
ยินดีด้วยครับที่เข้าใจได้ แล้วก็ขอบคุณที่ช่วยกันทำให้น่าอยู่ขึ้นครับ ^^ (แต่ผมก็ไม่ได้ขึ้นขั้น 60 เลนซ้ายยาวๆ นะครับ ส่วนมากขับตาม speed limit เส้นนั้นๆ แล้วอยู่เลนขวาตราบเท่าที่เลนซ้ายยังมีรถช้ากว่าเราอยู่นั่นแหละ ซึ่งถ้าเป็นเลนขวาสุดแล้วก็อาจจะเร่งขึ้นไปอีกหน่อย (เข้าใจว่า speed limit นี่ยอมให้เกินได้เวลาแซง)
ถ้าไม่ใช่กรณีที่ถนนว่างโล่งจริงๆ การแซงคันอื่นจะไม่ใช่การที่เราไปเร็วขึ้นโดยกระทบคันที่ถูกแซงแค่นิดเดียว แต่จะเป็้นการแลกตำแหน่งชนิดการแซงคิวกันดื้อๆ นี่แหละครับ (T-T)