Tags:
Node Thumbnail

360 องศา (ไม่ต้องวาดมือแบบในทีวี) คือวิดีโอที่ผู้ใช้สามารถรับชมบน Facebook และหมุนมุมกล้องเพื่อเสพเนื้อหาในมุมที่แตกต่างออกไป และต่อยอดใช้งานแบบ VR เห็นจริงเต็มตาเพียงครอบแว่นและหันศีรษะไปมา ซึ่งแบรนด์ Oculus ผู้เชี่ยวชาญก็เป็นของ Facebook แล้ว

เพื่อให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ Facebook ก็เปิดตัวกล้องในชื่อ Surround 360 ไว้ใช้บันทึกวิดีโอรูปแบบนี้โดยเฉพาะ เป็นหนึ่งในประเด็นหลักของงาน F8 ปีนี้เลยทีเดียว โอกาสนี้จึงขอเรียบเรียงถึงกล้องตัวนี้ว่ามีที่มาที่ไปและกลไกอย่างไรครับ

alt="upic.me"

อุปสรรคของการถ่ายทำวิดีโอ 360 องศาปัจจุบัน

Facebook ระบุว่าอุปสรรคของการถ่ายทำวิดีโอ 360 องศาแบบสามมิติ (หรือ 3D-360 video) นอกจากจะต้องเห็นภาพได้รอบแล้วยังต้องมีความตื้นลึกที่ตาต้องสัมผัสได้ด้วยนั้นคือการจัดการกับข้อมูลขนาดมหาศาลจากกล้องหลายตัวที่เก็บภาพพร้อมกันอยู่ และการใช้ชอฟต์ปะติดปะต่อภาพเหล่านั้นเป็นภาพเดียวและเป็นวิดีโอด้วย การปะติดปะต่อแบบเฟรมต่อเฟรม (30 หรือ 60 เฟรมต่อวินาที และสองภาพสำหรับสองตา) จึงใช้เวลานานระดับสัปดาห์ ทั้งยังไม่รวมขั้นตอน post-production อีก

ก้าวข้ามด้วย Facebook Surround 360

Facebook Surround 360 เป็นกล้องทรงลูกข่างยักษ์ประกอบเข้ากับฐานมีล้อเพื่อการเคลื่อนที่ ตัวกล้องใหญ่บรรจุกล้องสามมิติละเอียด 4 เมกะพิกเซลจำนวน 17 ตัว รายล้อมเป็นวงและบนล่าง (บนล่างใช้เลนส์ฟิชอาย) สามารถบันทึกวิดีโอได้แบบ 4K, 6K และ 8K ได้ ทำให้ทุกอย่าง sync กัน (แลคไม่เกิน 1 มิลลิวินาที) ด้วยซอฟต์แวร์ควบคุมกล้อง

alt="upic.me"

ด้านฮาร์ดแวร์จุดอื่นๆ Facebook ทำกล้องชุดนี้ออกมาให้ปรับเปลี่ยนฟอร์ม เคลื่อนที่ได้ กันการสั่นและกระแทก (rigged and rugged) ซ่อมแซมภายหลังได้ไม่ยาก และพร้อมถ่ายได้ต่อเนื่องไม่เจอปัญหาความร้อน

alt="upic.me"

Facebook บอกว่ากล้องนี้ไม่ได้มาแต่กล้องแล้วจบ แต่ยังพัฒนาตัวโค้ดให้ช่วยปะติดปะต่อภาพออกมาเป็นวิดีโอ 3D-360 ด้วย และฟุ้งว่าจะสามารถทำภาพให้เสร็จภายในข้ามคืนเท่านั้น! โค้ดดังกล่าวจะปล่อยที่ GitHub ภายในฤดูร้อนปีนี้ ซึ่งนักพัฒนาแต่ละรายสามารถนำไปต่อยอดกันเองได้อีก

alt="upic.me"
กล้องทั้ง 17 ตัวจากภาพใช้ของ Point Grey จากแคนาดา

ว่ากันถึงซอฟต์แวร์ที่ดูแลกล้อง Facebook เลือกใช้พีซีที่เป็น Linux-based เพื่อความสะดวกในการปรับแต่ง โดยคำนึงถึงเครื่องที่สามารถรับกับแบนด์วิดท์มหาศาลจากกล้องส่งสื่อบันทึกได้ (ที่ภาพ 30 เฟรมต่อวินาที) ต้องใช้แบนด์วิดธ์ที่ 17Gb/s ถึงจะดูลื่นไหล ดังนั้นการใช้ SSD 8 ชุดต่อ RAID5 จึงจะเอาอยู่ และการควบคุมกล้อง Facebook ให้ควบคุมผ่านหน้าเบราว์เซอร์ HTML ปกติได้เลย ภาพที่ได้จะเป็นภาพดิบ (เขาใช้คำว่า Bayer data) จากนั้นค่อยนำไปเข้าซอฟต์แวร์ปะติดปะต่อภาพ แก้ไขสี ปรับความคมชัด อันนี้สายทำหนังรู้กัน

alt="upic.me"

เมื่อได้วิดีโอแล้วก็ต้องมีอุปกรณ์ที่เล่นภาพนี้ Facebook ออก codec ชื่อ Dynamic Streaming เพื่อรันวิดีโอ 6K และ 8K บน Gear VR ของ Samsung ได้ รวมถึงใช้งานกับ Oculus Rift และการแสดงผลแบบแบนๆ บนหน้านิวส์ฟีดปกติก็ได้เช่นกัน ด้านราคาของกล้องทั้งชุดนี้ยังไม่ระบุครับ

เหมากับใคร?

ระบบนิเวศพร้อมเสียขนาดนี้แล้วก็เหลือการใช้งานจริง ส่วนตัวมองว่าทั้งแบรนด์โดยเฉพาะสายอสังหาริมทรัพย์ และการท่องเที่ยว ยาวไปถึงเอเจนซี่ โปรดักชั่นเฮ้าส์ อาจจะสั่นสะเทือนไปถึงสถาบันที่สร้างบุคลากรนี้ ตลอดจนนักสร้างคอนเทนต์น่าจะต้องตามเทรนด์นี้ให้ทัน (ด้านมืดของผมบอกว่าถ้ามีหนังผู้ใหญ่ที่มอบประสบการณ์แบบนี้....)

แบรนด์ในนามลูกค้าอาจมี บรีฟ มายังเอเจนซี่ว่าอยากได้วิดีโอ 3D-360 ไว้ขายของในอนาคตอันใกล้ ครีเอทีฟ ก๊อปปี้ไรเตอร์ ถึงผู้กำกับก็คงต้องคิดงานแบบไม่จบแค่กรอบสี่เหลี่ยมที่คนดูจะเห็น แต่ต้องเล่าเรื่องให้เป็น "ประสบการณ์" ที่คนดูจะเห็นและสัมผัสได้เสมือนจริง ท้าทายอยู่เหมือนกัน พิชชิ่งครั้งหน้าอาจได้งานถ้ามีของใหม่แบบนี้ไปขาย ...ให้ลูกค้าที่เข้าใจและพร้อมจ่ายครับ

ที่มา - Facebook Code

Get latest news from Blognone

Comments

By: keen
iPhoneAndroidUbuntu
on 14 April 2016 - 07:16 #903396
keen's picture

coded > codec หรือเปล่า?
เหมากับใคร? > เหมาะ

By: twometre
WriterAndroidWindows
on 14 April 2016 - 07:22 #903397 Reply to:903396
twometre's picture

codec ครับ แก้แล้วครับ

By: tgst
ContributoriPhoneWindows PhoneWindows
on 14 April 2016 - 12:21 #903445 Reply to:903397
tgst's picture

เหมากับใคร? > เหมาะ

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 14 April 2016 - 09:12 #903405 Reply to:903396
panurat2000's picture

ต้องใช้แบนด์วิดธ์ที่ 17Gb/s ถึงจะดูลื่นไหล

แบนด์วิดธ์ => แบนด์วิดท์

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 14 April 2016 - 14:26 #903473 Reply to:903396
itpcc's picture

การใช้ชอฟต์ปะติดปะต่อภาพเหล่านั้นเป็นภาพเดียวและเป็นวิดีโอด้วย การปะติดปะต่อแบบเฟรมต่อเฟรม
=>
การใช้ซอฟต์แวร์ปะติดปะต่อภาพเหล่านั้นเป็นภาพเดียวและเป็นวิดีโอแบบเฟรมต่อเฟรม


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P