สหภาพยุโรปหรือ EU เตรียมจะออกคำแนะนำในวันพรุ่งนี้ ให้กลุ่มประเทศสมาชิกดำเนินการกับบริษัทด้าน Sharing Economy อย่าง Uber และ Airbnb อย่างเป็นมิตรมากยิ่งขึ้น โดยให้การแบนเป็นทางเลือกสุดท้าย ในกรณีที่ไม่มีบทลงโทษที่เบากว่านี้แล้ว
หากกลุ่มประเทศสมาชิกต้องการจะปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทหรือธุรกิจท้องถิ่น ทาง EU ก็แนะนำว่าควรจะหามาตรการควบคุมเป็นลำดับขั้นไปก่อน เช่นกรณี Airbnb ทางการควรจะกำหนดให้ผู้เช่า Airbnb เช่าได้ไม่เกิน 2-3 วันเท่านั้น
อย่างไรก็ตามเงื่อนไขสำคัญของคำแนะนำนี้ คือบริษัทด้าน Sharing Economy จะต้องมีสถานะเป็นนายจ้าง หากลูกจ้างไม่สามารถกำหนดราคาหรือเลือกลูกค้าได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเท่ากับว่าเงื่อนไขนี้ส่งผลต่อ Uber โดยตรงที่ต่อสู้เรื่องการไม่ยอมรับคนขับรถในฐานะลูกจ้างมาโดยตลอด
Comments
"รัฐ" ควรปรับกฏหมายให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของ "ประชาชน" หรือไม่? เพราะอะไร?
(10 คะแนน)
แก้เกี้ยวด้วยการ เช็คอินซ้ำทุก 3 วัน
บางอย่างก็ผ่อนผันได้ แต่ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยหรือรายได้ของรัฐคงยากที่จะผ่อนผัน เช่นใบอนุญาติประกอบธุรกิจ ภาษีเฉพาะ ใบขับขี่สาธารณะ ทะเบียนรถป้ายเหลืองฯลฯ
งงว่าอย่าง Uber ทำไมถึงไม่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการให้บริการรถสาธารณะ (เหมือนอู่แท็กซี่)
แล้วก็คนที่สมัครมาขับ ก็เช็คว่าต้องมีใบขับขี่รถสาธารณะ (เหมือนคนขับแท็กซี่)
เท่านี้ก็น่าจะถูกกฎหมายแทบจะทุกประเทศแล้วไม่ใช่เหรอ
Concept ของ Uber คือ Sharing Economy ครับ แล้วการทำแบบนั้น(รับคนขับที่มีใบขับรถสาธารณะ)คงมีแต่คนขับแท็กซี่มาสมัครแหละครับ
จุดเด่นของ Uber ก็จะหายไปเลย (มารยาทดี,ขับรถดี,ฯลฯ)
อูเบอร์สู้ด้วยราคาครับ
ประเทศพัฒนาแล้ว แท็กซี่เค้าไม่มี แก๊สหมด ส่งรถ ครับ
บริการแท็กซี่ก็ดีมาตรฐานอยู่แล้ว แต่แพง
อูเบอร์ก็สู้ด้วยราคาที่ถูกกว่านิดๆ
ถ้ามาอยู่ในฐานเดียวกัน ต้องจ่ายค่าใบขับขี่รับจ้าง จ่ายประกันสังคม จ่ายภาษี
มันสู้ราคาไม่ได้
อูเบอร์เลยพยายามบอกว่า เราแตกต่างไปนะ แล้วเลี่ยงภาษี กับเลี่ยงกฎหมายมันทุกประเทศ
ซึ่งโคตรจะน่าเกลียดมาก
ถ้าในกรณีของเมืองไทย ผมเข้าใจว่าการให้บริการรถรับจ้างสาธารณะหรือ taxi สำคัญคือจะต้องจดทะเบียนที่ตัวรถให้เป็นรถรับจ้างสาธารณะ (ไม่ใช่การจดให้อู่เป็นผู้ประกอบการ) กับการที่คนขับมีใบขับขี่สาธารณะครับ
การให้คนขับ uber ต้องมีใบขับขี่รถสาธารณะ ผมว่าอันนี้พอเป็นไปได้อยู่ แม้ว่าในทางปฏิบัติจะค่อนข้างลำบากคือใช้เวลาเป็นเดือนครึ่งกว่าจะได้บัตร และต้องเสียเวลาในกระบวนการทำบัตรอยู่หลายวัน ซึ่งมันผิดคอนเซป sharing ecomomy ที่ผู้ขับก็คือคนทำงานทั่วไปนี่แหละมาขับรับรายได้เสริมในช่วงเวลาว่าง การที่ต้องไปขอใบขับขี่สาธารณะจะต้องลางานลายวัน (ได้ยินว่าคนขับแท๊กซี่บางคนยังแอบไม่ยอมทำกันเลย) ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่าเป็นอุปสรรคถ้าเราจะต้อนคนขับ uber ให้มีใบขับขี่สาธารณะ ถ้าจะแก้ไขเรื่องนี้ คือกรมฯ ต้องลดเวลาและขั้นตอนในการขอบัตรลดลง แต่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองและอบรมมากขึ้น (โดยเฉพาะเรื่องมารยาท ความซื่อสัตย์ และจรรยาบรรณ รวมถึงการขับรถอย่างปลอดภัยและเคารพกฏจราจร) ซึ่งแนวทางนี้ผมเห็นด้วยนะ คนขับ uber ก็ควรมีใบขับขี่สาธารณะ แต่การขอต้องสะดวกขึ้น เร็วขึ้น ในขณะเดียวกันต้องคัดกรองดีขึ้นด้วย
แต่เรื่องการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาจดทะเบียนเป็นรถยนต์รับจ้าง เรื่องนี้ผมมองว่าเป็นปัญหาใหญ่นะ ประเด็นสำคัญคือกฏหมายที่ค่อนข้างโบราณแล้ว (พ.ร.บ. จราจรทางบก 2522) ซึ่งสมัยก่อนกฏหมายกำหนดว่าแท๊กซี่ต้องมีแบบเดียวพิมพ์เดียวเท่านั้น ก็คือที่เราเห็น taxi วิ่งกันบนท้องถนนทุกวันนี้แหละครับ
กฏหมายที่ใช้กันทุกวันนี้กำหนดว่ารถที่จะจดจะต้องเป็นรถใหม่หรืออายุไม่เกิน 2 ปี เครื่องยนต์ 1500 CC ขึ้นไป (ในทางปฏิบัติต้องเป็นรุ่นเครื่อง 1.6 ขึ้นไป เพราะพวก b-segment อย่าง city หรือ vios ความจุกระบอกสูบ 1498 CC กันแต่เรียกว่า 1.5 ยิ่งพวก eco car นี่เลิกพูดเลย) ห้ามเซ็นทรัลล็อก ห้ามติดฟิล์ม ต้องทำสีเป็นเขียวเหลือง (หรือสีเหลือง หรือสีตามสังกัดอู่) จะต้องพ่นข้อความข้างรถ (แท๊กซี่บุคคล / ร้องเรียนโทร 1584) ต้องมีป้ายบนหลังคา ต้องมีป้ายอักษรว่าง ต้องมีกรอบติดบัตรประจำตัวคนขับ ต้องมีป้ายทะเบียนโลหะตอกตรงประตูหลัง มีการติดระบบมิเตอร์ คนขับต้องใส่เสื้อเชิ้ตปักชื่อตัวเอง เอาเสื้อใส่ในกางเกงให้เรียบร้อย... เพราะแบบนี้เราจึงเห็นแท๊กซี่มีรูปแบบที่เหมือนๆ กันหมด ไม่เว้นแม้แต่ All thai taxi เองก็ตาม
เท่าที่อ่านมา คิดว่าจะมีใครยอมเอารถส่วนบุคคล ไปโดนปู้ยี่ปู้ยำแบบนี้มั้ยครับ ฮ่าๆๆ
ซึ่งเจตนาของกฏหมายที่กำหนดรูปแบบรถแท๊กซีให้ออกมาแบบนี้ ก็เพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของผู้โดยสารนั่นเอง (เหมาะกับยุคก่อนที่รถ taxi วิ่งรับจ้างทั่วไปตามถนน ไม่มีหลักฐานหลงเหลือ ดังนั้นรายละเอียดตัวรถต้องชัดเจนให้ ผดส. สังเกตได้) แต่ผลที่ตามมาคือรถคันนั้นจะถูกดัดแปลงไปมาก เรียกว่ามันถูกผลิตออกมาเพื่อกลายเป็นแท๊กซี่ไปเลย คนต้องตั้งใจซื้อรถเพื่อมาจดเป็นแท๊กซี่ ไม่ใช่เอารถบ้านมาจดเป็นแท๊กซี่ ซึ่งตรงนี้ก็ขัดกับหลักการ sharing economy ของ uber อย่างแรงแล้ว
ซึ่งมาถึงยุคนี้ ผมว่าแท๊กซี่มันไม่จำเป็นต้องเป็นพิมพ์เดียวกันแบบนั้น ซึ่งการเรียกรถผ่านอินเทอร์เน็ต มีร่องรอยการใช้งานชัดเจน สืบถึงตัวคนขับและทะเบียนรถได้ แถมวิ่งรับตามคำสั่งจากศูนย์อย่างเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องทำสีหรือติดป้ายอะไรอย่างนั้นแล้ว ระบบมิเตอร์ก็ไม่ต้องติด ยิ่งเรื่องเครื่องยนต์นี่ยิ่งไม่จำเป็นใหญ่ ทุกวันนี้ uber เอารถอย่าง ecocar วิ่งก็ยังไม่เห็นมีใครบ่นอะไรเลย รถสมัยนี้ขนาดตัวถังไม่ต่างกันมากแล้ว สำคัญคือความสะอาด สภาพดี และปลอดภัยมากกว่าอีก เลิกเอาเกณฑ์ CC ที่ตั้งไว้ตั้งแต่สมัยปี 2522 มาเป็นเกณฑ์รถแท๊กซี่ได้แล้ว พูดง่ายๆ คือต้องทำให้การจดทะเบียนรถแท๊กซี่มัน flexible มากกว่าเดิม บนพื้นฐานของความเหมาะสมและประโยชน์ของผู้โดยสาร
อีกอย่าง ก็ควรแก้ให้อัตราค่าแท๊กซี่มีหลายรูปแบบได้แล้วตามขนาดและรูปแบบรถ จะได้สนองต่อความต้องการที่หลากหลายของผู้โดยสาร ทุกวันนี้อัตราค่าแท๊กซี่เรทเดียวกันหมด แต่ทุกวันนี้ตัวรถแท๊กซี่เองก็มีหลายรูปแบบ เช่นรถแวนสนามบินสุวรรณภูมิ (Innova) ที่เหมาะกับสนามบินเพราะผู้โดยสารกระเป๋าเยอะ เพราะรถเก๋งใส่ของไม่พอ ผลคือต้นทุนของรถแวนสูงกว่า ไม่คุ้มกับเรทแท๊กซี่ปกติ ต้องมาแอบเนียนคิดราคาเหมากับผู้โดยสาร จนเป็นข่าวดังเมื่อช่วงต้นปี ถ้าแก้เรื่องนี้ได้ ก็จะแก้ปัญหาเรื่องแท๊กซี่สนามบินสุวรรณภูมิได้ด้วย และจะทำให้ ผดส. มีทางเลือกในการใช้มากขึ้น
สรุปคือกฏหมายโบราณและตามยุคกับเทคโนโลยีไม่ทันครับ ล้าสมัยไปมากแล้ว ถ้าจะให้ uber ปรับเข้าหากฏหมาย กฏหมายเองก็ต้องปรับตัวตามเหมือนกันครับ ต้องชำระกฏหมายให้เป็นปัจจุบันได้แล้ว ไม่งั้นปัญหานี้ไม่จบสิ้นแน่ๆ ครับ
+1
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)