โครงการ Bufferbloat เป็นโครงการปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ของเราเตอร์หลายรุ่น ที่ทำงานช้าเพราะบัฟเฟอร์ข้อมูลมากเกินไป ทีมงาน Bufferbloat ยังขยายมาทำโครงการ Make-Wi-Fi-Fast เพื่อปรับปรุงความเร็วการส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi ให้ดีขึ้น
โครงการ Make-Wi-Fi-Fast เน้นการใช้งานกับเราเตอร์เป็นหลัก แต่เมื่อเราเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่โครงการจะต้องยุ่งเกี่ยวกับเคอร์เนลของลินุกซ์ โดยปรับแต่งให้ Wi-Fi stack และไดรเวอร์ของลินุกซ์ทำงานได้ดีขึ้น
ล่าสุดโค้ดจาก Make-Wi-Fi-Fast กำลังจะถูกส่งกลับมายังต้นน้ำ และรวมโค้ดเข้ากับเคอร์เนลของลินุกซ์โดยตรง ช่วงแรกโค้ดจะถูกส่งเข้าโครงการย่อย LEDE (Linux Embedded Development Environment) และน่าจะเข้ามาในเคอร์เนลหลัก Linux 4.10 ในช่วงต้นปี 2017
ที่มา - Phoronix
Comments
ทำไมเห็นข่าวนี้แล้วผมรู้สึกหวั่นๆ...
(เคยมีประวัติอัพ kernel แล้วทำ Wi-Fi ผมต่อกับกับพร็อกซี่โรงเรียนดับไปเลย)
Make wifi fast again
หมวก Made by Apple. :v ?
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
เร้าเตอร์ที่ใช้ OpenWrt ได้รับอานิสงค์ก่อนใคร (เพราะ LEDE นำ OpenWrt มาทำอีกที)
ส่วนเร้าเตอร์ทั่วไป ถึงแม้จะรุ่นใหม่ๆ เท่าที่ดูยังคงใช้ kernel 2.6 ต่อไป
The fastest wifi alive !
โลโก้ตอนท้ายทำให้นึกถึงกระทรวง...
+1
คิดเหมือนกันเลย
น่าตัดต่อให้มันชูมือขึ้นมาอยู่ตรงกลางวงด้วยนะ :D