ยากที่จะปฏิเสธว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยุทธศาสตร์และแนวคิดของ Google จะมุ่งเน้นไปที่ซอฟต์แวร์และคลาวด์เป็นหลัก ขณะที่ฮาร์ดแวร์นั้น เป็นเพียง "dumb material" ที่เปรียบเสมือนประตูทำให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงซอฟต์แวร์และบริการของ Google ให้ได้แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งแนวคิดนี้แทบจะเป็นรากฐานดั้งเดิมของ Google ก็ว่าได้ (อ้างอิงและอ่านเพิ่มเติมได้ที่ แอปเปิล vs กูเกิล - ความแตกต่างที่ลงลึกตั้งแต่ปรัชญารากฐานของบริษัท)
แต่ทว่าภายในงาน #madebygoogle เมื่อคืนที่ผ่านมา Google ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ของตัวเองหลายตัว ซึ่งไม่ใช่เพียงสะท้อนให้เห็นการหันหัวเรือครั้งสำคัญของกูเกิล ที่เข้ามามีบทบาทเรื่องฮาร์ดแวร์อย่างจริงจัง จากเดิมที่อาศัยพาร์ทเนอร์ แต่มันสะท้อนให้เห็นด้วยว่า Google เริ่มก้าวข้ามแนวคิดดั้งเดิมของบริษัท และหันมาใช้ฮาร์ดแวร์เป็นตัวชูโรงผลิตภัณฑ์และซอฟต์แวร์ของตัวเองมากยิ่งขึ้น
Google อาจจะเริ่มรู้แล้วว่า การอาศัยพาร์ทเนอร์ในการผลิตฮาร์ดแวร์ ไม่สามารถสร้างความโดดเด่นให้กับซอฟต์แวร์และบริการของตัวเองเท่าที่ควร ดังนั้นการดูแลฮาร์ดแวร์ควบคู่ไปกับซอฟต์แวร์ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เพื่อสร้าง ecosystem ที่สมบูรณ์ จึงเป็นคำตอบของปัญหาดังกล่าว ดังที่ Rick Osterloh หัวหน้าฝ่ายฮาร์ดแวร์ของ Google กล่าวภายในงานเมื่อคืนนี้ว่า
"The next innovation is going to take place at the intersection of hardware and software with AI at the center and that's where we have the biggest opportunity to bring people the very best of Google as we intended"
จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ Google เปิดตัวทั้งหมดเมื่อคืนช่วยชูโรงและนำเสนอซอฟต์แวร์และบริการของ Google ภายใน ecosystem เดียวกันทั้งหมด นำมาโดย Pixel ที่จ้าง HTC ในฐานะผู้ผลิต outsource
การทำสมาร์ทโฟนเองครั้งนี้ของ Google เป็นการท้าชนกับคู่แข่งแอนดรอยด์อย่าง iPhone โดยตรง ที่แอปเปิลคุมเองทั้งหมดตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ไปจนถึงบริการหลังการขาย เพียงแต่ด้วยความที่ Google ไม่มีหน้าร้านแบบ Apple Store จึงอาศัย Customer Care แบบ 24/7 แทน
ก่อนจะตามมาด้วย Google Home ที่มี Google Assistant เป็นแกนกลางเช่นเดียวกับ Pixel, DayDream View ที่เป็นตัวขับเคลื่อนแพลตฟอร์ม VR อย่าง DayDream, Chromecast Ultra เพื่อเสริมประสบการรับชมสำหรับคอนเทนต์ความละเอียดสูงบน Play Store และ YouTube และ Google Wifi ที่เข้ามาเป็นตัวกลางของการเชื่อมต่อและเข้าสู่บริการของ Google ภายในบ้าน
Comments
แนะนำหางาน Design ใหม่ก่อนครับ ในทุกๆ Product รอบนี้ดูแข็งไปหมดทุกอย่าง
Material design รึป่าวครับมันเลยดูเรียบๆ แข็งๆ
เอาจริง ๆ ช่วงนี้หันไปทางไหน ก็มีแต่เรื่องน่าผิดหวังครับ(ด้านดีไซน์)
อย่างแอปเปิล ตัดช่องหูฟังออกเพื่อยัดตัวสั่นมาให้ปุ่มโฮมใหม่
แล้วก็กล้องนูนที่ดูในเว็บแอปเปิล กับที่เห็นคนรีวิวแล้วมันคนละอารมณ์เลย ในเว็บดูนูนแล้วสวยพอทำใจรับได้ แต่พอมาเห็นข้างนอกแล้ว… นี่มันตุ่มอะไร???
กูเกิ้ลก็ดีไซน์ด้านหลังนี่ท่านไปเอามาแต่ใด…
ผมทำงานดีไซน์ และชอบสินค้ารอบนี้ทุกอย่างเลย ฟินสุดๆ 3
my blog
ผมว่ามันไม่เกี่ยวกับทำงานอะไรหรอกครับเรื่องแบบนี้ Subjective อย่างเดียว
หรือคุณพยามบอกว่าคนที่ไม่ได้ทำงานเรื่องดีไซน์ไร้รสนิยม ไม่เข้าใจดีไซน์ว่างั้น ผมว่ามันแล้วแต่คนมากกว่าอย่างผมเองมองว่า Sony ออกแบบสวยที่สุดเพราะชอบเหลี่ยม แน่นอนว่าหลายคนเห็นต่าง
ผมชอบทุกอย่างนะ
ยกเว้นโทรศัพท์
ดูๆแล้วไม่น่าจะกระทบฝั่งแอปเปิลมากเท่ากับพวกเรือธงทั้งหลายของฝั่งแอนด์ดรอยนะ อย่างพวกตระกูล samsung เงี้ย
ตั้งแต่เห็นที่เปิดตัวมาปีก่อนๆ นี่ก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วครับว่ามันจะน่ากลัวไปถึงขนาดไหนได้
555 ผมชอบ Chromebook Pixel ครับ เท่หรูไม่เหมือนใคร แต่กับ Material Design นี่ส่วนตัวคิดว่ามันขาดจิตวิญญาณในตัวเองอย่างแรง คือ รู้สึกว่าคนกำหนดเรื่องนี้เอารสนิยมส่วนตัว(ที่ไม่ค่อยจะกลาง) มาใส่มากเกินไป และ คนอื่นๆในบริษัท ก็ดูราวกับว่าไม่สนใจศิลปะอะไรเลย จะอะไรยังไงก็ได้ เอาเถอะ มือถือตัวในข่าวนี่ก็ให้ความรู้สึกไปในทางเดียวกับ Material Design เพียงแค่คราวนี้มันลุกลามจาก Software มาเป็น Hardware เรียบร้อยแล้ว และตัวนี้แหล่ะที่ทำให้ผมคิดแบบคุณว่ามันจะน่ากลัวไปถึงไหนได้ต่อจากนี้
ป.ล. คหสต ล้วนๆ
ผมชอบหน้าตา Chromebook Pixel เหมือนกันครับ รู้สึกว่าหน้าตามันออกมาดูหรูหราตาม position ของมัน แต่เรื่องการเอารสนิยมส่วนตัวของดีไซเนอร์มาใส่ในผลิตภันฑ์ใดๆ นี่ผมว่าเป็นส่ิงจำเป็นครับ การจะยึดถือเอาแบบความเป็นกลางๆ นี่ไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้ผลิตภันฑ์สามารถมีเอกลักษณ์ได้และมีสิทธิ์จะทำให้ผลิตภันฑ์ไม่มีเอกภาพ แต่มีข้อแม้อย่างเดียวว่า head designer ต้องเก่งมีรสนิยมดี มองเทรนด์ออกมีความสามารถในด้าน commercial art นะครับ
ผมเคยได้ยินว่าเขาเปรียบงานออกแบบเหมือนปาหินลงน้ำ ถ้าปาใกล้ใครๆก็ทำได้ ปาไกลเกินแรงกระเพื่อมกลับมาถึงฝั่งมันก็น้อย คิดว่าคงจะตรงกับที่คุณสื่อไม่มากก็น้อย
อย่างไรก็ดี ผมมองว่าการสุดโต่งในงานออกแบบควรถูกจำกัดอยู่ในช่วงเวลาที่เป็นงานต้นแบบ ส่วนตัว production น่าจะถูกกลึงถูกเกลาให้ลดทอนจริตส่วนตัวลงแล้วใส่ความเป็น Mass เพิ่มลงไป ไม่อย่างนั้นผมว่าโอกาสสูงที่จะเป็นหินที่ปาไกลเกิน(กว่าความเข้าใจของคนทั่วไปเช่นผม)
ประมาณนั้นครับ มันอยู่ในนิยามที่ผมเขียนไว้ในย่อหน้าที่สอง ต้องมีความสามารถด้าน commercial art ถึงจะขายของได้ ถ้า art มากเกินไปก็ไม่ไหว
ผมว่ามันไม่เกี่ยวกับทำงานอะไรหรอกครับเรื่องแบบนี้ Subjective อย่างเดียว
ตอนนี้ nexus 5 ยังใช้ได้ดีอยู่แม้จะถูกลอยแพแล้ว รอ pixel รุ่น 2017 ละกัน ติดใจ android สาย pure เข้าแล้วถอนตัวยากมาก จนมองข้ามจุดด้อยอื่นๆทั้งหมดไปเลย 55555
ผมว่าจุดด้อยหลักเลยครับ "ราคา"
โหดมากจริงๆ
ถ้าขายถูกอาจโดน samsung lg sony รุมยำ พวกนี้ยิ่งฉุนเฉียวอยู่เพราะโดนมือถือจีนแย่งตลาด
ผมว่าท้าชนกับ flag ship หุ่นเขียวทั้งหมดเลยมากกว่า
เห็น quote ด้านบน คล้ายๆจะพูดว่า
"People who are really serious about software should make their own hardware." เลย
+1
เป็นท้าชน ?
มีมี ?
ผมคิดว่า Google เก็บเล็กผสมน้อยเอาข้อดีหรือจุดเด่นของ Vendor แต่ละเจ้ามายำรวมกันเป็นของตนเองซะมากกว่า
อีกอย่างเค้าไม่ได้เปลี่ยนหรือก้าวข้ามความคิดอะไรเลย แต่คิดไว้แล้วรอจังหวะและโอกาสพร้อมมากกว่า
การที่ Google ทำ Hardware เองเข้าใจว่าเป็นการชี้นำตลาดมากกว่า Vendor หลายๆ อยากร่วมงานกับ Google
เพราะได้เทคโนโลยีและชื่อเสียงแค่นั้นเรื่องของกำไรน่าจะเป็นเรื่องรองลงมา
ในเมื่อ google ชี้นำตลาดได้ก็เกิดการผลิตสินค้าออกมามากมาย รวมถึงการลอกเลียน design สินค้าด้วย
ต้นทุนจะต่ำลง พอต้นทุนตำ่ลง ทุกคนก็เข้าถึง Google ได้ง่ายขึ้น ชนะทั้งลูกค้าและผู้ขายเลย (ผู้ชนะตัวจริงคือ google )
ตอนนี้ก็คงยกเว้น Huewei กับ Samsung แหละครับที่ดูเหมือนจะพยายามตีตัวออกห่างเพราะไม่ค่อยไว้ใจ Google ถ้าเป็นสมัย Nexus ก็คิดแบบเดียวกันกับคุณครับ แต่ตอนนี้สถานการณ์มันชักจะยังไงๆ อยู่
ออกมาขนาดนี้แล้ว ผมว่า vender อื่นๆ คงอยากหนี anroid ใจจะขาดละครับ แต่จะหนียังไงเท่านั้นเอง
คิดดูแล้วไม่ได้แข่งกับ iphone เลย นี่มันออกมาแข่งกับเรือธง android เจ้าอื่นๆ ชัดๆ