สำนักวิจัย McKinsey ร่วมกับ Bloomberg New Energy Finance เปิดเผยผลการสำรวจที่ชี้ว่า ภายในปี 2030 รถยนต์ไฟฟ้าในเมืองใหญ่ที่มีรายได้เฉลี่ยของประชากรสูง จะมีสัดส่วนบนท้องถนนถึง 2 ใน 3
ปัจจัยหนึ่งคือเทคโนโลยีที่มีราคาถูกลงและแบตเตอรี่มีความจุมากขึ้น รวมถึงกระแสรักษ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการสนับสนุนจากภาครัฐ
และด้วยเหตุนี้งานวิจัยระบุว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมดจะได้รับผลกระทบและต้องปรับตัวตาม รวมถึงบริษัทขายนำ้มันต่างที่ต้องสรรหาบริการต่างๆ มารองรับ
ที่มา - Venturebeat
Comments
อีก 1ส่วนที่ไม่ใช่ อยู่ในประเทศไทยคิดเป็น 70% ของรถยนต์พลังงานสันดาบทั้งหมด (ประชด)
ติเพื่อก่อก้ว่าไปอย่าง แต่ประชดนี่เพื่ออะไร เห้อ ไร้สาระ
ขอสาระเน้นๆ ให้ผมเสพหน่อยครับ
อย่างไรก็ตาม รถขนส่งการพาณิชย์คงไม่ได้ใช้รถไฟฟ้าภายในอันใกล้นี้แน่ๆ เพราะติดเรื่องการขนบรรทุกของหนัก และระยะทางที่ยังเป็นจุดอ่อนของรถไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ก็ต้องพึ่งน้ำมันใช้ไปก่อน รวมถึงอากาศยานและรถทางการเกษตรก็ยังต้องใช้น้ำมันไปซักพัก
Get ready to work from now on.
ขอเสนอข้อมูลนะครับ รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้านั้น
1) การบรรทุกสามารถทำได้เทียบเท่ารถบรรทุกที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันแล้ว
2) ยังทำความเร็วได้น้อยกว่ารถบรรทุกที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันพอประมาณ (10-20%)
3) ระยะทางน้อยกว่ารถบรรทุกที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันมากเป็นเท่าตัว (รถบรรทุกไฟฟ้า 19 ต้น ขนาดแบตเตอรี่ 120 kWh ต่อการชาร์จ 1 หนึ่ง ได้ระยะทางโดยประมาณที่ดีสุด 120 กม. ขณะที่รถบรรทุกที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน 19 ต้น ถังน้ำมัน 200 ลิตร ได้ระยะทางโดยประมาณ 800-1,000 กม.)
4) ที่ขนาดแบตเตอรี่ 120 kWh การชาร์จไฟต่อรอบใช้เวลา 4-8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับกำลังไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จ
ตัวอย่าง รถบรรทุกไฟฟ้า
Emoss
Smith
Eforce
ฝันว่าไทยจะเป็นแบบนั้นในสักวัน...
เดี๋ยว Elon Musk จัดให้ แต่บอกก่อนประเทศนี้ขนาดไฟฟ้ายังไม่เสถียรเลย
ในไทยถือว่าเสถียรกว่า SE Asia รอบๆ เยอะมากนะครับ ในเมืองปีนึงจะดับสักครั้ง เป็นบางพื้นที่ด้วย (พวกหม้อแปลงระเบิด) พวกดับเป็นวงกว้างนี่น้อยมากๆ
ลองไปจาการ์ตานี่ ดับกันรัวๆ ขนาดโรงแรม 5 ดาวยังดับๆ ติดๆ
คงเน้นรถในเมือง รถเก๋งทั้งหลาย __