หลังจากตัวแทนกูเกิลเข้าพบกับรัฐบาลไทย นำโดยพล.อ.อ.ประจิน จั่นตองเมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมา กูเกิลได้ตกลงความร่วมมือกับรัฐบาลไทย โดยปรับเพิ่มทีมงานที่ดูข้อมูลการร้องเรียนให้มีคนไทย ทำให้สามารถรองรับเอกสารภาษาไทยจากรัฐบาลได้
เอกสารของรัฐบาล ไม่จำเป็นต้องเป็นหมายศาลโดยตรงแต่มีเงื่อนไขว่าทางรัฐบาลต้องส่งหมายศาลตามไปภายหลัง
โฆษกของกูเกิลส่งอีเมลชี้แจงไปยังสำนัก The Guardian ในต่างประเทศระบุว่ากระบวนการตรวจสอบเนื้อหาและจำกัดการเข้าถึงจากประเทศต่างๆ เป็นนโยบายปกติของบริษัทและไม่ได้มีการปรับแก้พิเศษสำหรับประเทศไทย โดยก่อนจำกัดเนื้อหาตามที่แจ้งมา จะมีการตรวจสอบคำร้องขออีกครั้ง
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ, The Guardian
Comments
อยากรู้ว่าถ้าเราจะร้องเรียน หรือแนะนำ กูเกิ้ล
เราจะต้องแจ้งหรือส่งไปที่ไหนครับ
ก่อนหน้านี้ ได้ทักท้วง ไปเรื่อง ชื่อ จังหวัดนครราชสีมา ในกูเกิ้ลแมพ ซึ่งแต่ก่อนมันขึ้น นครราชศรีมา ซึ่งได้เมล์มา ส่งไปแต่ก็เหมือนจะไม่มีการตอบ แต่ก็มีการแก้ไขในภายหลังให้
ซึ่งยังมีเรื่องราว และความผิดพลาดจากระบบอีกหลายตัวที่อยากจะถามและร้องเรียน ครับ
ถ้าชื่อจังหวัดนี่ไม่แน่ใจว่าแจ้งตรงไหน
แต่ถ้าชื่อสถานที่ผิด ตำแหน่งผิดพลาด ผมจะใช้ Google Map อ่ะครับ มันจะมีคำสั่ง 'มีส่วนร่วม' ประมาณนี้อ่ะครับ แจ้งไป แล้วเราก็ได้แต้มสะสมด้วย เป็นระดับของเรา ระดับสูง ๆ ก็ได้สิทธิ์โน้นนี่เล็ก ๆ น้อย ๆ
เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ
ฟีดไปเรื่อยๆครับ เน้นคอมเม้นท์เป็นภาษาอังกฤษ
ตอนนั้นของผมบ้านเลขที่ผิดฟีดไป 1 เดือนไม่แก้เลยฟีดไป
แล้วเหมือนแจ้งกลับมาด้วยว่าถูกแล้ว
อีกรอบเลยบอกไปประมาณว่า
"It's my home, why I don't know my home address?"
อีก 1 เดือนต่อมาผมเสิร์ชบ้านเลขที่ตัวเอง + เขตไปมาก็มา pin ที่บ้านผมตรงแล้วครับ
เสิชบ้านเลขที่ได้ด้วยหรอครับ พึ่งรู้เลยงี้เริ่มอันตรายละ
ถ้าไม่โอเคแจ้งได้ครับว่านี้มันพื้นที่ส่วนตัวไม่ให้ขึ้น แต่ที่มีส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้าบริษัทครับที่อยากให้ขึ้นเพราะมันให้ลุกค้าหาง่าย
ต้องใส่ข้อมูลพอสมควรครับ
แต่เรื่องบ้านเลขที่นี่ยังไม่ตรงค่อนข้างมาก
ถึงมากที่สุดเพราะ ข้ามเขตไป
ถ้ามีจำนวนหมู่เท่ากันบ้านเลขที่ก็ชนกันแล้ว
แถมบางทีมีใส่บ้านเลขที่ไปก็เป็นบ้านเลขที่เก่า/ใหม่
ของบ้านอื่นก็มี ที่สังเกตข้อมูลพวกนี้มากจาก
1. คนฟีด
2. รถกูเกิ้ลถ่ายแล้วเห็นป้ายบ้านเลขที่
บ้านพ่อเราที่สวิส พิมที่อยู่ไปเจอร์บ้านพร้อมสตรีทวิวเลย
HERE Maps นี่ใส่เบอร์โทรศัพท์บ้านยังได้เลย ผมสงสัยมากเลยว่าไปเอาข้อมูลมาจากไหน
หมายถึง ผ่อนปรน รึเปล่าครับ
อ่าว อ่านจากสื่อไทยนี่ ถึงขนาดมีทีมเฉพาะกิจมาคอยส่องเรื่องนี้เลยนะ
แล้ว google มาแถลงอย่างนี้ ไม่เห็นใจ "สีข้าง" สื่อM สื่อN กันบ้างเลยเหรอ
Mthai กับ Notebookspec?
ตามอ่านในประชาชาติ ผมเข้าใจว่าที่ทีมเฉพาะกิจนี่คือของรัฐบาลไทยนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000105843
จากข่าว ผมอ่านแล้วก็ยังเข้าใจว่า google ร่วมมือตั้งทีม ฉก. ด้วย
ครับ ผมถึงบอกว่าอ่านจาก "ประชาชาติ"
ส่วนข่าวอื่นที่ระบุว่ามีความร่วมมือ ณ วันที่ผมเขียนมีข่าวลงปฎิเสธบ้างแล้วผมจึงข้ามไป
lewcpe.com, @wasonliw
โลกต้องตามเราสิครับ เราเป็นศูนย์กลางของโลกนี้ ฝรั่งพวกนี้ไม่รู้เรื่อง
เยอะ
ทีมงานใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้เหรอ
แต่แจ้งละเมิดลิขสิทธิ์เพลงไม่ต้องมีหมายศาล ลบได้ทันที...
ลิขสิทธิ์เพลงมันต่างออกไป เพียงแค่ผู้แจ้งมีหลักฐานยืนยันว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
เลิกเอาเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ซึ่งอยู่ในลักษณะของกฎหมายภายในอันมีที่มาจากกฎหมายหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศมาเปรียบเทียบเสียทีเถอะครับต้องเข้าใจว่ากฎหมายอันนึงอยู่ในฐานะกฎหมายภายในแต่อีกอันที่อยู่ในฐานะกฎหมายภายใน+กฎหมายระหว่างประเทศตามสนธิสัญญา ไม่งั้นคดี RS ตอนบอลโลกพวกฟ้องอ้างอยากดูฟรีชนะไปแล้ว
แล้วเซิฟเวอร์บางตัวไม่ได้อยู่ในประเทศไทยการไปขอให้ลบมันก็ต้องทำตามกฎหมายของประเทศนั้นๆด้วยไม่ใช่ว่าอยากลบก็ลบได้นะ ในขณะที่กฎหมายลิขสิทธิ์ในประเทศภาคีสมาชิกหลักการมันเหมือนกันหมดเพราะมันมีที่มาจากสนธิสัญญาตัวเดียวกัน
ที่เขาต้องมีหมายศาลก็เพราะว่าผู้ให้บริการไม่สามารถทราบกฎหมายอื่นๆในประเทศต่างๆได้แล้วเขาก็ใช้นโยบายนี้กับทุกที่แล้วที่ต้องมีหมายศาลก้เพื่อยืนยันการมีอยู่ของกฎหมายนั้นๆเพราะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ให้บริการจะรู้กฎหมายของในแต่ล่ะประเทศทั้งหมด
แต่กฎหมายลิขสิทธิ์นั้นมีใช้ในประเทศภาคีสมาชิกซึ่งเป็นกฎหมายที่ Google ต้องรู้อยู่แล้วไม่ต้องพิสูจน์การมีอยู่ของกฎหมายนั้นๆเพียงแต่ผู้แจ้งเองก็ต้องแสดงหลักฐานความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เหมือนกันครับ ไม่ใช่อยู่ๆจะลบได้เลย
แล้ว Google มีฐานข้อมูลของเจ้าของลิขสิทธิ์เจ้าใหญ่ๆที่เขาลงทะเบียนกับทาง Google อยู่แล้ว
สุดท้ายแล้วมันก็อยู่ที่ความใส่ใจนั่นแหละครับ มันจะมีภาคีจะมีสนธิสัญญาหรืออะไรก็ตาม ถ้าผู้ให้บริการจะไม่ใส่ใจคำร้องขอจนกว่าจะมีหมายศาลมันก็ทำได้ทุกอย่างนั่นแหละ คนร้องเรียนจะทำอะไรได้ครับ
อย่าง facebook หรือที่อื่น ๆ หลาย ๆ ที่ คนแจ้งว่านี่มัน offensive นะ เขาก็ยังจัดการให้ไม่ต้องมีหมายศาลอะไรเลย
บริการ Google ต่างๆและ YouTube ก็มีให้ report นี่ครับ? ส่วน report แล้วจะถูกจัดการอย่างไร(หรือไม่ถูกจัดการ)ก็เป็นดุลพินิจของพนักงานที่เกี่ยวข้อง เป็นกันทุกบริษัท Facebook ก็ด้วย
สิ่งที่รัฐบาลขอปกติเป็นความต้องการที่เหนือกว่าการ report อยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่นเรื่องชลรัศมีครับ ทั้งที่เป็นข่าวปกติทำไมต้องขอให้ลบ ดังนั้นเรื่องแบบนี้จึงต้องมีหมายศาลเข้ามาเกี่ยวข้อเพื่อแสดงว่าข้อมูลเหล่านั้นผิดกฎหมายจริงๆครับ
การทำงานของบริษัทต่างๆมันมีมาตรฐาน(ดีหรือแย่อีกเรื่อง)อยู่แล้วครับ การไปกล่าวว่าเค้าไม่ทำอย่างที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งอยากให้ทำอันนั้นผมว่ามันเอาแต่ใจเกินไปหรือเปล่า
สมมติว่าในยุคทักษิณที่มีการโกงกินเยอะ มีคนโพสคลิปเรื่องการโกงใน YouTube ทักษิณอยากจะปิดข้อมูลจึงบอกให้ YouTube ลบโดยไม่ต้องผ่านหมายศาล แบบนั้นเป็นเรื่องที่ดีหรือเปล่าครับ?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
กรณ๊ที่คุณยกตัวอย่างมาผมก็ไม่ไงนะ แต่แบบ clip โจมตีในหลวงแบบ hardcore ด่าหยาบ ๆ คาย ๆ เสีย ๆ หาย ๆ ผมว่ามันแตกต่างกันนะครับ ซึ่งผมคิดว่าทางการไทยก็น่าจะร้องเรียนกรณีเป็นหลักด้วย
ถ้าเป็นเรื่องนั้นก็ขอหมายศาลได้ไม่ยากอยู่แล้วนี่ครับ? Google เองก็ยอมลงทิ้งก่อนมีหมายศาลตามมา'ทีหลัง'อยู่แล้ว
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ลองอ่านที่คุณ Mckay เขียนด้านล่างก่อนครับ ผมว่าคุณอคติมาหลายรอบแล้ว ครั้งนี้ผมแย้งรอบที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้
ถ้าคุณทราบ process จริงๆคุณจะไม่มาแสดงความเห็นในลักษณะนี้หรอกครับ
การลบข้อมูลในประเทศในยุโรปส่งคำขอไปลบเฉยๆไม่ได้นะครับถ้าไม่มีกฎหมายคุ้มครองส่วนนั้นไว้ ที่เขาให้มีหมายศาลก็เพื่อความมั่นใจว่าลบได้แค่นั้นแหละ
ต้องมองในมุมของผู้ให้บริการด้วยไม่ควรที่จะด่าเอามันส์อย่างเดียวครับ
ในขณะที่การละเมิดลิขสิทธิ์นั้นกฎหมายระบุชัดเจนไม่ต้องตีความมากมายและกฎหมายตัวนี้มีลักษณะเป็นหมายที่บังคับใช้ในประเทศภาคีสมาชิกด้วย
มันไม่ใช่กฎหมายภายในปกติ คือถ้ารู้ที่มาของกฎหมายนี้ไม่มีทางที่จะอ้างเรื่องอื่นว่าทำไมตามกฎหมายอื่นถึงไม่ลบ
กฎหมายลิขสิทธิ์ผมเรียกว่ากฎหมายพิเศษครับที่มาไม่เหมือนชาวบ้านชาวช่อง
กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยแทบจะลอกของต่างประเทศมาเลย get ไหมครับ
รู้รึเปล่าครับว่าการบังคับใช้กฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศนั้นแตกต่างกันในแต่ล่ะประเทศ
ของไทยกฎหมายลิขสิทธิ์คือไปยอมรับสนธิสัญญาแล้วมาร่างออกกฎหมายภายในเพื่อบังคับใช้ในขณะที่บางประเทศนำสนธิสัญญามาบังคับใช้เลย
อย่างไรก็ตามผลก็คือ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนในกลุ่มภาคีสมาชิกจะมีกฎหมายตัวนี้อยู่ทุกประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก
Copyright Law เป็นกฎหมายที่มีลักษณะของ International Law อยู่สูงครับ
ถ้าเอามาเทียบต้องเทียบกับกฎหมายที่อยู่ในลักษณะเดียวกัน
เรื่องบางเรื่องมันขอลบได้เลยถ้าเป็นลักษณะความผิดที่ผิดกฎหมายในหลายๆประเทศ
แต่กรณีคำสั่งของฝ่ายบริหารหรือกฎหมายแปลกๆเช่นประกาศคสช. มันไม่ใช่กฎหมายที่ผู้ให้บริการสามารถรู้ได้เอง
ดังนั้นไม่แปลกว่าทำไมจึงต้องขอหมายศาลกำกับมาด้วยเพื่อยืนยันว่ามีกฎหมายและความผิดที่ว่านั้นอยู่จริง
ในขณะที่กฎหมายลิขสิทธิมันอยู่ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งผู้ให้บริการจำเป็นต้องทราบ
พูดง่ายคือคุณเอากฎหมายที่มีลักษณะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศมาชนกับกฎหมายภายในประเทศ
ซึ่งถือว่า fail เวลาใช้ตรรกะทางกฎหมาย
Google ไม่สามารถลบ clip youtube เองได้ต้องมีหมายศาลมาคุ้มครอง ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้ให้บริการอย่างเนี้ยเหรอครับ ผมว่ามันแปลก ๆ นะ