Diabetic Retinopathy (DR) หรือภาวะเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ เป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงจะสูญเสียการมองเห็น ซึ่งสามารถรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ก็จะถูกนัดตรวจตาเป็นประจำทุกปี
ด้วยเหตุนี้ทีม DeepMind ของ Google จึงวิจัยและประสบความสำเร็จในการพัฒนาอัลกอริทึม Deep Learning สำหรับค้นหาอาการหรือตัวบ่งชี้ที่จะก่อให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ จากภาพถ่ายดวงตาของผู้ป่วยเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการตรวจของจักษุแพทย์
Google ระบุว่าได้ใช้รูปภาพด้านหลังของดวงตากว่า 128,000 ภาพ ในการฝึก โดยความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะมีภาวะ DR คือตรวจพบของเหลวหรือเลือดในลูกตา ซึ่งผลปรากฎว่ามีความแม่นยำและถูกต้องเทียบเท่ากับการตรวจโดยจักษุแพทย์ นอกจากนี้นักวิจัย DeepMind กำลังฝึกให้ Machine Learning ตรวจสอบอาการ DR จากภาพ 3 มิติ ที่เริ่มถูกนำมาใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
ที่มา - The Keyword
Comments
สุดยอด
สุดยอดจริงๆ
แจ่มแมว
ปัญหาจริงๆ ไม่ใช่ขาดคนตรวจนี่ครับ ขาดอุปกรณ์ตรวจมากกว่า ไอ้กล้องใช้ส่องนี่แหละที่ไม่มี
ผมว่างานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่เพิ่มความแม่นยำในการตรวจรึเปล่า กับอีกกรณีนึงคือสถานพยาบาลมีกล้องส่องแต่ไม่มีจักษุแพทย์ มีแต่ GP หรือ Specialist ด้านอื่น ก็จะได้ขอความเห็น AI ช่วย diagnosis
แม่นยำในการตรวจก็เรื่องนึง แต่ถ้าจักษุแพทย์ตรวจก็ต้องถือว่าเป็น Gold standard อยู่แล้วครับ
ส่วนกรณีไม่มีจักษุแพทย์ดู ในเมืองไทยก็อาศัยเทรนด์ พยาบาลดู เท่าที่ทราบก็ได้ผลดีเหมือนกันนะครับ
แต่ปัญหากล้องนี่น่าจะหนักกว่า เพราะไม่ค่อยมี
ถูกต้องครับ
ปัญหาไม่ใช่บุคคล เพราะทักษะการตรวจเบาหวานขึ้นจอประสาทตา จักษุแพทย์ทุกคนต้องวินิจฉัยได้ ถึงไม่มีจักษุแพทย์ พยาบาล (ที่เป็น Specialist ตาหรืออายุรแพทย์ทางด้านเมทาบอลิก หรือบุคคลที่ได้รับการการเทรนนิ่งแล้ว) ก็สามารถตรวจสอบจากภาพถ่าย แล้วค่อยส่งต่อมายังโรงพยาบาลที่มีจักษุแพทย์ตามลำดับขั้นตอนต่อไป
แต่ปัญหาคืออุปกรณ์กล้องถ่ายรูปจอประสาทตา (Fundus Camera) ที่เราไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศได้ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศอย่างเดียว และราคาต่อเครื่องก็หลักล้านบาท และมีบริษัททำน้อย เช่น Carl Zeiss Meditec, Nidek, Alcon เป็นต้น และทั้งหมดต้องนำเข้าอย่างเดียวครับ
AI ทำได้อย่างมากแค่ Advice ครับ ส่วนการ Diagnosis ให้เป็นหน้าที่จักษุแพทย์หรือแพทย์ที่เป็นมนุษย์ดีกว่า