Donald E. Knuth ปรมาจารย์แห่งวงการคอมพิวเตอร์ และผู้เขียนหนังสือชุด The Art of Computer Programming (ที่ปัจจุบันยังเขียนไม่จบ!) มีธรรมเนียมจะออกมาบรรยาย Christmas Lecture ให้นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งเขาบรรยายแบบนี้ติดต่อกันมา 30 ปีแล้ว (มีเว้นไปช่วงปี 2020-2021 จากสถานการณ์โควิด)
ParadeDB ผู้สร้างดิสโทรของ PostgreSQL เปิดส่วนขยาย pg_bm25 สำหรับการสร้าง search engine ด้วย PostgreSQL โดยมีเป้าหมายคือการทดแทน Elasticsearch
pg_bm25 อาศัยการสร้าง index แบบ BM25 ที่สามารถหาเอกสารโดยไม่ได้เรียงลำดับแค่พบคำค้นหาเท่านั้น แต่ให้คะแนนจำนวนครั้งที่พบคำค้น, ให้ความสำคัญกับคำที่พบได้น้อยเป็นพิเศษ, ให้ความสำคัญกับเอกสารที่สั้นกว่า โดย Elasticsearch เองก็ใช้ BM25 ในการค้นเอกสารเช่นกัน
จากการสืบสวนร่วมกันโดย The Wall Street Journal และนักวิชาการที่ Stanford University และ University of Massachusetts Amherst พบว่าระบบแนะนำบัญชีของ Instagram มีส่วนช่วยโปรโมทให้เครือข่ายกลุ่มคนใคร่เด็ก (pedophile) ด้วยการเชื่อมโยงคนที่ชอบคอนเทนต์ลักษณะนี้ ให้ไปเจอกับกลุ่มผู้ขายคอนเทนต์
บัญชีลักษณะนี้ จะโฆษณาโดยใช้แฮชแท็กที่เข้าข่ายการขายเนื้อหาให้กับกลุ่มคนใคร่เด็กชัดเจน เช่น #pedowhore, #preteensex และ #pedobait ซึ่งแฮชแท็กเหล่านี้จะกลายเป็นแหล่งช็อปปิ้งให้กับทั้งผู้ซื้อหรือคนกลาง โดยมีทั้งรูปแบบวิดีโอและภาพ รวมถึงคอนเทนต์ประเภททำร้ายตนเอง และมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์
DeepMind เปิดตัว AlphaDev ปัญญาประดิษฐ์พัฒนาโปรแกรมที่ไม่ใช่แค่การเขียนโปรแกรมธรรมดา แต่สามารถออปติไมซ์โปรแกรมจนเกินกว่าที่คนทั่วไปเขียนได้ ในกรณีนี้ทาง DeepMind ใช้ AlphaDev สร้างฟังก์ชั่น sort สำหรับเรียงลำดับข้อมูลที่มีการพัฒนากันมานาน
AlphaDev ทำงานคล้าย AlphaZero ที่เคยใช้สำหรับการเล่นเกมโกะมาก่อน โดย AlphaDev จะวางคำสั่ง assembly ลงไปเรื่อยๆ เพื่อทำให้โค้ดรันได้เร็วที่สุดเหมือนเกมโกะที่พยายามครองพื้นที่ให้ได้มาก แต่หากโปรแกรมทำงานผิดก็จะถือว่าแพ้เกมนั้นไป โมเดลการให้รางวัลและปรับจูนไปเรื่อยๆ เช่นนี้ทำให้ AlphaDev สามารถเขียนโค้ด sort ที่ทำงานเร็วกว่าโค้ดเดิมใน LLVM ได้ทุกกรณี ในกรณีข้อมูลมีจำนวนน้อยโค้ดจะเร็วกว่าถึง 70% ขณะที่เมื่อข้อมูลมีจำนวนมากๆ ก็ยังเร็วกว่า 1.7%
Cloudflare ปล่อยโค้ด pingora-limits ตัวนับอีเวนต์ (event) ในพรอกซี่ Pingora ที่ Cloudflare พัฒนาชึ้นมาใช้งานแทน NGINX โดยตัวเซิร์ฟเวอร์ต้องนับสถิติต่างๆ โดยยังต้องมีประสิทธิภาพสูง ไม่ทำให้บริการโดยรวมช้าลง
Pingora ต้องนับสถิติจากอีเวนต์ต่างๆ ถึง 20 ล้านครั้งต่อวินาที เช่น มีเหตุเซิร์ฟเวอร์ไม่ตอบสนอง เกินจำนวนครั้งที่กำหนดก็ต้องตัดเซิร์ฟเวอร์ตัวนั้นออก โดยตัวนับนี้มีเงื่อนไขว่าต้องรองรับการทำงานแบบขนานอย่างหนัก และขณะที่กำลังเพิ่มค่าที่นับไม่ต้องล็อกหน่วยความจำไปทั้งหมด ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคอขวดของระบบ
หลังจาก Twitter เปิดซอร์สโค้ดอัลกอริทึมของตัวเองขึ้น GitHub เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็มีคนแกะโค้ดดูอย่างรวดเร็วว่าการทำงานของ Twitter ในยุค Elon เป็นอย่างไร
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคงเป็นการแยกประเภทของผู้ใช้งานตามมุมมองทางการเมือง (ในสหรัฐ) มีผู้ใช้ 4 กลุ่ม ได้แก่ตัว Elon เอง (author_is_elon), กลุ่มผู้ใช้ระดับสูง (power_user), พรรคเดโมแครต (democrat) และพรรครีพับลิกัน (republican) ซึ่งจะได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกัน มีฟีเจอร์แตกต่างกันไป (ลิงก์ไปดูโค้ดส่วนนี้)
กรณีของ Elon นั้นจะมีการเก็บสถิติด้วยว่าข้อความของเขาถูกมองเห็นมากแค่ไหน ซึ่งตรงตามข่าวหลุดก่อนหน้านี้ ว่า Elon ไม่พอใจที่ข้อความของเขามีคนเห็นน้อยกว่าที่คาด
Jacob Ziv ผู้ร่วมพัฒนาอัลกอริทึม LZ ร่วมกับ Abraham Lempel เสียชีวิตเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาด้วยวัย 91 ปี Lempel เพิ่งเสียชีวิตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาด้วยวัย 86 ปี
Lempel และ Ziv พัฒนาอัลกอริทึม LZ77 และตีพิมพ์ลงวารสาร IEEE Transactions on Information Theory เมื่อปี 1977 หลังจากนั้น LZ77 กลายเป็นต้นตระกูลของอัลกอริทึมบีบอัดข้อมูลแบบได้ข้อมูลคงเดิม (lossless compression) จำนวนมาก
Meta ประกาศอัพเดตฟีเจอร์ Facebook ที่อธิบายว่า "Why am I seeing this ad?" หรือ "ทำไมฉันจึงเห็นโฆษณานี้" ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่มีมาตั้งแต่ปี 2014 อยู่ที่ปุ่มด้านบนขวาของส่วนโฆษณาที่แสดง เพื่ออธิบายกับผู้ใช้งาน ว่าทำไม Facebook จึงแสดงโฆษณานี้ขึ้นมาจากปัจจัยต่าง ๆ อายุ เมือง ภาษา ความสนใจ
โดยเครื่องมือที่อัพเดตใหม่นี้ จะแสดงข้อมูลแบบสรุปด้วย Machine Learning ทั้งกิจกรรมใน Facebook และกิจกรรมที่เกิดนอก Facebook เช่นการเข้าชมเว็บไซต์ ว่าทำไมโฆษณานี้จึงถูกนำมาแสดง แยกรายละเอียดระดับฝั่งผู้ลงโฆษณา จนถึงกิจกรรมฝั่งผู้ใช้งานที่ตรงกับความต้องการผู้ลงโฆษณา (ดูตัวอย่างท้ายข่าว)
กูเกิลโอเพนซอร์สไลบรารีเรียงลำดับข้อมูล (sorting) ที่ใช้ชุดคำสั่งแบบเวคเตอร์ในซีพียู ทำให้ไลบรารีทำงานได้เร็วขึ้น 9-19 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ std::sort
ในภาษา C++
ชุดคำสั่งแบบเวคเตอร์เป็นชุดคำสั่งที่ซีพียูประสิทธิภาพยุคใหม่ๆ อิมพลีเมนต์กันเป็นส่วนมาก และการเขียนฟังก์ชั่นเรียงลำดับข้อมูลด้วยชุดคำสั่งประเภทนี้ก็มีการศึกษามาระยะหนึ่งแล้วว่าใช้เร่งความเร็วได้ แต่โค้ดของกูเกิลในครั้งนี้มีความพิเศษคือมันรองรับซีพียูหลากหลายรุ่น รวม 3 สถาปัตยกรรม รองรับชุดคำสั่งเวคเตอร์ 6 รูปแบบ โดยอาศัยไลบรารี Highway ของกูเกิลเองเพื่อทำให้โค้ดที่ใช้คำสั่งแบบเวคเตอร์นี้พอร์ตข้ามสถาปัตยกรรมได้
ภาษา Go เตรียมเปลี่ยนฟังก์ชั่น sort จากเดิมใช้ QuickSort มาเป็น pdqsort หรือ pattern-defeating quicksort อัลกอริทึมเรียงลำดับที่ประสิทธิภาพโดยรวมดีขึ้นมากในหลายกรณี แม้ว่ากรณีที่แย่ที่สุดยังเป็น O(n log n)
เช่นเดิมก็ตาม
pdqsort พัฒนาโดย Orson R. L. Peters จากมหาวิทยาลัย Leiden ในเนธอร์แลนด์เมื่อปี 2017 มีจุดได้เปรียบสำคัญคือยิ่งค่าที่เป็นไปได้ของข้อมูลมีน้อยแม้จำนวนข้อมูลจะมีจำนวนมาก เช่น เรียงเลขนับล้านตัว แต่มีเลขที่เป็นไปได้เพียง 0 ถึง 9 ในกรณีเช่นนี้ pdqsort จะมีประสิทธิภาพสูงมาก และหากโค้ดสำหรับเปรียบเทียบค่าไม่ต้องมี branch ประสิทธิภาพในการรันอัลกอริทึมก็จะสูงขึ้นมาก
Instagram ออกมายืนยันแล้วว่ากำลังพัฒนา Favorites ที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกบัญชีที่อยากเห็นบนหน้าฟีดบ่อยๆ ได้ ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ Facebook มีแล้วเช่นกัน โดยใน Facebook สามารถเลือกได้มากสุด 30 บัญชี ส่วน Instagram นั้นยังไม่ชัดเจนว่าเลือกได้กี่บัญชี
Adam Mosseri หัวหน้าทีมของ Instagram เขียนบล็อกอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจการทำงานของอัลกอริทึมคัดเลือกเนื้อหาขึ้นมาแสดง สำหรับผู้ใช้งานแต่ละคน ซึ่ง Instagram ได้เปลี่ยนระบบฟีดนี้มาตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว เคยอธิบายหลักการคัดเลือกเนื้อหามาครั้งหนึ่ง แต่รอบนี้ลงรายละเอียดที่มากขึ้น
ByteDance เจ้าของแอป TikTok เปิดตัวบริการใหม่ Volcano Engine เป็นเครื่องมือที่นำอัลกอริทึมมาคัดเลือกเนื้อหาแนะนำเฉพาะบุคคล สำหรับให้ลูกค้าองค์กรนำใช้งานปรับแต่งเอง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ ByteDance มีผลิตภัณฑ์ที่เจาะกลุ่มลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะ
อัลกอริทึมในการคัดเลือกเนื้อหามาแสดงของ Bytedance นั้น เชื่อว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญของความสำเร็จแอป TikTok ในระดับโลก เช่นเดียวกับที่เทคโนโลยีนี้ถูกใช้ในแอป Douyin หรือ TikTok จีน และแอปอ่านข่าวยอดนิยมในจีน Toutiao
ByteDance ระบุว่า Volcano Engine เริ่มนำมาใช้งานแล้วกับลูกค้าองค์กรบางรายมากกว่าหนึ่งปี อาทิเช่น อีคอมเมิร์ซ JD.com, สมาร์ทโฟน Vivo และรถยนต์ Geely
Instagram เผยกับ Financial Times ว่า กำลังปรับปรุงอัลกอริทึมใน Stories ให้แสดงเนื้อหาที่อยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น หลังพนักงาน Instagram ร่วม 50 คนแสดงความกังวลว่าผู้ใช้งานมองไม่เห็นเนื้อหาสนับสนุนชาวปาเลสไตน์
โฆษก Instagram ระบุว่า ตอนนี้แพลตฟอร์มกำลังจัดอันดับการแสดงเนื้อหาให้เท่าเทียมกันทั้งเนื้อหาออริจินัล และเนื้อหาที่คนนำไปโพสต์ใหม่ ซึ่งจะช่วยให้โพสต์อิงกับสถานการณ์ด่วนถูกพบเจอมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีผู้ใช้ที่แชร์โพสต์เกี่ยวกับความขัดแย้งล่าสุดในฉนวนกาซาเพิ่มขึ้น แต่วิธีการตั้งค่าแอปของ Instagram ในปัจจุบันมีผลกระทบต่อจำนวนคนที่เห็นโพสต์มากกว่าที่คาดไว้
Facebook ประกาศทดสอบความเห็นผู้ใช้งานทั่วโลก เกี่ยวกับความรู้สึกเวลาเห็นโพสต์ใดๆ บนหน้าฟีด ซึ่ง Facebook จะนำผลสำรวจไปปรับอัลกอริทึมการแสดงเนื้อหาใหม่ โดย Facebook จะให้ตอบแบบสอบถามด้านล่างโพสต์ว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับโพสต์นี้ โพสต์นี้สร้างแรงบันดาลใจหรือไม่ ในระดับใด
IEEE ประกาศมอบเหรียญเกียรติยศ (medal of honor) ให้แก่ Jacob Ziv นักวิจัยผู้ร่วมพัฒนาอัลกอริทึมบีบอัดข้อมูลแบบไม่สูญเสียข้อมูล LZ77 และ LZ78 (ตามปี 1977 และ 1978 ที่ตีพิมพ์) กับ Abraham Lempel
LZ77 และ LZ78 บุกเบิกการบีบอัดข้อมูลโดยที่ไม่สนใจว่าข้อมูลที่เข้ามาเป็นข้อมูลประเภทใด และข้อมูลที่ขยายกลับออกมาจะเหมือนเดิมทุกประการ อัลกอริทึมนี้เป็นต้นแบบของการบีบอัดแบบไม่เสียข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น PNG, ZIP, หรือ DEFLATE
ทุกวันนี้อัลกอริทึมในกลุ่ม LZ ยังมีใช้งานกันเป็นวงกว้าง เช่นโปรแกรม 7-Zip ใช้อัลกอรีทึม LZMA ที่พัฒนาต่อมาจาก LZ77/LZ78
คณะกรรมาธิการข่าวกรองของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ หรือ The House Select Committee on Intelligence จัดการประชุมร่วมกับผู้บริหารบริษัท Facebook, Google, Twitter ผ่านการประชุมออนไลน์ หัวข้อคือความปลอดภัยในการเลือกตั้งและการแทรกแซงจากต่างประเทศก่อนการเลือกตั้งสหรัฐฯ 2020
คณะกรรมการมีข้อกังวลถึงอัลกอริทึม Facebook จากที่ Wall Street Journal รายงานว่าผู้บริหารใน Facebook รู้ว่าอัลกอริทึมบนแพลตฟอร์มสามารถสร้างความแตกแยกได้จริง และไม่มีความพยายามจะปรับปรุงแก้ไข ซึ่ง Jim Himes หนึ่งในคณะกรรมการหยิบประเด็นนี้มาถาม Nathanial Gleicher หัวหน้าฝ่ายนโยบายความปลอดภัยที่ Facebook ที่เข้าร่วมประชุมด้วยว่า Facebook ได้พยายามทำอะไรกับเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมทั้งรู้สึกกัลวลที่ Facebook อาจส่งเสริมการแบ่งขั้วในประเทศนี้
นิวยอร์กซิตี้ โดยนายกเทศมนตรี Bill de Blasio ประกาศจัดตั้งตำแหน่งงานด้าน “การจัดการและนโยบายอัลกอริทึม” ซึ่งเป็นตำแหน่งระดับบริหาร โดยผู้รับตำแหน่งงานนี้จะต้องรับผิดชอบด้านการควบคุมอัลกอริทึมในนิวยอร์กซิตี้ โดยมีอยู่สองงานหลัก ๆ คือ สร้างแนวทางด้านสถาปัตยกรรมสำหรับอัลกอริทึม และให้การสนับสนุนทรัพยากรสำหรับนโยบายด้านอัลกอริทึม
ปัจจุบัน ประเด็นด้านความลำเอียงของอัลกอริทึมเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายเริ่มตื่นตัว เนื่องจากมนุษย์เข้าใจการทำงานของอัลกอริทึมได้ยากหรือบางครั้งก็ไม่เข้าใจเลย และอาจสร้างการแบ่งแยกระหว่างเชื้อชาติกันได้ง่าย ซึ่งหลายครั้งผู้สร้างอัลกอริทึมอาจละเลยประเด็นนี้ไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
Facebook มีฟีเจอร์ให้ผู้ใช้สามารถดูได้ว่า ทำไมฉันจึงเห็นโฆษณาชิ้นนี้มาตั้งแต่ปี 2014 ล่าสุด Facebook ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมโพสต์ธรรมดาๆ ด้วย
เมื่อผู้ใช้กดเข้าไปจะเห็นเมนูต่างๆ เรียงลงมาพร้อมระบุเหตุผลว่าไมจึงเห็นโพสต์นี้ (Why Am I Seeing This?) เช่น เป็นโพสต์จากคนที่ผู้ใช้กำลังติดตามอยู่ เป็นคนที่ผู้ใช้เคยคอมเมนท์หรือมี engagement ด้วย และมีข้อมูลบอกด้วยว่าผู้ใช้มี engagement กับเพจดังกล่าวบ่อยแค่ไหน เลื่อนลงมาข้างล่างยังมีเมนูทางลัด ให้ตั้งค่าให้เข้ากับตัวเองได้ เช่น เลิกติดตามบุคคล เพจดังกล่าว หรือจะเลือกให้เป็น see first ก็ได้
ในฟีเจอร์นี้ ผู้ใช้จะเห็นภาพการทำงานของอัลกอริทึม Facebook เพิ่มเติม และ Facebook ยังระบุด้วยว่าผู้ใช้เรียกร้องเรื่องความโปร่งใสในการทำงานของอัลกอริทึม News Feed ว่า Facebook ยังมีให้ไม่มากพอ
IBM Research หรือแผนกวิจัยของไอบีเอ็ม ประกาศวันนี้ว่าทางแผนกได้ปล่อยชุดข้อมูล Diversity in Faces (DiF) ออกสู่สาธารณะ สำหรับงานจดจำใบหน้า (facial recognition) เพื่อให้อัลกอริทึมและระบบประมวลผลใบหน้าที่ต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ มีความเป็นกลางและเท่าเทียม (fairness) มากขึ้น
John R. Smith นักวิจัยระบุว่า ปัญหาของระบบปัญญาประดิษฐ์ที่เกิดจากใช้อัลกอริทึมจำนวนมาก คือการที่ระบบประมวลผลเหล่านี้มีความไม่เป็นกลาง เนื่องจากข้อมูลที่ใส่ลงไปนั้นก็ไม่เป็นกลางด้วย ตัวอย่างเช่นระบบประมวลผลและจดจำใบหน้าที่อาศัยฐานข้อมูลเป็นการเรียนรู้เป็นต้น ซึ่งนักวิจัยทั่วโลกต่างต้องการลดปัญหานี้
Twitter ทำปุ่มสลับใช้งานสองโหมดระหว่างให้อัลกอริทึมเรียงเนื้อหาให้กับเรียงตามเวลาแล้วบนมือถือแอนดรอยด์แล้ว หลังจากที่เปิดใช้งานใน iOS มาก่อนหน้านี้
โดยปุ่มใหม่จะอยู่ขวาบนของหน้าจอ ถ้าไม่อยากพลาดประเด็นที่ผู้ใช้สนใจแต่อาจตามไถไทม์ไลน์ไม่ทัน ก็กดปุ่มให้เรียงตามอัลกอริทึมความสนใจ และสามารถกดปิดให้เรียงตามเวลาโพสต์เหมือนเดิมได้ ฟีเจอร์ดังกล่าวยังจำกัดการใช้งานเฉพาะมือถือ ยังไม่รวมเว็บไซต์
Google เพิ่มทางเลือกให้ผู้ปกครองมีสิทธิ์ควบคุมเนื้อหาที่บุตรหลานดูใน YouTube Kids ผู้ปกครองเลือกได้ว่าจะให้คอนเทนต์อะไรและจากช่องไหนเข้าไปอยู่ใน YouTube Kids บัญชีของบุตรหลานได้บ้าง โดย YouTube จะเลือกสรรช่องเด็กที่ผ่านการรับรองแล้วมาให้ผู้ปกครองเลือกแบบ opt-in แบบไม่พึ่งพาอัลกอริทึมในการแนะนำคอนเทนต์ แต่เป็นผู้ปกครองที่คัดกรองด้วยตัวเองเลย
YouTube โดนวิพากษ์วิจารณ์มากจริงๆ ที่ปล่อยให้มีเนื้อหารุนแรงอยู่บนแพลตฟอร์ม จนแบรนด์โฆษณาบอยคอตไม่ลงโฆษณาด้วย เดือนธันวาคม 2017 ที่ผ่านมา YouTube ให้สัญญาว่าจะปรับปรุงระบบและการทำงานเพื่อจัดการปัญหาได้ไวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ล่าสุด YouTube ออกรายงานความคืบหน้าการใช้อัลกอริทึมและคนในการจัดการเนื้อหารุนแรง ระบุว่า ช่วงสามเดือน ระหว่างตุลาคม - ธันวาคม ปี 2017 ทาง YouTube ได้ลบวิดีโอออกกว่า 8 ล้านชิ้น ที่เป็นเนื้อหาสแปม เนื้อหาโป๊เปลือย
BuzzFeed รายงานอ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดบอกว่า YouTube เตรียมออกเวอร์ชั่นใหม่ใน YouTube Kids ใช้คนคัดกรองและแนะนำเนื้อหาแทนอัลกอริทึม หลังถูกวิจารณ์เรื่องเจอวิดิโอทฤษฎีสมคบคิดที่เนื้อหาไม่ตรงตามข้อเท็จจริงใน YouTube Kids
เวอร์ชั่นใหม่นี้มีให้ผู้ปกครองเลือกว่า จะให้อัลกอริทึมทำ หรือให้คนทำ หรือปิดโหมดอัลกอริทึมได้ และคาดว่าเวอร์ชั่นใหม่จะออกมาภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ เมื่อสอบถามไปยัง YouTube ทางบริษัทก็ไม่ได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าว แต่บอกว่า "เรากำลังทำงานเพื่อปรับปรุง YouTube Kids อยู่เสมอ"
LittleThings สื่อแนวไลฟ์สไตล์สัญชาตินิวยอร์คที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ และมีคนติดตามใน Facebook กว่า 12 ล้านรายปิดตัวลงเมื่อคืนนี้ ซีอีโอออกมาให้เหตุผลที่ปิดตัวว่าเป็นเพราะอัลกอริทึม Facebook
LittleThings ก่อตั้งในปี 2014 ได้ระดมทุนจาก City National Bank ในปี 2016 โดย LittleThings โด่งดังได้ด้วยการแบ่งปันเรื่องราวไลฟ์สไตล์ ฟีลกู้ด ที่มีทั้งบทความและวิดีโอลงในเว็บไซต์และ Facebook และจากการปรับอัลกอริทึม ให้ความสำคัญโพสต์เพื่อนมากกว่าเพจ ส่งผลให้ยอด organic reach ของเพจ LittleThings หายไป 75% (Joe Speiser ซีอีโอบริษัทบอกเอง)