Amazon เปิดตัวร้านค้าปลีกของตัวเองในชื่อ Amazon Go จุดเด่นสำคัญคือไม่ต้องรอคิวคิดเงินอีกต่อไป แต่เดินผ่านจุดคิดเงินแล้วก็จะคิดเงินผ่านบัญชี Amazon ได้ทันที
Amazon เรียกเทคโนโลยีการคิดเงินว่า Just Walk Out ที่ซับซ้อนกว่าการคิดเงินด้วย RFID ที่เราเคยเห็น แต่ใช้ระบบตรวจจับภาพด้วยคอมพิวเตอร์, ปัญญาประดิษฐ์, เซ็นเซอร์, และ deep learning
คอมพิวเตอร์จะตรวจสอบว่าเรากำลังหยิบหรือคืนสินค้าใดจากชั้นบ้าง เมื่อตรวจพบว่าเราถือสินค้าใด ก็จะทำรถเข็นเสมือน (virtual cart) แบบเดียวกับที่เราซื้อของในเว็บ เมื่อเราเดินออกจากร้านก็จะคิดเงินเหมือนเรากด checkout ในเว็บอีกเช่นกัน
ตอนนี้ Amazon Go เป็นร้านทดลองสำหรับพนักงานอเมซอนในซีแอตเติล และจะเปิดต่อสาธารณะในปี 2017
ที่มา - Amazon Go
Comments
ฮะไม่ต้องจ้างพนักงานร้านแล้วสินะ เดินมา-หยิบของ-เผ่น
ยอมใจกับไอเดียนี้
ที่ทำงานพี่พอจะขาดภารโรงมั้ยครับ อยากไปอยุ่เลย
note เรื่องนี้ไว้หน่อย:
ความฝันที่จะมีร้านที่ไม่มีคนดูแลเลยแม้แต่คนเดียวเป็นความฝันระดับหลายสิบปีแล้วแต่เทคโนโลยีไม่เอื้อ ยุคหนึ่งมีความพยายามทำให้ซุปเปอร์มาร็เก็ตกลายเป็นเครื่องขายสินค้าอัตโนมัติขนาดยักษณ์ (ลูกค้าไม่ต้องจับสินค้าเลย รอไปจ่ายเงิน) แต่ปรากฎว่าไม่สำเร็จ ลูกค้าต้องการจับสินค้า
ความพยายามแบบเดียวกันนี้ในสมัย RFID มาใหม่ๆ เมื่อสักสิบกว่าปีก่อน ก็ฝันกันว่า RFID จะถูกลงจนกระทั่งติดสินค้าได้ทุกชิ้น แบบเดียวกับทีเราพิมพ์ barcode ลงหิบห่อทุกชิ้น ความฝันนี้ก็ไม่เป็นจริงอีกเช่นกัน ผ่านไปหลายสิบปี RFID ไม่เคยถูกพอ แม้จะถูกลงมากแล้วก็ตาม ราคาที่เพิ่งต่อชิ้นอาจจะไม่ถึงดอลลาร์แล้ว แต่ให้เพิ่มทุกชิ้นก็เป็นไปไม่ได้ แถมระยะทำการมันไม่เคยไกลพอ พอเพิ่มความซับซ้อน สามารถทำงานได้พร้อมกับหลายชุด ฯลฯ ราคาก็กลับแพงขึ้นเสียอีก
AI+Computer Vision ในกรณีนี้มีโอกาสคุ้มทุนสูงกว่ามาก ค่าพัฒนาจะจมครั้งแรกครั้งเดียวเป็นค่าซอฟต์แวร์ ค่าฮาร์ดแวร์จะลงครั้งเดียวต่อร้าน ไม่มีต้นทุนเพิ่มต่อชิ้นสินค้าที่ขายอีกต่อไป เมื่อซฮฟต์แวร์เก่งขึ้นจะใช้ได้ทุกสาขา ขณะที่กล้องวงจรปิดความละเอียดสูง และคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผล AI และภาพที่เข้ามามีราคาไม่แพงอีกต่อไป
ถ้าระบบแม่นยำพอ ความฝันสามสิบปีก็จะเป็นจริงแล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
ขนาดยักษ์*
ผมสงสัยว่าสำหรับร้านที่ไม่ใช่ซุปเปอร์มาเก็ต แต่เป็นของราคาแพงขึ้นหน่อย เช่น ร้านเสื้อผ้า ร้านหนังสือ ซึ่งปกติจะมีเสาจับสัญญาณอยู่ที่ทางออก (แบบถือของเดินไปเฉี่ยวใกล้ๆ แล้วมันวี๊หว่อๆ) ซึ่งก็แปลว่า ในสินค้าของพวกนี้ก็มี Tag ติดไว้อยู่แล้ว แบบนี้จะประยุกต์เป็นแทนที่จะร้องเตือน ก็เปลี่ยนเป็นจับสัญญาณสินค้าทุกชิ้นที่ผ่าน แล้ว Checkout เลยได้ไหมครับ?
เท่าที่ผมเห็น ยังไม่เห็นร้านไหนแปะกับทุกชิ้นจริงๆ นะครับ
ที่ Decathlon มีทุกชิ้นครับ เวลาคิดเงินแค่หยิบผ่านเครื่องก็ได้เลย (ไม่ต้อง scan barcode)
แต่บางครั้ง หย่อนผ่านเครื่องหลายชิ้นพร้อมกัน แล้วระบบรับไม่ไหว ต้องค่อยๆหย่อน
โอ้ ดีจังครับ แต่ผมเพิ่งเคยเห็นชื่อ Decathlon นี่แหละครับ :D
ของผมเคยลองเอาวางทั้งตะกร้าเลย บางทีก็ได้ บางทีก็ขึ้นไม่ครบ พนักงานต้องมานับชิ้นดู แต่โดยรวมๆแล้ว แจ๋วมากครับ
Tag แบบนี้ ส่งสัญญาณแค่บอกว่า สิ่งของกำลังจะผ่านจุดตรวจ ไม่ได้บอกว่า เป็นสินค้าชนิดไหน ราคาเท่าไร
และสุดท้าย ก็ต้องแกะคืนอยู่ดี ถ้าไม่แกะ เท่ากับ เพิ่มต้นทุนให้ product ที่จะซื้อครับ
ของที่ราคาสูงนิดเค้าไม่แกะคืนครับ แบบขวดแชมพูนี่ผมเห็นหลายครั้งแล้วจะมี RFID แปะที่ขวดใต้ฉลากอีกทีนึง ไม่รู้เลิกทำกันไปรึยัง
ของบางอย่างยังแปะอยู่ครับ
ปล. เพื่อนผมชอบมาขอสติกเกอร์ RFID แบบนี้เพื่อเอาไปใช้เป็น tag ราคาถูกครับ
tag ที่จะทำระดับเดียวกับในข่าวนี้ได้ ต้องบอก ID ของสินค้าได้ ไม่ใช่แค่มีหรือไม่มี, ต้องทำงานจากระยะไกลพอสมควร (0.5-1 เมตร) และต้องทำงานในสนามที่เต็มไปด้วย tag ได้ มี collision avoidance ของพวกนี้รวมๆ แล้วตอนนี้ยังแพงครับ ไม่น่าจะคุ้มสำหรับการแปะทิ้งไปอีกพักใหญ่ๆ หลายปี
ถ้า AI แบบนี้สำเร็จ อาจจะไม่เกิดเลยตลอดไป เพราะใช้ AI ถูกกว่าไปแล้ว ถ้าปีหน้า amazon ทำได้จริง อีก 5 ปีมีผู้ผลิตหลายเจ้าให้ห้างอื่นๆ เลือกใช้ ก็ไม่มีเหตุผลที่ต้องไปนั่งพัฒนา RFID ให้มันถูกลง
lewcpe.com, @wasonliw
แต่ในทางตรงกันข้าม Privacy ก็จะตกฮวบเลยเช่นกัน แล้วก็จะมีประเด็นขึ้นมาอีกรอบว่าบริษัทพวกนี้จะเก็บข้อมูลดีแค่ไหน จะถูกรัฐบีบเอาไปใช้มั้ย
น่าสนใจจว่า Snowden มีความเห็นกับเรื่องนี้ยังไง
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ถามผมคือ privacy ก็ไม่ต่างจากกล้องวงจรปิดตามปกติครับ โดยตัวข้อมูลดิบมันก็คือภาพถ่ายของเราในพื้นที่กล้องวงจรปิด
การใช้งานของ Amazon Go เป็นการใช้งานกล้องวงจรปิดให้เกิดประโยชน์โดยตรงกับผู้ใช้เท่านั้นเอง
อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรสนใจนะครับ แต่ในแง่ความเป็นส่วนตัว เราควรคิดทั้งระบบ ว่าเราอาจจะต้องมีกฎหมายควบคุมความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของกล้องวงจรปิดกันได้หรือยัง กระบวนการเข้าถึงภาพต้องการกำกับดูแลแค่ไหน และผู้ติดตั้งต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของระบบกล้องวงจรปิดระดับใด โดนแฮกโดนขโมยภาพต้องแจ้งใคร หละหลวมระดับไหนต้องมีโทษ
เพราะลำพังการใช้งานกล้องเป็นกล้องวงจรปิด ก็มีการใช้งาน AI+Computer Vision กันมากขึ้นเรื่อยๆ เทคโนโลยีพื้นๆ อย่าง face recognition สามารถทำได้ไม่ยากแล้วในสมัยนี้ และคงมีการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ หากข้อมูลหลุดออกไป อนาคตเราอาจจะเจอข้อมูลดิลเป็นไฟล์ CSV ว่าใครเดินห้างตรงไหนเวลาใด
lewcpe.com, @wasonliw
จริงแฮะ ยิ่งเจ้าใหญ่ ๆ เริ่มเปิดซอร์ส เปิดเครื่องมือกันเรื่อย ๆ อีกหน่อยใครมีทรัพยากรระดับนึงก็ทำได้ทันทีเลย น่ากลัวมาก ๆ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
มันใช่เลย!
ป.ล. นึกสภาพว่ามี suggestion เข้าในมือถือเพื่อเสนอสินค้าคู่แข่งเทียบ ตอนเวลาเราหยิบสินค้าแล้ว น่าจะสนุกพิลึก
เรามีสินค้าอื่นที่ยินดีจะแนะนำให้ ธัญพีชอบแท่งน้ำตาลน้อย(กว่า)ยี่ห้อ...ราคา...(ถูกกว่าที่เราหยิบตะกี้) อยู่ตรงมุมข้างหน้าบนชั้นทางขวามือ
อยากรู้ว่าตอนเดินเข้าร้านต้องทำยังไง แตะบัตรเหรอ ?
ดูวิดีโอที่ต้นทางครับ
ดูคลิปแล้วมีความรู้สึกว่าถ้านำมาใช้ในประเทศกำลังพัฒนา(ทางความคิด) มันจะต้องมีดราม่าอะไรซักอย่างบังเกิดแน่ๆ
ป.ล. สงสัยผมไม่ชินภาพแบบในคลิป แต่รุสึกเหมือนทุกคนเป็นโจรเลย 55555
เดี๋ยวมันต้องมี "แชร์เทคนิค หยิบของจากชั้นวางอย่างไรไม่ให้กล้องเห็น" แน่เลย
น่าจะต้องมีกล้องเยอะมากๆ หลายๆ มุม เลยนะ ระบบที่แยกแยะคน ก็น่าจะต้องทำงานไวมากๆ ด้วย
ถ้าเกิดไปซื้อของกันเป็นครอบครัว แบบบ้านผมไปโลตัสทีก็แยกย้ายกันไปสามคน ใครซื้อของหนักเข็นรถเข็นไป ใครของเบาก็ไปหยิบมาใส่รถเข็นรวมกัน แบบนี้จะคิดเงินยังไงเนี่ย..... หรือต้องต่างคนต่างซื้อ มีคนละ Account แทน
ระบบแบบนี้ ถ้าเอามาใช้กับ smart id ที่ผูกบัญชีธนาคารแล้วเนี่ย สุดๆ
เดินออกแล้วตัดบัตรไม่ได้ ฮาๆๆๆ
น่าจะใช้กล้อง ร่วมกันเซ็นต์เซอร์เพื่อยืนยัน เพราะถ้าตีตารางกริด map barcode เข้ากับตารางกริด ตามแนวชั้นวางของ แล้วตั้งกล้องตามแนวกริด Detect ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ ก็จะรู้ว่าใคร หยิบของที่ขั้นไหน แต่คงต้องใช้แบบ 2 มุม เผื่อกล้องตัวนึงโดนบัง เดาเอา ที่ยากคือการประสานข้อมูลระหว่างกันเพื่อหาคำตอบให้ได้ว่าเขาหยิบจริง แล้วหยิบอะไร ส่วนเซ็นต์เซอร์น่าจะมีอยู่ที่ชั้นวางของแต่ยังนึกไม่ออกว่าใช้เซ็นต์เซอร์อะไร แต่ต้องมีแน่ๆ เพื่อยืนยันข้อมูลจากกล้องอีกทีนึง
ต้องลองเอานักมายากลไปใช้บริการดู
โลกยุคถัดไปอาชีพหลายๆอาชีพจะไม่มีอีกต่อไป
เหมือนกับการปฎิวัติยุคอุตสาหกรรมที่มีคนตกงานจากภาคการเกษตรเป็นล้านในประเทศยุโรปและอเมริกา
แต่คราวนี้คนจะตกงานเป็นร้อยๆหรือพันล้านทั่วโลก
แค่ที่อเมริกาประเทศเดียว คนขับรถtruckจำนวนหลักล้านคนอาจจะตกงานกันหมดเพราะรถที่ขับโดยAIจะออกแล่นจริงภายในปีหน้าแล้ว
ไม่รู้โลกเราจะเป็นยังไงต่อไป ถ้าคนตกงานไม่มีรายได้จำนวนหลักล้านๆคน
Universal Income ควรจะเป็นนโยบายที่ทุกๆประเทศควรจะนำไปใช้
แล้วประเทศจะหาเงินมาเลี้ยงประชาชนยีงไงละครับ
ที่ยุโรปบางเมืองที่โรงแรมก็ไม่มี lobby ให้ติดต่อ
จองผ่านเน็ต หักค่าห้อง ค่ากุญแจล่วงหน้า
มีถึงโรงแรมกดรหัสก็จะมีกุญแจไหลออกมาให้ไปไขเอง
ใช้บริการเสร็จมาหยอดคืน ตอนหลังอาจมีพนักงาน parttime มาดูกุญแจแล้วตรวจกับที่มีการ check out ไว้
แล้วก็คืนเงินหักมาล่วงหน้าแค่นั้น fulltime ก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
ฉนั้นการจ้างคนที่คอยรับลูกค้าfulltimeไม่ต้องมี
แต่แรงงานด้านจัดที่พัก ทำความสะอาด ก็ยังต้องมีแต่อาจoutsourceเหมาเป็นจำนวนห้อง เพราะอย่างน้อยมันก็ไม่มีหุ่นยนต์ดึงผ้าปูเตียง ไม่มีหุ่นยนต์ปูเตียงอัตโนมัติ
พวกห้องน้ำเลอะเทอะ นี่ก็ยังไม่มีหุ่นให้มาทดแทนนะครับ