Tags:
Node Thumbnail

กระทรวงการเกษตรสหรัฐฯ (US Department of Agriculture หรือ USDA) ทำโครงการให้ประชาชนเข้ามากู้เงินทำการเกษตรสมัยใหม่โดยใช้เทคโนโลยีควบคุมแสงและอุณหภูมิผ่านระบบ LED ในชื่อโครงการว่า USDA Microloans ทำมาตั้งแต่ปี 2013 แต่ในปี 2016 นี้มีการลงทุนให้กับเกษตรกรสูงสุดตั้งแต่เริ่มโครงการมา

USDA Microloans คือโครงการเสนอเงินลงทุนให้เกษตรกรมาแล้วกว่า 23,000 ราย มีมูลค่ากว่า 518 ล้านดอลลาร์ ให้คนทำฟาร์มในรัฐต่างๆ เช่น แคลิฟอร์เนีย คอนเนคติคัต แมสซาชูเซตส์

USDA ได้รับความร่วมมือจากโครงการ Square Roots สนับสนุนเกษตรกรที่ทำการเกษตรแนวตั้ง (vertical farming คือการปลูกพืชในร่มหรือในชั้นรางตั้งเป็นชั้นๆ ใช้เทคโนโลยีและ LED ในการควบคุมแสงและอุณหภูมิ) โครงการนี้ก่อตั้งโดย Kimbal Musk พี่ชายของ Elon Musk และ Tobias Peggs ทั้งสองร่วมมือกับ USDA ในการปรับปรุงการสมัครรับคนเข้าโครงการให้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เข้าถึงเกษตรกรง่ายขึ้น เพิ่มโอกาสคนเมืองในการเข้าถึงกองทุน

อนาคตในปี 2050 คาดว่าประชากรจะสูงถึง 9 พันล้านคน เป็นไปได้ว่าการเกษตรแบบเดิมจะไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอ จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีโซลูชั่นเข้ามาช่วยทำการเกษตร ขณะนี้มีฟาร์มแนวตั้งเกิดขึ้นทั่วโลกหลายแห่งแล้ว ที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ที่นิวเจอร์ซีย์

No Description
ภาพจาก USDA

ที่มา - Bussiness Insider

Get latest news from Blognone

Comments

By: tuttap
Android
on 27 December 2016 - 15:01 #961302
tuttap's picture

วึ่ง เป็น ซึ่ง

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 27 December 2016 - 15:12 #961309 Reply to:961302
tekkasit's picture

ประชากรูงจะสูงถึง

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 27 December 2016 - 15:20 #961312 Reply to:961302
panurat2000's picture

ขณะนี้มีฟาร์มแนวตั้งเกิดขึ้นท่วโลกหลายแห่งแล้ว

ท่วโลก ?

By: wisidsak
AndroidIn Love
on 27 December 2016 - 16:41 #961328
wisidsak's picture

บ้านเราล้นตลาดจนราคาถูก ทำไมเราไม่เสนอขาย

By: Bigkung
iPhoneWindows Phone
on 27 December 2016 - 18:08 #961338 Reply to:961328
Bigkung's picture

ไม่ใช่ครับ คือจริงๆ ต้องการให้คนในประเทศมีงานทำไง ถ้าจำไม่ผิด ทุกประเทศต้องการได้ดุลการค้านะครับคือมูลค่าส่งออกมากกว่าการนำเข้า เอาตรงๆคือประเทศไหนส่งออกอย่างเดียวไม่มีการนำเข้าเลย เพราะผลิตเองได้หมดนั่นหล่ะดีมาก เงินตราไม่รั่วไหล แต่ถ้าเอาออกไปลงทุนนั่นก็อีกเรื่องหนึ่งนะ แต่ถ้าเงินไหลออกเรื่องโดยอื่นประเทศนั้นๆไม่ค่อยชอบกันหรอกครับ

By: nrml
ContributorIn Love
on 27 December 2016 - 16:44 #961329
nrml's picture

เคยได้ยินมาว่าจริงๆ ตอนนี้เราก็ผลิตอาหารได้เยอะเกินความต้องการของมนุษย์เสียอีก

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 28 December 2016 - 01:43 #961393 Reply to:961329
devilblaze's picture

ได้ยินแบบนั้นเหมือนกัน เหมือนกับว่างานวิจัยมันแตกออกเป็นสองเสียง

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 28 December 2016 - 09:34 #961435 Reply to:961329
nessuchan's picture

ผมคิดว่า เราผลิตได้เกิน"ความจำเป็น"ของมนุษย์อยู่แล้วครับ แต่ไม่น่าจะเพียงพอกับ"ความต้องการ"ของมนุษย์แน่ ๆ

แต่ต้องมีเงินซื้อด้วยนะ

By: Bigkung
iPhoneWindows Phone
on 28 December 2016 - 09:53 #961441 Reply to:961329
Bigkung's picture

จากที่เคยดูสารคดี ที่เกินหน่ะจะกระจุกใน ยุโรป น่าจะ USA ด้วย ที่กินทิ้งกินขว้างเป็นว่าเล่นโดยเฉพาะผักที่ใช้มีดตัดส่วนไม่สวยทิ้งทั้งที่มันกินได้ ส่วนที่กระจุกอดอยากก็ แอฟริกา กับ อเมริกาใต้ คือโดนรวมอาจจะผลิตเกิน แต่ต้องไม่ลืมเรื่องค่าส่งไปยังจุดที่ไม่มีจะกินไม่มีจะกินแถมตรงนั้นก็ไม่มีทรัพย์พอจะซื้ออาหารจากประเทศที่ผลิตอาหารได้เหลือเฟือด้วย ว่าง่ายๆ ขายอาหารในจุดที่อาหารเกินความต้องการผู้ผลิตอาจจะได้กำไรมากว่าส่งไปที่ประเทศที่ขาดแคลนอาหารเลยครับ

By: tanapon000 on 27 December 2016 - 19:13 #961341
tanapon000's picture

แบบนี้ก้ควบคุบปัจจัยรบกวนภายนอกได้เกือบหมด คุณภาพคงเหมือนกันหมดแน่ๆ

By: Fasndee
ContributorAndroidWindows
on 27 December 2016 - 23:33 #961373
Fasndee's picture

โครงการหลวงหลายที่ก็ทำคล้ายๆ แบบนี้อยู่นะ แต่ไม่ได้เป็นการให้ทุน แต่เป็นการทำต้นแบบให้ดู ร่วมไปกับการทดลอง วิจัยพันธุ์พืชต่าง ๆ ที่เหมาะสม


เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ

By: Sephanov
iPhoneUbuntu
on 28 December 2016 - 07:28 #961408
Sephanov's picture

เอาจริงๆ เกษตรกรบ้านเรา Knowhow ยังเป็นแบบดั้งเดิมกันอยู่เลย จะต่างกับสมัยก่อนก็เรื่องของการใช้รถไถนาแทนวัวควาย และการใช้ปุ๋ยเติมเข้าไปในดิน นอกนั้นก็เป็นเรื่องของเดิมๆ
จะว่าไป บ้านเราก็ที่เดินเหลือเฟือจริงๆ ไม่ค่อยมีปัจจัยส่งเสริมให้ปรับตัวหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆกันอย่างใดเนอะ

By: neonicus
Android
on 28 December 2016 - 17:08 #961530 Reply to:961408

ผมก็เคยได้ยินมาอีกเหมือนกันว่า การผลิตข้าวในไทย
สัดส่วนผลผลิตต่อไร่ ต่ำกว่าเพื่อนบ้าน

น่าจะมีใครช่วยปรับปรงกระบวนการพวกนี้บ้าง
แม้จะขายข้าวได้เท่าเดิม แต่รายจ่ายลดลงก็ยังดี

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 28 December 2016 - 19:16 #961551 Reply to:961530

เรื่องผลผลิตต่ำเป็นเรื่องจริงครับ เพื่อนบ้านเขาไปใกล้ ๆ (หรือเกิน) ตันข้าวเปลือกต่อไร่กันนานแล้ว ของไทยโดยเฉพาะแถว ๆ อีสานได้สี่ร้อยกิโลต่อไร่ก็แทบจะร้องไห้แล้วครับ

แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนให้ความรู้นะครับ ก็มีอยู่เรื่อย ๆ หลายพื้นที่ก็ทำได้เกินตันต่อไร่กันแล้ว ปัญหาพวกนี้มีอยู่สองสามอย่าง

๑ หน่วยงานรัฐไม่น่าเชื่อถือ คือเกษตรกรเจ็บซ้ำ ๆ ครับ ไปบอกให้เขาทำอะไร บางทีเขาก็ลองทำตาม แต่เขาให้ความรู้ไม่สุด จบไม่สวย ชาวบ้านเอือม สุดท้ายก็เลยเข้าไม่ถึงชาวบ้านกัน

๒ เกษตรกรหัวโบราณ บอกอะไรไม่เชื่อ สักแต่ทำตามเดิม ๆ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง (จริง ๆคือกลัวการเปลี่ยนแปลงซะมากกว่า) หรือไม่ก็ตรงข้ามเลย เชื่อคนง่าย ใครบอกให้ทำอะไรก็เชื่อไปหมด กลายเป็นว่าเอาสูตรต่าง ๆ มาผสมปนเปกัน ปรับใช้ให้เหมาะกับพื้นที่ตัวเองไม่เป็น ผลลัพธ์ออกมาเลยห่วย

๓ การเมืองและกิเลส....ก็อย่างที่พอจะทราบกัน นักการเมืองให้ปลา พระราชาให้เบ็ด กินปลาเลยอิ่มเลย เอาเบ็ดมาไม่อิ่ม ต้องพยายาม (อย่างมากเลยด้วย) ส่วนใหญ่จึงคว้าปลาไว้ก่อน แล้วก็หาปลาไม่เป็นเหมือนเดิม พอมีปัญหาปลาหมด ก็กลายเป็นเด็กถูกสปอยล์ เอะอะก็ออกมาประท้วง แก้ปัญหาเองไม่เป็น และไม่คิดจะแก้เองเลยด้วยซ้ำ....


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: Fasndee
ContributorAndroidWindows
on 5 January 2017 - 11:00 #962700 Reply to:961551
Fasndee's picture
  1. จริง ๆ หน่วยงานที่น่าเชื่อถือมีอยู่พอสมควร อาจจะไม่ทั่วทุกอำเภอ แต่ก็มีทั่วประเทศนะ แล้วอีกอย่าง ผมว่าข้อนี้เป็นปัญหาอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่ปัญหาหลักซะทีเดียว

  2. อันนี้จริงตรงที่ว่า บางคนเชื่อก็ทดลองทำตาม บางคนไม่เชื่อก็ไม่เชื่อเลย ยอมรับยาก เปลี่ยนแปลงยาก

  3. การเมืองระดับท้องถิ่นในประเทศย่ำแย่มากนะ บางพื้นที่ที่ผมได้ไปคุยกับชาวบ้าน เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย แต่กลับไม่มีถนน ไฟฟ้า ประปายังเป็นประปาภูเขา ซึ่งหมู่บ้านข้าง ๆ ห่างไป 2 กิโลนั้นมีครบหมดนานแล้ว แล้วอย่างถนนเนี้ย เลือกที่จะสร้างผ่านบ้านนักการเมืองท้องถิ่น ระดับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทั้ง ๆ ที่เป็นทางตัน แต่ทางผ่านหมู่บ้านจำนวนมาก เป็นเส้นทางหลักของการขนส่ง และเดินทางของชาวบ้าน กลับยังทำไม่เสร็จ (เวลาผ่านไปตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อ จนปัจจุบัน)

ประเด็นสำคัญที่ผมคิดว่าสำคัญมากคือ เกษตกร ต้องหมั่นทดสอบทดลอง และทั้งทางหน่วยงานราชการ และเกษตกร ต้องติดต่อใกล้ชิดกันมากขึ้นด้วย เพราะจริง ๆ ทุกพื้นที่ผ่านกระบวนการมาไม่เหมือนกัน จนทำให้ดินแต่ละที่บางครั้งในหมู่บ้านเดียวกัน วิธีต่างกัน ทำมาต่างกัน ปลูกพื้นหมุนเวียนต่างกัน ส่งผลให้ปลูกพืชแบบเดียวกันได้ผลไม่เหมือนกัน ตรงนี้ไม่ใช่แค่ว่าดูโครงการต่าง ๆ แล้วทำตามแล้วจบ มันต้องปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไขให้เหมาะสมเป็นเรื่องปกติ ซึ่งประเด็นนี้คือจุดสำคัญน่าจะที่สุดด้วยซ้ำ

กรณีการใกล้ชิดกันระหว่างหน่วยงานราชการ กับเกษตกร ผมว่า ควรปรับปรุงวัดให้เป็นศูนย์กลางข้อมูล และเป็นที่อยู่ของเกษตรตำบล อำเภอกันไปเลย

ชาวบ้านในเขตปกครองนอกตัวเมือง หรือเงื่อนไขอะไรก็ว่าไป ที่ควรจะสามารถติดต่อราชการผ่านทางวัดได้ มีเจ้าหน้าที่ราชการอยู่ที่วัด สร้างข้อมูลต่าง ๆ ไว้ที่วัด มีวิทยากรอยู่ที่นั้น และให้ผูกพันกับสถานีทดลองการเกษตรต่าง ๆ ด้วย

เพราะชาวบ้าน กับวัด หรือโบสถ์ รวมไปถึงมัสยิด เป็นอะไรที่เข้าถึงได้เกือบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ (เอาจริง ๆ ทั่วโลกด้วยซ้ำ) บางคนไปหน่วยงานราชการ 10 ปีไปซักกี่ครั้ง แต่กับวัดบางคนไปอาทิตย์ละหลายวัน หรือวันละหลายชั่วโมงด้วยซ้ำไป


เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 5 January 2017 - 17:37 #962811 Reply to:962700
  1. คนของรัฐที่ทำงานด้านเกษตรแต่ดันไม่รู้จริงมีเยอะนะครับ หลายคนจบทางเกษตรมา แต่เรียนแต่ในตำรา ไม่เคยลงมือทำเองจริงจัง ทำเองตัวแปรมันเยอะกว่าในตำรามาก ๆ เขาไม่ได้คิดถึงตรงนั้น ที่สำคัญอย่างยิ่งคือเขาไม่ค่อยเข้าใจความเป็นชาวบ้าน ไม่เข้าใจวิถีชีวิต แนวคิด ขนบ ของชาวบ้าน บางทีแนะนำถูกแหละ แต่มันไม่เข้ากับวิถีเขา เขาก็ไม่ทำหรือไม่อยากทำ (กรณีไม่เข้าใจวิถีชาวบ้านเนี่ย เราเลยมักเห็นข่าวอาจารย์มหาลัยชอบประดิษฐ์อะไรต่าง ๆ นานามาเยอะแยะ แต่ไม่เคยเห็นชาวบ้านเอาไปใช้จริงเลยนั่นแหละครับ) และหน่วยงานที่ควรจะช่วยเหลือเกษตรกรด้านการเงินอย่าง ธกส. นี่ก็ตัวดีนะครับ คือเขาไม่ได้ช่วยแค่ด้านการเงิน เขาให้ความรู้ด้วย และหลาย ๆ ครั้งก็ให้ความรู้ผิด ๆ สร้างกรอบความคิดผิด ๆ ให้เกษตรกร เช่นบัตรเครดิตเกษตรกรนั่นไง ใช้ก่อนผ่อนทีหลัง ส่งเสริมให้เป็นหนี้ ให้ไปซื้อปุ๋ย (ในขณะที่หน่วยงานรัฐกับ NGO พยายามจะบอกว่าให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะไม่ดีต่อสุขภาพและสิ้นเปลือง) เกษตรกรกับร้านค้าก็ตัวดี แทนที่จะไปรูดเอาอุปกรณ์การเกษตรไปทำการเกษตร ดันฮั้วกันรูดเอาเงินสดไปทำอย่างอื่นซะงั้น (ร้านค้าได้ส่วนต่าง เกษตรกรได้เงินไปซื้อมือถือ ซื้ออาหาร ซื้อเหล้า ซื้อรถ ฯลฯ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้) จริง ๆ โครงการเครดิตเกษตรกรเป็นโครงการที่ดีนะ ถ้า "คน" มีกรอบความคิดที่ดี แต่มันมาในจังหวะที่เห็น ๆ อยู่ว่าคนไม่ได้อยู่ในช่วงที่มีกรอบความคิดที่ดีเอาซะเลย (โดนนโยบายรัฐตามใจจนเคยตัวไปแล้วเป็นสิบปี)

  2. การเมืองประเทศนี้เน่าไปยันรากหญ้าครับ เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านยังซื้อเสียงกัน เพราะซื้อทีเดียวคุ้ม อยู่ยันอายุ 60 ปี คนรู้จักเคยเป็นผู้ใหญ่บ้านน้ำดี ไม่ได้ซื้อเสียงแต่ได้เป็นเพราะดีจริง ๆ ตอนเป็นเอาโครงการสารพัดเข้ามา ส่งเสริมให้ลูกบ้านปลูกผักสวนครัว เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงเป็ดไข่ ฯลฯ โครงการมาแบบไม่ได้ตัวเงินเลย เป็นสัตว์ สิ่งของ และความรู้ ผลคือได้รางวัลผู้ใหญ่บ้านดีเด่นจากทางอำเภอ แต่ได้เป็นแค่วาระเดียว (ตอนโน้นวาระ 4 หรือ 5 ปีนี่แหละ) ชาวบ้านไม่ชอบ เพราะไม่ได้เงิน บ่นกันว่าคนอื่นเป็นยังได้เงินตั้งเยอะ (คนอื่นเอาโครงการเข้ามาในรูปเงิน เพราะตั้งใจจะโกงอยู่แล้ว และไม่ได้สนใจผลของโครงการเลย สนใจแต่ได้เงินเท่าไหร่)

เรื่องวัด ปัจจุบันเริ่มจะไม่ได้แล้วครับ ศูนย์กลางของหมู่บ้านเดี๋ยวนี้วัดทำหน้าที่นั้นได้ไม่ค่อยดีแล้ว ความศรัทธาเริ่มเสื่อมลง พุทธพาณิชย์เยอะขึ้น พระนักปฏิบัติลดลงกว่าเมื่อก่อนอย่างเห็นได้ชัด ประกอบการโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คเริ่มเข้ามามีบทบาทเยอะขึ้นมาก (อ่านไม่ผิดหรอกครับ เห็นบ้านนอกสุด ๆ อย่างแถวบ้านผมที่ผู้คนรุ่นพ่อ-แม่ส่วนใหญ่ทำนาเป็นอาชีพหลัก มีที่นากันคนละไม่เกิน 10 ไร่ ส่วนใหญ่มีแค่ 1-2 ไร่ด้วยซ้ำ พวกนี้มีไลน์กรุ๊ป มีเฟซบุ๊คกันเกือบครึ่งนึงเลยล่ะ ส่วนรุ่นแก่กว่านั้นไม่ได้ทำงานแล้ว เข้าวัดอย่างเดียวจริง ๆ และรุ่นลูกอย่างผมก็ไม่ต้องพูดถึง เข้าวัดกันนับหัวได้เลย ซึ่งเป็นวัยทำงานที่เริ่มเอาเทคโนโลยีพวกนี้เข้ามานี่แหละ)

คือไม่เถียงนะว่าชาวบ้านไปวัดมากกว่าสถานที่ราชการเยอะ แต่ปัญหาคือผมมองว่าวัดไม่ควรจะเป็นศูนย์อะไรได้อีก เพราะทุกวันนี้ก็ไม่ค่อยน่าศรัทธาอยู่แล้ว จะไปเป็นศูนย์อะไรที่มีประสิทธิภาพได้ยังไงกัน เว้นแต่ไปขอใช้พื้นที่เฉย ๆ (ซึ่งวัดคงไม่ยอมถ้าไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรด้วย เอ๊ะ ผมพูดขนาดนี้จะบาปมั้ยเนี่ย ๕๕๕)

โบสท์และมัสยิดผมไม่ขอพาดพิง ผมไม่มีข้อมูลพวกนี้เลยครับ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: GodPapa
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 28 December 2016 - 11:36 #961463
GodPapa's picture

ใครๆ ก็อยากขายได้ราคาสูงเอากำไร จ่ายเงินดีก็เอาไป จะเอาไปทิ้งขว้างยังไงใครจะไปใส่ใจ
คนที่บอกขาดแคลนก็คนจนทั้งนั้น
ส่วนคนรวยก็มีเหลือเฟือ

By: indyend
AndroidUbuntu
on 28 December 2016 - 11:43 #961465
indyend's picture

ผมว่ามันไม่เกี่ยวกับอาหารขาดแคลนในตอนนี้เลยครับ US เค้าต้องการทำให้ประชากรของเค้ามีความรู้และเงินลงทุนด้าน Vertical Hydroponics ซี่งเป็นเทคโนโลยีที่จะเป็นอนาคตในการปลูกพืชผักบริโภคหรือส่งออกในโลกใบนี้ ผมก็ทำไฮโดรเล่นๆที่บ้านอยู่ จากที่ดูแบบต่างๆของการปลูกไฮโดรโพนิกส์แล้ว แนวตั้งเนี้ยและ จะสามารถทำเป็นอุสาหกรรมขนาดใหญ่ได้เหมาะสมที่สุด เพราะมีข้อดีในตัวระบบมันเองที่มากกว่าแบบอื่นๆ คนของเค้าเล็งเห็น ก็เลยพยายามผลักดัน มันก็เป็นปรกติอยู่แล้ว

By: isk on 29 December 2016 - 10:15 #961623

ประชากรโลกเยอะขึ้นเพราะการแพทย์ดีขึ้น คนตายยากขึ้น
ในอนาคตอีกสัก ปี 21xx -22xx อาจจะก้าวหน้าถึงขั้นยืดชีวิตมนุษย์ให้อยู่ได้ถึง 200 ปี หรือทำให้คนตายฟื้นคืนชีพอีกครั้ง