ย้อนไปเมื่อเดือนมีนาคม 2016 ทาง Steam ถูกยื่นฟ้องโดยองค์กร ACCC (Australian Competition and Consumer Commission) และถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานบิดเบือนข้อมูลเรื่องสิทธิผู้บริโภคของเกมเมอร์ชาวออสเตรเลีย และล่าสุดในวันที่ 23 ธันวาคม 2016 ศาลรัฐบาลกลางของออสเตรเลียตัดสินให้ทาง Valve ต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินจำนวน 3 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD)
เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นในเดือนสิงหาคมปี 2014 เมื่อ ACCC ได้รับคำร้องเข้ามาเป็นจำนวนมากว่าแพลตฟอร์ม Steam ขาดนโยบายในการคืนสินค้า ตามกฏหมายผู้บริโภคของออสเตรเลียระบุว่าห้ามผู้ค้าปลีกจัดจำหน่ายสินค้าที่ไม่สามารถขอเงินคืนได้ และปราศจากสัญญาหรือใบค้ำประกัน
ในขณะนั้นทาง Valve ยืนกรานว่า แม้ทาง Valve ขายสินค้าให้กับชาวออสเตรเลียจริง (ประมาณ 2.2 ล้าน AUD) แต่ Valve เป็นบริษัทสัญชาติสหรัฐอเมริกา จึงควรได้รับการยกเว้นจากกฎหมายส่วนนี้
เมื่อ Valve ถูกตัดสินว่ามีความผิดนั้น ศาลยืนกรานว่าภายในเงื่อนไขและข้อตกลงของ Steam ได้แสดง “สิทธิผู้บริโภคในการขอเงินคืนในกรณีที่คุณภาพของไม่อยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้” ที่เป็นเท็จและหลอกลวงผู้บริโภค
ผู้บริโภคชาวออสเตรเลียมีสิทธิขอเงินคืนได้ ถ้าหากคุณภาพของสินค้าไม่ได้ตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น ซึ่งสิทธิดังกล่าวเป็นสิ่งที่ข้อตกลงฉบับเก่าของ Steam ครอบคลุมไม่ถึง
อ้างอิงจากเว็บไซต์ ACCC ศาลรัฐบาลกลางได้สั่งให้ Steam
ที่มา – finder
หมายเหตุ: Consumer Compliance Program เป็นโปรแกรมสำหรับแก้ไขและลดความเสี่ยงในการละเมิดกฎหมายผู้บริโภคของออสเตรเลีย ที่นำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรต่าง ๆ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ACCC
Comments
ถ้าเทียบกับ ส.... บ้านเราแล้วก็
เฮ้อออออ
ข่าวน่าสนใจ ขอบคคุณที่เขียนครับ
หันมามองบ้านเรา นอกจากกฏหมายจะคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำแล้ว คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ใส่ใจสิทธิผู้บริโภค ไม่เรียกร้องให้แก้กฏหมาย แถมยังมักจะถือหางผู้ประกอบการอย่างชัดเจนอีกด้วยตามที่เห็นบ่อยๆ ในสังคมคุณตะพาบ ไม่รู้ไปเอาทัศนคติแบบนี้มาจากไหนกัน หรือชินชากับการเป็นไพร่เป็นทาสกันมานานนมจนชิน ไม่มีสิทธิ์ออกเสียง ไม่มีสิทธิ์เรียกร้อง เจอการเอาเปรียบก็ก้มหน้าก้มตายอมรับชะตากรรมกันไปไทยแลนด์
ผมมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องคุ้มครองสิทธิ์ผู้บริโภคก็ส่วนหนึ่ง แต่ประเด็นหลักคือการบังคับใช้กฎหมายในบริการที่อยู่นอกประเทศมากกว่า(Valve ไม่น่าจะมีบริษัทลูกใน Australia) การที่ Australa สามารถบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้ได้ ท้ายที่สุดแล้วจะเป็นการปิดกั้นบริการต่างๆที่ให้บริการนอกประเทศ(แต่คนในประเทศเข้าถึงได้ผ่านอินเตอร์เน็ต)หรือเปล่า ยกตัวอย่างเช่นประเทศไทยเองที่มีการบังคับใช้กฎหมายในลักษณะนี้ ผู้ให้บริการหลายรายก็ตัดสินใจที่จะไม่เปิดให้บริการเข้าถึงจากประเทศไทย
ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญของวงการ cloud(และ Internet โดยรวม)เลยนะ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)