เป็นเวลากว่า 6 ปีมาแล้วที่ IBM เผยโฉมปัญญาประดิษฐ์ Watson ในการแข่งขันรายการ Jeopardy จนปัจจุบัน Watson ก็มีพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทคโนโลยี Cognitive Computing ที่ IBM พยายามชูในฐานะเทคโนโลยีเบื้องหลัง Watson ที่ IBM ระบุว่าเป็นมากกว่าปัญญาประดิษฐ์ แต่เป็นการประมวลผล วิเคราะห์และเรียนรู้ข้อมูลขนาดใหญ่
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cognitive Computing ได้จากบทความ รู้จัก IBM Watson ระบบ Cognitive Computing แห่งยุคข้อมูลมหาศาล
ทาง IBM ได้จัดงาน IBM Connect 2017 Executive Exchange ที่ประเทศสิงคโปร์เพื่ออัพเตดความก้าวหน้าและโชว์ยูสเคสของเทคโนโลยี Cognitive Computing แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลักๆ คือ Internet of Things, Cognitive Healthcare, Cognitive Lifestyle และ Cognitive Security Operations Center
ประโยชน์ของข้อมูลเหล่านี้ มีตั้งแต่การนำไปใช้ประมวลผลวิเคราะห์พฤติกรรมการขับรถว่าปกติหรือเมาอยู่หรือไม่ ปกติขับช้าหรือเร็วมากน้อยแค่ไหน (ซึ่งอาจส่งผลกับการทำประกันอีกที) ไปจนการติดตามพฤติกรรมการขับรถของกลุ่มคนขับรถบรรทุก
อีกหนึ่งยูสเคสที่ถูกนำมาโชว์ในงานด้วยคือ Olli รถมินิบัสไฟฟ้าไร้คนขับและถูกผลิตด้วยวิธีการพิมพ์ 3 มิติจากบริษัท Local Motors ที่มี Virtual Assistant สำหรับพูดคุยและสอบถามข้อมูลบนรถ โดยมี Watson ทำงานอยู่เบื้องหลัง และจะเพิ่มจำนวนรถที่วิ่งทดสอบมากขึ้นอีก 120 คันในเดือนกรกฎาคมนี้
การนำ Cognitive Computing มาใช้งานด้านการแพทย์นั้น Blognone เคยมีลงข่าวอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว อย่างการมอนิเตอร์สัญญาณต่างๆ ของผู้ป่วยและความร่วมมือกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ขณะที่สิ่งที่ IBM นำมาโชว์ในงานเป็นอีกหนึ่งการใช้งาน Watson ที่ช่วยลดภาระงานของพยาบาลในการดูแลและอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วย ด้วยการใช้ Virtual Assistant รับคำสั่ง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานด้านการแพทย์และคลินิก อาทิ ควบคุมอุปกรณ์ในห้อง สอบถามข้อมูลแพทย์ ให้ช่วยแจ้งเตือนต่างๆ
อีกกรณีคือความร่วมมือระหว่าง IBM และ Medtronic บริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ (เป็นบริษัทแรกที่ผลิต pacemakers ที่ช่วยกระตุ้นหัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ) นำเอาระบบคลาวด์ของ IBM และ Watson Health มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน จากข้อมูลทางชีวภาพ พฤติกรรมการกิน ไปจนถึงคาดการณ์ว่าผู้ป่วยจะมีอาการช็อคจากภาวะน้ำตาลเกิน (Hyperglycemia) ด้วย
เป็นการนำเอา Watson มาใช้งานบนแพลตฟอร์ม e-commerce อาทิ การวิเคราะห์และนำเสนอสินค้าที่ลูกค้าสนใจ จากประวัติการซื้อเก่าๆ ไปจนถึงช่วยกรองและแนะนำสินค้า จากคำหรือคีย์เวิร์ดที่ผู้ใช้กรอกเข้าไป
สามารถลองไปใช้งานได้จากเว็บ The North Face
หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจในบูธนี้ที่ IBM นำมาโชว์คือโซลูชัน Customer Mood and Location Analytics ที่สามารถตรวจจับอารมณ์และความรู้สึกของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ผ่านกล้อง MoodCam ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลเชิง demographic ได้ด้วย อาทิ เพศและลักษณะทางกายภาพ จะช่วยประเมินประสบการณ์การชมสินค้าของลูกค้าแต่ละคนในแต่ละได้แบบเรียลไทม์ ดูความสนใจของลูกค้า ลูกค้ากลับมาดูซ้ำหรือไม่ ทำให้ร้านสามารถให้คำแนะนำลูกค้าได้ถูกต้องมากขึ้น หรือนำไปปรับปรุงบริการและแผนการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
เป็นการนำเอาเทคโนโลยี Cognitive Computing มาวิเคราะห์ข้อมูลด้าน security ที่นับวันจะมีความซับซ้อนและขนาดของข้อมูลก็ใหญ่มากขึ้น รวมไปถึงการทำ Data Visualization เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งกระบวนการของ IBM ไม่เพียงวิเคราะห์และป้องกันการโจมตีเท่านั้น แต่ยังมีการคาดการณ์การโจมตีที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตด้วย
อีกหนึ่งกรณีที่ถูกพูดถึงคือการนำเอาระบบปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในลักษณะของ Chatbot สำหรับพนักงาน IT ได้สอบถามถึงข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไปจนถึงแนะนำวิธีการแก้ปัญหาในขั้นต้น
Comments
ปัจจุบน => ปัจจุบัน
Conntected Fleet => Connected Fleet