แน่นอนว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนยังไม่เชื่อมั่นในรถยนต์ไฟฟ้าคือจำนวนสถานีชาร์จ ที่หากมีไม่พอต่อความต้องการ อาจทำให้ไม่สามารถเดินทางไกล หรือใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ซึ่ง Tesla ถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเจ้าแรกๆ ที่แก้ปัญหานี้ด้วยการใช้สถานีชาร์จด่วน หรือ Supercharger ที่ใช้เวลาชาร์จเพียง 30 นาทีก็เดินทางต่อได้อีกราว 270 กิโลเมตร
Tesla โพสต์บนบล็อกของบริษัทว่าเมื่อขายรถได้มากขึ้น ความสำคัญของเครือข่ายสถานีชาร์จก็มากขึ้นตาม ซึ่งบริษัทถือว่าการชาร์จที่สะดวก, มีจำนวนมากพอ และเชื่อถือได้นั้นเป็นภารกิจสำคัญอย่างมาก โดยเมื่อต้นปี 2017 มีสถานี Supercharger ทั่วโลกอยู่ 5,000 จุด ซึ่ง Tesla ตั้งเป้าขยายให้มากกว่า 10,000 จุด และเพิ่มสถานีชาร์จธรรมดาตามห้างสรรพสินค้า, โรงแรม, ร้านอาหาร ฯลฯ ให้มากกว่า 15,000 จุดภายในสิ้นปีนี้ รวมแล้วจะมีสถานีชาร์จมากกว่า 25,000 จุด เพื่อรองรับรถยนต์ Tesla ทั่วโลกที่ขณะนี้มีมากกว่า 200,000 คันแล้ว
ในการนี้ Tesla จะสร้างสถานี Supercharger ขนาดใหญ่ตามเส้นทางที่มีผู้สัญจรเยอะเพื่อรองรับการชาร์จหลายคันพร้อมกัน และจะขยายสถานีชาร์จออกไปนอกเมืองให้มากขึ้นด้วย
สุดท้าย Tesla ย้ำว่าพวกเขายังเป็นผู้นำตลาดในด้านเทคโนโลยีการชาร์จที่ก้าวหน้าที่สุด และเร็วที่สุดในโลกอีกด้วย
หากใครอยากดูแผนที่สถานีชาร์จทั่วโลกของ Tesla ก็เข้าไปดูได้ที่นี่ครับ
ที่มา - Tesla
Comments
ถ้าในเมืองไทย hot-swap battery น่าจะเหมาะกว่ารึเปล่าครับ?
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ถ้ามี Supercharger ยังไงก็ดีกว่าเปลี่ยนแบตอะ
จอดลงไปเข้าห้องน้ำ ยืดเส้นยืดสาย ก็ได้ระยะไปต่อแล้ว ชาร์จ 6 นาทีได้ 80กิโล
ในแง่ของอุตสาหกรรมโดยรวม การ swap ทำได้ยากกว่ามากๆ ครับ ข้ามรุ่น ข้ามยี่ห้อ ข้ามทรงตัวถังรถ
เทียบกับสร้างมาตรฐานความต่างศักย์การจ่ายไฟ (ต่อให้ supercharge ด้วย) ความเป็นไปได้ที่จะทำงานร่วมกันทั้งอุตสาหกรรมก็ยังสูงกว่ามาก
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าจะต้องออกแบบให้เปลี่ยนได้ น่าจะทำให้ตัวรถใหญ่โตและเทอะทะมากขึ้น เพราะต้องออกแบบเผื่อสำหรับวางสลักสำหรับล็อค/ปลดล็อคตัวแบต (แบตในรถคันหนึ่งน้ำหนักอย่างน้อยครึ่งตัน) รวมถึงต้องออกแบบให้เปลี่ยนได้ง่ายในศูนย์ฯ (foolproof) ใช้คนน้อยหรือไม่ใช้คนเลยได้จะดีมาก และต้องปลอดภัยในการขับขี่ ไม่การโยกไม่มีการสั่น (รวมถึงต้องเปลี่ยนได้เร็วกว่า supercharge)
ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับบริษัทแล้วไม่ว่าอย่างไรก็ต้องสร้างสถานีชาร์จแบตอยู่ดี (สำหรับชาร์จแบตที่ลูกค้าเอามาเปลี่ยน) ลำพังการมีแบตสำรองรอเปลี่ยนก็เป็นโสหุ้ยอีกอย่างหนึ่ง และไหนจะค่าการบริหารการใช้งานแบต หรือการติดตามการอายุการใช้งานแบต
ผมว่าสไตล์แกคงตัดรำคาญ ทุ่มพัฒนา Supercharge มันไปเลย ให้มันเท่ ให้มันมีจุดขายไปเลยจะดีกว่า
เห็นด้วยเลย ที่สำคัญ แบตที่เปลี่ยนมาจะปลอดภัยหรือเปล่า เป็นของคันไหนก็ไม่รู้ ใช้มานานแล้วหรือใช้น้อย เป็นเราก็คงไม่อยากใช้แบตร่วมกับใคร
ส่วนปัญหาผมก็คิดแนวๆ เดียวกันแหละครับ
ทำไมแถวเอเชียนี้ tesla เค้าไม่เน้นหรือยังไง เปิด mapไปดูโล่งมากเลย
เค้าเน้นประเทศที่มีกำลังซื้อครับ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ UAE จอร์แดน ฮ่องกงก็มี โดยเฉพาะจีนนี่ supercharge อย่างเยอะ
แต่อย่างอาเซียนแถวนี้ โล่งสนิท
กำลังการซื้อเราต่ำ กำลังการผลิตไฟฟ้า ก็ต่ำมาก
Tesla มาเปิด Social บ้านเราแล้วเห็นมีแต่คนบอกว่าเอาไปซื้อรถญี่ปุ่นแล้วเก็บเงินเติมน้ำมันดีกว่า ก็เลยไม่มาขายครับ
ทำไมไม่สร้างนิคม โรงไฟฟ้า นิวเครียร์ สัก 2-3 โรงในพื้นที่เดียวกันแล้ว ส่งไปในแต่ละภาค ไปสร้างในป่า ที่ไม่มีคน ต้องการ หรือไม่เห็นประโยชน์ สร้างเอาให้มันรองรับ การพัฒนา ทุกทางของประเทศ ประชาชน ส่วนใหญ่ได้ ประโยชน์
ที่เหลือก็ พัฒนาตามๆ กัน มา