หนังสืออาจเป็นอีกหนึ่งอย่างที่เทคโนโลยีอย่าง E-Book หรือ Kindle ฆ่าไม่ตาย เมื่อเปิดรายงานยอดขาย E-Book ปีที่แล้วในสหราชอาณาจักรปรากฎว่าลดลง 16% สวนทางกับยอดขายหนังสือจริงที่เพิ่มขึ้น 7% ส่วนหนังสือของเด็กเพิ่มขึ้นถึง 16%
ข้ามมหาสมุทรไปฝั่งสหรัฐก็มีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน ที่ยอดขาย E-Book ลดลง 18.7% ในช่วง 9 เดือนแรกของปีที่แล้ว ขณะที่หนังสือมียอดขายเพิ่มขึ้น 7.5% และหนังสือปกแข็งเพิ่มขึ้น 4.1%
เช่นเดียวกับผลสำรวจอื่นๆ อย่างของ Euromonitor International ที่สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคปรากฎว่าตั้งแต่ปี 2011-2016 ยอดขายอุปกรณ์อ่าน E-Book (แท็บเล็ตและ Kindle) ลดลงมากกว่า 40% หลังพีคสุดในช่วงปี 2011 ส่วน Pew Research Center ระบุว่าปีที่แล้ว ชาวอเมริกันราว 65% เลือกอ่านหนังสือแบบเดิม มีเพียง 28% เท่านั้นที่อ่าน E-Book
แนวโน้มนี้ผู้เชี่ยวชาญและ Ofcom (กสทช. อังกฤษ) ระบุว่าเกิดจากผู้คนส่วนใหญ่พยายามลดเวลาการใช้งานอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ให้น้อยลง รวมไปถึงว่าหนังสือบางประเภทนั้น มีความดึงดูดในการอ่านเป็นเล่มมากว่าแบบดิจิทัล รวมไปถึงการมอบหนังสือให้เป็นของขวัญ ก็มักจะมอบแบบเป็นเล่มให้กันมากกว่า
ที่มา - CNN
Comments
ผมคนนึงที่ไม่ค่อยชอบอ่าน ebook ชอบจับหนังสือจริงมากกว่า
+1 ชอบซื้อมาตุนแม้อ่านไม่ทัน 55555
ผมคนนึงที่ไม่ค่อยชอบอ่าน ebook และหนังสือจริง ผมชอบซื้อมาดองมากกว่า
การดอง คือการถนอมหนังสือวิธีหนึ่ง เพื่อให้สามารถเก็บไว้อ่านได้นานขึ้น หรือนำมาอ่าน ในฤดูที่ไม่มีหนังสือ ^__^"
ดีมากฮะ สงสัยผมจะกลัวไฟล์ชำรุด ไม่กล้าเปิดอ่านเลย
หนังสือที่อ่าน ไม่มี ebook
อ่านหนังสือจริง สบายตากว่า (บนแท็บเล็ตน่ะนะ ไม่เคยลองพวก e-ink)
ก็ประมาณนี้
ปรากฎ => ปรากฏ
อิเล็คทรอนิคส์ => อิเล็กทรอนิกส์
ชอบ ebook นะ คุณภาพของรูปภาพ ตัวอักษร ไม่เสียระหว่างการพิมพ์ และถ้าพิมพ์ผิดก็อัพเดตแก้ได้เลย เราจะได้ 100% ของสิ่งที่ผู้เขียนอยากให้เราเห็น ถ้าที่อ่านกันน้ำได้ก็อ่านในน้ำได้ด้วย
คำอธิบายปรากฎการณ์นี้คือ ราคาเรื่องเดียวเลยครับ
หลังจากบรรดาสำนักพิมพ์ใหญ่ในสหรัฐโดนคดีฟ้องร้องกรณีสมคบกับแอปเปิลร่วมกำหนดราคาขายปลีกอีบุ๊คไปถึงลูกค้ารายย่อย เพื่อสกัดกั้นการเติบโตอย่างมากของตลาดอีบุ๊คบนคินเดิลของอเมซอน ทำให้บรรดาสำนักพิมพ์รู้ตัวกันแล้วว่าจะไปเตะตัดขากันแบบซึ่งหน้าไม่ได้แล้ว
มาตอนนี้บรรดาสำนักพิมพ์มาแนวใหม่ หลังจากเล่น agency-model ไม่ได้ (สำนักพิมพ์กำหนดราคาขายปลีกให้เท่ากันทุกช่องทาง ไม่ว่าร้านค้าอีบุ๊คจะมีประสิทธิภาพในการบริหารสูงกว่ากันหรือไม่อย่างไรก็ตาม) ก็ใช้วิธีดันราคาขายส่งในช่องทางดิจิตอลซะ (ฆ่าให้เรียบ) จนทำให้ราคาขายปลีกอีบุ๊คมีราคาสูงขึ้นจนแพงกว่าหรือราคาใกล้เคียงกับราคาปกอ่อน รวมถึงวางจำหน่ายแบบอีบุ๊คให้ช้ากว่าปกแข็งอีกด้วย (คือแค่ไม่ฮั้วกันให้โดนฟ้องได้ก็พอ)
การทำแบบนี้เชื่อว่าก็อาจจะมีข้อเสียต่อสำนักพิมพ์อยู่บ้าง ตรงที่ยอดรายรับที่สำนักพิมพ์อาจจะได้จากการขายอีบุ๊คจากอเมซอนอาจจะลดลง แต่เมื่อหักลบกับส่วนที่ได้เพิ่มจากยอดจำหน่ายหนังสือเล่มขึ้นอาจจะลดไม่มากนัก (เพราะอีบุ๊คดีกว่าตรงที่ซัพพลายไม่จำกัด สำนักพิมพ์ฯไม่ต้องบริหารต้นทุนการจัดการพิมพ์ อีกทั้งถ้าหนังสือดังมากก็ขายได้ตลอดเวลา ทำให้คิดว่าถ้าไม้นี้มันดีกว่าจริง บรรดาสำนักพิมพ์ก็คงใช้ไม้นี้กับอเมซอนตั้งแต่แรก ไม่ต้องไปทำ agency-model กับแอปเปิลจนขึ้นโรงขึ้นศาลกัน)
ในเมื่อต้นทุนมาแพงขึ้น ต่อให้อเมซอนมีประสิทธิภาพมากกว่าขนาดไหน ก็ไม่สามารถขายต่ำกว่าทุนไปตลอด ราคาขายปลีกถึงลูกค้าก็ต้องขยับขึ้น เมื่อเปิดมาราคาขายอีบุ๊คเท่ากับปกอ่อนหรือดีไม่ดีราคาแพงกว่า ลูกค้าก็เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อกลับไปซื้อหนังสือเล่มอีกครั้ง ทำให้ตลาดอีบุ๊คที่ทางอเมซอนครอบครองเกือบเบ็ดเสร็จในอังกฤษและยุโรปยอดขายลดลง กลับกัน หนังสือเป็นเล่มยอดขายกลับกระเตื้องขึ้น เป็นมาแล้วหลายไตรมาสครับ ก็ต้องดูกันยาวๆ ว่าอเมซอนจะแก้เกมกันอย่างไร
ผมมองว่าสำนักพิมพ์ยอมเฉือนเนื้อตัวเองรับกำไรจากหนังสือเล่มน้อยกว่า เพราะมันมี "คู่ค้า" จำนวนมากครับ ขณะที่ ebook ตอนนี้มีเจ้าเดียวใหญ่สุด และไม่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงเร็วๆ นี้
ถ้าเป็นรายเล็กๆ 10 เจ้า สำนักพิมพ์จะทิ้งร้านหนังสือแล้วไปเอากำไรจาก ebook คงสะดวกใจกว่าตอนนี้
lewcpe.com, @wasonliw
ราคาผมเฉยๆ นะ ส่วนตัวแล้วตัวแปรที่ป่วนเส้นกราฟหลักๆ น่าจะมาจากคนอ่าน ebook ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือเปล่า ดูยอด kindle device ก็ไม่ได้แรงเหมือนเก่า (แถมโดนแพอีก) ยอด tablet ก็ล่วงติดต่อกันทุกปี จุดสำคัญกลุ่มนักอ่านช่วงแรกก็ซื้อหนังสือที่ต้องซื้อไปหมดแล้ว คนซื้อ ebook ซื้อน้อยลง+คนอ่านหน้าใหม่ไม่เกิด ยอดปัจจุบันก็เลยปรับเข้าสู่ความจริง
เอาจริงๆ ปัญหาที่คนจะเริ่มซื้อหรือไม่ มันน่าจะเป็นเรื่องความยังยืนของระบบด้วย ถ้า amazon เจ๊งวันนี้หนังสือจะเป็นของผมไหม ถ้าโดน สนพ ปิดตัวลอยแพหนังสือจะไปอยู่ที่ไหนหรือจะเลิกขายไปเฉยๆ? มันมี ฯลฯ ปัญหาที่ไม่มีคนมาตอบคนซื้อ หรือแม้แต่ตลาดมือสองที่เป็นตลาดสำคัญที่คอยอุ้มวงการในหลายเรื่องก็ยังไม่มีในระบบนี้ คือถ้าตอบยากหรือทำได้ยากจนวุ่นวายคนอ่านหน้าใหม่ก็ไม่ขยับเพิ่มแน่ๆ
กรณีนี้เราพูดถึงยอดขายอีบุ๊คครับ ไม่ได้พูดเรื่องยอดขายอุปกรณ์ตก
อีบุ๊คของผู้ขายรายใหญ่อย่างอเมซอน บริการก็ไม่ได้ยึดติดกับอุปกรณ์ครับ ถึงขั้นคุณไม่ซื้ออุปกรณ์จากเค้าเลยก็ยังใช้บริการเค้าได้ หรือจะใช้ iPad ก็ซื้อและก็อ่านหนังสือจากอเมซอนได้ครับ
ส่วนกรณีผู้จัดจำหน่ายจะล่มก็แค่ปัจจัยตัวหนึ่งในการตัดสินใจซื้อครับ เพราะในตลาดหนังสือเล่มที่ขายกันดีในต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่เป็นหมวดนิยายโดยเฉพาะปกอ่อน อ่านกันครั้งสองครั้งก็ทิ้ง/ให้ชาวบ้านกันแล้วครับ ไม่ได้ซื้อเก็บกันยาวๆ
ถ้าปกแข็งยังคงออกมาเล่มละ 20-25 เหรียญขึ้นไปแล้วอีกหกเดือนค่อยออกปกอ่อนราคา 13-15 เหรียญ แต่อีบุ๊คเหลือ 9.99 เหรียญโดยกดซื้ออ่านได้เลยทันทีตั้งแต่วันแรกจากมือถือตัวเอง และน่าอ่านได้จบก่อนชาวบ้าน ผมว่าคนซื้ออีบุ๊คก็คงไม่น้อยนะครับ ยกเว้นจะตั้งใจเก็บจริงๆ
ส่วนตลาดมือสองนั้นเฉพาะทางมากๆ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ เพราะในสหรัฐฯ ร้านหนังสือเค้าซื้อขาดที่ครึ่งหรือหนึ่งในสามของราคาปก พอหนังสือปกไหนยังเหลือขายไม่ออก ร้านก็เอามาโละ ขายหนึ่งในสามราคาปกก็เห็นออกบ่อยครับ
เรื่อง day1 ดิจิตอลคอนเทนต์ไหนก็มี อยากอ่านก่อนจ่ายแพงรับโน้นรับนี้กันไป คนพร้อมจะรอเพื่อซื้อถูกๆ ก็พร้อมจะรอ ที่ผมต้องการสื่อคือตลาดหนังสือที่กลายมาเป็นหนึ่งในดิจิตอลคอนเทนต์ แต่กับไม่เติบโตเหมือนตลาดอื่น? มันเหลือตัวแปลไม่กี่ตัว หนึ่งในนั้นก็ปัญหาที่ตัว "ผู้ใช้" เอง ถ้ามาปฏิเสธจำนวนผู้ใช้ไม่เกี่ยวหรือยอดผู้ใช้หน้าใหม่เพิ่มน้อยหรือแม้แต่ความจริงที่ว่าคนอ่านหนังสือน้อยลงก็ต้องหาข้อมูลอื่นยันกัน (ในความเห็นก่อนหน้าผมใช้ยอดขาย kindle กับ tablet ที่รวมถึง iPad มาเป็นการวัดผู้ใช้)
ส่วนในตลาดมือสองผมยืนยันว่ามันใหญ่กว่าหลายคนรู้
หากอยากให้อีบุ๊คเจริญ คงต้องมีการขึ้นภาษีหนังสือเล่มๆ หรือไม่ก็ถล่มโรงพิมพ์ด้วยสแกนหนังสือเถื่อน
ไม่อ่านหนังสือเล่มเพราะที่บ้านไม่มีที่เก็บครับ ซื้อมาแล้วเต็มบ้านมากๆ
หนังสือบางประเภท* หลายอารมณ์ จุดประสงค์ต่างกัน บางประเภทอยากนอนอ่านสบายๆ
สื่อที่เหมาะสมกับ e-book คือหนังสือพิมพ์ ไม่รู้ว่าในไทยเริ่มรึยัง ที่จะขายผ่านช่องทางพวกนี้
คือคนอายุปลายๆ60ขึ้นไป คนกลุ่มนี้เสพติดการอ่านหนังสือพิมพ์ แต่ด้วยปัญหาทางด้านสายตา ที่แย่ตามอายุ ทำให้อ่านหนังสือพิมพ์ลำบาก เลยแก้ปัญหาด้วยการซื้อ kindle แล้วหาวิธีจับหนังสือพิมพ์ทำเป็นไฟล์ออกมา ส่งอีเมลเข้าkindle เลย แต่ปัญหาคือ ต้องทำทุกวัน วันไหนไม่อยู่ ทำไม่ได้ พ่อแม่จะลงแดง ไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ และสอง พ่อแม่เค้าก็อยากให้ทางนักเขียนคอลัมน์มีรายได้ ก็ไม่รู้จะช่วยทางไหน ซื้อมาเป็นฉบับ ก็อ่านไม่ได้ ตัวเล็กเกิน อีกอย่างคือปัญหาจัดส่ง ที่ช้ากว่าอ่านทางหน้าเว็บไซด์ซะอีก
จะมีใคร มีไอเดียทำมั๊ย ราคาจะอยู่ประมาณไหน แล้วตอนนี้มีเจ้าไหนทำบ้าง ที่ไม่ได้อ่านทางtablet นะคะ เอาทางkindle นี่อะ ตัดคำไทยไม่ใช่ปัญหา แค่แสดงภาษาไทยได้ก็พอ เอาแบบตื่นเช้ามา เปิดไวไฟหนังสือพิมพ์โหลดมาเข้าเครื่องเลย
ไอเดียน่าสนใจคับ แต่ใน Kindle คงยาก สินค้าเฉพาะกลุ่มเกินไป ไม่มีแรงจูงใจให้คนทำ
ระบบหนังสือพิมพ์รายวันก็มีอยู่แล้วนะครับ แต่ไม่มีใครลงมาเล่น น่าจะเพราะโดนหักค่านายหน้าด้วยล่ะมั้งครับ + คาดกันไปว่าคนใช้น้อยเลยไม่คุ้ม
ที่ผมเคยใช้โปรแกรมทำ มันตั้งให้รันอัตโนมัติได้นะครับ ถ้าที่บ้านมีเดสก์ท็อปลองตั้งให้มันเปิดเครื่องมารันเองตอนหกโมงเช้าอะไรแบบนี้ก็ได้ครับ
ชอบ ebook ครับ แต่สำหรับเมืองไทยไม่มีอะไรให้อ่านเลยครับ
เล่ม ๆ ไม่มีที่เก็บแล้วครับ ปลวกถล่มด้วย
+1 ประสบปัญหาเหมือนกับท่านทุกอย่างครับ
ผมเสียใจกับหนังสือจริงที่มันเสียไป + เปลืองที่เก็บเลยพยายามซื้อในคินเดิลครับ
แต่ก็นั่นแหละครับ LN ที่อ่านที่งานหนังสือทีหมดหลายพันปีละสองรอบมันไม่มีขาย ต้องซื้อเล่มจริงอยู่ดี
เก็บเป็นไฟล์ได้ก็เก็บครับ ห้องจะได้โล่งๆ
ชอบเป็นเล่มมากกว่า
แต่เลือกซื้อแบบดิจิตอล
เพราะที่บ้านไม่มีที่จะเก็บหนังสือแล้วครับ
ซื้อดิจิทัล เพราะว่า ... ซื้อเป็นเล่มมันใช้เวลาส่งนาน และร้านหนังสือไม่ค่อยสต็อกของครับ
ใช้ e-reader ยี่ห้อ boox (ในนี้เคยมีคนรีวิวไว้) อ่านสบายตากว่าแท็บเล็ตธรรมดาเยอะ เครื่องเล็กๆ แต่ผมสามารถเก็บเพชรพระอุมา, แฮรี่ พ็อตเตอร์ ได้ทั้งชุด นี่ก็อ่าน game of thrones อยู่ ถ้าเป็นแบบหนังสือนี่ ถือกันเมื่อยมือ หนามากๆ อยู่คอนโดไม่มีที่เก็บหนังสือด้วย
แต่ข้อเสียคือนิยายสืบสวนสอบสวนไม่ค่อยมี ebook ขาย (ต้องเป็นแบบ ePub ด้วยนะ เพราะเครื่องที่ใช้ไม่เหมาะกับ pdf) หนังสือแนวนี้เลยซื้อแบบเล่มแทน
มีอีกประเด็นคือ Audiobook นี่นับเป็น "ebook" ด้วยไหม จากเมื่อก่อนผมอ่านแต่หนังสือ แต่พอมี audible ผมลดการ "อ่าน" หนังสือไปฟังแทนเยอะพอสมควรเลย เมื่อก่อนพวกหนังสือเสียงนี่ต้องซื้อซีดีเอา แต่สมัยนี้พอเป็น streaming แล้วสะดวกกว่าเดิมมาก
lewcpe.com, @wasonliw
รู้สึกว่าเค้าไม่นับนะครับ และแยกมาเป็นอีกประเภทต่างหาก และที่สำคัญเติบโตกว่า 20% ในปี 2015 และ 2016 ที่มา: Audio Publishers Association
ชอบอีบุ๊กครับ
หนังสือเป็นเล่มแทบนับได้ครับ
คงต้องแล้วแต่แนวด้วยครับ เวลาอ่านจากหนังสือจะรู้สึกผ่อนคลายกว่า (ทำให้อ่านสนุกขึ้น!) เหมือนตัดขาดจากโลกภายนอกไปเลย ถ้าอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์แล้วแว๊บหนึ่งมันจะมีความคิดไปถึงเรื่อง "งาน" เพราะฉะนั้นผมจึงอ่านอีบุ๊คเฉพาะเรื่อง IT เท่านั้น
ชอบหนังสือเป็นเล่มครับ แต่ราคาหนังสือสงครามโลกครั้งที่สองในอเมซอนเล่มหนึ่ง หนังสือเป็นเล่ม 6,661 บาท ebook 278 บาท ทายซิว่าผมซื้อเล่มไหน
ต้องซื้อแบบเป็นเล่มอยู่แล้วใช่มั้ยครับ เรารักประวัติศาสตร์ก็เลยอยากเก็บสะสมด้วย
ผมชอบหนังสือจริงมากกว่านะ แต่ e-book มันสะดวกกว่าและถูกกว่า เลยเลือกอย่างหลัง
พวกหนังสือต่างประเทศนี่ ราคาที่ไทยโหดมาก ซื้อเป็น e-book ได้ถูกกว่าเกือบเท่าตัว
อ่าน ebook จาก kindle เฉพาะหนังสือต่างประเทศครับ หนังสือไทยอ่านเป็นเล่มอย่างเดียวเลย
สาเหตุที่ผมไม่ซื้อ ebook เพราะ
1. เล่มที่อยากอ่าน ไม่ได้ทำขายเป็นภาษาไทย
2. ราคาไม่จูงใจ ebook ไม่ได้ถูกกว่าแบบเล่มมากพอ
3. ไม่ตอบโจทย์ในแง่ของสะสม
ดูอย่างมังงะแปลไทยในบ้านเราถูกกว่าแบบเล่มไม่กี่บาทเท่านั้น ถ้าต่ำกว่ากันมากกว่า 50% ถึงจะน่าสนใจครับ
ตลาดน่าจะกำลังอยู่ในช่วงเลื่อนเข้าจุดสมดุลครับ
เหมือนตลาดกล้องฟิล์ม ตอนที่กล้องดิจิตอลบูมมากๆ ทุกคนวิ่งเข้าหาดิจิตอลจนฟิล์มแทบตายไปจากตลาด
แต่พอกล้องดิจิตอลเริ่มอยู่ตัว กลายเป็นตลาดฟิล์มกลับมาหายใจได้อีกครั้งในกลุ่มของคนที่ใช้กล้องดิจิตอลแล้วรู้สึกขาดหายอะไรบางอย่างไป สุดท้ายก็เล่นมันทั้ง 2 อย่างเลย
ส่วนตัวก็ชอบหนังสือธรรมดา แต่คิดว่าหนังสือบางประเภท ทำเป็น e-book ก็ดีกว่า
..: เรื่อยไป
ส่วนตัวเวลาอ่านชอบแบบเล่ม
แต่เนื่องจากเมื่อมันไม่มีที่เก็บ หลังๆ มานี่เรื่องไหนอ่านจบแล้วก็จับแสกนเก็บแทน =__="
ยังไงผมก็ยังให้ลูกผมอ่านหนังสือกระดาษ จนกว่าจบประถม (อันนี้ที่คิดๆไว้นะ)
ผมยังชอบ ebook เหมือนเดิม แม้จะเจ็บใจราคาขึ้นก็เถอะ เพราะค่าส่งจากอเมซอนมาไทยก็กว่า 40% ของราคาหนังสือจริงแล้ว