ที่ผ่านมา วงการ cryptocurrency และ blockchain ได้รับความนิยมล้นหลาม ส่งผลให้ความต้องการการ์ดจอเพื่อเอาไปขุดเหมืองเพิ่มสูงขึ้น และเริ่มมีข่าวลือเกี่ยวกับการดัดแปลงการ์ดจอเพื่อใช้ขุดเหมืองโดยเฉพาะ ล่าสุดก็เริ่มมีบางคนปิ๊งไอเดียว่า แล้วถ้าเอาคอมพิวเตอร์ควอนตัมไปขุดเหมืองแทนล่ะ จะขุดเร็วขนาดไหน
คำตอบคือ ขุดเร็วกว่าการ์ดจอแน่ๆ แต่ “มันอาจจะเร็วเกินไปจนไปทำลายระบบ blockchain” ได้เลยทีเดียว
นอกจากนี้ การมาของคอมพิวเตอร์ควอนตัมจะทำให้ระบบ blockchain ไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ เพราะมันสามารถทำลายกลไกการเข้ารหัสและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้อีกด้วย
จากประเด็นข้างต้น ก็เลยมีกลุ่มนักวิจัยชาวรัสเซียนำโดย Enter Evgeny Kiktenko แห่ง Russian Quantum Center กรุง Moscow คิดเผื่อเอาไว้ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์ควอนตัมมาถึง เราจะทำยังไงดีเพื่อที่จะยังคงรักษาระบบ blockchain ให้สามารถใช้งานต่อไปได้ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือเปเปอร์ที่ถูกตีพิมพ์ใน arXiv ครับ
ที่มาภาพ - Pexels
รากฐานสำคัญที่ทำให้ระบบ blockchain สามารถดำเนินการได้นั้นคือกระบวนการแฮชเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของ transaction ที่เกิดขึ้นในแต่ละบล็อก รวมถึงใช้เป็น proof of work ของการสร้างบล็อกใหม่ และลายเซ็นดิจิทัลเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชี ซึ่งการทำลายเซ็นดิจิทัลส่วนมากก็มีพื้นฐานมาจากการเข้ารหัสด้วยอัลกอริทึม ECDSA หรือการเข้ารหัส RSA
แต่ถ้าสมมติมีใครสักคนสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมขึ้นมาได้แล้วละก็ กระบวนการเข้ารหัสข้างต้นจะไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ ผู้ไม่ประสงค์ดีจะสามารถปลอมแปลงบัญชีของเหยื่อในระบบได้
ผลกระทบอีกอย่างหนึ่งคือคอมพิวเตอร์ควอนตัมมี Grover search algorithm ช่วยลดระยะเวลาในการทำ inverse hash function ด้วย (จากปกติใช้เวลา 1,000,000 รอบในการหาคำตอบ อาจจะเหลือแค่ 1,000 รอบเท่านั้น) ซึ่งจะทำให้ proof of work เสียประสิทธิภาพของมันไป และมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า 51% attack ได้ (มีคนเพียงไม่กี่กลุ่มที่สามารถขุดเหมืองหรือประกาศบล็อกใหม่ได้และกลายเป็นผู้ควบคุม transaction หลักของระบบ ซึ่งขัดกับหลักการของ blockchain ที่ระบบต้องกระจายออก ไม่มีใครสามารถเป็นศูนย์กลางได้)
อันที่จริง ทีมนักวิจัยทั่วโลกกำลังพัฒนากระบวนการเข้ารหัสแบบใหม่ที่ทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัม เรียกว่า post-quantum cryptography ซึ่งสามารถเอาไปใช้ทำลายเซ็นดิจิทัลแทนการเข้ารหัสแบบเดิมได้ แต่ ณ ปัจจุบัน กระบวนการเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถใช้งานได้จริง จึงยังไม่สามารถพึ่งพาได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
ข้อเสนอของทีมนักวิจัย คือให้ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนกุญแจเข้ารหัสผ่านการสื่อสารแบบควอนตัมแทน (quantum key distribution หรือ QKD) โดยใช้ประโยชน์จากกลศาสตร์ควอนตัมโดยตรง กระบวนการนี้มีการทดสอบการใช้งานที่ระยะทางต่างๆ แล้ว คุณสมบัติหลักๆ ของการแลกเปลี่ยนกุญแจผ่านช่องทางควอนตัมคือ
คลิปนี้ผมตั้งใจจะเอามาให้เห็นภาพคร่าวๆ ว่ากระบวนการ QKD สามารถตรวจพบ eavesdropper ได้อย่างไร ไม่ได้อธิบายขั้นตอนเชิงลึกของมัน ผู้ที่สนใจอยากจะศึกษาเพิ่ม ผมแนะนำให้เริ่มที่โปรโตคอล BB84 ครับ (ที่มา - Centre of Quantum Technologies มหาวิทยาลัย NUS)
ในการออกแบบระบบ blockchain นั้น จะกำหนดให้ทุกโหนดมีช่องทางการสื่อสาร 2 ช่อง คือ ช่องทางการสื่อสารปกติซึ่งใช้ในการส่งผ่านข้อมูล และช่องทางการสื่อสารควอนตัมซึ่งจะใช้เฉพาะตอนแลกเปลี่ยนกุญแจเข้ารหัส (เป็นการออกแบบทั่วๆ ไปของกระบวนการ QKD อยู่แล้ว)
สำหรับการสร้างบล็อก ทีมวิจัยเลือกใช้โปรโตคอล “broadcast” จากเปเปอร์ของ Shostak, Lamport, และ Pease มาใช้งาน (กำลังภายในผมหมด ไม่สามารถอธิบายมากกว่านี้ได้ แต่หากสนใจจริงๆ ให้อ่านในภาคผนวกของเปเปอร์) โปรโตคอลนี้รับประกันได้ว่าจะทำให้ระบบ blockchain ยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ หากมีผู้ไม่ประสงค์ดีร่วมมือกันน้อยกว่า 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานในระบบ
ทีมวิจัยยังเสนออีกว่า ควรจะเพิ่มความยาวแฮชของการเข้ารหัสบล็อก เพื่อป้องกันกรณีที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมเพื่อปลอมแปลงข้อมูล transaction ภายในระบบด้วย
ที่มาภาพ - เปเปอร์ตีพิมพ์ใน arXiv
ทีมวิจัยทำการทดสอบระบบ blockchain ใหม่ โดยกำหนดให้มีโหนดใช้งานในระบบ 4 โหนด ได้แก่ A, B, C, D และให้โหนด D พยายามโอนเงินเข้าบัญชีที่เหลือพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดสถานการณ์ double spending ผลคือ transaction ดังกล่าวถูกปฏิเสธ ไม่ได้รับการบันทึกในเวลาต่อมา (สำหรับคนที่สงสัย คอมพิวเตอร์ที่ทางทีมใช้มาจาก ID Quantique ครับ)
กระบวนการเหล่านี้ยังมีจุดอ่อนตรงที่ต้องมีผู้ไม่ประสงค์ดีร่วมมือกันน้อยกว่า 1 ใน 3 ของผู้ใช้งาน ระบบจึงจะมีเสถียรภาพได้ แต่อย่างน้อย นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบ blockchain หากคอมพิวเตอร์ควอนตัมเริ่มใช้งานได้จริง ซึ่งคงจะไม่ใช่เร็วๆ นี้แน่
แต่หากมันเกิดขึ้นจริง สิ่งที่น่ากลัวพอๆ กัน คือข้อมูลส่วนตัวของทุกคนจะไม่ปลอดภัยในทันทีหากยังใช้กระบวนการเข้ารหัสแบบเดิมๆ
Comments
ปัญหาคือช่วงเวลาในอนาคตที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมสามารถใช้ในการถอดรหัสค่า hash ได้ จน blockchain แบบเดิมๆ ไม่ปลอดภัยพอ แต่ในขณะเดียวกัน QKD ก็ยังไม่น่าจะแพร่หลายมากพอที่ end user ทั่วไปจะใช้ได้ ช่วงเวลานั้นจะเป็น dark age ของ cryptocurrency มั้ย? กลายเป็นว่า blockchain ที่จะรุ่งคือพวกที่ใช้ในองค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร ที่มีเงินพอจะมีระบบ QKD แทน
เห็นด้วยเลยครับ ยุคที่ราคา Quantum ยังไม่ถูกพอที่จะใช้งานตามบ้านโดยทั่วไป มันก็จะเป็นยุคที่องค์กรใหญ่ ๆ ความคุม cryptocurrency ได้เลย
เออ จริงด้วยครับ มันคงจะต้องมีช่วงที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมยังไม่แพร่หลายแบบที่คุณว่าด้วย ผมนี่พาลคิดไปต่อเลยว่าแล้วธนาคารหรือใครจะทำอะไรได้บ้างในช่วงนั้น
องกรค์ใหญ่ๆที่ว่านั่นอาจจะเป็น รัฐบาล ก็ได้
คิดว่าอะไรแบบนี้ก็ยังเป็นแบบเดิมครับ ผู้ใช้งานตามบ้านไม่เคยตามเทคโนโลยีองค์กรใหญ่มากๆ หรือรัฐได้อยู่แล้ว เราก็ได้แต่หวังว่าระบบทุนนิยม(เสรีนิยม หรือเรียกอะไรไม่รู้แหะไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์)จะยังอยู่จนยุคเปลี่ยนผ่านไปควอนตัม เพราะอย่างน้อยไมโครซอฟท์ กูเกิล แอปเปิล ยังอยู่ต้นๆของกระดาน ทุนในการหา QKD มาปกป้องลูกค้าตัวเองก็ยังสูสีกับประเทศมหาอำนาจได้
ถ้าคนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึง cryptocurrency ได้ ตัว cryptocurrency ก็จะไม่มีค่าไปเอง เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรัมมัน
เพื่อใช้ขุดเหมือนโดยเฉพาะ > เพื่อใช้ขุดเหมืองโดยเฉพาะ
WE ARE THE 99%
หล่ะ => ล่ะ
แก้เรียบร้อยครับ ใช้หล่ะจนเคยตัวเลย
อีกห้าปี เดะมาเปิดดูบล็อกใหม่ ตอนนั้นคงมี คอมพิวเตอควอนตัมละ
ถ้าเป็น Quantum เขาก็เตือนกลายๆ มานานแล้วว่า "Choose Wisely Live Well"
555 อันนี้ฮาครับ
กระอักเลือด ลมปราณแตกซ่านตั้งแต่กระบวนท่า (วรรค) ที่แปด
ยังไงก็ขอบคุณที่เขียนบทความน่าทึ่งนี้นะครับ
แสดงว่าไม่มีกุญใดไร้เทียมทาน
โดยความจริงแล้วตัว blockchain เป็นสิ่งที่มีค่าไม่แตกต่างจากทอง
บางคนอาจมองว่าทองมีค่า
แต่ในมุมมองของนักลงทุนทางธุรกิจ มองว่าทองไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีวันออกดอกผลกำไรได้ นอกจากมีการปั่นราคาขึ้นมา
แต่หากในเวลาแห้งแล้งไม่สามารถเพาะปลูกได้ ตั๋วจำนำเสบียงที่มีการฝากไว้กับมีค่ามหาศาล เพราะมันสามารถต่อชีวิตในวันรุ่งขึ้นได้
ถามจริงๆ เถอะว่า อะไรเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดสำหรับโลกไซเบอร์ ไม่ใช่การเชื่อมต่อกันแบบไร้พรมแดนหรอกหรือ
ระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถมีความหมายได้หากไร้ตัวแทนสำหรับฝากเงินและการทำบัญชีที่น่าเชื่อถือ
ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินสดที่ฝากธนาคารเอาไว้ก็ได้
แต่หากเป็นข้าวเพียงเกวียนเดียว อาจมีมูลค่าเท่ากับทองคำทั้งโลก
คิดอะไรอยู่ ...
เงิน ก็ไม่มีวันออกดอกผลกำไรได้ นอกจากมีการปั่นราคาขึ้นมา เหมือนกันนิครับ
ตั๋วจำนำเสบียงที่ถอนไม่ใด้ก็ไร้ค่าเช่นกัน
... เงินหัวใจจริงๆคือ ตัวกลางเพื่อแลกเปลี่ยน ถ้าต้นทางยอมรับ ปลายทางยอมรับ มันก็มีค่า การแลกเปลี่ยนก็สำเร็จ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
หากมาตราฐานตั๋วจำนำเสบียงถูกรับรองด้วยรัฐมนตรี ก็มีค่าไม่แตกต่างจากเงินบาทของไทยซึ่งเป็นตั๋วจำนำทอง ข้อแตกต่างอยู่ที่อายุในการเก็บรักษาเท่านั้น
ตั๋วจำนำเสบียงก็สามารถเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนได้ไม่ต่างจากตั๋วจำนำทอง
แน่นอนว่าการเก็บรักษาและการไถ่ถอนอาจจะยุ่งยากกว่า รวมถึงวันหมดอายุ
ที่คุณพูดมามันก็คือหลักการพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนครับ และคีย์เวิร์ดมันก็อยู่ในประโยคที่คุณว่ามาตรงคำว่า "เชื่อถือ" ถ้าสิ่งนั้นมันได้รับความเชื่อถือจากทั้งสองฝั่ง มันก็สามารถใช้แลกเปลี่ยนได้ครับ ส่วนความมีค่าของสิ่งใดๆ มันขึ้นอยู่กับปัจจัยและสถานการณ์ ณ เวลานั้น ไม่มีสิ่งไหนที่สามารถคงคุณค่าเดิมไปได้อย่างถาวรอยู่แล้วครับ
ผมขอตอบทีละประโยคๆ ไปละกันนะครับ
ถูกครับ รวมทั้งการเข้ารหัสทุกรูปแบบตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน
ที่จริงแล้วทองยังมีคุณค่าในเชิงกายภาพอยู่บ้าง เช่น เอาไปใช้เชิงอุตสาหกรรม เอาไปทำเครื่องประดับ ถ้าจะเปรียบ "Cryptocurrency" (ไม่ใช่ blockchain นะ อย่าสับสน) ควรจะเปรียบกับสิ่งสมมติเลย เช่น เงิน จะตรงกว่าครับ
กำไรและดอกผลจากการลงทุน ปกติมักมาจาก 2 ส่วน คือ ดอกเบี้ย (สิ่งตอบแทนจากการให้คนอื่นนำทรัพย์นั้นไปใช้ประโยชน์) กับ Capital Gain (ผลตอบแทนจากการที่ทรัพย์นั้นเพิ่มค่าขึ้น ซึ่งมาจาก Demand ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ Supply)
ถ้าคุณมองว่าทองไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีวันออกดอกผลกำไรได้ แปลว่าคุณมองแค่ด้าน Cap Gain ครับ ถ่าอยากหาดอกผลจากทองคำ ทุกวันนี้มีคนทำอยู่แล้วครับซึ่งก็คือ "โรงรับจำนำ" นั่นเอง สิ่งที่โรงรับจำนำคือ "ซื้อทรัพย์ที่ราคา Discount" ถ้าเปรียบกับตราสารทางการเงินก็เหมือนซื้อ Zero Coupon Bond ที่คนขายมี Option จะซื้อทรัพย์คืนโดยจ่ายดอกเบี้ยตามที่กำหนด ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าเกินเวลาหรือ "หลุดจำนำ" คนซื้อมีสิทธิยึดทรัพย์ไปขายต่อที่ราคาตลาดได้
มูลค่าสิ่งของขึ้นกับ Demand / Supply ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละเวลาและสถานการณ์ครับ ตั๋วจำนำเสบียงกับน้ำ 1 แก้วอะไรมีค่ากว่ากันเมื่อคุณหลงทางในทะเลทราย น้ำ 1 แก้วหรือออกซิเจน 1 เฮือกอะไรมีค่ากว่ากันเมื่อคุณกำลังจมน้ำ เรื่องแบบนี้พูดได้ไม่มีจบครับ
ถึงจะเชื่อมต่อกันได้ แต่ถ้าไม่มี Content หรือการใช้ประโยชน์ก็ไร้ค่าครับ เหมือนถนนที่ไม่มีรถวิ่งนั่นแหละ
เห็นด้วยครับ มันถึงได้มี Blockchain ขึ้นมาเพราะมัน "น่าเชื่อถือในระดับที่ยอมรับได้" ไงครับ
อันนี้สำหรับผมเหมือนพูดเท่ๆ พูดยังไงก็ถูกอ่ะเนอะ ไม่มีความเห็นเพิ่มจากที่เขียนไว้ข้างบนแล้วละกันครับ