Tags:
Node Thumbnail

Yilei Chen นักวิจัยจาก Tsinghua University เผยแพร่รายงานวิจัยถึงอัลกอริทึมใหม่ที่สามารถเร่งความเร็วในการแก้ปัญหา Lattice บางส่วนได้ เปิดทางสู่การพัฒนากระบวนการเจาะการเข้ารหัสที่เคยเชื่อกันว่าทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัม

ปัญหา Lattice เป็นปัญหาที่กระบวนการเข้ารหัสแบบทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัมนิยมใช้งานกัน เปรียบได้กับปัญหาการแยกตัวประกอบที่นิยมใช้งานในกระบวนการเข้ารหัสแบบปกติที่ผ่านๆ มา กระบวนการของ Chen ระบุว่าสามารถใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมแก้ปัญหา learning with errors (LWE) ภายในเวลา polynomial ได้สำเร็จ และปัญหา LWE นั้นเทียบเท่ากับปัญหา Lattice ในบางรูปแบบ

Tags:
Node Thumbnail

แอปเปิลประกาศเพิ่มโปรโตคอล PQ3 เข้าในแอป iMesseage โดนหัวใจของโปรโตคอลคือการเพิ่มการเข้ารหัสที่ทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัม ขณะเดียวกันก็ลดความเสียหายในกรณีที่ผู้ใช้ทำกุญแจหลุด (forward secrecy) เข้ามาอีกชั้น

โปรแกรมแชตที่รองรับการเข้ารหัสแบบทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัมก่อนหน้านี้คือ Signal ที่ใส่โปรโตคอล PQXDH (Post-Quantum Extended Diffie-Hellman) เข้ามา แต่ข้อจำกัดของ PQXDH คือใช้กุญแจเดิมตลอดการเชื่อมต่อ หากคนร้ายโจมตีและได้กุญแจเชื่อมต่อไปก็จะถอดรหัสข้อความทั้งหมดได้ แต่ PQ3 นั้นมีกระบวนการเปลี่ยนกุญแจไปเรื่อยๆ ระหว่างการเชื่อมต่อทำให้แม้กุญแจจะหลุดไปบางส่วนก็ทำให้คนร้ายอ่านข้อมูลได้แค่บางส่วนเท่านั้น

Tags:
Node Thumbnail

แอปเปิลประกาศยกระดับการเข้ารหัสความปลอดภัยของ iMessage ด้วยโปรโตคอล PQ3 ที่รองรับการถูกโจมตีถึงระดับการประมวลผลด้วยควอนตัม ซึ่งแอปเปิลเรียกว่าเป็นการเข้ารหัสในระดับ 3 และเป็นครั้งแรกของแอปรับส่งข้อความ

ก่อนหน้านี้ iMessage มีระดับการเข้ารหัสระดับที่ 1 ซึ่งยังไม่ปลอดภัยสำหรับการโจมตีแบบควอนตัม ซึ่งแอปแชทในระดับ 1 ตัวอื่นได้แก่ LINE, Viber, WhatsApp ขณะที่ Signal เพิ่งอัพเกรดมาที่ระดับ 2 ในช่วงที่ผ่านมา

การออกแบบความปลอดภัยที่ระดับ 3 นั้น จะใช้การสร้างกุญแจ PQC (post-quantum cryptography) เริ่มต้นขึ้นมา และมีการสร้างกุญแจใหม่มาเรื่อย ๆ ตามช่วงเวลา ทำให้การโจมตีทำได้ยากมากขึ้น

Tags:
Node Thumbnail

Cloudflare เริ่มทดสอบกระบวนการแลกกุญแจแบบทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัมมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และตอนนี้ก็ประกาศว่ากระบวนการนี้เข้าสู่สถานะ GA เปิดให้ใช้งานได้ทั่วไป ขณะที่ Chrome เองก็กำลังทดลองการรองรับกระบวนการแลกกุญแจแบบนี้ ทำให้ผู้ใช้จำนวนหนึ่งจะเชื่อมต่อแบบทนทานคอมพิวเตอร์ควอนตัมมากขึ้นเรื่อยๆ

การรองรับกระบวนการแลกกุญแจใหม่นี้รองรับทั้งการเชื่อมต่อขาเข้าจากเบราว์เซอร์และขาออกที่ Cloudflare ต้องเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ลูกค้า รวมถึงการเรียกเว็บภายนอกผ่าน Cloudflare Workers ด้วย ส่วนเน็ตเวิร์คภายในของ Cloudflare เองนั้นคาดว่าจะอัพเกรดทั้งหมดได้ภายในสิ้นปี 2024

Tags:
Node Thumbnail

Signal ปรับปรุงโปรโตคอลของตัวเองเพิ่มกระบวนการเข้ารหัสทนทานต่อคอมพิวเตอร์คอวนตัมเพิ่มเติม เรียกว่า PQXDH (Post-Quantum Extended Diffie-Hellman) เป็นกระบวนการแลกกุญแจเข้ารหัสที่ทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัม

PQXDH เลือกใช้อัลกอริทึม CRYSTALS-KYBER หนึ่งในอัลกอริทึมที่ได้รับเลือกจาก NIST ซ้อนไปกับ X25519 แบบเดียวกับ OpenSSH และ Cloudflare

Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลร่วมกับทีมวิจัยจาก ETH Zürich พัฒนาเฟิร์มแวร์กุญแจยืนยันตัวตน FIDO รุ่นพิเศษ ที่ใช้กระบวนการเข้ารหัสลับที่ทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัม เป็นการเตรียมทางสู่การวางมาตรฐาน FIDO รุ่นต่อๆ ไปที่จะรองรับกระบวนการนี้ในอนาคต

เฟิร์มแวร์นี้มีลายเซ็นดิจิทัลยืนยันข้อมูลซ้อนกันสองชั้น คือ ECDSA แบบเดิมๆ และ Dilithium ที่ NIST เลือกเป็นมาตรฐานการเซ็นลายเซ็นดิจิทัลแบบทนทานคอมพิวเตอร์ควอนตัม ความยากในการอิมพลีเมนต์คือโค้ดทั้งหมดต้องรันด้วยแรมเพียง 20KB เท่านั้น และตัวกุญแจต้องตอบผลลัพธ์ต่างๆ ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน

Tags:
Node Thumbnail

Cloudflare เริ่มทดสอบกระบวนการแลกกุญแจแบบทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัม (post-quantum key agreement) ช่วงแรกใช้ Kyber ที่เพิ่งได้รับเลือกเป็นมาตรฐาน NIST ระหว่างทดสอบนี้ทาง Cloudflare จะเปิดให้กับบางโดเมนเท่านั้น ที่ประกาศออกมาแล้วคือ pq.cloudflareresearch.com

กระบวนการแลกกุญแจที่รองรับมีสองแบบ คือ X25519Kyber512Draft00 และ X25519Kyber768Draft00 อาศัยกระบวนการแลกกุญแจแบบ Kyber ซ้อนไปกับ X25519 รูปแบบเดียวกับ OpenSSH การซ้อนสองชั้นทำให้การเชื่อมต่อช้าลงเล็กน้อย

Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยจาก Katholieke Universiteit Leuven (KU Leuven) ในเบลเยียมรายงานถึงการโจมตีกระบวนการแลกกุญแจ Supersingular Isogeny Diffie-Hellman protocol (SIDH) ที่ถูกใช้งานในกระบวนการเข้ารหัส SIKEp434 ที่เพิ่งเข้ารอบ 4 ในกระบวนการคัดเลือกมาตรฐานการเข้ารหัสลับที่ทนทานต่อควอนตัม

การโจมตีนี้ทำให้แฮกเกอร์สามารถดึงกุญแจเข้ารหัสออกมาได้ภายในเวลาเพียงชั่วโมงเดียว บนซีพียูธรรมดาคอร์เดียวเท่านั้น

Tags:
Node Thumbnail

NIST ประกาศผลการคัดเลือกอัลกอริทึมเข้ารหัสที่ทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัม โดยชุดแรกมี 4 อัลกอริทึมที่จะเข้าสู่กระบวนการจัดทำมาตรฐานต่อไป แบ่งเป็นกระบวนการเข้ารหัสแบบกุญแจลับ/กุญแจสาธารณะ 1 รายการ และกระบวนการสร้างลายเซ็นดิจิทัล 3 รายการ

Tags:
Node Thumbnail

อินเทลเปิดตัว Project Amber บริการยืนยันว่าซอฟต์แวร์ถูกนำไปรันบนซีพียูอินเทลที่ตรวจสอบได้จริง โดยสามารถใช้งานได้ทั้งการตรวจสอบการใช้บริการบนคลาวด์ และบนคอมพิวเตอร์แบบ edge อื่นๆ

บริการนี้จะอาศัย trusted execution environment (TEE) ที่อยู่ในซีพียูยืนยันว่าตัวซอฟต์แวร์และข้อมูลที่ถูกใช้งาน (data in use) จะถูกประมวลผลด้วยซีพียูตามรุ่นที่ระบุจริง (ไม่ใช่ระบบจำลอง หรือซีพียู x86 ของแบรนด์อื่นๆ) สามารถตรวจสอบบริการปลายทางได้ทั้งเซิร์ฟเวอร์ bare metal, virtual machine, และ container

Tags:
Node Thumbnail

Sandbox สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีควอนตัมในกลุ่มธุรกิจใหม่ X ของ Alphabet บริษัทแม่กูเกิล ประกาศแยกบริษัทออกมาเป็นอิสระ โดยหัวหน้าทีม Jack Hidary จะเป็นซีอีโอของบริษัทตั้งใหม่นี้

Sandbox ก่อตั้งในปี 2016 เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ moonshot ของ Alphabet ที่เรียกรวมในรายงานงบการเงินว่า Other Bets เน้นงานพัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการที่เกี่ยวข้องกับ AI และ Machine Learning บนเทคโนโลยีควอนตัม ตัวอย่างเช่นบริการ การเข้ารหัสที่ทนทานต่อควอนตัม (post-quantum cryptography) เนื่องจากเทคโนโลยีควอนตัมส่วนใหญ่ ยังอยู่ในสถานะงานวิจัย บริษัทจึงมีความร่วมมือกับกับสถาบันการศึกษาหลายแห่ง มีพนักงานประจำ 55 คน

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากที่ NIST เบิกทางเตรียมมาตรฐานการเข้ารหัสลับหลังยุคคอมพิวเตอร์ควอนตัม ล่าสุดในงาน Security Summit เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว BlackBerry ที่ตอนนี้เหลือธุรกิจด้านโซลูชันความปลอดภัย ได้เผยโฉมโซลูชันเข้ารหัสแบบใหม่ ที่ทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัม ซึ่งก็อาจเป็นภัยคุกคามในอนาคตอันใกล้

โซลูชันนี้ของ BlackBerry อาศัยไลบรารีสำหรับการเข้ารหัสลับจาก Isara Corporation ที่เชี่ยวชาญการด้านวิทยาการเข้ารหัสลับควอนตัม (Quantum Cryptography) โดย BlackBerry บอกว่าโซลูชันนี้จะพร้อมให้บริการในเดือนพฤศจิกายนนี้ ขณะที่การอัพเกรด public key ที่กระจายอยู่ไปเป็นรูปแบบการเข้ารหัสแบบใหม่น่าจะใช้เวลาหลายปี

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์เปิดโครงการ PQCrypto-VPN เป็นนำโค้ดมาจาก OpenVPN มาแก้ไขให้รองรับกระบวนการเข้ารหัสแบบใหม่ที่ทนทานต่อคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้

ตอนนี้โครงการรองรับกระบวนการเข้ารหัสของตัวเอง 3 รายการ ได้แก่ กระบวนการแลกกุญแจ Frodo และ SIKE กระบวนการเซ็นรับรองข้อความ Picnic นอกเหนือจากกระบวนการเข้ารหัสที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเองแล้ว ทีมงานจะพยายามรองรับกระบวนการเข้ารหัสอื่นที่โครงการ Open Quantum Safe (liboqs) รองรับ ให้ได้มากที่สุด

ทดสอบแล้วบน Ubuntu 16.04, Windows 10 และ Raspberry Pi

Tags:
Node Thumbnail

ในการสาธิตเมื่อ วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2560 ที่ผ่านมาทีมงานจากสถาบันวิทยาศาสตร์จีน ซึ่งนำโดยนักฟิสิกส์ Jian-Wei Pan ได้สร้างคีย์ที่ปลอดภัยจากดาวเทียมควอนตัมชื่อ Micius ในการส่ง key การเข้ารหัสข้อมูล video call แบบ real-time ระหว่าง 2 เมืองได้สำเร็จ เวียนนาและปักกิ่ง ดาวเทียมมีอุปกรณ์พิเศษในการสร้างโฟตอน ที่ผ่านกระบวนการพิเศษ สามารถใช้ในการสร้างลำดับแบบสุ่มของบิตได้

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อต้นเดือน ทีมวิจัยจาก Institute for Quantum Computing และ Department of Physics and Astronomy, University of Waterloo ประเทศแคนาดา ประกาศความสำเร็จในการทดสอบแลกเปลี่ยนกุญแจเข้ารหัสผ่านช่องทางควอนตัม (quantum key distribution หรือ QKD, ข่าวเก่ามีพูดถึงไว้นิดหน่อย) โดยส่งจากสถานีภาคพื้นดินไปยังเครื่องบินขณะที่กำลังบินอยู่

Tags:
Node Thumbnail

ที่ผ่านมา วงการ cryptocurrency และ blockchain ได้รับความนิยมล้นหลาม ส่งผลให้ความต้องการการ์ดจอเพื่อเอาไปขุดเหมืองเพิ่มสูงขึ้น และเริ่มมีข่าวลือเกี่ยวกับการดัดแปลงการ์ดจอเพื่อใช้ขุดเหมืองโดยเฉพาะ ล่าสุดก็เริ่มมีบางคนปิ๊งไอเดียว่า แล้วถ้าเอาคอมพิวเตอร์ควอนตัมไปขุดเหมืองแทนล่ะ จะขุดเร็วขนาดไหน

คำตอบคือ ขุดเร็วกว่าการ์ดจอแน่ๆ แต่ “มันอาจจะเร็วเกินไปจนไปทำลายระบบ blockchain” ได้เลยทีเดียว

นอกจากนี้ การมาของคอมพิวเตอร์ควอนตัมจะทำให้ระบบ blockchain ไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ เพราะมันสามารถทำลายกลไกการเข้ารหัสและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้อีกด้วย

Tags:
Node Thumbnail

จากข่าวจีนส่งดาวเทียมควอนตัมดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศเพื่อใช้ทดสอบการสร้างเครือข่ายควอนตัมระยะไกล วันนี้การทดสอบประสบความสำเร็จและสามารถสร้างเครือข่ายระหว่างสถานีฐาน 2 แห่งที่ห่างกันถึง 1,203 กิโลเมตร

Tags:
Node Thumbnail

NIST ประกาศตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่าจะเริ่มกระบวนการสรรหาอัลกอริทึมเข้ารหัสสำหรับหลังยุคคอมพิวเตอร์ควอนตัม ตอนนี้กติกาการแข่งขันก็เสร็จสิ้นแล้ว ถึงเวลาเปิดรับอัลกอริทึมจากนักวิจัยกันต่อไป

อัลกอริทึมที่เข้าแข่งขันต้องเข้ามาตรฐาน FIPS 186-4 ที่เป็นอัลกอริทึมสำหรับการสร้างลายเซ็นดิจิตอล และมาตรฐาน SP-800-56A และ SP-800-56B อัลกอริทึมเข้ารหัสลับแบบกุญแจลับ-กุญแจสาธารณะ

การเสนออัลกอริทึมในชั้นแรกจะสิ้นสุดกำหนดในเดือนพฤศจิกายน 2017 นี้

Tags:
Node Thumbnail

จีนพัฒนาดาวเทียมควอนตัมดวงแรกของโลก และส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อเวลา 1:40 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่นจาก Jiuquan Satellite Center เพื่อทดสอบและวางรากฐานสำหรับการสื่อสารที่ปลอดภัยผ่าน Quantum Encryption และทดลองภาคปฎิบัติกับทฤษฎี Quantum Entanglement ระหว่างอวกาศและพื้นโลก

ดาวเทียม Quantum Science Satellite (QUESS) หรือที่ตอนหลังถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น Mozi เป็นดาวเทียมสื่อสารควอนตัมดวงแรกของโลกที่ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติการจริงบนอวกาศ ดาวเทียมดังกล่าวถูกพัฒนาโดยทีมงานจาก University of Science and Technology of China ใน Hefei และจะต้องอยู่ในขั้นตอนการทดสอบอีก 3 เดือน ก่อนการเริ่มปฏิบัติภารกิจจริง