อินเทลพยายามบุกโลก Internet of Things มาหลายปี (รีวิว Galileo ปี 2014 ของ Blognone) แต่ชิปกลับไม่ได้รับความนิยมนัก ตัวบอร์ดมีราคาสูงกว่าคู่แข่งอย่าง Raspberry Pi และ Arduino ตระกูลที่ใช้ชิป AVR หรือ ARM Cortex-M ล่าสุดอินเทลก็ประกาศหยุดจำหน่ายสินค้า 3 รายการคือบอร์ด Galileo, Joule, และ Edison ในช่วงปลายปีนี้ โดยในบรรดาบอร์ดเหล่านี้ Joule เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม 2016 หรือไม่ถึงปีเท่านั้น
ตอนนี้สินค้าตระกูล IoT ของอินเทลตัวสำคัญที่ยังทำตลาดอยู่คือ Curie ที่จำหน่ายเป็นบอร์ด Arduino 101
แม้ว่าบอร์ดอินเทลส่วนมากมีพลังประมวลผลสูงกว่าบอร์ด ARM และ AVR แต่ในแง่ราคาแล้วก็มักสูงกว่ามาก ไม่มีช่องทางการเข้าถึงบอร์ดราคาถูกเช่นบอร์ด Arduino ที่มีโรงงานจีนผลิตเลียนแบบในราคาไม่กี่ร้อยบาท หรือ Raspberry Pi ที่ราคาปลีกไม่ถึงสองพันบาท
ที่มา - Hackaday
Comments
เอาจริงๆเรื่องของ IoT มันเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มมากๆ คือมีแค่คนกลุ่มๆหนึ่งที่ตื่นตัวและเข้าใจว่ามันดียังไง
ในขณะที่คนส่วนมาก เค้าไม่ได้ตื่นตัวกับ IoT อะไรมาก เพราะยังไม่เห็นประโยชน์ที่แท้จริงของมัน
ดังนั้นสิ่งที่สำคัญตอนนี้คือทำยังไงให้คนหมู่มากเข้าถึงเทคโนโลยี IoT เหล่านี้
ก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่ากลไกของราคามันมีผลจริงๆที่จะทำให้คนหมู่มากเข้าถึง IoT ได้ง่ายขึ้น
ผมก็รอให้ตู้เย็นมันอัจฉริยะอยู่ ยังทำไม่ได้ซะที
งาน CES Asia เห็นมีตู้เย็นแบรนด์จีนใช้ Gesture Control ได้ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่ามันจะมีไปทำไม รอดูหน่อยว่าใครจะสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนโลก ให้ IoT มาใช้ในชีวิตจริงได้
ทุกวันนี้ใช้อุปกรณ์ที่บอกว่าเป็น Smart Home ต้องโหลดแอพบนมือถือเป็นสิบแอพ ยังงงอยู่เลยว่ามัน Smart ตรงไหน
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
อุปกรณ์ IoT ยังแพงอยู่มาก โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรม
ต้นทุน H/W ไม่เท่าไหร่แต่ S/W ทำให้มีปัญหา และที่สำคัญที่สุดคือทำยังไงให้อุปกรณ์รุ่นเก่า
ยุคอนาล็อกสามารถคุยกับอุปกรณ์IoT ได้
ผลจากข้อก่อนทำให้การเลือกอุปกรณ์แทบจะต้องล็อคสเปค
ทำให้หน่วยงานรัฐมีปัญหาในการจัดซื้อ เพราะ ทางผู้จัดจำหน่าย
ไม่อยากจะข้ามเส้นกัน และจะไม่ข้ามด้วย(แม้จะใช้ภาษาเดียวกันในการเขียน)
อุปกรณ์อุตสหากรรมอายุการใช้งานเฉลี่ย 5-10 ปีเมื่อเปลี่ยนใหม่แบบอนาล็อก
ยังถูกกว่าอุปกรณ์ที่รองรับ IoT อยู่อย่างมีนัยยะสำคัญ
ปัญหาแรงงาน เมื่อปุกรณ์เข้ามาทำงานทดแทนงานซ้ำๆที่ไม่จำเป็นต้องใช้
ทักษะ แต่ผู้ดูแลกลับต้องมีทักษะสูง
ในงานทำซ้ำ(น่าจะเคยมีบทความอยู่เกี่ยวกับเรื่องหุ่นยนต์) เทคโนโลยีสามารถเข้ามา
ทดแทนแรงงานในส่วนนี้ แต่จะมีปัญหาเพราะมันยังมีการขัดมนุษยธรรม
เช่น อุปกรณ์ราคา 2-3 แสนบาท อายุการใช้งานราว 5 ปีราคา Maintenance
ตกปีนึงไม่กี่หมื่นบาท กับการจ้างคน 5 ปีเงินเดือนเฉลี่ย 15000 บาท
มองการติดอุกรณ์ย่อมคุ้มค่ากว่า แต่กลับต้องการแรงงานทักษะในการดูแลทำให้
ทำให้อาจจะต้องเชิญพนง.ทักษาะต่ำออก แล้วจ้างพนักงานทักษะสูงมาดูแล
ทำให้เกิดความย้อนแย้ง และปัญหาแรงงานไม่มีทักษะ สุ่มเสี่ยงจะให้โดนฟ้องร้องได้
ในตลาดคอมซูมเมอร์ราคาแพงมากกกกกกกกเมื่อเทียบกับอรรถประโยชน์
แม้ค่าอุปกรณ์จะถูกลงมามากเทียบกับ 2-3ปีก่อนแต่ยังทำได้จำกัด
ใช้ได้แค่เปิด-ปิดอุปกรณ์ง่ายๆเช่น แอร์ ไฟ พัดลม
รวมถึงค่าการติดตั้ง AP ไปตามจุดต่างในบ้านให้อุปกรณ์เชื่อมกันได้
หลักๆที่นึกออกก็ราวๆนี้
ทิ้งทายกว่า IoT ในแวดวงอุตสาหกรรมมันมีมานานแล้ว แค่ไม่ได้เรียกติดหูว่า IoT มันก็อุปกรณ์เครื่องในยุค Industry 4.0 นั้นแหละ (3.0 บางตัวก็เป็นแล้ว)
แต่!!!! ต่างประเทศอย่าง Amazon Echo ก็นิยมมากนะครับ รถไฟฟ้าที่กำลังนิยมก็ IoT นะครับ
และ!!!! คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนก็นับเป็น IoT นะครับ
ปัญหาของ Intel คือข้อดีของ Intel(performance+I/O) ไม่ได้ทำให้ตัวเองเด่นมากนักเพราะ IoT ไม่ได้ต้องการอะไรมากขนาดนั้น ในขณะที่ข้อเสียนั้นชัดเจนและเป็นปัญหาใหญ่มาก(support+document+price)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
Galileo กองอยู่ที่บ้านสองกล่องครับ โคตรไร้ประโยชน์มาก คือเป็นชิปที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากพอร์ต Arduino Compatible แทนที่จะให้ IO มา 60 ขาดันให้เท่า UNO แย่กว่านั้น community ก็ไม่มี(จบ)
ไอ้ของจริงของ Intel คือ Atom X Series ครับ แต่ลืมเรื่อง IO ไปได้เลย(มี แต่กุมขมับ) เหล่าบรรดา startup (จีน)เลยฝัง Arduino เข้ามาช่วย
บางงานแทบไม่มีความจำเป็นต้องใช้ processor ความเร็วสูง แต่งานของผมคือ IO ต้องเยอะ+เร็ว ทำ Multitask ได้ มีพอร์ต Ethernet/Wifi คือมันมีช่องว่างอยู่ตรงนี้แต่ Intel ดันตอบโจทย์ไม่ได้และราคาสูงลิบ
รู้อินเทลตอนนี้เหมือนไมโครซอฟท์ยุคบัลเมอร์มากๆเลยสงสัยต้องหาคนเหมือนสัตยาใานั่งแทนได้แล้วนะ