กรรมการธิการสหภาพยุโรปด้านการค้าออกคำสั่งปรับกูเกิล 2,424,495,000 ยูโร หรือประมาณ 92,680 ล้านบาท จากการแสดงผลเปรียบเทียบราคาจากบริการ Google Shopping เหนือกว่าคู่แข่งรายอื่น
การสอบสวนกินเวลานาน 7 ปี โดยร้องเรียนจากกลุ่ม FairSearch ที่ระบุว่ากูเกิลแสดงผลค้นหาอย่างไม่ยุติธรรม โดยไม่ได้เรียงลำดับผลการค้นหาจากความเกี่ยวข้องกับคำค้นหรือหาราคาถูกที่สุด ตัวกลุ่ม FairSearch ประกอบไปด้วยเว็บรีวิวต่างๆ เช่น Yelp, TripAdvisor, Foundem, รวมถึง News Corp
การสอบสวนมีตั้งแต่การวิเคราะห์การแสดงผลค้นหา 1.7 พันล้านครั้ง ที่แสดงให้เห็นว่าสินค้าของกูเกิลมักได้แสดงเหนือกว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะบนโทรศัพท์มือถือ รวมถึงคู่แข่งหลายรายอยู่ๆ ก็มีทราฟิกเข้าเว็บลดลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ 80-92%
กูเกิลมีเวลา 90 วันที่จะปรับแนวทางการแสดงผลค้นหาตามคำสั่งนี้ ไม่เช่นนั้นค่าปรับจะเพิ่มอีก 10.6 ล้านยูโรต่อวัน
ฝั่งสหรัฐฯ เองคณะกรรมการการค้าสหรัฐฯ ก็เคยสอบสวนในประเด็นเดียวกันแต่ยกเลิกการสอบสวนไปในปี 2013 และทาง EU ดำเนินการสอบสวนต่อ หลังประกาศผลตัดสินโฆษกของกูเกิลระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการตัดสินครั้งนี้ และบริษัทกำลังพิจารณายื่นอุทธรณ์
ที่มา - Strait Times, The Guardian
Comments
ค่าปรับนี่เอาให้ล่มจำกันเลยทีเดียว
I need healing.
Google เที่ยวไปชอบว่าประเทศจีนชอบคุมกฎหรือแบนเนื้อหา
แต่คนคุมกฎตัวจริงก็คือ Google
อยากให้อะไรแสดงหรือไม่แสดงอะไรมันก็อยู่ที่ Google
Don't be evil .. just a tricky merchant ...
ค่าปรับจะเยอะอะไรขนาดนั้น ปรับซะน่าเกลียดมาก
สหภาพยุโรปสู้ๆ ปรับเยอะๆเลย เอาให้ล่มจมจ้าา
EU ท่าจะลำบากเรื่องการเงิน ตั้งใจขูดรีดขนาดนั้น
Facebook เรื่องชี้แจงการซื้อ whatapp ยังโดนแค่ 100 ล้านยูโรเอง เมื่อปี 2560
Intel ผูกขาดโดนไป 1 พันล้านยูโร เมื่อปี 2552
MS ผูกขาดโดน 4 ร้อยล้านยูโร เมื่อปี 2547
เนี่ยถ้ามาปรับอะไรแถวๆนี้ในบ้านเราบ้างก็ดีสิ
ผิดจริงก็สมควรโดน แต่ค่าปรับนี่กะจะเอาให้เจ๊งกันไปเลยหรือไง
กฎหมายเรื่องป้องกันการผูกขาดค่อนข้างโหดมากอ่ะครับ คิดจากมูลค่าการซื้อขาย/กำไรประเมิน (30%) คูณจำนวนเคสกันทั้งหลายทั้งปวง
http://ec.europa.eu/competition/cartels/overview/factsheet_fines_en.pdf < อย่างง่ายๆมี factsheet ของกฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันอยู่
คราวนี้ในเคสอื่นๆจะโดนปรับมากหรือน้อย มันมี "ผลประกอบการปีล่าสุดของบริษัท" เป็นเพดาน คือตามกฎหมายเค้าเหมือนจะให้ไม่เกิน 10%
http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/ALL/?uri=CELEX:52006XC0901(01)
ส่วนค่าล่าช้า (Fail to comply within 90 days) ที่ปรับวันละ 10.6 ล้านยูโรก็... อิงเพดานที่ 5% ของกำไรสุทธิปีล่าสุดนั่นแหล่ะ
ในคำแถลงของ EU Commissioners มีบรรทัดที่ชอบอยู่ตรงนี้นะ
What Google has done is illegal under EU antitrust rules. It denied other companies the chance to compete on the merits and to innovate. And most importantly, it denied European consumers a genuine choice of services and the full benefits of innovation.
คือเค้ามุ่งหวังให้แข่งกันด้วย "คุณภาพ,จริยธรรม,นวัตกรรม" ไม่ใช่การ "ทุ่มจนครอบครองตลาด แล้วกีดกันคนอื่นด้วยการใช้สิ่งที่ตัวเองทำได้" ใจนึงก็อยากให้บ้านเรามีแบบนี้ แต่ก็คงไม่ได้เห็นในชีวิตนี้อยู่ดี
===
อีกเรื่องก็ กฎหมายเมืองนอกหลายๆประเทศ มีโมเดลที่เรียกว่า ยิ่งกำไรเยอะยิ่งโดนหนัก / ยิ่งรายได้มากยิ่งโดนมาก (%-base)
อันนี้คือเค้าตั้งกฎหมายบนความเชื่อที่ว่า ในเมื่อคุณมีตัง ถ้าค่าปรับน้อยคุณก็มองว่าค่าปรับเป็นเรื่องเล็ก ยอมจ่ายค่าปรับดีกว่าไง ... Google ก็เป็นบริษัทที่ revenue มหาศาลมาก ถ้าปรับ 2 ล้านบาทต่อวัน ขำๆ google จะแก้ไหมล่ะ :D
ส่วนตัวคิดว่าโมเดลปรับ % นี่ดีนะครับ ลองไปดูข่าวเก่า กสทช.สั่งปรับ เรื่องสัญญาณ หรือโปรโมชั่นค่ายมือถือสิ วันละสองแสน สามแสน... บริษัทก็จ่ายค่าปรับไปเรื่อยๆ เพราะสบายๆ ... หรือเอาแบบโฆษณาสินค้าไวรัลด้วยการโป๊เปลือย แล้วโดนปรับ 500 บาท แค่ค่าไวรัลมูลค่าก็เป็นแสนแล้ว
::: ข้อมูลเพิ่มเติม
ข่าวเก่า ฟินแลนด์เมืองที่ค่าปรับความเร็วแพงระดับจ่ายเป็นล้าน
https://www.theatlantic.com/business/archive/2015/03/finland-home-of-the-103000-speeding-ticket/387484/
+1
+1
ขอบคุณที่ให้ข้อมูลรายละเอียดวิธีการปรับของทางยุโรปครับ
ส่วนข้อเสนอโมเดลการปรับนั้นเคยมีนำเสนอในงานสัมมนาเพื่อเสริมสร้างกระบวนการยุติธรรมไทย ของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) อยู่ในหัวเรื่อง “คดีล้นศาล นักโทษล้นคุก ปัญหาจุกอกกระบวนการยุติธรรมไทย” [จัดเมื่อ 19 สิงหาคม 2558] โดยมี ผศ. ดร. ปกป้อง ศรีสนิท เป็นผู้อภิปราย ถ้าดูในเอกสารสรุปสัมมนา จะอยู่หน้า 28 หัวข้อปรับปรุงโทษปรับที่ไร้ประสิทธิภาพ
โทษปรับเป็นหน่วย (penalty units)
โทษปรับตามฐานะทางเศรษฐกิจ (day-fine)
โทษปรับตามผลประโยชน์ที่ผู้กระทำได้รับจากการกระทำความผิด
เยี่ยมมม
Google แสดงผลการค้นหาของสินค้าตัวเองเป็นอันดับต้นๆ บนผลิตภัณฑ์ตัวเอง มันเป็นการผูกขาดหรอครับ เช่น บน Search-engine หรือ OS ตัวเองบนมือถือ เค้าก็มีความชอบธรรมที่จะทำหรือป่าว
เหมือนว่า ซื้อรถยนต์ Toyota Camry นอกจากหน้ารถท้ายรถจะติดตรา Toyota แล้ว แถวมือจับประตู นายควรติดโลโก้ให้ Honda Nissan ด้วยนะ
(ไม่รู้เข้าใจแบบนี้เข้าใจผิดหรือป่าวนะครับ)
จะผิดเมื่อเป็นผู้ครองตลาดเกินจำนวนกี่% ก็ว่าไปตามกฎหมายครับ
ถ้าไม่เกิน%ที่กำหนดก็ไม่ผิด
พอดีที่EU GOOGLEครองตลาดsearch engine 90%ของตลาดถือเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในโลกครับ
::::::::::::::::::::::::::::::
มี PR ของ EU Commissioner อยู่นะครับ เขาเขียนไว้ค่อนข้างชัดว่าทำไมถึงเป็นการผูกขาด
http://europa.eu/rapid/press-release_IP-17-1784_en.htm
แล้วยังมีเคสพ่วงด้วยนะ ... โฆษณาบน Android ต้อง AdSense เท่านั้น / android app อีก
จริงๆอยากให้มองว่า มันเกิดการชี้นำทางความคิด จนผู้ใช้ platform ทั่วไป ขาดความสามารถในการเลือกอย่างอิสระอ่ะครับ กฎหมายการผูกขาดเกิดมาเพื่อสิ่งนั้น ....
::::::::::::::::::::::::::::::
ภาษาไทยเรียกว่า "ฮั้ว"/"ล๊อคสเปค" ก็ได้นะ
คุณเป็นพ่อค้าคนกลางรายใหญ่สุด ใครก็มาติดต่อคุณ
เอาเงื่อนไขมาให้ อยากได้ของแบบนี้, อยากได้ราคาแนวนี้, ผลิตแบบนี้
แทนที่คุณจะ "แนะนำสิ่งที่ดีที่สุดไป" คุณเลือกแนะนำ "สิ่งที่อาจจะด้อยกว่า แต่คุณได้กำไรมากกว่า" ซึ่งพวกนี้ในฝั่ง EU เค้าเข้มมาก
อะไรก็ตามที่พอมีคนใช้เยอะๆ มันจะไม่ใช่ของผู้สร้าง 100% อีกต่อไป มันจะค่อยๆ กลายเป็นของส่วนรวม
google facebook youtube และอีกหลายๆ ตัว ก็เข้าข่ายนี้
ถ้ากูเกิ้ลไม่จ่าย แล้วออกจากสหภาพยุโรปไปเลย มันก็ดูจะเป็นของกูเกิ้ลอยู่นะครับ
ก็เป็นทางเลือกของ Google ที่จะเลือกได้นะครับ
ค่าปรับรอบเดียวแพงหูฉี่ (25%ของรวมทั้งโลก)
กับกำไรในภูมิภาคนี้ตลอดไป
อยากได้กำไรก็ต้องยอมเสียหรือปรับบ้าง
ค่าปรับมหาโหดจริงๆ
..: เรื่อยไป