ไมโครซอฟท์กำลังดำเนินการปรับปรุงกระบวนการอัพเดต Windows 10 กรณีที่เป็นการอัพเกรดรุ่นเพื่อเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับระบบปฏิบัติการ ซึ่งแต่เดิมจำเป็นจะต้องรีสตาร์ตเครื่องและรอการติดตั้งอัพเดตยาวนานหลายชั่วโมงให้รบกวนการใช้งานน้อยลง
โดยได้เริ่มทดลองปรับเปลี่ยนขั้นตอนการติดตั้งอัพเกรดใหม่ด้วยการโยกกระบวนการอัพเดตบางส่วนที่เคยรันในขณะที่พีซีกำลัง offline (ใช้งานเครื่องไม่ได้) เช่นการแบ็คอัพข้อมูลผู้ใช้งานและการเขียนไฟล์ระบบปฏิบัติการใหม่มารันในขณะพีซีกำลัง online (ช่วงก่อนรีสตาร์ตและยังใช้งานเครื่องได้) แทน ทำให้สามารถลดช่วงเวลาที่ไม่สามารถใช้งานพีซีลงได้
ภาพการอัพเดตช่วง online phase ที่ไมโครซอฟท์ยกให้เป็นตัวอย่างจากแอพ Feedback Hub
อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้กระทบกับประสิทธิภาพของเครื่องขณะกำลังใช้งาน การติดตั้งอัพเกรดขณะพีซีกำลัง online จะถูกลดความสำคัญลงเป็นเพียงงานที่รันอยู่แบ็คกราวด์เพื่อไม่ให้ดึงทรัพยากรของระบบมากจนเกินไป จนอาจส่งผลให้เวลาที่ใช้ในการอัพเกรดโดยรวมเพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไมโครซอฟท์ยอมแลกโดยเชื่อว่าจะเป็นจะเป็นผลดีกับผู้ใช้งาน Windows ส่วนใหญ่ที่โดยทั่วไปแล้ว ก็ไม่ได้รีบอัพเกรดรุ่นเพื่อทดลองฟีเจอร์ใหม่กันบ่อยๆ อย่างผู้ใช้กลุ่ม Windows Insider ที่เป็นส่วนน้อย (แต่ก็ได้สัญญาว่าจะหาทางออกที่ลงตัวกับผู้ใช้ทั้งสองกลุ่มต่อไป)
ไมโครซอฟท์เริ่มทดสอบการอัพเกรดแบบใหม่กับผู้ใช้ที่อยู่ในโครงการ Windows Insider Program แล้ว ส่วนผู้ใช้ทั่วไปจะได้ใช้งานจริงเมื่อ Windows 10 Fall Creators Update ออกครับ
ที่มา - ประกาศบน Feedback Hub (ต้องการแอพเพื่อเปิดลิงค์) via Windows Central
Comments
เป็นไอเดียที่ดีมากครับ ถ้าขณะอัพเดตยังใช้งานได้ จะอัพนานแค่ไหนก็ตามสบายเลย
เจอ update แล้ว loop restart นี่แทบปาเครื่องทิ้งเลย
รีสตาร์ทเครื่องตอนกลางวัน: Windows is shutting down...
ปิดเครื่องก่อนกลับบ้านวันศุกร์หยุดยาว: Please do not power off you machine. Installing update 3 of 16782
หันมาใช้ MacOS สิครับ หุหุ
El capitan กดปิดปุ๊บ พี่หมุนอยู่ 10 นาทีครับ หมุนๆๆ ทำหน้าจอมืดๆ ใส่ด้วย
ดึงปลั๊กซะ!
อ๋อถ้าเจอแบบนั้นแสดงว่าเปิดโปรแกรมทิ้งไว้หลายตัวก่อนที่จะสั่ง shut down ระบบครับ ไอ้ที่หมุนนั่นหน่ะคือมันกำลังบันทึกข้อมูลว่าเราเปิดโปรแกรมอะไรทิ้งไว้บ้าง เวลาเปิดเครื่องครั้งต่อไปมันจะเปิดให้อัตโนมัติครับ ต้อสั่งผิดระบบนี้ก่อน มันถึงจะ shut down ไว
ประสบปัญหาเดียวกัน
ผมว่ามันเป็นความงี่เง่าของ OSX คำว่า shutdown ของ user น่าจะหมายถึงปิดทุกอย่าง เปิดเครื่องอีกครั้งค่อยเริ่มกันใหม่ ถ้าจะปิดแบบนั้น hibernate ก็ได้นี่ (self sleep)
แรกๆก็เป็นแบบนั้นครับ คือมันจะปิดโปรแกรมที่เปิดทิ้งไว้หมด แต่พอมาเวอร์ชั่นหนึ่งถึงมีระบบนึ้เข้ามาซึ่งสามารถปิดได้ครับ
บางทีผมก็สงสัยไมโครซอฟท์เหมือนกันครับว่า แค่ช่วยทำฟีเจอร์แบบ เวลามีอัพเดทก็แค่ขึ้นเตือนมา เสร็จแล้วพอจะกลับบ้านก็มีปุ่มให้กดประมาณว่า "กดแล้วจะอัพเดท/รีสตาร์ทกี่รอบก็แล้วแต่จนอัพเดทครบถ้วนเสร็จสิ้น แล้วจะปิดเครื่องให้ด้วย" นี่มันยากเกินความสามารถวิศวกรซอฟแวร์ของไมโครซอฟท์เลยเหรอ
ผมอัพเดตตลอดนะมันก็เป็นแบบนั้นแหละขึ้นเตือนว่ามีอัพเดต พอจะปิดเครื่องก็มีขึ้น update and shutdown
แต่ก็อาจะไม่เป็นแบบนั้นถ้าดองอัพเดตไว้หลายๆตัว
เอ๋ไม่ใช้ว่ามันมี shutdown and update ให้กดหรอครับ??? ผมใช้ประจำ
มีครับ แต่ shutdown แล้วเปิดเครื่องมาใหม่ มันก็ยังต้องรอ Config อะไรของมันอีก อยากให้มัน update -> restart + config ให้เสร็จ -> shutdown อีกทีไปเลยครับ
ไม่ใช่ Windows 7 หรือ 8.1 นะครับ
Windows 10 ใช้การอัพเดทระบุเป็น Percent แล้ว แล้วก็อัพเดทเป็น Tuesday Update เดือนละ 1 ครั้ง แล้วค่อยอัพเดทใหญ่ตามรอบที่เขาทำให้ และถ้ามันขึ้นอย่างนั้นแปลว่า คุณปิดอัพเดทตั้งแต่เริ่มแรกแล้วก็กดหาการอัพเดทและอัพเดททั้งหมด
อย่าดักคอสิครับ นึกว่าไม่มีใครจับได้แล้วว่ามันคือ Windows 7
เพิ่มเริ่มที่จะทำ แต่ก็ดีกว่าไม่เริ่ม
จริงๆน่าจะทำตั้งนานแล้วเพราะคอมส่วนมากคนเปิดใช้นานๆอยู่แล้วยังอัพไม่เสร็จก็ยังเก็บไว้ก่อน
คนส่วนมากไม่รีบอัพเอาอะไรใหม่ๆกันขนาดนนั้นหรอก
ไม่เข้าใจว่าทำไมทำให้มันง่ายเหมือน macOS ไม่ได้
เยอะ..แค่ให้ผู้ใช้กดยินยอมก่อนจะอัพเดตก็จบละ
มันก็เหมือนกดปุ่มปิดอัพเดทอัตโนมัติในวินโดวส์รุ่นเก่านะสิครับ ผลคือไม่ได้อัพเดท แล้วเจอช่องโหว่โปรแกรมบัคก็เอามาบ่นมาด่าตีข่าวโทษไมโครซอฟท์???
เห็นด้วยครับ
มันควรเป็นความรับผิดชอบของ user ไหมถ้าจะไม่ยอมอัพเดตเอง
หลายๆ คนไม่คิดอย่างนั้นครับ
ถ้ามันกลายเป็นแหล่งแพร่มัลแวร์คุณ user พร้อมจะติดคุกหัวโตข้อหาแพร่กระจายมัลแวร์ไหมละครับถ้าไม่แคร์คนอื่นขนาดนั้น
ถูก หลายๆคนก็เสียงานเสียการไปก็เพราะมัน....
https://www.blognone.com/node/67097
หนึ่ง ผมว่าการอัพเดตระบบ ของวินโดว์เป็นเรื่องจำเป็นและต้องทำ
สอง ผู้ใช้วินโดว์ส่วนมาก ก็เป็นผู้ใช้ทั่วไป ที่ไม่มีความรู้เชิงลึก ทำให้ไม่ค่อยเข้าใจขั้นตอนอะไรมากมาย สิ่งที่ไมโครซอพท์กำลังทำ ดีมาก มาถูกทางแล้ว
สาม การอัพเดตควร ควรจะมีความถี่น้อยกว่านี้ และแบ่งเป็นงานเล็ก ๆ ย่อย ๆ สำหรับผู้ใช้ทั่วไป ประเภทรีสตาร์ท ครั้งเดียวพอ เพราะผู้ใช้ทั่วไป จะงง หากต้องมีหลายขั้นตอน
สี่ ควรประชาสัมพันธ์มากขึ้นให้ผู้ใช้ทั่วไปทราบว่า การอัพเดตเป็นเรื่องต้องทำ ไม่ใช่ปล่อยให้พวกสาวกผลไม้กับหุ่นยนต์ กรอกหูว่า ไม่ควรอัพเดี๋ยวมีปัญหาอย่างโน้นอย่างนี้
หนีไปใช้ลินุ๊กละไม่ชอบระบบอัพเดตของวินโดว์เลย ชอบแอบอัพเดต แค่ขึ้นให้ผู้ใช้ตัดสินใจเองมันยากมากนักหรือไง
ผู้ใช้ก็เลยตัดสินใจไม่อัปเดตเลยไงครับ ง่ายดีไหมล่ะครับ
การอัพเดทเป็นเรื่องจำเป็น แต่ควรให้ทางเลือกกับผู้ใช้ครับว่าจะทำเวลาใด ยินยอมให้ทำอัตโนมัติหรือไม่ ไม่ใช่มายัดเยียดอัตโนมัติให้ทุกคน รวมถึงการ Restart หลังอัพเดทด้วย อัพเสร็จ รีให้เอง ผู้ใช้บางคนยังไม่ทันได้เซฟงาน นอนหลับไป ตื่นเช้ามางานหายเรียบ
ส่วนตัวผมปิด Automatic Update ใน Group Policy ไปแล้ว วันไหนอยากอัพก็ค่อยไปกด Windows Update เอง สบายใจ ไม่ตองมาโดนดึง Resource อย่าง HDD, Network ในเวลาเร่งด่วนจะใช้งาน
ดีงาม
oxygen2.me, panithi's blog
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
ก็ทำตอนเปิดทิ้งไว้เฉยไม่ทำอะไรสิ เรื่อง restart ก็แค่ให้ผู้ใช้เลือกเวลาที่สะดวก
The Last Wizard Of Century.
ปกติเค้าเปิดเครื่องทิ้งไว้เฉยๆ กันด้วยเหรอครับ?
อ่า ผมไม่ปกติแล้วล่ะครับ คือบางทีก็ขี้เกียจเปิดๆปิดๆน่ะครับ
The Last Wizard Of Century.
ถ้าทุกคนอัพเดตอย่างสม่ำเสมอ ก็จะไม่เจอปัญหาอัพเดตที่หนึ่งนานเป็นชาติ....
The Dream hacker..
จากแต่ก่อนขยันอัพเดท เดี๋ยวนี้ disable service มันไปล่ะกว่าจะติดตั้งเสร็จล่อไป 30 - 60 นาทีแถมไม่ถ่งไม่ถาม
windows 10 เดี๋ยวนี้เลือกเวลา restart ได้นี่ครับ เลือกหลัง 18.00 หรือเวลาไหนก็ได้ เดี๋ยวนี้ไม่บังคับรีสตาร์ททันทีแล้ว