จากกรณีมีจดหมายเวียนจากพนักงาน Google เนื้อหาตั้งคำถามถึงประเด็นเพศในองค์กร นำมาสู่การปลดพนักงานคนดังกล่าว ก่อให้เกิดคลื่นใต้น้ำเมื่อมีผู้ชายจำนวนหนึ่งระบุว่าการพยายามสร้างความเท่าเทียมชายหญิงในองค์กรไอที บางครั้งก็เลยเถิดจนกลายเป็นล่าแม่มด
The New York Times ตีพิมพ์บทความสัมภาษณ์บุคคลในองค์กรไอที หนึ่งในนั้นคือ James Altizer อายุ 52 ปี ทำงานเป็นวิศวกรในบริษัท Nvidia เผยว่ามีกลุ่มผู้ชายคุยกันเรื่องสิทธิของผู้ชาย ตั้งแต่ไม่กี่สิบคนจนตอนนี้มีกว่า 200 คนในกลุ่มลับบนโซเชียล เขาบอกว่ามันเป็นการล่าแม่มด มีผู้ชายถูกไล่ออกเพราะวิจารณ์เรื่องนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัว เมื่อคุยกันเรื่องบทบาททางเพศในองค์กร กลายเป็นเรื่องที่แตะต้องไม่ได้
บางคนกล่าวว่า บรรทัดฐานในการล่วงละเมิดคุกคามทางเพศ เริ่มจะง่ายเกินไป (ประมาณว่านิดๆ หน่อยๆ ก็เข้าข่ายคุกคาม) Rebecca Lynn นักลงทุนของ Canvas Ventures กล่าวว่าตอนนี้ในวงการมีความตระหนักสูงเรื่องการคุกคามทางเพศ ซึ่งเป็นเรื่องดีมาก แต่ในขณะเดียวกันก่อให้เกิดความกลัว
ภาพจาก Stocksnap.io
The New York Times ระบุว่ามีชายสองคนในบริษัท Yahoo ฟ้องบริษัทเรื่องการเลือกปฏิบัติทางเพศในปีที่ผ่านมา ทนายความของพวกเขา Jon Parsons กล่าวว่า ผู้บริหารคนก่อนคือ Marissa Mayer พยายามจ้างและส่งเสริมผู้หญิงมากเกินไป
Warren Farrell ผู้เขียนหนังสือ The Myth of Male Power, birthed the modern men’s rights movement ระบุว่าซิลิคอนวัลเล่ย์ แต่ไหนแต่ไรมาเป็นพื้นที่ที่ผู้ชายเป็นคนส่วนใหญ่ สภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยน้อยกว่าเช่นในโลกของเทคโนโลยี เป็นพื้นที่ผู้ชาย และความคิดที่ว่าความหลากหลายจะช่วยเพิ่มผลผลิตก็ยังพิสูจน์ไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์
ยังมีหลากหลายความเห็น ที่ The New York Times รวบรวมมา แม้การคุกคามทางเพศจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง มีผลพิสูจน์ และมีตัวเลขงานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติทางเพศชัดเจน บริษัทไอทีใหญ่ๆ ก็ร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ แต่ปฏิเสธได้ยากเช่นกันว่าการบังคับใช้นโยบายมีขอบเขตตรงไหน และจุดกึ่งกลางที่สร้างความยุติธรรมทั้งสองฝ่ายก็ยังคลุมเครือ
ที่มา - The New York Times
Comments
The New York Times รวบรวมมา แม้การคุกคามทางเพศจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจรง
"จรง" >>> "จริง"
แต่ปฏิเสธได้ยาก"เช่นกั " >>> เช่นกัน
ปลอดพนักงาน => ปลดพนักงาน
ตอนนี => ตอนนี้
ในเมื่อ ขอบเขตการคุกคามทางเพศในทัศนะสตรีแต่ละท่านไม่เท่ากัน การพูดคุยธรรมดาอาจจะเป็นการคุกคามทางเพศและเป็นการเลือกปฎิบัติต่อเพศชาย ดังนั้นหลายบริษัทเลยเลือกจ้างเพศใดเพศหนึ่งสูงกว่า ครับ
ประเด็นนี้เกิดขึ้นทุกที่ ทุกวันนี้ผมจะกังวลทุกที ที่จะนั่งบน BTS
นั่งไปเลยครับ มีผู้หญิงที่แข็งแรงกว่าคุณอีกนับไม่ถ้วนบนโลกนี้
แต่ถ้าเจอคนที่มี Medical Condition แย่กว่า (คนแก่ เด็ก สตรีกำลังตั้งครรภ์ คนป่วยอื่นๆ) ก็ควรลุกให้นั่งนะครับ
ชอบคำว่า medical condition ครับ
นั่งเถอะครับแต่คอยมองหาคนที่ควรลุกให้นั่งครับแล้วเจาะจง ช่วงที่ผมต้องใช้ไม้เท้า บางทีก็ไม่มีใครลุกให้ครับแม้แต่ผมจะไปจองหน้าตรงที่นั่งคนพิการยังเฉยได้เลยมองหน้ากลับจนผมหันหนี ไม่รู้เกิดมาไม่เคยนั่งบีทีเอสหรือไงร่างกายปกติทุกอย่าง สงสัยเพราะผมเป็นผู้ชายเขาเป็นผู้หญิงหรือเปล่าก็ไม่รู้...
เขาให้ลุกให้ เด็ก สตรีมีครรภ์ และคนชราครับ
สตรีเฉยๆไม่เกี่ยว ส้นสูงถือของเยอะไม่เกี่ยว อ้วน...อันนี้ไม่แน่ใจ ถ้าเขาอ้วนเพราะทำตัวเองก็ไม่น่าลุกให้ แต่ถ้าดูออกว่าป่วยก็ลุกละกันครับ
ยิ่งพยายามสร้างความเท่าเทียมให้มากขึ้นเท่าไหร่ มันยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า "หญิงและชายไม่เท่าเทียมกัน" นะผมว่า
แทนที่จะมาสร้างความเท่าเทียมทางเพศ ผมว่าสร้าง "ความเท่าเทียมของมนุษย์" ไปเลยดีกว่า ถ้าคุณโดนคนอื่นกีดกันโอกาสเพราะการที่คุณเป็นเพศใดก็ตามก็ฟ้องได้เลย หรือถ้าถูกใช้เงื่อนไขทางเพศในการต่อรองผลประโยชน์ หรือถูกคุกคามทางร่างกาย/จิตใจ ไม่ว่าจะจากเพศเดียวกันหรือต่างเพศ ผู้ชายหรือผู้หญิง มันก็น่าจะผิดเหมือนกันหมดนะ
อันนี้เห็นด้วยเลยครับ จะเพศไหน ชอบเพศไหน รวมทั้ง อายุ ความบกพร่อง ถ้ากีดกันโดยไม่สมเหตุสมผล ควรจะดำเนินการได้หมด
Jusci - Google Plus - Twitter
เรียกร้องให้เพศหญิงเท่าเทียมกับผู้ชายน่ะทำได้ แต่ต้องไม่ขาดสติจนไปย่ำยี่หรือกดความเป็นมนุษย์ของฝ่ายชายครับ และไมใช่พอเสียผลประโยชน์แล้วเอะอะอ้างความเท่าเทียมมาก่อนเลย
จริง ๆ ผมก็อยากจะคอมเม้นท์ แต่ถ้าคอมเม้นท์แล้วก็อาจจะซวยได้เหมือนกัน (ฮา)
ดังนั้นผมจึงเมนต์แค่ว่า ผมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ผมไม่สามารถพูดได้ว่าผมคิดว่าอะไร ไม่ว่ามันจะคิดว่ามันเป็นเรื่องดีหรือไม่ดีก็ตาม
คิดเหมือนกันครับ มีความเห็นแต่ไม่สามารถพูดได้