นโยบายการอัพเดตใหญ่ Windows 10 ปีละสองครั้งของไมโครซอฟท์ เริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานกลุ่มองค์กร เพราะอัพเดตมาบ่อยเกินไป และระยะเวลาซัพพอร์ตต่อรุ่น 18 เดือนก็สั้นเกินไป
แนวคิดของไมโครซอฟท์เรียกว่า Windows as a Service ที่ให้ระบบปฏิบัติการมีอัพเดตตลอดเวลา และตอนแรกไมโครซอฟท์ตั้งใจให้อัพเดตถึงปีละ 3 ครั้ง แต่ทำไม่สำเร็จจนต้องลดลงมาเหลือ 2 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม อัพเดตใหญ่ปีละ 2 ครั้งก็ถือว่าบ่อยเกินไปสำหรับโลกองค์กร เพราะในอดีตไมโครซอฟท์มีระยะการอัพเกรดระบบปฏิบัติการใหม่ทุก 3 ปี
ถึงแม้ว่า แอดมินองค์กรสามารถข้ามการอัพเดตใหญ่บางรุ่นได้ แต่การที่อัพเดตหนึ่งรุ่นมีระยะการซัพพอร์ต 18 เดือน นั่นแปลว่าถ้าข้ามไปหนึ่งรุ่น (เลือกอัพเดตปีละรอบ หรือ N+2) ก็จะมีเวลาเหลือไม่นานก่อนรุ่นที่ใช้อยู่จะหมดระยะซัพพอร์ต กลายเป็นภาระกดดันของแอดมินที่จะต้องรีบเร่งอัพเดตให้เสร็จด้วย
นักวิเคราะห์ในสายไอทีหลายคนมองตรงกันว่า ปัจจัยเหล่านี้จะบีบให้ไมโครซอฟท์ต้องปรับรอบการอัพเดตใหม่ จนเหลือปีละหนึ่งรุ่น และขยายระยะเวลาซัพพอร์ตเป็น 24 เดือน เพื่อให้ลูกค้ากลุ่ม enterprise มีระยะเวลาทิ้งช่วงนานขึ้น
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์เพิ่งประกาศขยายเวลาซัพพอร์ต Windows 10 v1511 (November Update) ต่อให้อีก 6 เดือน แต่จำกัดเฉพาะ Enterprise และ Education เท่านั้น
ที่มา - Computerworld
Comments
กับดักของไมโครซอฟท์
LTSC คือนานเกิน? .. รึอาจจะมีเพิ่ม channel ใหม่? ?
พวกความปลอดภัยไม่ว่ากันครับ แต่ฟีเจอร์พอละ
ปีละครั้งให้ฟีเจอร์มันทำทันก่อนก็ได้นะ ฝั่งเดปไมโครซอฟท์เองยังทำฟีเจอร์ไม่ทันเลยสงสารแทน...
แถม engineer จะอ้วกแตกตายเอาด้วยครับ
ถ้าไม่อัพเดทก็โดนทีมสำรวจช่องโหว่ของ google แทงใส้ไหลทุกสัปดาห์อีก ฮ่าๆ
อันนี้พูดถึงอัปเดตฟีเจอร์ครับไม่ใช่อัปเดตความปลอดภัย