เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว James Damore ที่ขณะนั้นเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ของกูเกิลได้ส่งจดหมายเวียนเรื่องความหลากหลายทางเพศจนเกิดกระแสขึ้นมา ส่งผลให้เขาถูกไล่ออกจากบริษัทกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต เมื่อสัปดาห์ก่อนเขาและวิศวกรชายอื่นๆ ก็ได้ฟ้องกูเกิลที่เขาโดนไล่ออก โดยให้เหตุผลว่าละเมิดสิทธิตามกฎหมาย
ล่าสุด Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิลและ Susan Wojcicki (อ่านว่า โว-ชิส-กี้) ซีอีโอยูทูบได้ให้สัมภาษณ์กับ Recode และ MSNBC ว่าเหตุผลที่ไล่ Damore ออกเป็นเพราะต้องการทำให้ผู้หญิงในองค์กรมั่นใจว่าการทำงานที่กูเกิลนั้นให้ความรู้สึกอบอุ่น
Pichai ระบุว่าเขาเสียใจที่ผู้คนเข้าใจผิดว่าที่กูเกิลไล่ Damore ออกนั้นมีเหตุผลด้านการเมืองภายในแอบแฝง เขากล่าวว่า "มันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้หญิงและพนักงานทุกคนของกูเกิลที่เราต้องสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้าง (ในด้านการแสดงความคิดเห็น)" และเมื่อถูกถามย้ำ Pichai ก็บอกชัดเจนว่าเขาไม่เสียใจที่ไล่ Damore ออก รวมถึง Wojcicki ก็เสริมว่าเธอคิดว่ามันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้ว
ประเด็นที่ Damore ยกขึ้นมาคือเขาคิดว่าผู้หญิงมีลักษณะทางชีววิทยาที่จะทำงานด้านวิศวกรรมและโปรแกรมมิ่งน้อยกว่าผู้ชาย และความพยายามของกูเกิลในการสร้างความหลากหลายทางเพศในที่ทำงานนั้นไม่ถูกต้อง
ที่มา - The Verge
รูปจาก Google Press Corner
Comments
"มันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้หญิงและพนักงานทุกคนของกูเกิลที่เราต้องสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้าง (ในด้านการแสดงความคิดเห็น)"
เราเปิดกว้างทางด้านความคิดเห็น แต่ถ้าเราไม่ชอบความคิดเห็นของคุณเราจะไล่คุณออก
ถ้าคุณสร้างความแตกแยกในองค์กรแล้วโดนไล่ออก ก็อย่าแปลกใจเลยครับ เขาต้องการให้องค์กรฟังก์ชั่นได้ครับ เขาเป็นบริษัทเอกชน มันไม่ใช่เรื่องว่ากูเกิลชอบไม่ชอบความเห็นหรอกครับ
ก็อย่างที่ผมบอก
เปิดกว้างให้เฉพาะคนที่เห็นด้วย
คนที่ไม่เห็นด้วยเราก็จะไล่ออก
ถ้าคุณไม่อยากถูกไล่ออก
ก็จงแสดงความคิดเห็นเฉพาะในกรอบทีเราเปิด(กว้าง)ไว้เท่านั้น
ถูกต้องครับ มันคือเรื่องของกรอบของเรา ไม่ใช่เรื่องความชอบของเรา
ถ้าพูดให้ตรงไปตรงมาก็คือห้ามคิดต่างกับผู้ใหญ่เหมือนของไทยนั่นเอง
ซึ่งอเมริกาหรือบริษัทใหญ่ที่พยายามชูเรื่องเสรีภาพทางความคิดเห็น
ก็ไม่ได้ต่างกันนัก เพียงแต่พยายามใช้คำให้สละสลวยหน่อยเท่านั้นเอง
ผมเข้าใจทั้งสองฝั่งนะ แต่ความโหดร้ายของโลกนี้ที่ว่าความเท่าเทียมมันไม่มีอยู่จริง ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับ
"เราเพียงจะบอกว่าการกระจายตัวของความชอบและความสามารถของผู้ชายและผู้หญิงแตกต่างกันไปอันเนื่องจากสาเหตุทางชีววิทยา และความแตกต่างเหล่านี้อาจอธิบายได้ว่าทำไมเรายังเห็นบทบาทผู้หญิงในด้านเทคโนโลยีและความเป็นผู้นำน้อยกว่าผู้ชาย"
ชัดพอไหมครับว่ามีการเหยียดเพศ
ถ้าคิดว่ามีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแล้วจะเหยียดใครยังไงก็ได้ ควรทบทวนใหม่นะครับ
"เราเพียงจะบอกว่าการกระจายตัวของความชอบและความสามารถของผู้ชายและผู้หญิงแตกต่างกันไปอันเนื่องจากสาเหตุทางชีววิทยา"
ความคิดเห็นนี้ผิดตรงไหน?
หรือคุณคิดว่าในทางชีววิทยาการกระจายตัวของความชอบและความสามารถของผู้หญิงและผู้ชายไม่ต่างกันเลย?
จากโควตแรกทำให้เกิดผลที่อาจจะตามมาคือ
"และความแตกต่างเหล่านี้อาจอธิบายได้ว่าทำไมเรายังเห็นบทบาทผู้หญิงในด้านเทคโนโลยีและความเป็นผู้นำน้อยกว่าผู้ชาย"
ผมว่าที่คุณโควตมามันเป็นหลักตรรกะทางวิทยาศาสตรปกติ ถ้าไม่เห็นด้วยก็ออกมาโต้แย้งกันได้ ดีซะอีกจะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
อย่าเพิ่งป้ายสีผมว่าเหยียดเพศนะ ถ้าไม่เห็นด้วยก็โต้แย้งด้วยเหตุผล
ถ้าผมไม่ตอบกลับก็เพราะหมดโควต้าในแต่ละวัน
ผมว่าที่คนเขาแย้ง ไม่น่าจะใช่ว่าคิดว่าผญ ผช ยีนที่แสดงออกถึงความสามารถและความชอบเหมือนกันเปี๊ยบ แต่ที่มาบอกว่าเหมาะกับเทค หรือ ตำแหน่งผู้นำ ไม่ถูกต้องมากกว่า
ถ้าถามส่วนตัวเลยจริงๆ ผมคิดว่าสาเหตุที่ผญ ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งดังกล่าวก็มาจากอดีตที่ผชเป็นใหญ่นั่นแหละ
ถ้ามองถึงสมัยก่อนเช่น ผญ ห้ามเลือกตั้ง หรือห้ามขับรถ หลังจากพออนุญาตปุ๊บแน่นอนว่าต้องใช้เวลากว่าผญ จะขับรถกันเยอะ การจะบอกว่ายีนผญ อาจจะเป็นเหตุให้ไม่ค่อยขับรถ ก็ไม่น่าใช้ แต่เป็นสังคมที่ผ่านมาไม่ส่งเสริม ฯลฯ ก็ว่าไป ซึ่งการที่ผญ ยังได้เงินเดือนน้อยกว่าในตำแหน่งที่เทียบเคียงกันแทบในทุกๆ อุตสาหกรรมก็น่าจะเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีกว่าการกีดกันยังมีอยู่ อาชีพที่ผญได้เงินเยอะกว่าผช ก็คือนางแบบ ซึ่งก็เห็นได้ว่าน่าจะเป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ มากกว่าเรื่องของยีน
ประเด็นแรก
ผมเห็นด้วยกับการโต้แย้งโดยการแสดงความคิดเห็นเหมือนี่คุณกำลังทำอยู่
ประเด็นที่สอง
คุณเองก็เห็นด้วยว่าการกระจายตัวของความชอบและความสามารถของผู้ชายและ
ผู้หญิงแตกต่างกันไปอันเนื่องจากสาเหตุทางชีววิทยา
ประเด็นที่สาม
กระจายตัวของความชอบและความสามารถของผู้ชายและผู้หญิงแตกต่างกัน
มีผลต่อตำแหน่งผู้นำหรือไม่? อันนี้เป็นสิ่งที่เราต้องมาคุยเพื่อหาคำตอบกัน
ไม่ใช่ว่าคุณ(Google)มีความเชื่อที่ไม่ตรงกันอธิบายเป็นตรรกะไม่ได้ก็ไล่ออกเลย
ก็วนเข้าเรื่องเดิมว่า กูเกิลไม่ได้ไล่ตานี่ออก เพราะว่ากูเกิลคิดว่ายีนไม่ได้ส่งผลให้ผู้หญิงไม่ได้อยู่ตำแหน่งผู้นำหรือในเทคดังว่า แต่ไล่ตานี่ออกเพราะสร้างความแตกแยกในบริษัทครับ
ครับ มันก็วนกลับมาที่เดิมว่าคนที่เสนอความคิดเห็น
ที่แตกต่างจากคนอื่น ถึงความคิดเห็นนั้นจะเป็นความจริง
ก็ต้องดูด้วยว่าคนอื่นเขายยอมรับความจริงได้แต่ไหน
ในเอกสารฉบับเต็ม มันไม่ได้ดูแย่ขนาดนั้นครับ
เล่นตัดมาสั้นๆแบบนี้ ก็นะ
1,2
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ประเด็น?
ไม่อ่านก็ไม่รู้ประเด็นสิครับ?
คุณกำลังตัดสินเรื่องต่างๆด้วยข้อมูลเพียงแค่หยิบมือ ผมก็เลยแค่นำเสนอข้อมูลที่มันกว้างขึ้นเท่านั้น
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมเห็นคุณโพสลิงค์มาอย่างเดียวผมไม่สามารถไปเดาใจคุณได้
ว่าคุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความที่คุณลิงค์มา
ผมคิดว่าประเด็นของคุณคือผมตัดสินเรื่องต่าง ๆเพียงหยิบมือ
ผมอธิบายสิ่งที่ผมคิดกับเหตุการณ์นี้แบบนี้
เรื่องนี้เกิดจากนาย James Damore แสดงออกทางความคิดทางการเมือง
ที่ไปขัดกับความคิดทางการเมืองของผู้บริหารแทนที่ผู้บริหารจะออกมาชี้แจง
กลับไล่เขาออกซึ่งตรงนี้ที่ผมไม่เห็นด้วย ถ้าทางผู้บริหารมีข้อมูลที่ดีกว่าควรออกมาคุยกัน
ต่อมาคนที่เห็นด้วยกับทางผู้บริหารก็ชอบพูดว่าควาคิดของเขาเหยียดเพศ
พอผมถามก็อธิบายไม่ได้ว่าความคิดที่เขาแสดงออกมันเหยียดเพศตรงไหน
ยิ่งคุณใส่ลิงค์ลอย ๆ มาโดยไม่ได้อธิบายอะไรเลยว่าบทความที่ลิค์มามันเกี่ยวอะไรกับที่
เรากำลังคุยกัน ให้ผมเดาเอาเอง ถ้าผมตอบผมก็จะหาว่าผมผิดประเด็นอีก
ถ้าคุณคิดว่าข้อความที่คุณอ้างสามารถหักล้างกับสิ่งที่ผมกล่างมาได้ก็บอกมาเลยว่าตรงไหน
ผมยินดีจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันถ้าโพสลิงค์แล้วไม่บอกอะไรเลยผมคงตอบอะไรไม่ได้
เมื่อกี้หมดโควตาตอบ หลังจากตอบครั้งนี้แล้วคงต้องรออีกสักครู่ถึงจะตอบกลับได้
อันนี้แปลว่าคุณอ่านข่าวแค่ข่าวเดียว หรือประโยคเดียว แล้วสามารถสรุปได้เลยหรือครับว่าใคร ทำอะไร ผลกระทบเป็นอย่างไร?
อันนี้ข้อความต้นฉบับครับ
ถ้าถามผมว่า Damore ทำผิดอะไรมากไม๊ ผมคงตอบว่าไม่ แต่ถ้าถามว่า Damore ควรถูกให้ออกไม๊ ผมคงตอบว่าใช่ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมว่าคุณเองต่างหากที่ฟังแค่คำแก้ตัวของ Sundar Pichai
เพียงด้านเดียวแล้ว"เชื่อ" แล้วสรุปโดยไม่ได้คิดเลย
สิ่งที่ผมพูดมันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับ
1. นายคนนี้แสดงความคิดเห็น
2. ความคิดเห็นจะเป็นความจริงหรือเปล่าไม่รู้แต่ผู้บริหารไม่พอใจ
3. ผู้บริหารไล่เขาออก
ซึ่งผมไม่เห็นด้วยกับกระบวนการแบบนี้
google เป็นบริษัทเอกชนผมเข้าใจ
และผมก็ไม่ได้จะไปทำอะไร google ด้วย
ผมแค่ออกมาอธิบายว่าผมไม่เห็นด้วยยังไงเพื่อฟังความคิดเห็นอื่น
ผมยังไม่เห็นว่าคุณจะอธิบายเลยว่าคุณไม่เห็นด้วยกับผมตรงไหน
ได้แต่โพสลิงค์ลอย ๆ แล้วก็ไม่ได้อธิบายด้วยว่ามันแย้งกับผมตรงไหน
กล่าวหาผมลอย ๆว่าไม่ฟังข่าวรอบด้าน
คุณเลี่ยงมาบอกว่านายคนนี้ไม่ผิดมาก
เพราะคุณไม่สามารถบอกได้ว่าเขาผิดตรงไหน
แต่สมควรถูกไล่ออกเพราะ?
อย่างนี้ผมว่าคุณใช้อติในการตัดสินเกินไป
ตอบคุณ tfctaf ข้างบน
"แต่ไล่ตานี่ออกเพราะสร้างความแตกแยกในบริษัทครับ"
ลองเปรียบเทียบกับเรื่องใกล้ตัวหน่อยไหมครับ
ถ้าสมมติ(หรือเปล่า)มีคนบอกวาประชาธิปไตย
และการเลือกตั้งทำให้คนในชาติแตกแยก
ใครพยายามพูดเรื่องนี้ก็ต้องโดนไล่ออก(นอกประเทศ)
คนอื่นถ้าไม่อยากโดนไล่ออก(นอกประเทศ)ก็จงอยู่เงียบ ๆ
รายละเอียดอาจจะต่างกันแต่เหมือนกันที่แนวความคิด
แสดงว่ายังไม่ได้อ่าน?
งั้นผมคงไม่โพสตอบอะไรคุณแล้วนะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
มาแนวนี้อีกแล้ว
พออธิบายอะไรไม่ได้ก็สรุปว่าผมไม่ได้อ่าน ไม่กล้าตั้งประเด็นกลัวผมโต้แย้ง?
คุณมีความเชื่อว่าความคิดคุณถูกต้องแต่ไม่สามารถอธิบายได้
มันก็คือความงมงายนั้นแหละ ผมไม่แปลกใจเลยทีคุณคิดว่า
นาย James Damore ไม่ได้ทำผิดแต่สมควรถูกไล่ออกโดยไม่ต้องอธิบาย
จุดนี้และที่อันตรายเมื่อคนในสังคนใช้อารมณ์ตัดสินปัญหาโดยขาดสติ
และพออธิบายไม่ได้ก็ตัดจบเอาดื้อ ๆ ขอให้มีความสุขใน echo chamber นะครับ
edit ไม่ได้โดน reply
แสดงว่ายังไม่ได้อ่าน?
งั้นผมคงไม่โพสตอบอะไรคุณแล้วนะครับ
อีกอย่างการไล่ออกนอกประเทศกับการไล่ออกจากบริษัทเป็นคนละเรื่องกันครับ อย่าเอามาเกี่ยวข้องกัน บริษัทเป็นองค์กรเอกชน มีหน้าที่แสวงหากำไรและ'จ่ายค่าจ้าง'ให้ลูกจ้างตามงานที่ทำเป็นผลต่างตอบแทน เป็นระบบ contract ต่างกับเรื่องประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบรัฐมากครับ
หากลูกจ้างทำงานของตนเองได้ดี แต่ดันมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานหรือตัวองค์กรเอง ทำให้ฟังก์ชั่นมันดำเนินต่อไปไม่ได้หรือดำเนินไปได้ลำบาก บริษัทมีสิทธิ์ปลดออกได้ตลอดครับ เพียงแต่ต้องจ่าย'เงินชดเชย' และลูกจ้างก็มีสิทธิ์หางานใหม่หลังจากนั้นด้วยเช่นกัน หากเห็นว่าไม่เป็นธรรมก็ฟ้องเอา
ถ้าบริษัทควรที่จะไม่มีสิทธิ์ปลดพนักงานเพราะทำให้ฟังก์ชั่นในบริษัทแย่ลง อันนี้ลูกจ้างก็ควรไม่มีสิทธิ์ที่จะลาออกเพราะไม่ชอบบรรยากาศหรืออยากรายได้ที่มากกว่าจากบริษัทอื่นด้วยดีไหม?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
มาตอบช้าเพราะโควตาหมด
ตกลงสองบทความที่ยกมาตั้งแต่ทีแรก
คุณก็ยังไม่กล้าแสดงความคิดเห็นตัวเองออกมา
จากความคิดเห็นคุณข้างบน
"หากลูกจ้างทำงานของตนเองได้ดี"
- James Damore ทำงานไม่ได้ดี?
"แต่ดันมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานหรือตัวองค์กรเอง"
- James Damore มีปัญหากับใคร?
"ทำให้ฟังก์ชั่นมันดำเนินต่อไปไม่ได้หรือดำเนินไปได้ลำบาก"
- James Damore ทำให้บริษัททำงานยากตรงไหน?
"บริษัทมีสิทธิ์ปลดออกได้ตลอดครับ"
กฎที่คุณพูดมามันก็เป็นกฎทั่วไป
ขอถามว่า นาย James Damore ทำผิดอะไรตามกฎที่คุณว่ามา
ถ้าไม่มี ก็คือคุณเห็นด้วยกับการไล่คนออกจากงานโดยไม่มีเหตุผล
ก็กลับไปสนับสนุนความไม่มีเหุผลของคุณ
ที่ว่านาย James Damore แต่สมควรถูกไล่ออก
มันเป็นเรื่องความพึงพอใจระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างครับ เรื่องความไม่สมเหตุสมผลตรงนั้นอยู่ท่ีกระบวนการฟ้องร้องและชดเชยเมื่อตัดสินว่าผิดจริง และจริงๆ เรื่องนี้ผมว่าการตัดไฟแต่ต้นลมก็สมเหตุสมผลสำหรับบริษัท เพื่อรักษาบรรยากาศส่วนรวมของที่ทำงานไว้
ผมก็ไม่ได้จะทำอะไร google หรอกครับ
มันเป็นเรื่องของผู้เสียหายกับ google โดยตรง
ก็ต้องยกให้เป็นหน้าที่ของศาลไห
แต่แปลกในว่าตอนนี้คนส่วนใหญ่
รับได้กับการไล่คนที่ไม่ได้มีความผิดอะไร
ออกจากงานโดยใช้เหตุผลที่คลุมเครือ
อย่างเช่น "เพื่อรักษาบรรยากาศส่วนรวม"
"สร้างความแตกแยก", "เหยียดเพศ"
, "ละเมิดคนอื่น"," ข้ามขอบเขต"
, "รบกวนสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น"
พวกนี้พอให้พิสูจน์จริง ๆว่า James Damore
เขาผิดตามที่กล่างหาจริงหรือเปล่าก็ไม่เห็น
จะตอบได้สักคน
ผมว่าคุณยังแยกเรื่องสิทธิของลูกจ้าง สิทธิมนุษยชน สิทธิของนายจ้างไม่ออก มันมีส่วนที่คาบเกี่ยวกันอยู่ แต่บางส่วนก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามสำหรับบริษัทที่แสวงผลกำไร เพราะต้องยึดเอาประโยชน์ของตัวองค์กรเป็นที่ตั้ง
และที่สำคัญคุณต้องพยายามทำใจให้ได้ว่า ในโลกนี้มันไม่มีอะไรที่เท่าเทียมกันจริงๆ หรอก
ลองนึกภาพคุณเป็นผู้บริหารที่ต้องคอยควบคุมจัดการองค์กรที่มีความหลากหลายทางด้านความคิด ทัศนคติ คุณมีแผนรับมือยังไงกับความแตกต่างในเรื่องนี้ เพื่อให้ทุกคนที่มีความคิดแตกต่าง ไม่ว่าจะสุดขั้วแค่ไหน สามารถทำงานอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่ติดขัดและองค์กรก็ไม่ต้องประสบกับปัญหาจากความแตกต่างในเรื่องนี้ด้วย อยากฟังความเห็นครับ
"ในโลกนี้มันไม่มีอะไรที่เท่าเทียมกันจริงๆ หรอก"
นาย James Damore เองก็เป็นคนที่พยายามจะยกเรื่องนี้มาพูด
โดยบอกว่าผู้ชายกับผู้หญิงมีอะไรที่ต่างกัน ซึ่งอาจจะมีผลทำให้
จำนวนผู้ชายกับจำนวนผู้หญิงในอาชีพต่าง ๆนั้นต่างกันออกไป
โดยที่พวกที่เรียกร้องจะให้สัดส่วนทุกอย่างชายหญิงต้องเป็น 50/50
ซึ่งมันขัดกับความโลกแห่งความเป็นจริง ผลก็คือโดนไล่ออกตามข่าว
ถ้ามันคือการเรียกร้องในสิ่งที่ขัดกับนโยบายขององค์กร สำหรับผมมันก็ไม่ได้ทำให้ดูเกิดผลดีกับองค์กรเลย ไม่ว่าจะมีคนเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งตรงนี้จากที่มันเคยนิ่งในระดับที่น่าจะเอาอยู่ พอมีใครสักคนที่พยายามจะมาจุดประเด็น สำหรับผู้บริหาร การตัดไฟแต่ต้นลมก็เป็นสิ่งที่ต้องทำแหละครับ โลกมันก็เป็นอย่างนี้ มันไม่มีอะไรที่จะได้อย่างใจเราเสมอไปหรอกครับ ตรงนี้คุณเองก็ยังไม่ตอบว่าคุณจะมีวิธีการจัดการยังไงกับเรื่องความหลากหลายในองค์กร สำหรับผมเคยเจอแม้กระทั่งเชิญออกเพราะทัศนคติทางการแต่งกายมาแล้ว ซึ่งตรงนั้นผมก็ไม่ติดใจอะไร เพราะมันเข้ากันไม่ได้จริงๆ และเป็นสิทธิ์ของเขาในการที่จะเลือกคนเข้าไปหรือให้ออกจากงาน เพราะถึงแม้ว่าจะได้อยู่ต่อผมเองก็คงไม่ได้รู้สึกดีแน่ๆ
"ตรงนี้คุณเองก็ยังไม่ตอบว่าคุณจะมีวิธีการจัดการยังไงกับเรื่องความหลากหลายในองค์กร"
ถ้ามีโอกาสได้เป็น CEO กับเขาบ้าง
ผมจะสนับสนุนคนให้ได้ตำแหน่งตามความเหมาะสมความสามารถ
โดยไม่ได้คำนึงว่าเป็นเพศอะไร อย่าง google ที่สนับสนุนเพศหญิง
เป็นพิเศษแบบนี้ผมก็ไม่ทำครับดังนั้นผมคงไม่มีปัญหาแบบนี้หรอกครับ
ผมว่ามันเป็นเรื่อง Mental/Morale ของเพื่อนร่วมงานและแนวทางในองค์กร
และความ Spontaneous ของบทสนทนาที่จะเกิดขึ้นใหม่ (จากประเด็นที่ถูกตั้งขึ้น)
ผมว่า Damore ไม่ได้ผิดในการแสดงออกในแง่ความเห็นของเขานะ และผมเชื่อว่าตัว Sundar Pichai ก็ไม่ได้อคติหรือมีนัยการเมืองหรือมีแนวต่อต้านการเหยียดอะไรมากในเบอร์นั้น (คือผมบอกไม่ได้ว่ามีไหม แต่ผมมองว่ามันไม่ใช่เหตุผลหลัก) แต่ผมว่าวิธีการส่งจดหมายเวียนที่เขาเลือกใช้(แล้วดันเป็นไวรัล) เป็นวิธีที่ผิดและรุนแรง
ผมเชื่อว่าเราจะสื่อสารอะไรกับใคร มันคงไม่มีผล ถ้าบทสนทนานั้นมันไม่ได้เกิดขึ้นแบบ พยายามชี้นำคนทั้งองค์กร (พฤติกรรมแบบนี้มันดูเหมือนการตั้งลัทธิรวมกลุ่มก้อนมากๆ ซึ่งคนอื่นยังไงไม่รู้ ผมเองเคยอยู่ในจุดที่เป็นคนชี้นำอะไรแนวๆนั้นมาก่อน เคยโดนเตือนมา คิดในตอนนั้นว่ามันก็คงกระทบจริงๆ และเห็นผลลัพธ์จากการชี้นำเชิงนั้นจริงๆ)
คือคุยกันเงียบๆ หรืออยู่ในวงแคบๆ มันก็น่าจะโอเคล่ะมั๊งครับ แต่ถ้าไฟที่กำลังสร้างมันลามใหญ่ จนกระทบบริษัทในวงกว้าง มันก็ย่อมต้องเผื่อใจไว้ว่าจะเกิดบทลงโทษ (ในบริบทของบริษัท อะไรที่มันกระทบมุมมองการลงทุน กระทบมุมมองเชิงนโยบายขององค์กร)
เคสนี้ องค์กรมีนโยบายชัดเจนว่าจะพยายาม "Promote ความเท่าเทียมกัน" โดยพยายามไปถึงระดับที่สัดส่วนพนักงานไม่ต่างกันมาก ... แต่ตัว Damore เองเขียนในเชิงว่าที่มันต่างกันมาก เพราะ nature มันต่างกัน
ซึ่งผมว่าเป็นประเด็นที่ถ้ามันแตกหน่อคุยต่อแล้วมันก็คือการเหยียดดีๆนี่เอง(เหยียดว่าที่ไม่มีคนทำตรงนี้เพราะผู้หญิงเค้าไม่ทำกันไงเล่า การพยายามเท่ากันทำให้ธุรกิจเสียหายนะ... เท่ากับยอมรับว่าเพศมีผลอย่างมากต่อรูปแบบงานและการรับสมัครงาน .. และเมื่อมันเป็นการเหยียด+การส่งต่อเยอะๆ ก็เท่ากับว่า ชักชวนให้คนอื่นเหยียดและต่อต้านแนวนโยบายด้านความเท่าเทียมด้วย) ... ซึ่งจริงๆ การ promote ความเท่าเทียม (ในแง่ปริมาณ) มันไม่ส่งผลดีอยู่แล้วล่ะครับ ข้อความในนั้นของ Damore จริงเกือบทั้งหมดนั่นแหล่ะ ..แต่มันควรทำ เพราะในแต่ละหัวข้อที่ Damore เสนอ มันไม่ใช่ 100% ไง ถ้ามีคนสมัครแสนคนเป็นผู้หญิง รับแค่ 10 คน สมมติมีผู้หญิงที่ qualify แค่ 1% จากแสนคน มันก็คือ 100 คนแล้ว .. แล้วจะ clouded ไอเดียในการคัดคน หรือปฏิเสธผู้หญิงเหล่านั้น เพราะมี preference ว่าเรื่องนี้จ้างผู้ชายดีกว่า เรื่องนี้จ้างผู้หญิงดีกว่า .. โดยมองข้ามพาร์ทของ performance ล้วนๆไป... ในบริษัทขนาดใหญ่มากๆ จำนวนผู้สมัคร กับจำนวนผู้ qualify มันจะเยอะพอที่จะชดเชยกันได้ (เลือกผู้หญิงได้ แม้จะยอมรับเรื่อง nature) มันจะไม่เหมือนกับบริษัทเล็กๆที่มัน prefer เพราะเชื่อว่าเพศที่เหมาะสมจะดีกว่า
พอ preference นี้มันกลายเป็นแกนวัด performance ตอนหาคนมาทำงานด้วย เช่น ตำแหน่งนี้เป็นผู้หญิงมีโบนัสเพิ่ม 1 คะแนน ตำแหน่งนี้ต้องการผู้ชายที่แข็งแกร่ง ... คือในบทความของ Damore เค้ายอมรับในเรื่องนั้นและชี้ว่ามันเป็นเพราะแบบนั้น ซึ่งแนวคิดนั้นมีแนวโน้มจะนำมาซึ่งวิธีคิดและนโยบายเชิงนั้น คือเชิญชวนให้พนักงานเห็นพ้องต้องกันว่า ตำแหน่งนี้ผู้หญิงเหมาะกว่า ตำแหน่งนี้ผู้ชายเหมาะกว่า ... แต่ถ้าในบริษัทที่เค้าพยายามโปรโมตความเท่าเทียมกันจริงๆ มันจะเหลือแค่ว่า ตำแหน่งนี้ คนที่มาทำเข้าทำได้ตาม criteria หรือเปล่า นั้นคือถ้าคุณเป็นผู้หญิงที่แข็งแกร่งประมาณ Brienne of Tarth จาก game of throne คุณก็ควรรับงานนี้ได้โดยไม่ใช่เพศสภาพมากรองก่อน ...
อาจจะวนไปวนมาหน่อยแต่รู้สึกว่าเขียนให้เคลียร์กว่านี้ยาก เพราะประเด็นมันกินหางกันอยู่
ผมเชื่อว่า ที่เถียงๆกันอยู่นี้ได้อ่าน จดหมาย กันแล้วทั้งนั้นเนอะ และผมอ่านตัวจดหมายนี้แล้วมีความรู้สึกหลายแว้บมากในการรู้สึกว่า เพศมีผลกับงานที่ควรทำและงานที่จะได้ทำ ตามตัวอย่างข้างบน (ซึ่งตรงนี้มันมองได้ว่าคือการเหยียดเพศสภาพ ซึ่งขัดกับแนวทางบริษัทมาก)
คราวนี้เมื่อการเสนอความเห็นมันเสียงดังเกินไป จนเกิดข้อถกเถียงถึง "แนวทางหลัก" ขององค์กร .... มันอาจจะไม่แปลกอะไรที่ บทลงโทษสุดท้ายคือการไล่ออก ... บริษัทของเราผลิตซีพียู->มีพนักงานออกมาบอกว่าซีพียูน่าจะหมดยุคล่ะมาทำGPUขุดเหมืองดีกว่า->คนจำนวนมากเห็นดีเห็นงามด้วยและเชื่อหรือถูกทำให้เชื่อตามนั้น ... ในฐานะบริษัทผลิตซีพียู ผมก็คงไล่คนเสนอข้อความออก (เขาไม่ได้ผิดที่เสนอ แต่เขากำลังเชิญชวนให้คนทำในสิ่งที่ขัดกับสิ่งที่องค์กรกำลังจะสร้าง)
ถ้ามีคนบอกว่าบริษัทควรทำสิ่งอื่น (ที่ผิดจากนโยบายจากกลุ่มกรรมการ / แถมยังผิดจาก norm ที่สังคมอยากให้เป็น) และพยายามส่งเสียงบอกให้ดังมากๆ ... ผมว่ามันก็อาจจะไม่แปลกที่จะต้องตัดออก
ไม่ใช้เพราะพูดไม่ถูกใจ ... แต่เพราะกำลังก่อให้เกิดแนวคิดที่ขัด(กันในหลายมิติ) กับแนวทางที่วางไว้ต่างหาก
--- ยาวหน่อยนะครับ ประหยัดโควต้า
นึกว่าข่าวนี้วายไปแล้วซะอีก
ปัญหานี้เกิดจากแนวคิดทางการเมืองที่ว่า
ทำไมผู้หญิงที่อยู่ในวงการไอทีมีจำนวนน้อยกว่าผู้ชาย
มีแนวความคิดสำหรับอธิบายเรื่องนี้อยู่สองแบบ
แบบแรกคือเพราะผู้ชายเหยียดผู้หญิงกีดกันไม่ให้
ผู้หญิงเข้าสู่วงการไอที
แบบที่สองอธิบายว่าการที่ผู้หญิงไม่เข้าสู่วงการไอที
เป็นเพราะผู้หญิงเลือกเองเพราะปัจจัยอะไรก็ว่ากันไป
ทีนี้ไอ้ความคิดทั้งสองแบบนี้มันไม่ค่อยได้มีเวทีที่จะพูดคุย
คนที่เชื่อแบบแรกก็จะเป็นคนดีของสังคมโดยห้ามโต้แย้ง
คนที่เชื่อแบบที่สองก็จะถูกสังคมประนามโดยไม่ฟังเหตุผล
ผมเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมอย่างน้อยก็ที่นี่ไม่เห็นด้วย
กับผมอย่างที่หลายคนเข้ามาค้านแต่จะเห็นได้ว่าคนที่เข้ามาค้าน
ไม่สามารถหนีความจริงที่ว่านายคนนี้ถูกไล่ออกโดยไม่มีความผิดได้
ผมก็แต่อยากจะเสนอให้ลองฟังความรอบด้านก่อนจะตัดสินอะไรถูกผิด
เหมือนตอนนี้ทุกคนตัดสินนายคนนี้ว่าผิดเพราะความคิดที่แตกต่างของเขา
ถึงจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องแต่ถ้ามันขัดกับ "ความเชื่อ" ของคนส่วนใหญ่
และ "อาจจะ" ทำให้เกิดความขัดแย้ง เราก็ไม่อนุญาตให้พูดความจริงนั้นออกมา
นอกประเด็นไปเยอะเข้าสู่เนื้่อหาของความเห็นนี้
ผมว่านาย James Damore ออกมาแสดงความคิดเห็นแบบนี้
ไม่ได้ขัดกับผมประโยชน์ของ Google นะครับ
ถ้าเขาเอา bug ของ google ออกมาเผยแพร่
หรือบอกว่า Gmail/Android ห่วยอันนี้ผมว่าสมควร
แต่สิ่งที่เขาออกมาบอกตือความเชื่อทางการเมืองของผู้บริหาร
ผิดพลาด แทนที่บริษัทจะได้คนเก่งเข้ามาทำงานตามความสามารถ
กลับต้องมากันพื้นที่ให้กับผู้หญิงที่อาจจะไม่มีความสามารถเท่ากับผู้ชาย
คนอื่น ๆที่สมัครในตำแหน่งเดียวกัน
ผมไม่ได้รังเกียจที่จะมีเพื่อนร่วมงานเป็นผู้หญิงนะครับ
ผมว่าเราชาว IT น่าจะรู้กันดี ทุกครั้งที่ทางบริษัทจะรับสมัครพนักงานใหม่
พวกเราอยากได้ผู้หญิงมาเข้าทีมมาก แต่มันหายากจริง ๆ
ถ้ารับสมัครผู้หญิงเข้ามาโดยไม่ลืมหูลืมตาเพียงเพราะให้ได้จำนวน
เท่ากันกับผู้ชายมันจะเป็นผลร้ายต่อบริษัทในระยะยาวมากกว่า
ผมเข้าใจแนวคิดของคุณนะ แต่เหมือนกับว่าตอนนี้เรากำลังมองกันอยู่คนละจุด เลยเหมือนไม่เข้าใจกัน ต้นเหตุของเรื่องนี้มันคือเรื่องความเหลื่อมล้ำความต้องการที่จะทำให้เกิดความเสมอภาค ซึ่งสิ่งนี้มันต่อสู้กันมาอย่างยาวนานและค่อนข้างรุนแรง กว่าจะมาถึงจุดๆ ที่มีการยอมรับได้ในระดับที่เป็นปัจจุบันนี้ มันก็ต้องผ่านอะไรมามากมาย และเรื่องนี้หรือแม้กระทั่งเรื่องประชาธิปไตย มันเป็นสิ่งที่ฝืนธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตมากครับ (ตรงนี้ต้องย้ำเตือนอีกทีถ้าหากคุณลืมหรือมองข้ามไป) จนกลายมาเป็นแนวคิดหรือวิธีปฏิบัติในปัจจุบัน ส่วนจะทำได้จริงหรือเปล่าตรงนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะสัญชาตญานการแข่งขัน การเหยียด การเอาตัวรอด มันฝังอยู่ในยีนของเราอยู่แล้ว มันอาจจะไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด แต่ว่ามันก็ช่วยให้ลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำให้แคบลงมาได้บ้างไม่มากก็น้อย เพื่อให้เราสามารถเข้าใกล้กับคำว่าความยุติธรรม ความเสมอภาคที่มันไม่มีอยู่จริงในธรรมชาติ
แต่พอมีคนมาเปิดประเด็น ตรงนี้แหละที่สำคัญ เพราะมันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน เหมือนย้อนกลับไปคุยกันถึงยุคที่ยังมีความเหลื่อมล้ำรุนแรงในยุคก่อน ซึ่งเราเองก็คงเห็นผลลัพธ์ของมันมาแล้วว่ามันเกิดอะไรขึ้นมาบ้างในอดีต
ส่วนเรื่องที่นาย James Damore โดนไล่ออกตรงนี้ก็น่าจะช่วยตอกย้ำแนวคิดของเขาและคงจะช่วยเข้าใจและรู้แล้วว่า สิ่งที่เขาคิดมันถูกแล้ว ในเรื่องของความไม่เท่าเทียม ความแตกต่างหรือความไม่เสมอภาคว่ามันมีอยู่จริง เพราะถึงแม้เขาจะพูดเรื่องจริงที่คิดว่าสามารถพูดได้กับองค์กรที่วางตัวว่าเปิดกว้างทางความคิด แต่ที่สุดแล้วตัวองค์กรก็ไม่สามารถยอมรับในสิ่งที่เขาได้กระทำลงไปได้ และในส่วนของการคัดเลือกบุคคลากรเข้าทำงาน เขาก็อาจจะมีการเดินเกมสอดคล้องแบบที่นาย James Damore ว่าไว้ ขนานกับนโยบายการรับผู้หญิงเข้าทำงานอย่างลับๆ อยู่ก็เป็นได้
เผื่อว่าจะได้เห็นอีกมุมมองหนึ่ง ในไทยก็มีนโยบายทำนองนี้นะครับ บริษัทต้องจ้างพนักงานที่มีความพิการ 1 คนต่อพนักงานปกติ 100 คน ตรงนี้คุณคิดว่ายังไงครับ การปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องการจ้างงานคนพิการ
ผมยอมรับเรื่องในโลกแห่งความจริงไม่มีความเท่าเทียม
และสิ่งที่เป็นไปโดยธรรมชาติไม่ใช้สิ่งที่ดีที่สุดเสมอไป
ความเท่าเทียมใข้กันอยู่ก็เพื่อแก้ปัญหาทางสังคมมนุษย์เรา
การช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาสกว่าหรือคนที่ไม่สามารถต่อสู้
กับคนอื่นในกฎิกาปกติแล้วต้องการความช่วยเหลือซึ่งเราก็
ต้องมีมาตรการบางอย่างคอยช่วยเหลืออยู่ด้วย
แต่การช่วยเหลือจนขาดสติไม่คำนึงถึงความเป็นจริงเลย
มันจะส่งผลร้ายมากกว่าผลดี
อย่างเรื่องของคนพิการ การรับคนพิการเข้าทำงาน
โดยส่วนมาคนพิการจะมีข้อจำกัดบางประการ แต่เพื่อให้
สังคมมีความน่าอยู่เศรฐกิจเราก็ไม่ได้ย่ำแย่เราก็สามาระทำได้
แต่ถ้าจะบังคับให้รับคนพิการ 50% แบบนี้จะทำให้มีปัญหาได้
Google ตอนนี้ถึงจะร่ำรวยมหาศาลเป็นเจ้าของนวตกรรม
ต่าง ๆมากมายแต่ถ้าบริษัทไม่สามารถให้คนที่มีความสามารถ
ได้รับตำแหน่งที่ดี ๆได้เพียงเพราะเขาเป็นผู้ชาย มันก็จะเป็น
การเหยียดเพศในมุมกลับ ผมไม่ได้กีดกันผู้หญิงไม่ให้เข้าทำงาน
ถ้ามีความสามารถเพียงพอ ตรงข้ามผมอยากได้ผู้หญิงเยอะ ๆ
เพราะที่ทำงายผมก็กันดารสาว ๆเหลือเกินคนทำงานสาย IT ก็น่าจะ
รู้กันอยู่ตั้งแต่สมันเรียนเราช่วยเพื่อนผู้หญิงทำงานบ่อยแค่ไหน
ตอนทำงานเราช่วยเพื่อนที่ทำงานผู้หญิงบ่อยแค่ไหน
ผู้หญิงเก่ง ๆก็มีแต่จำนวนน้อยมาเมื่อเทียบกับผู่ชาย
จากประสบการณ์ของผมเองด้วยความสามารถที่เท่ากัน
ผู้หญิงได้ตำแหน่งที่ดีกว่าเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วแต่ยังไงจำนวน
ก็ยังห่างจากผู้ชายเยอะ ถ้ามันเป็นเพราะผู้หญิงไม่สนใจเอง
มาลงโทษผู้ชายมันจะแก้ปัญหาได้อย่างไร
การที่จะหาจุดที่เหมอะสมก่อนอื่นก็ต้องเอาความจริง
มาพูดก่อนแล้วมาหาข้อสรุปร่วมกันต่อไปและผมคิดว่า
จุดที่ดีที่สุดไม่ใช่การกีดกันเพศหญิงหรือกีดกันเพศชายแน่ ๆ
ถึงความเห็นเราจะต่างกับเราก็พูดคุยกันได้ครับ
แล้วจุดสมดุลที่ว่ามันอยู่ตรงไหนครับ แล้วคุณคิดว่า Google มีวิธีการใดในการโปรโมทพนักงานในตอนนี้ที่ทำให้คุณรู้สึกขัดใจหรือคิดว่ามันไม่ถูกต้อง หรือว่าเป็นเพราะข่าวนี้ "ผู้หญิงบริษัทไอทีมีน้อย! กูเกิลเริ่มใช้อัลกอริทึมเพิ่มพนักงานหญิงในบริษัท"
การให้ข้อมูลด้านเดียวคือสิ่งที่ผมไม่เห็นด้วย
ถ้าทุกคนได้เอาข้อมูลออกมาพูดให้หมด
ผลจะเป็นอย่างไรเราก็ต้องยอมรับ
ถ้าผู้หญิงไม่อยากเข้ามาทำงานด้านนี้
ผมไม่เห็นประโยชน์ที่จะไปกันตำแหน่งผู้ชายให้ผู้หญิงที่ไม่เก่ง
ขอย้ำผู้หญิงเก่งผมยินดีและต้องการมากด้วย
ผมก็ขอยความหลายหลายนะครับแต่ไม่ชอบถูกบังคับให้หลากหลาย
ผมว่าสุดท้ายมันก็จะกลายเป็นการพูดเรื่องเดิมครับ แล้วเรื่องพวกนี้ก็ไม่สามารถหาจุดที่สมดุลได้ง่ายๆ การยึดถือปฏิบัติจากสิ่งที่สังคมส่วนใหญ่ให้การยอมรับ นั่นคือหลักการเบื้องต้นที่ Google กำลังทำอยู่ ซึ่งในบางมุมมันก็ต้องมีบางกลุ่มที่ไม่พอใจหรือเสียประโยชน์ สิ่งที่ทำได้คือการยึดหลักการที่คนส่วนใหญ่ยอมรับในตอนนี้ ซึ่งส่ิงที่ James Damore สือก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่แค่เป็นทัศนคติที่เขาพิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสมกับองค์กรแค่นั้นเองครับ
ตอบคุณ nrml นะครับ
มันก็ยังวนอยู่ที่เดิมคือ
"นาย James Damore แสดงควมคิดเห็น
ที่อาจจะเป็นความจริงแต่อาจจะไปกระทบกับความรู้สึก
ของคนส่วนมาก รวมทั้งคนส่วนมากนั้นมีคนที่มีอำนาจ
มากกว่าและใช้อำนาจนั้นในการไล่เขาออกเพื่อรักษาความ
รู้สึกของคนส่วนมากเอาไว้"
เป็นความจริงที่ไม่เห็นใครโต้แย้ง
สิ่งที่ผมเห็นไม่ตรงกับคนส่วนใหญ่ที่นี่ก็คือ การมองข้ามความ
แตกต่างทางเพศซึ่งอาจจะมีผลต่อการทำงานของผู้หญิงและ
ผู้ชายมันส่งผลเสียระยะยาวมากกว่าการเอาความจริงมาพูด
แต่คนส่วนมากในนี้และในสังคมคิดว่าเรื่องนี้ถ้าจริงขึ้นมา
อาจจะไปทำร้ายความรู้สึกของผู้หญิงและขัดกับความเชื่อ
ของตัวเองเราจึงไม่ควรจะพูดถึงมันเพราะคนส่วนใหญ่เชื่อว่า
สังคม IT นี้เหยียดเพศหญิง
ลองย้อนกลับไปดูด้วยตัวเองว่าสังคมเราเหยียดผู้หญิงจริงหรือไม่
กลับไปดูข่าวเก่า ๆสิก็ได้ เวลาผู้หญิงออกมากล่าวหาผู้ชาย
สังคมที่นี่รวมทั้งที่อื่นเชื่อโดยไม่มีการถามหาหลักฐานอะไรทั้งนั้น
พอมีคนให้ข้อมูลที่อาจจะเป็นความจริงแต่อาจจะทำร้ายความ
รู้สึกของผู้หญิงคนส่วนมากกลับทำเป็นมองไม่เห็นเพื่อรักษา
ความรู้สึกของผู้หญิง สำหรับผมนี่ไม่ใช่สังคมที่เหยียดเพศหญิง
ทำไมคุณถึงคิดว่า management เค้าคิดจากข้อมูลด้านเดียวหล่ะครับ?
เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องใหญ่ครับ ไม่มีใครเค้ามาคิดกันเล่นๆแน่นอน ต้องวิเคราะห์ วางแผน ศึกษาผลตอบรับกันอยู่แล้ว บริษัทไอทีอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออกมานานนับปี มันจำเป็นต้องหาทางออกครับ
มันไม่ใช่หน้าที่และ'สิทธิ์'ของ Damore ที่จะส่ง'จดหมายเวียน'ไปทั้งบริษัท โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก management เพื่อปลุกระดมความคิดที่ขัดแย้งกับ management ครับ ในบริษัทเล็กๆคงไม่มีผลอะไรมาก แต่ในบริษัทใหญ่ๆมันเป็นการ disrespect และอาจมองว่ามันเป็นการก่อ riot ได้ด้วย ไม่มี management ที่ไหนจะพอใจกับการที่พนักงานทำแบบนี้ครับ
ผมเข้าใจว่าข้อความของผมได้พยายามอย่างมากที่สุดเพื่อให้คุณเข้าใจเหตุการณ์จากมุมมองอื่นแล้ว และคงไม่พูดอะไรมากกว่านี้แล้ว ขอให้โชคดีครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ตอบคุณ McKay
การที่บริษัทใหญ่ทำอะไรสักอย่างไม่ได้รับประกัน
ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเช่นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Nokia
เลือกที่จะใช้ Symbianต่อไปก็เกิดจากการ "วิเคราะห์
วางแผน ศึกษาผลตอบรับ" มาแล้วทั้งนั้น แล้วดูผลสิครับ
เหมือนคุณจะศรัทธาว่า Goolge ทำอะไรก็ถูกไปหมด
การบอกว่าสิ่งนี้ถูกต้องเพราะ Google เป็นคนทำ
ผมไม่ถือว่านี้เป็นข้อโต้แย้งที่มีประโยชน์อะไรเลย
ผมเองก็ยกตัวอย่างผลเสียจากการออกมาตรการ
เพื่อสนับสนุนผู้หญิงแบบไม่ลืมหูลืมตาไปแล้ว
แต่เหมือนคำตอบข้างบน คุณก็เลือกที่จะมองข้าม
มันไปเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนความรู้สึกของผู้หญิง
ผมอธิบายเรื่องมุมมองคนอื่นจากคำตอบข้างบน
และผมยอมรับว่าผมคิดต่างจากคุณและคนส่วนมาก
คนส่วนมากคิดว่าเราควรละความจริงเรื่อความแตกต่าง
ระหวางเพศชายและหญิงเพื่อรักษาความรู้สึกของสังคม
เป็นสิ่งที่ดี ส่วนผมคิดว่าการที่เรามองข้ามความแตกต่าง
ระหว่างชายหญิงตอนนี้สร้างปัญหามากกว่าประโยชน์
มันถีงเวลาที่จะเอาความจริงมาพูด
อย่างไรก็ตามผมจะไม่ห้ามคนอื่นที่มีความ
คิดเห็นต่างจากผมไม่ให้พูดเหมือนที่คุณทำหรอก
ผมว่าคุณยังไม่เข้าใจประเด็นที่ทั้งผมและคุณ McKay จะสื่อ ตรงนี้ point คือไม่ได้ต้องการบอกว่าสิ่งที่องค์กรเหล่านั้นตัดสินใจมันถูกหรือผิด ซึ่งถูกหรือผิดที่ว่าก็คงต้องมาแยกแยะเป็นประเด็นย่อยไปอีก อย่างเรื่องการใช้ Symbian มันเป็นเรื่องถูกผิดในการวางแผนทางธุรกิจ ส่วนประเด็นเรื่องเพศนี่ก็ต้องมาว่ากันที่เรื่องของการถูกผิดในคุณธรรม จริยธรรม จารีต หรือรวมถึงกฎหมาย
ทีนี้สิ่งที่ Google ทำมันก็อาจจะผิดในอย่างหลัง ซึ่งมันอาจจะขัดกับที่คุณรู้สึกอยู่ แต่ก็อย่างที่คุณว่ามาแหละว่า ตัวองค์กรมันประกอบด้วยคนหลายๆ คน ถ้าจะมีอะไรที่ทำให้ต้องตัดสินใจเลือก ถึงแม้รู้ว่าการตัดสินใจนั้นมันเป็นการตัดสินใจที่ผิดกับสามัญสำนึก แต่เมื่อชั่งน้ำหนักถึงผลบวกผลลบได้แล้ว ตัวองค์กรก็คงต้องเลือกตัดส่วนน้อยเพื่อรักษา "คนส่วนมาก" เอาไว้ก่อน
ผมว่าเราเข้าใจและสรุปตรงกันนะครับ
จากความคิดของคุณ
ตัวองค์กรก็คงต้องเลือกตัดส่วนน้อยเพื่อรักษา "คนส่วนมาก" เอาไว้ก่อน
จากความคิดของผม
ใช้อำนาจนั้นในการไล่เขาออกเพื่อรักษาความรู้สึกของคนส่วนมากเอาไว้
มันก็เหมือนกัน เพียงแต่ผมใช้คำที่ตรงไปตรงมา
ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งมันจะทำให้รู้สึกไม่ดีเท่าใหร่
ส่วนคุณเลือกใช้ประโยคที่เบาลงเพื่อรักษาความรู้สึกของคนส่วนมาก
ผมว่าเราเหมือนจะเข้าใจตรงกัน แต่ก็ไม่ตรงกันครับ เพราะคุณพยายามยึดติดกับคำว่าถูกหรือผิดเกินไป ซึ่งเรื่องนี้มันก็อยู่ที่มุมมองว่าจะตัดสินกันด้วยบริบทไหน
"เพราะคุณพยายามยึดติดกับคำว่าถูกหรือผิดเกินไป"
ผมไม่ได้บอกว่า Google ผิดเลยนะครับ
ลองกลับไปอ่านความเห็นทั้งหมดตั้งแต่ต้นดูสิ
และการไล่ James Damore ออกก็ไม่ได้ผิดอะไร
เป็นสิ่งที่ Google ทำได้อยู่แล้วเพราะเป็นบริษัทเอกชน
แต่เมื่อเราอยู่ในสังคมร่วมกับ ผมก็ออกมาวิจารณ์เพียง
แค่ว่า"ไม่เห็นด้วย"กับการกระทำของ Google เท่านั้นเอง
ผิดกับคนที่ไม่เห็นด้วยกับ James Damore ที่
พยายามเคลื่อนไหวให้ไล่เขาออกและก็สมใจ
คนที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ก็อธฺิบายไปผมก็รับฟังและ
โต้แย้งในส่วนที่ผมไม่เห็นด้วย ผมเองก็อยากให้
โลกนี้มีความเท่าเทียม แต่ผมก็ยอมรับว่าความจริง
คนเรามันไม่เท่ากัน เราสามารถสร้างความเท่าเทียมได้
ระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้าผมเห็นว่าสังคมเรามีการกีดกันผู้หญิง
ไม่ให้เข้าทำงานทั้งที่มีความสามารถผมจะร่วมต่อต้านด้วยคน
แต่เท่าที่ดูตอนนี้มันตรงข้าม การกีดกันหญิงหรือการกีดกัน
ผู้ชายผมว่ามันก็แย่พอกัน เราควรตัดสินคนที่ความสามารถ
เท่าที่ผมจับใจความได้ สรุปว่าก็ไม่มีข้อสรุปในความเห็นของคุณ เพราะส่ิงที่ Google ทำก็สมเหตุสมผลจากมุมมองไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งอยู่แล้ว
บอกว่าเปิดกว้างในความคิดเห็นแต่ไล่คนเห็นต่างออก
มันสมเหตุสมผลสำหรับคนส่วนใหญ่ที่นี่แต่สำหรับผมไม่
ความคิดของผมคือ
คำพูดของผู้บริหารบอง Google มันย้อนแย้งตัวเอง
ผมไม่เห็นด้วนกับการไล่คนออกโดยไม่มีความผิด
คนในสังคมปัจจุบันส่วนมากอย่างน้อยก็ที่นี่เลือกที่จะ
ลงโทษคนไม่ผิดเพื่อรักษาความรู้สึกคนส่วนใหญ่
ส่วน Google จะไล่คนออกทั้งบริษัทจนเจ๊งหรือ
จะลงทุนในเรื่องไร้สาระอะไรมันก็เงินของเขา
เจ้าของหุ้นที่เสียผลประโยชน์ต้องไปหาวิธีจัดการเอง
คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าผู้หญิงในวงการ IT
มีน้อยเพราะสังคมเหยียดเพศไปแล้ว
พอมีคนแสดงความคิดเห็นที่ขัดกับความเชื่อ
ของตัวเองก็ต่อต้านโดยไม่ต้องการที่จะ
ฟังเหตุผลว่าเป็นอย่างไรถึงจะเป็นความจริง
การรับฟังข้อมูลอีกด้านก่อนที่จะตัดสินอะไร
เป็นวิธีการที่ดีที่สุดเท่าที่มีแต่ก็อาจจะก่อให้เกิด
การถกเถียงและความขัดแย้งแต่ผมคิดว่า
น่าจะได้ข้อสรุปที่ดีกว่าการฟังความข้างเดียว
ผมก็แค่แสดงออกความคิดเห็นในมุมมองของผม
และอยากเหดูความเห็นของคนอื่นที่แตกต่าง
แต่มันก็วนอยู่ในอ่างเหมือนที่คุณว่ามา
ประเด็นของผมยังไม่มีใครค้าน เพียงแต่เปลี่ยน
วิธีพูดเพือรักษาความรู้สึกของสังคมส่วนรวม
ผมว่าส่วนใหญ่ที่คุยในนี้ก็เข้าใจดีครับว่าอะไรเป็นอะไร แต่ก็นี่แหละคือวิถีของโลก เมื่อมีใครสักคนได้ประโยชน์ ก็จะมีใครสักคนหรือหลายคนที่ต้องเสียประโยชน์
จุดที่คุณอยู่ตอนนี้มันก็เป็นจุดที่เคยทำให้ใครหลายคนต้องเสียโอกาสหรือเสียประโยชน์ไป ไม่มากก็น้อย เราไม่สามารถมอบความยุติธรรมให้กับทุกคนบนโลกนี้ได้ Welcome to the real world ครับ
ตอบคุณ nrml
"ผมว่าส่วนใหญ่ที่คุยในนี้ก็เข้าใจดีครับ
ว่าอะไรเป็นอะไร แต่ก็นี่แหละคือวิถีของโลก"
คุณเลือกใช้คำว่า"อะไรเป็นอะไร"เพื่อถนอมน้ำใจ
และรักษาความรู้สึกของคนส่วนมากเอาไว้
ผมมองว่าคือต้นตอของปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น
ทุกคนเห็นว่าอะไรเป็นอะไร แต่ไม่กล้าที่จะ
บอกว่าอะไรคืออะไรเพราะกลัวการถูกลงโทษ
จากสังคมเพราะอะไรที่ว่านั้นมันเป็นความ
เชื่อหลักของสังคม และคนส่วนมากในตอนนี้
ถึงอะไรนั้นจะเป็นความจริงและสร้างความเสีย
หายให้สังคมในระยะยาว เราก็ควรลืมมันไปซะ
สังคมจะไม่พูดถึงรวมทั้งลงโทษคนที่พูดอะไร
ที่จะสั่นคลอนความเชื่อของสังคมออกมา
นี่คือหลักที่ยอมรับของสังคมเราในปัจจุบัน
ที่คนส่วนมากคิดว่าส่งผลดีมากกว่าผลร้าย
แต่ผมคิดว่ามันจะส่งผลร้ายมากกว่าผลดีถ้าเรา
ไม่สามารถพูดได้ว่าอะไรที่อาจจะส่งผลเสียนั้นคืออะไร
มันมีสามหัวเรื่องในนี้นะครับ
คือมันเป็นสองเรื่องที่ เหมือนจะเกี่ยวข้องกันก็จริง แต่ในทางปฏิบัติแล้วมันไม่ได้เกี่ยวข้องกันขนาดนั้นอ่ะครับ เพราะองค์กรเอกชนใดๆ ย่อมมีสิทธิ์เลือกแนวทางในการปฏิบัติตน/งาน (Company Policy, Company Rules, และสามารถลากรวมไปถึงระดับ Philosophy เลย)
ต่อให้ Policy/Rule/Philosophy ของบริษัทผิดอย่างสุดขั้ว (แต่บริษัทมองว่า ฉันจะทำเช่นนี้) การกระทำใดๆที่ขัดกับแนวทางที่บริษัทตั้งใจจะทำก็เป็นเรื่องที่ในมุมบริษัทนั้นในระดับบุคคล ก็แย่พออยู่แล้ว .. คราวนี้เคสนี้ยิ่งเป็นการขยายการกระทำนั้นหรือชักชวน คือมันยิ่งหนักขึ้นไปถึงเกือบจะเป็นการตั้งหัวคะแนนรอประท้วงแล้ว
ถ้ามองในระดับเจ้าของเงิน มันไม่ได้มีความจำเป็นต้องทำตามแนวทางพนักงาน (ที่บอกว่าดีอย่างนู้นอย่างนี้ แต่ proof ได้จริงหรือเปล่า) ... ตรงนี้มันคือการก้าวล่วงบทบาทหน้าที่ของการบริหาร (ก็เหมือนสหภาพแรงงานกลายๆ) ในมุมบริษัทก็ไม่แปลกอยู่แล้วที่จะคัดคนออก ...... แต่มันไม่ได้เลยสักเรื่องที่บอกว่า "แนวคิดของผู้เขียน
ผิด" และไม่ได้มีอะไรเชื่อมโยงจาก action นี้ของบริษัทว่า แนวทางที่บริษัทเลือก ถูกหรือผิด นะครับ ... คือบริษัทอาจจะตัดสินใจผิดพลาดอย่างสุดขั้วก็ได้ (ในการพยายาม balance เพศ) แต่มันก็คือการตัดสินใจของบริษัท
ผมเลยบอกว่า การพูดคุย/หัวข้อการสนทนานี้อาจจะไม่ใช่ประเด็นเลย .. การพยายามจุดไฟ(ชักชวนคนจำนวนมากให้เห็นคล้อยต้องกัน โดยสิ่งที่ชักชวนมีบางส่วนขัดกับแนวทางที่บริษัทปฏิบัติ) ต่างหากที่เป็นประเด็น ..
การมีแนวคิดบางอย่างที่อาจจะส่งผลใดๆ + คุณกำลังพยายามก่อหวอดจากความคิดนั้น ต่อให้คุณอยู่ในฝ่ายเข้าข้างบริษัทอย่างที่สุด หรือแนวคิดนั้นสนับสนุนบริษัทอย่างที่สุด 100% เห็นด้วยกับบริษัทหมด.. การพยายามก่อหวอดก่อไฟ ก็เป็นสิ่งที่ควรตัดไฟต้นลมอยู่ดี เพราะที่สุดแล้วคนที่จะคิดในเบอร์นี้เรียกร้องในเบอร์นี้ เป็นอันตรายมาก เพราะเป็นการพยายามเอาตัวเองเป็นศูนย์รวมคน ซึ่งมันคือหน้าที่ของตำแหน่งบริหาร ถ้าวันนึงคนดังกล่าวแนวคิดเปลี่ยนหรือใช้อำนาจชี้นำอะไรในแนวทางที่เปลี่ยนไป ก็จะเป็นอันตรายต่อองค์กรได้... หรือจะพูดให้ถูก ถ้าคนระดับล่างๆ อยากจะเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ควรทำก็คือการส่งหาผู้บริหาร แล้วพูดคุยกันกับทีมบริหาร แล้วฟังความเห็นจากทางนั้น จากนั้นก็ค่อยคุยกันว่า แล้วจะทำยังไงดี .. ไม่ใช่การส่งจดหมายเวียน ทำตัวเองเป็นผู้นำทำความคิด แล้วได้ follower ทางความคิด
เน้นอีกครั้ง โดยส่วนตัวมองว่า เรื่องความเท่าเทียมของ Google มันอาจจะไม่เกี่ยวกันเลยกับการตัดสินใจไล่ออก
แต่ถ้าจะให้ลงเรื่องแนวคิดของ Google ในอีกด้านผมมองว่า ก็เพราะเป็น Google นั่นแหล่ะ ที่ทำให้บริษัทสามารถทำแนวทางนี้ได้ .. ถ้าเป็นบริษัทเล็กๆ มันไม่มีประโยชน์เลยครับ เพราะการพยายามทำแบบที่คุณบอกที่ว่า ผมไม่เห็นประโยชน์ที่จะไปกันตำแหน่งผู้ชายให้ผู้หญิงที่ไม่เก่ง สำหรับบริษัทเล็กมากๆ มันคือกันตำแหน่งก็จริง แต่ในบริษัทที่มีพูลคนสมัครงานหลักหมื่นหลักแสน แค่ 1% ก็ 100 คนแล้ว และ ถ้าสมมติตัววัดในการเข้าทำงานได้คือ Qualify 80 คะแนนจาก 100 ... ก็มีโอกาสที่ให้ทำให้ผู้หญิงได้เฉิดฉาย โดยไม่ได้ตัดโอกาสใครเลย ผู้หญิงที่ qualify มันมีไม่น้อยนะครับ เมื่อมันมีมาเค้าจึงทำที่ว่างให้มีเสมอ ... เพื่อให้โลกเห็นว่าผู้หญิงก็ทำได้ ... ถ้าตำแหน่งนั้นไม่ได้ blank ไว้ คือรับผู้ชายมาถมหมดแต่แรก ผู้หญิงเข้ามา ต่อให้ qualify แต่ก็ไม่มี space แล้ว
(พูดในมุมว่า บริษัทเล็ก อาจจะมีคนมาสมัครไม่มากพอที่จะเห็น 1% นั้น แต่ด้วยจำนวนผู้สมัครขนาดกูเกิล มันมีที่ว่างให้ 1% นั้นไงครับ ดังนั้นผมมองว่าเอาจริงๆ ..)
สิ่งที่ google กำลังทำอยู่คือ เอาคนที่จริงๆแล้ว qualify แต่บริษัทอื่นมองข้ามไปเพราะเพศสภาพ มาไว้รวมกันนะครับ หรือจะพูดอีกด้านว่า เป็นการลดผลประโยชน์สูงสุดที่ตัวเองจะได้รับ เพื่อ promote เรื่องนี้
....... ถ้าคุณเอาข้อ 1+2+3 มายำรวมกัน มันจะอยู่ในอ่างแหล่ะครับ เพราะมันถูกอย่างผิดอย่าง สลับกันไปมาเสมอ (เพราะข้อ 1+2 ไม่สามารถ clear ได้จนกว่าจะเกิดการ debate) แต่สิ่งที่ทำให้เค้าโดนไล่ออกมันคือข้อ 3 ... ไม่ใช่แนวคิดเขาผิด แต่เขาเสียงดังเกินไป/เขาเหมือนกำลังจะก่อม๊อบ ... การเปิดกว้างต่อความคิดเห็น ไม่ได้แปลว่าเปิดกว้างต่อการพยายามเอาตัวเองเป็น leadership หรือ acting role ในองค์กรนะครับ
ตอบคุณ foizy
ผมตอบไว้คำตอบที่แล้วแล้วว่า Google จะทำ
อะไรก็ได้ผมไม่ได้ห้ามหรือบอกว่าทำไม่ได้เลย
ดังนั้นคุณพิมพ์มาตั้งยาว แต่มันก็ไม่ได้ขัดกับผมเลย
เรื่องของแนวทางของบริษัท ถ้าคิดว่าดีจริง
หรือมีข้อโต้แย้งหรือเหตุผลที่ดีกว่าก็แสดงออกมาสิ
ผมว่าจะได้เสียงสนับสนุมมากขึ้นไปอีกการไปปิดปาก
คนไม่เห็นด้วยนี่สิน่าสงสัยว่าจะมีแต่ความเชื่อเท่านั้น
"เน้นอีกครั้ง โดยส่วนตัวมองว่า เรื่องความเท่าเทียมของ
Google มันอาจจะไม่เกี่ยวกันเลยกับการตัดสินใจไล่ออก"
James Damore ถูกไล่ออกเพราะส่งหนังสือเวียนที่
ขัดกับนโยบายเรื่องต้องการเพิ่มความหลากหลายทางเพศ
หรือก็คือความเท่าเทียม อันนี้เกี่ยวแน่ ๆ
"สำหรับบริษัทเล็กมากๆ มันคือกันตำแหน่งก็จริง
แต่ในบริษัทที่มีพูลคนสมัครงานหลักหมื่นหลักแสน
แค่ 1% ก็ 100 คนแล้ว"
ในอุดมคติของคนที่มีอุดมการณ์นี้เขาจะเอา 50% ครับ
คิดดูสิว่าจะมีปัญหาไหมเลือกคนทำงานได้เต็มที่แค่
ครึ่งเดียวอีกครึ่งมีข้อจำกัดว่าต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น
เรื่อง 1% นี่ผมอาจจะพลาดไป ขอลิงค์อ้างอิงด้วยครับ
"ก็มีโอกาสที่ให้ทำให้ผู้หญิงได้เฉิดฉาย โดยไม่ได้ตัดโอกาสใครเลย"
ถูกต้องครับเราไม่ควรตัดโอกาสใครเลยหรือคุณ
คิดว่าเราควรตัดโอกาสผู้ชายเพราะ?
"ผู้หญิงที่ qualify มันมีไม่น้อยนะครับ
เมื่อมันมีมาเค้าจึงทำที่ว่างให้มีเสมอ"
ก็สมัครมาสิครับผมยอมรับว่าผมและคนที่ผมรู้จักส่วนมากลำเอียง
ถ้าผู้หญิงสมัครเข้ามาตำแหน่งเดียวกับผู้ชาย
แล้วความสามารถเท่ากันหรือน้อยกว่านิดหน่อย ผมเลือกผู้หญิง
ถ้าความสามารถมากกว่าไม่ต้องคิดเลยผู้หญิงแน่ ๆ
แต่ถ้าด้อยกว่ามาก ๆ จะกันที่ไว้อันนี้ผมไม่เห็นด้วย
อย่างนี้บริษัทผมต้องปล่อยให้ตำแหน่งว่างจนกว่า
จะหาผู้หญิงได้หรือผมคิดว่าคุณก็ทำงาน ITลองคิดถึง
ตอนงานล้นมือแต่หัวหน้าไม่รับคนมาช่วยสักที
เพราะไม่มีผู้หญิงสมัครเข้ามาทำงานคุณจะคิดอย่างไร
" (เพราะข้อ 1+2 ไม่สามารถ clear
ได้จนกว่าจะเกิดการ debate)"
ก็นั่นแหละครับ ทำไมไม่ debate ซะหละครับ
"การเปิดกว้างต่อความคิดเห็น ไม่ได้แปลว่าเปิดกว้าง
ต่อการพยายามเอาตัวเองเป็น leadership หรือ
acting role ในองค์กรนะครับ"
องค์กรณ์เอกชนนะครับไม่ใช่การเมืองสาธารณะ
คุณไม่สามารถประท้วงเอาตำแหน่งได้
ถึงคนในบริษัทจะเห็นด้วยแต่เจ้าของเงินไม่เห็นด้วย
เขาก็ไล่คุณออกได้ การออกมาแสดงความคิดเห็น
ของเขาถ้าสามารถก่อม๊อบติดมันก็ไม่สามารถทำให้
เขาเป็น CEO หรือได้เลื่อนตำแหน่งได้หรอก
จากประโยคนี้ "การออกมาแสดงความคิดเห็นของเขาถ้าสามารถก่อม๊อบติดมันก็ไม่สามารถทำให้เขาเป็น CEO หรือได้เลื่อนตำแหน่งได้หรอก" ผมคิดว่า คุณไม่ได้ต้องการเข้าใจสิ่งที่คุณ foizy กำลังสื่อ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็น CEO แต่การพยายามทำตัวเป็น leadership มันก็คือการสร้าง power ให้ตัวเองอย่างหนึ่งนั่นแหละ ซึ่งตรงนี้ถ้ามันมีมากๆ ไม่จำเป็นต้องเป็น CEO ก็สามารถสร้างผลกระทบต่อตัว CEO และองค์กรได้เช่นกัน
ความหมายของคุณคือเขาทำเพื่อสร้างผลกระทบต่อองค์กรณ์
แล้วคุณคิดว่าเป้าหมายของเขาคืออะไร?
ตรงนั้นก็ถูกต้องครับ แต่สิ่งที่คุยกันเหมือนคำถามที่เวียนถามไปมา ถ้าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่ง่ายๆ ก็คงไม่มีการคุยเรียกร้องกันมาเป็นหลายสิบปีแล้วครับ ซึ่งมันก็น่าจะจบแค่นี้ ตรงการตัดสินใจที่เป็นคำตอบสุดท้ายจาก Google
"แต่สิ่งที่คุยกันเหมือนคำถามที่เวียนถามไปมา"
มาบอกว่าผมไม่เข้าในสิ่งที่คุณ foizy สื่อ
ถ้าคุณเข้าใจก็บอกมาหน่อนสิครับว่าคืออะไร
ผมถูกกล่าวหามาตั้งเยอะพอให้บอกชัด ๆ
ก็เลี่ยงไปพูดเรื่องอื่นกันทุกทีมันก็ต้องวงมาวนไป
แบบนี้แหละเพราะพวกคุณไม่เข้าประเด็นสักที
ที่ทั้งคุณ foizy และผมจะสื่อคือ มันไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง 100% ในทุกๆ มุมมองและทุกด้านครับ เงื่อนไขที่ Google ตั้งไว้ก็จะมีทั้งคนที่ได้ผลประโยชน์และเสียประโยชน์ แต่สิ่งที่ Google ตัดสินใจก็เพื่อคงเสถียรภาพโดยรวม เพราะเหตุผลและเงื่อนไขที่ตั้งไว้ก็สอดคล้องกับขนบ ประเพณีนิยมในปัจจุบัน ส่วนสัดส่วนในอุดมคติที่คุณว่ามาว่าเป็นแบบ 50/50 ตรงนี้โดยความเห็นส่วนตัวมันก็เป็นเพียงการวางเอาไว้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ไม่น่าจะใช่กฎที่ต้องนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแบบกฎหมาย
ถ้าผมเป็นผู้บริหาร เมื่อเริ่มมองเห็นชนวนที่คิดว่าอาจจะก่อให้เกิดการลุกลามขึ้นในอนาคต การเชิญออกก็เป็นอีกหนึ่งในวิธีการที่ต้องทำเพื่อป้องกันปัญหา ซึ่งในมุมนี้ผมว่า Google ก็ทำถูกต้องแล้ว ซึ่งผมมองว่าการถูกให้ออกจากงานเมื่อมีประเด็นเกิดขึ้นหรือการย้ายงานมันก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาโลกมากๆ
จากที่คุณมองอาจจะมองแค่ด้านบวกเลยทำให้คิดว่าสิ่งที่เป็นอยู่มันไม่โอเคสำหรับคุณ ผมอยากให้คุณลองสรุปผลกระทบทั้งสองด้านในกรณีนี้มาดูบ้าง เผื่อว่าผมอาจจะมองข้ามอะไรไป
มันก็จะวนอยู่ในอ่างอย่างนี้
มาบอกว่าผมไม่เข้าใจความหมาย
พอถามว่าความหมายจริง ๆคืออะไรก็ตอบไม่ได้
วกมาเรื่อง Google ไม่ผิด ซึ่งผมก็บอกไปแล้ว
ว่า Google ไม่ผิดบริษัทตัวเองจะทำอะไรก็ได้
เรื่องกฎ 50% สร้างมาเพื่อภาพลักษณ์ ?
ทำไมคุณไปกล่าวหา Google เลื่อนลอยแบบนั้นครับ
ว่าเขาเขียนกฎขึ้นมาหลอกสังคมเฉย ๆ โดยไม่คิดจะทำจริง
สิ่งที่ผมพูดมาและสิ่งที่พวกคุณพูดมามันก็เหมือนกัน
ต่างกันที่ผมใส่รายละเอียดเรื่องไล่คนไม่ผิดออก
ซึ่งพวกคุณก็ไม่มีคนเถึยงเพียงแต่พอเห็นว่า
Google ไล่คนไม่ผิดออกมันไปทำร้ายความรู้สึก
ของพวกคุณ พวกคุณจึงอยากสรุปแค่ว่า
Google ไล่ James Damore ออกเพื่อ
ผลประโยชน์ของ google
ส่วนคนที่ถูกไล่ออกเพราะอะไร
มีความผิดหรือไม่ถ้ามันกระทบกับความรู้สึก
ของตัวเองถีงจะเป็นความจริงก็ไม่ต้องพูดถึง
จบปัญหาโดนการ(บังคับ)ให้ทุกคนลืมปัญหานั่นไปซะ
ทุกครั้งที่คุยเรื่องผลประโยชน์หรือเรื่องผิดไม่ผิด มันไม่สามารถตอบได้ครับ เพราะตอนนี้มองกันคนละจุด อารมณ์เหมือนทหารคนหนึ่งได้รับคำสั่งให้ออกไปรบ ออกไปฆ่าคนที่ไม่รู้จักไม่มีความแค้นส่วนตัว มันก็คงมีหลายอย่างที่เป็น paradox ในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องสร้างมาเพื่อภาพลักษณ์แค่นั้นหรือไม่ ผมไม่ทราบเพราะเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น เอาเป็นว่าคุณเข้าใจความหมายดีแล้วกันครับ ที่คุณว่ามาคือคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการบริหารองค์กร ส่วนผมก็จะคงยังมีความเชื่อแบบของผม
ตอบคุณ nrml
Google ไม่ผิดครับ ผมยอมรับ
จะนอกเรื่องไปไหนเนี่ย
เอางี้ จะได้ออกจากอ่างซักที
7 ข้อนี้มีข้อไหนที่คุณไม่เห็นด้วยกับผม
1. James Damore แสดงความคิดเห็นที่อาจจะเป็นความจริง
2. ความคิดเห็นของ James Damore ไปขัดกับความเชื่อคนส่วนใหญ่
3. Google ไล่ James Damore ออก
4. James Damore ไม่ได้ผิดกฎอะไรของ Google
5. Google ไล่ James Damore ออกเพื่อรักษาความรู้สึกของคนส่วนใหญ่
6. Google ทำเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ของ Google
7. Google มองข้ามความ(อาจจะ)จริงที่กระทบความรู้สึกเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
ทั้งหมดทั้งปวงที่จะสื่อ คือ
ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ตาม แต่การพูดเสียงดังในองค์กร เพื่อ "ชี้นำความคิด" ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม เป็นอันตรายครับ
ในบริบทนี้ ผมมองว่าเค้าโดนไล่ออก เพราะ "พูดเสียงดัง+ชี้นำ" .. ไม่ใช่เพราะ "พูดเรื่องความไม่เท่าเทียม/ด่าบริษัท"
ต่อให้คุณพูดเรื่องอื่น แต่พฤติกรรมที่เห็นคือ สร้างกลุ่มคนขนาดใหญ่ โดยผู้พูดกลายเป็น "Center of attention" มันก็เป็นเรื่องร้ายแรงในความรู้สึกผมอยู่ดี
การที่อยู่ๆ คนๆ นึง พูดถึงบริษัท -> กระจายเป็นจดหมายเวียน -> กลายเป็น center of attention ของคนจำนวนมาก -> เป็นบุคคลที่สื่อพูดถึงและกลายเป็นข่าว ..... มันอันตรายนะครับ หลังจากนั้นถ้าเค้าพูดเรื่องอื่นเพื่อโจมตีบริษัทล่ะ ถ้าชุดความคิดเขาเปลี่ยนไปและกลายเป็นลบต่อบริษัทมากๆล่ะ ไม่ว่าเรื่องอะไร .. เพราะพอถึงจุดนั้นเค้ากลายเป็นเป้า เพื่อให้คู่แข่งโจมตีมาที่เขา เพื่อสร้างผลกระทบไปยังตัวบริษัท/แนวคิดที่บริษัทพยายามสร้างได้แล้ว
เพราะถ้าจะบอกว่าการพูดเรื่องนี้เป็นสิ่งผิดเลยทำให้เขาโดนไล่ออก ... เขาควรโดนไล่ออกตั้งแต่มันยังไม่ไวรัลแล้วครับ คือเริ่มมีบทความ(ใน public space) ก็เรียกคุยแล้วเชิญออกได้เลย(ตามเรื่องขัดนโยบาย) .. แต่ที่เค้ารอจนเรื่องมันใหญ่มาก จนกลายเป็นข่าวก่อน ถึงจะมีมาตรการออกมามันก็เป็นอีกเรื่องนึง
จดหมายฉบับนี้ไม่ได้ถูกสั่งลบจากภายในในช่วงแรกด้วย แถมยังหลุดออกมาข้างนอกอีก ... (แต่เป็น internal space) แล้วแถมยังมีคนพูดถึงเรื่องนี้ต่ออีกเยอะแยะ... แล้วประเด็นอื่นๆก็เดาว่าคงจะมีเช่นกัน ดังนั้นเค้าไม่ได้ silence แต่เค้ากำลังป้องกันไฟลาม ... แล้วฝั่ง google ก็ออกมาชี้แจงแล้วว่าเค้าก็เห็นด้วยหลายอย่าง แต่บางอันมันเป็นความคิดที่รุนแรง
ส่วนเรื่อง 1% ที่ผมกำลังสื่อ ผมคิดว่าคุณไม่เข้าใจ และคงเกินความสามารถผมจะสร้างคำมาอธิบายได้ดีกว่า ที่ได้พิมพ์ไปแล้วสองรอบครับ
เอาเป็นว่า บริษัทต้องการ 50% ...
ในบริษัทเล็ก 50% นี้หมายถึง 10 คน(ชาย5 หญิง5) ... แปลว่า คุณต้องปฏิเสธคนเยอะแยะมากมาย แต่ในบริษัทใหญ่ๆ 50% นี้อาจจะหมายถึงคนถึง 1000 คน(ชาย500 หญิง500) ...
สมมติว่ามาตรฐานงานที่ต้องการคือ 80/10
การหาชาย 5/หญิง 5 จากคนสมัครบริษัทเล็กเพียงหยิบมือ(บริษัทเล็กๆ ประกาศรับสมัครงานมีคนมาสมคัร 100คนก็เยอะแล้ว) ให้ได้ average score 80/100 เป็นเรื่องยากมาก แต่การหาคน 500/500 จากคนสมัคร 100000 คน .. pool มันใหญ่พอที่จะเลือกทำได้ ... เขาจึงเลือกให้เก็บผู้หญิงมาปั้นที่นี่ก่อน
อีกด้าน สมมติให้เราตั้งธงว่าผู้หญิงไม่เหมาะจริงๆ และทุกบริษัทใช้มาตรฐานเดียวกับที่คุณว่า คือเพราะโดย nature ผู้ชายเหมาะกว่า(และยอมรับว่าผู้หญิงอาจจะน้อยกว่า) ... ผู้หญิงจะอยู่ตรงไหน
google เองพยายามเอาธงนี้ออก เค้าจึง "เปิดกว้าง" และ "พยายาม" รับคนที่ บริษัทเล็กๆ "ไม่รับ" เอามาปั้นเพื่อพิสูจน์ว่าผู้หญิงก็ทำงานได้ ผมว่ามันเป็นการให้โอกาสที่ดี (แม้ trade off ถ้าเอาตามที่คุณมองคือ อาจจะได้คนที่ไม่ได้ดีเยี่ยมมาก็เหอะ)
กรี๊ด ทำไมมา reply ผม
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
อ่าว ยาวเกิน ตาลายย ขออภัยครับ แก้ออกก็ไม่ได้ซะด้วย 5555
เรื่องความคิดเห็นที่มีปัญหา
คุณลองหาข่าวที่บอกว่าบริษัท
เหยียดผู้หญิงกีดกันผู้หญิงไม่ให้
ได้รับตำแหน่งที่เหมาะสมสิครับ
ผมว่าหาได้ไม่ยากแล้วดูผลตอบรับ
จากสังคมสิครับ แล้วดูความแตกต่าง
ผมเสียงสะท้อนจากสังคมว่ามันต่างกัน
มากแค่ไหน เพราะคนในสังคม "เชื่อ"
ว่าผู้หญิงถูกกีดกันและข่าวสารที่ได้รับก็มี
ด้านเดียว พอมีคนตั้งข้อสงสัย มันไปขัด
กับความรู้สึกของคนส่วนมาก "เพื่อรักษาบรรยากาศที่ดี"
ดังนั้นเราลงโทษคนที่มองต่างจากเราก็เป็นเรื่องรับได้
แต่คนส่วนใหญ่ไม่อยากยอมรับว่าตอนนี้เรา
กำลังลงโทษคนไม่มีความผิดที่คิดต่างอยู่
"พูดเสียงดัง+ชี้นำ"
พนักงานชั้นผู้น้อยห้ามพูดเสียงดัง
และถ้าความคิดเห็นไม่ชี้นำสิ่งให้เห็นใหม่จะแสดงความคิดเห็นทำไม
"ส่วนเรื่อง 1% ที่ผมกำลังสื่อ ผมคิดว่าคุณไม่เข้าใจ
และคงเกินความสามารถผมจะสร้างคำมาอธิบายได้ดีกว่า
ที่ได้พิมพ์ไปแล้วสองรอบครับ"
ถ้าผมคิดว่าผมเข้าใจอะไรแต่อธิบายไม่ได้
ผมจะคิดว่าสิ่งนั้นผิดแล้วรวบรวมข้อมูลใหม่
"สมมติให้เราตั้งธงว่าผู้หญิงไม่เหมาะจริงๆ"
จะไปตั้งธงทำไมรับคนที่เหมาะสมกับงานสิครับ
การตั้งธงว่าผู้หญิงไม่เหมาะสมหรือ
ผู้ชายไม่เหมาะสมมันก็พอกับนั่นแหละ
'google เองพยายามเอาธงนี้ออก เค้าจึง
"เปิดกว้าง" และ "พยายาม"
รับคนที่ บริษัทเล็กๆ "ไม่รับ"
เอามาปั้นเพื่อพิสูจน์ว่าผู้หญิงก็ทำงานได้'
Google แสวงหาผลประโยชน์ คุณก็บอกเองว่า
การไล่ James Damore ออกก็เพราะการแสดงความคิดเห็น
ของเขาไปขัดผลประโยชน์ของ Google เพราะผลประโยชน์
มันต้องมาก่อนความจริง ที่พยายามจะให้ทุกคนลืม
การออกมาบอกว่าสนับสนุนผู้หญิงนี่ก็เป็นแนวทาง
ทางการตลาดเพื่อพยายามสร้างภาพลักษณ์
ของบริษัทเหมือนการโปรโมททั่วไป
การโปรโมทจนมองข้ามความเป็นจริง
มันอาจจะส่งผลร้ายมากกว่าผลดี
ผมถือว่าที่คุณกำลังทำอยู่คือการด่าผมตรงๆนะครับ
(ถ้าผมคิดว่าผมเข้าใจอะไรแต่อธิบายไม่ได้ ผมจะคิดว่าสิ่งนั้นผิดแล้วรวบรวมข้อมูลใหม่)
มันไม่ได้มีอะไรชี้นำผมว่าสิ่งนั้นอธิบายไม่ได้ จนทำให้ผมรู้สึกว่าผมควรรวบรวมข้อมูลใหม่หรอกครับ
คือในนี้มีคนหลายคนเข้าใจ และพยายามช่วย stress ในสิ่งที่ผมบอกหลายรอบแล้ว เท่าที่อ่านเหลือเพียงคุณเองที่ไม่ได้พยายามทำความเข้าใจแล้วยึดจุดยืนของคุณเหนียวแน่นมาก ... ในเมื่อมีคนเข้าใจมากกว่าคนไม่เข้าใจ ผมถือว่าการสื่อสารของผมเคลียร์พอสมควรแล้ว และมีคนเข้าใจในสิ่งที่ผมกำลังสื่อมากกว่าคนที่ไม่เข้าใจ (หนักกว่าคือการไม่พยายามเข้าใจ) แล้ว
..............................
จะไปตั้งธงทำไมรับคนที่เหมาะสมกับงานสิครับ
การตั้งธงว่าผู้หญิงไม่เหมาะสมหรือ
ผู้ชายไม่เหมาะสมมันก็พอกับนั่นแหละ
เอาล่ะ ถ้าพูดแบบไม่ตั้งธงจริงๆ
1. สมมติงานไอทีประเภทนึงมีคนสมัครชาย 1000 หญิง 100 ...
2. สมมติว่าคนที่ qualify ในตำแหน่งนี้คือ ชาย 40/หญิง 10
3. สมมติว่ามีตำแหน่งนี้ว่าง 10 ที่ (รับไม่พร้อมกัน)
ถ้าไม่ได้ตั้งนโยบายว่าจะเอา 50/50 แต่แรก และถ้า candidate เข้ามาแบบไม่สุ่มสมบูรณ์แบบ
โอกาสที่ 10 ตำแหน่งจะถูก filled ไปก่อนโดยผู้ชายมีสูงมาก (เพราะโดยธรรมชาติแล้วผู้ชายในสายงานเยอะกว่า ก็มีโอกาสมาถึงจุดสัมภาษณ์ก่อน ด้วยธรรมชาตินั้น ในหลายองค์กรหลายครั้ง ตำแหน่งจะเต็มก่อนที่ผู้หญิงจะได้รับการสัมภาษณ์ด้วยซ้ำ ยิ่งองค์กรขนาดเล็กมากที่มีตำแหน่งนั้นแค่ 1-2 คน ... ยิ่งทำให้คนส่วนมากกลายเป็นผู้ชายไปเสียอีก)
การตัดสินใจรับแบบ extreme คือ 50/50 ไม่ได้ทำให้คนที่ได้งานมี qualification ลดลง ... แต่เพิ่มโอกาสได้ ผู้หญิงที่ qualify เช่นกัน ได้มีโอกาสเข้าทำงาน ... เมื่อมองเช่นนั้น ก็เหมือนให้โอกาสเพศหญิงสูงกว่า (เพราะอัตราการรับของหญิงคือ 2:1 และของชายคือ 8:1)
แต่ถ้าขยายสเกลการมองให้กว้างขึ้นว่า คนที่หลุดจาก Google ไปก็จะไปสมัครบริษัทอื่นต่อ .. ซึ่งบริษัทอื่นๆที่ไม่ได้มีตัวเลือกในการเลือกคนเยอะแบบ Google ก็จะมีแนวโน้มที่ทำให้ตำแหน่ง ถูกเติมไปก่อนโดยผู้ชายอยู่แล้ว .. หากมองในภาพนั้น ผู้ชายที่พลาดจาก google ไป ก็จะได้เข้าทำงานเร็วกว่าผู้หญิงอยู่ดี
..............................
เอาล่ะ จริงๆในเมื่อคุณก็มีจุดยืนของคุณ จุดที่ผมยืนสิ่งที่ผมพิมพ์ convince คุณไม่ได้ และจุดที่คุณยืนก็ convince ผมไม่ได้ (และเท่าที่อ่านก็หลายๆคนในนี้) ไม่ได้เช่นกัน มันก็อาจจะไม่ต่างอะไรกันนะครับ และผมมองว่าคงไม่มีประโยชน์อะไรที่จะถกเถียงกันต่อไป
เพื่อสรุปจบชุดความคิดผมสำหรับเรื่องนี้
ทั้งหมดที่สำคัญที่สุดสำหรับผมคือคำว่า "เกินไป" + "ผู้น้อย" + "เจ้าของกิจการ" + "บริบท/ตำแหน่งหน้าที่"
ถ้าหากว่า คุณเข้าใจ(+ยอมรับใน) คำว่า เสียงดัง"เกินไป" จนอาจก้าวล่วงการตัดสินใจ/คำพูดของผุ้ใหญ่
จึงนำภัยมาให้ คุณจะเข้าใจสถานการณ์เอง ในแบบที่ผม (หรือหลายๆคนในนี้เข้าใจ)
แต่หากคุณพยายามจะไม่เข้าใจ อันนั้นผมก็มองว่าเป็นสิทธิ์ของคุณ
ตราบเท่าที่คุณใหญ่สุดในองค์กร คุณจะทำได้ทุกอย่างในกรอบที่ไม่ขัดกับแนวทางสังคม "เกินไป"
แต่ถ้าคุณเป็นระดับล่าง คุณสามารถเสนอไอเดียได้ แต่กลยุทธ์ที่ดีในการเสนอเรื่องที่มันไม่ตรงกับแนวคิดขององค์กร
คือค่อยๆตะล่อมจากระดับล่าง อย่างสุภาพและนิ่มนวล ไม่ใช่การเปิดจดหมายแล้วบอกว่า "สิ่งที่องค์กรทำอยู่ ผิด 1.2.3.4"
เมื่อคุณทำจดหมายเวียน attack องค์กรตัวเอง "อย่างเสียงดังเกินไป" และ "พยายามชี้นำคนเกินไป" ทั้งที่คุณก็อยู่ under มันก็จะส่งผลเสียต่อคุณเสมอ
และแน่นอน ถ้าคุณอยากส่ง Message ที่รุนแรงเกินไปในบริบทของลูกจ้างองค์กร .. คุณสามารถเปลี่ยนกรอบออกมาเป็นคนที่อยู่ในสังคมภายนอกแล้วชี้เข้าไปในองค์กร .. เพราะคำว่าเกินไป ที่เกิดขึ้นในองค์กร มันอาจจะไม่ "เกินไป" เมื่อพูดจากข้างนอกเข้าไป
เพราะหลายๆ ครั้ง (ครั้งนี้อาจจะไม่ แต่ครั้งอื่นๆทั่วไปมักเป็นเช่นนั้น) เรื่องผลเสีย ผลลบที่เกิดขึ้น (เช่นการเลือกเพศเหนือธรรมชาติและ performance) ที่บุคลากรระดับล่างพยายามเขียนขึ้นไปนั้น ระดับบริหารเค้าอาจจะคุยกันแล้ว วิเคราะห์กันแล้ว ก่อนออกมาเป็นนโยบายระดับ organization-wide ... แต่องค์กรใดๆ ย่อมมี agenda อื่น ที่ทำให้ชั่งน้ำหนักแล้ว โมเดลนี้น่าลอง (ในช่วงทดลองยาวๆ 5ปี 10ปี มันอาจจะไม่เวิร์คก็ได้ มันอาจจะเวิร์คก้ได้ แต่บริหารได้ตัดสินใจแล้วว่าจะลอง) การส่ง message ใดๆจากภายในที่มันดัง "เกินไป" จนอาจจะมาขวางแนวทาง ย่อมนำภัยมาเสมอ
--- ที่เหลือขอลบออกนะครับ
"ผมถือว่าที่คุณกำลังทำอยู่คือการด่าผมตรงๆนะครับ
(การไล่ให้ผมไปทบทวนว่าคิดถูกคิดผิด)"
ผมขอโทษก็แล้วกันมันเป็นวิธีคิดของผมไม่ได้คิดจะด่าใคร
ถ้าผมอธิบายความเชื่อผมไม่ได้ผมก็จะคิดว่าความเชื่อ
ของผมนั้นผิดและจะพยายามรวบรวมข้อมูลใหม่
ความจริงกับความเชื่อบางครั้งมันก็ขัดกัน
บางคนละความเชื่อเพื่อความจริง
บางคนละความจริงเพื่อความเชื่อ
คุณมีวิธีคิดอย่างไรก็แล้วแต่คุณ
'ถ้าหากคุณเข้าใจคำว่า เสียงดัง"เกินไป"
จนอาจก้าวล่วงการตัดสินใจ/คำพูดของผุ้ใหญ่'
https://www.blognone.com/node/99220#cid-1029519
ขอโทษที่ทำลิงค์ไม่เป็น ตามความเห็นนนี้ครับ
เพียงแต่คนส่วนใหญ่ ไม่อยากยอมรับว่ามีแนวคิดแบบนี้
'ตราบเท่าที่คุณใหญ่สุดในองค์กร
คุณจะทำได้ทุกอย่างในกรอบที่ไม่ขัดกับแนวทางสังคม "เกินไป"'
สิ่งที่ google ทำนั้นไม่ได้ขัดอะไรกับแนวทางของสังคมเลยครับ
แต่ขัดกับความจริง แนวทางของสังคมขัดกับความจริงได้ครับ
แต่เราต้องมาชั่งน้ำหนักดูว่าส่งผลเสียหรือส่งผลดีมากกว่ากัน
ในเรื่องนี้ พวกคุณคิดว่าส่งผลดีมากกว่าส่งผลเสีย
ผมคิดว่าส่งผลเสียมากกว่าส่งผลดี นั่นก็คือความคิดของเราที่ต่างกัน
"คือค่อยๆตะล่อมจากระดับล่าง อย่างสุภาพและนิ่มนวล
ไม่ใช่การเปิดจดหมายแล้วบอกว่า "สิ่งที่องค์กรทำอยู่
ผิด 1.2.3.4"
โลกแห่งความจริง ถ้าเป็นบริษัทเอกชนเดินไปบอกผู้บริหาร
ก็โดนไล่ออกด้วยเหตุผลเรื่องผลงาน(ทั้งที่ไม่ใช่)
ถ้าเป็นเรื่องของรัฐ+การเมืองไปคุยกับรากมะม่วงเอาง่าย ๆ
"อย่างเสียงดังเกินไป"
"พยายามชี้นำคนเกินไป"
ข้ออ้างแบบนี้มันคลุมเคลือไม่ชัดเจน
คำว่าเกินไปมันคลุมเครืออยู่แล้วครับ แล้วแต่เรื่องแล้วแต่บริบท
ไม่มีใครสามารถเขียนดักไว้ได้ทุกเรื่องหรอกว่าระดับไหน มันจะเกินไป
ขนาดคนนอกในนี้ หลายคนยังมองว่า ที่ James ทำ มันเสียงดังเกินไป เลยนะครับ
สำหรับผม ผมมองว่า ความเกินไปในที่นี้มันรู้สึกง่าย
คน 1 คน พูด เสียงควรจะดังประมาณไหน
คน 100 คน พูด เสียงควรจะดังประมาณไหน
ที่ผมใช้คำว่าตะล่อม เพราะถ้าเสียงนี้มันดังมากจาก กลุ่มพนักงาน (คน 100 คนร่วมกันพูดเรื่องนี้) มันก็ดังอย่างเหมาะสมในบริบทการสนทนา ... แต่เคสนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กลุ่มพนักงานบอกว่าเห็นด้วย โดยยืมเสียงของ James พูด ... ไม่มีใคร share damage จากแนวคิดนี้เลย เขารับเน้นๆ
ถ้าคุณรวมกลุ่มคนที่เห็นด้วยกับคุณแบบตะล่อมๆ เงียบๆ ได้ก่อน แล้วเขียนจดหมายนี้ในนาม "กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยในการ........." การที่บริษัทจะไล่คนทีละ 100 คนออกพร้อมกัน มันแทบเป็นไปได้ยากมากเลยครับ ยิ่งในประเทศแบบนั้น ที่สามารถเกิด class action law suit ได้
แต่พอเขาเป็นตัวตั้งตัวตี .. ตรงนี้ผมมองว่า มันชัดเกินไป เด่นเกินไป จนกลายเป็นเป้า
..... ถ้าเกณฑ์นั้นมัน subjective เกินไป
บทสนทนาที่เกิดขึ้นของ James เกิดขึ้นใน internal network -> ถูกนำออกมาสู่ภายนอก -> บทความเนื้อหาเข้มข้นจนอยู่ในสายตาสื่อ -> สื่อถามเข้าไปถึงตัวบริษัท -> นักลงทุนบางส่วนเกิดความคาใจสงสัย
ตรงนี้ก็มากเกินไปอีกเหมือนกัน .. ถ้ามันวนแต่ใน internal และไม่หลุดออกมาเลย มันก็คงไม่ถึงขั้นไล่เขาออก (นั่นจะทำให้ตั้งคำถามว่า แล้วทำไมคนเอาเผยแพร่ถึงไม่โดน .. แต่ในเคสปกติก็จะมีสองกลุ่มที่โดนลงโทษ 1. คนเอาไฟออกนอกบ้าน กับ 2. คนก่อไฟ)
.........................
ส่วนเรื่องผลดีผลเสีย มันอยู่ที่สเกลการมอง ซึ่งสำหรับตัว google เอง มันไม่ควรเป็นปัญหาสำหรับเขา .. สำหรับสังคม ผมว่าบริษัทอื่นๆจะ corrective การตัดสินใจของ google ให้เอง (หมายถึงคนที่ไม่ได้เข้าทำงานที่ google แต่ qualify ก็จะได้งานจากบริษัทอื่นอยู่ดี)
มันมีคำถามง่ายๆ (มั๊ง) ครับ
โดยกำหนดให้ 100 คะแนนนี้วัด matrix ที่เกี่ยวข้องกับงาน/พฤติกรรม/แนวคิด/รวมไปถึงการมีครอบครัวและภาระเลี้ยงดู ไว้ครบถ้วนหมดแล้ว (แปลว่าทุกคน qualify ในทุกแกนที่จำเป็นสำหรับการทำงานในองค์กรนี้แล้ว ส่วน matrix อื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง)
เหลือสิ่งนึงที่ต่างกันระหว่างสองคนนี้คือ เพศ (+เรื่องอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง +ความชอบส่วนตัวของผู้สัมภาษณ์)
ในเคสแบบนี้คุณจะเลือกทำทางไหนครับ
1. จับสลาก / ปาเป้า
2. กำหนดสัดส่วนเรื่องเพศเป็นตัวเลข ตามธรรมชาติ (รับชาย 8 หญิง 2)
3. กำหนดตัวเลขขึ้นมาตรงๆ ครึ่งๆ (รับชาย 5 หญิง 5)
4. การสร้างตัววัดเพิ่ม เพื่อวัดในช่วง 100-120 ก็ทำได้ แต่แพง (ทั้งงบ ระบบ เวลา)
5.... อื่นๆ
วิธีไหนแฟร์สุด วิธีไหนไม่โดนข้อครหาจากสังคม
แล้วถ้าคุณรู้ว่า ออกไปสู่โลกกว้าง คนที่คุณไม่ได้เลือก 90 คน
จะโดน bias(nature) ของสังคมโดยรวมเลือกผู้ชายไปก่อนล่ะครับ คุณจะเลือกทางไหน
..........
ที่ผมบอกหลายว่า Google มีคนสมัครงานเยอะแยะ ปีนึงใบสมัครล่าสุดน่าจะร่วม 4 ล้าน รับแค่ 4 หมื่น (1%) google แทบจะเหลือแต่ candidate คะแนนเต็ม/เกือบเต็มแล้ว (ถ้าไม่คิดว่าตัวเองมีดีระดับนึง คุณจะยื่นใบสมัครไปขำๆที่ google หรือเปล่า) .. ดังนั้นผมมองว่าประเด็น performance ต่อบริษัทไม่ดี/ไม่ดีต่อบริษัท(ที่คุณกำลังเสนออยู่หลายครั้ง) มันลดลงไปเยอะแล้ว
แต่สิ่งที่ google (ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำของให้คนทั้งโลกใช้ทั้งสองเพศ) จะได้กลับมาจากนโยบายคือ ... แนวทางในการพัฒนาและสร้างสรรค์โปรดักส์ใหม่ จากมุมมองเพศหญิง เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งชายและหญิง (ซึ่งในบริบทการทำงานแบบค่อนข้างประชาธิปไตยในบริษัทปกติ ที่ยังไงจำนวนเพศชายก็เยอะกว่า การโหวต การลงมติใดๆ รวมถึงทิศทางการพูดคุยใดๆในที่ประชุม มันมี gender bias เสมอ = เรื่องเอื้อประโยชน์ต่อผู้หญิง ที่ผู้ชายไม่เห็นด้วย (ผู้ชายจะชนะเสมอ) + หรือเรื่องเอื้อประโยชน์ต่อผู้ชาย ที่ผู้หญิงไม่เห็นด้วย (ผู้ชายก็จะยังชนะเสมอๆ) ... คือผู้หญิงต้องใช้ความพยายามหนักกว่าผู้ชายมากเพื่อ convince เรื่องเหล่านี้)
ถ้ามองแค่ Google ผมยังมองว่า google ก็ยังได้ประโยชน์สูงกว่าอยู่ดี และถ้ามองในสเกลสังคมมันจะนำมาซึ่งการเหยียดไหม ผมว่าการพยายาม balance มันทำให้การพูดเรื่องเหยียดยากขึ้น ... ถึงมันจะเป็นเป็น nature ด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง แต่ในอดีตสีชมพูเคยเป็นสีของผู้ชายมาก่อน สีฟ้าเคยเป็นสีของผู้หญิงมาก่อน เดี๋ยวนี้ยังสลับกันได้ แสดงว่า norm ของสังคมหลายๆอย่างมันเปลี่ยนได้ตามค่านิยม (ซึ่งค่านิยมเก่าคือ ผู้หญิงทำงานไอที จะหางานยาก เติบโตยาก ... เอาจริงๆ cover ไปถึง white collar ด้วยซ้ำ)
ดังนั้นโดยภาพรวม ผมจึงไม่ได้ตัดสินว่าวิธีการของ google เหยียดไม่เหยียด ดีไม่ดี เป็นแค่การโปรโมตหรือเปล่า แต่มันมีหลายมิติเกินกว่าที่เราจะบอกได้ว่าเวิร์คไม่เวิร์คในวันนี้
และถ้ามองหลายมิติขนาดนี้ (และมิติอื่นๆที่ยังไม่ได้มองอีก) ผมยังเชื่อว่ามันไม่ได้มีความจำเป็นที่บริษัทต้องมา public ทุกไอเดียและเหตุผลเบื้องหลังความคิดของการบริหารอ่ะครับ ... แต่ถ้ามีใคร พูดอะไรที่มันพูดแล้วไปขวางแนวทางดำเนินการอยู่ มันก็ไม่แปลกอะไรมั๊งครับ ถ้าคนที่พูดจะต้องสังเวย (แม้การสังเวยมันจะดูแรง แต่มันก็ไม่แปลก)
ตอบคุณ foizy
"คำว่าเกินไปมันคลุมเครืออยู่แล้วครับ แล้วแต่เรื่องแล้วแต่บริบท
ไม่มีใครสามารถเขียนดักไว้ได้ทุกเรื่องหรอกว่าระดับไหน มันจะเกินไป"
ผมเห็นด้วยว่าไม่มีกฎอะไรครอบคลุมทุกปัญหา
ดังนั้นเมือเกิดปัญหาที่กฎที่กำหนดไว้ไม่สามาระอธิบายได้
อย่างชัดเจน เราควรจะมาถกเถึยงกัน โดยเปิดโอกาสให้
ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นไม่ใช่ปิดปากฝ่ายที่คิดต่าง
"ส่วนเรื่องผลดีผลเสีย มันอยู่ที่สเกลการมอง ซึ่งสำหรับตัว
google เอง มันไม่ควรเป็นปัญหาสำหรับเขา"
ผมบอกไปตั้งกี่ครั้งแล้ว Google จะทำอะไรมันก็ไม่ผิดถ้า
ไม่ผิดกฎหมายเหมือนเอาคำพูดมายัดใส่ปากผมว่าผมว่าGoogleผิด
ผมคิดว่ามันไม่ดีต่อGoogleในระยะยาว แต่ Google จะเลือกทำต่อ
ไปมันก็เรื่องของGoogleจะเจ๊งมามันก็เรื่องของคุณถ้าผมคิดผิด
Googleเจริญเพราะจ้างคนที่ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้รับก็ดีใจด้วย
เรื่องการสมัครงานเหมือนคุณไม่เคยรับสมัครงาน
หรืออาจเคยอาจจะต่างจากที่ผมเคยรับคนมา
จากประสบการณ์ผมเองผ่านข้อเขียนมาแล้วที่สำคัญคือสัมภาษณ์
ไม่มีทางที่จะได้ 100 ทุกคนหรอกครับ หลังจากสัมภาษณ์
ได้คุยแต่ 30 นาทีต้องวัดดวงเหมือนกันว่าจะรับใคร
ผมเลือกคนที่ผมคิดว่าเหมาะสมที่สุดแน่นอนว่าผู้หญิงสำหรับ
ผมมีแต้มต่อนิดหน่อยแต่จะให้รอผู้หญิงเท่านั้นน้อง ๆในทีมผมบ่น
แน่ ๆเพราะต้องการคนมาช่วยทำงาน
"ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำของให้คนทั้งโลกใช้ทั้งสองเพศ"
คนทั้งโลกมีสองเพศ? ถ้าคุณไปพูดแบบนี้ใน Google
คุณจะโดนเหมือน James Damore ผมเตือนด้วยความหวังดี
"(ซึ่งในบริบทการทำงานแบบค่อนข้างประชาธิปไตยในบริษัทปกติ
ที่ยังไงจำนวนเพศชายก็เยอะกว่า การโหวต การลงมติใดๆ
รวมถึงทิศทางการพูดคุยใดๆในที่ประชุม มันมี gender bias เสมอ
= เรื่องเอื้อประโยชน์ต่อผู้หญิง ที่ผู้ชายไม่เห็นด้วย (ผู้ชายจะชนะเสมอ)
+ หรือเรื่องเอื้อประโยชน์ต่อผู้ชาย ที่ผู้หญิงไม่เห็นด้วย (ผู้ชายก็จะยังชนะเสมอๆ)"
คุณเชื่อแบบนี้เพราะคุณได้เห็นกับตาตัวเองหรือคุณพอสูจน์แล้ว?
ยกตัวอย่าวการประชุมที่มีความขัดแย้งเรื่องผู้หญิงกับผู้ชายแล้ว
ด้วย gender bias แล้วทำให้ผู้ชายชนะมาหน่อยสิครับ
ผมเองก็ทำงานมานาน ผมกลับมีแต่ประสบการณ์ในทางตรงข้าม
"แต่ในอดีตสีชมพูเคยเป็นสีของผู้ชายมาก่อน"
แล้วทำไมมันเปลี่ยนมาเป็นสึของผู้หญิงหละครับ?
รองเท้าส้นสูงแต่ก่อนเป็นของผู้ชาย
แล้วทำไมมันเปลี่ยนมาเป็นของผู้หญิงหละครับ?
ผมก็พอรู้เรื่องนี้มาบ้างนิดหน่อยถ้าจะเอาประเด็นนี้มาเล่น
อธิบายความคิดคุณมาก่อนเดี๋ยวมันจะวนในอ่างอีกคน
"ดังนั้นโดยภาพรวม ผมจึงไม่ได้ตัดสินว่าวิธีการของ google
เหยียดไม่เหยียด ดีไม่ดี เป็นแค่การโปรโมตหรือเปล่า
แต่มันมีหลายมิติเกินกว่าที่เราจะบอกได้ว่าเวิร์คไม่เวิร์คในวันนี้"
ครับมันเป็นแค่การโปรโมทเหมือนที่ผมพูดในความคิดเห็นก่อน
ผมเห็นว่ามันไม่เวิร์คเพราะไปกันพื้นที่ของคนที่มีความสามารถ
ที่เป็นผู้ชายใว้ให้ผู้หญิง ส่วนคุณยังมองไม่ออกก็แล้วแต่
เปิดกว้าง โดยที่จะไม่ละเมิดคนอื่นครับ
ถ้าแนวคิดมีแนวโน้มที่จะละเมิดคนอื่น(แสดงความคิดเห็นเชิงกีดกัน กดขี่) เป็นปัญหากับองค์กรได้ เขาก็ไม่เก็บเอาไว้หรอก
องค์กรเอกชนไม่ใช่องค์กรสาธารณะ นี่เขาก็เปิดกว้างมากแล้วนั่นแหละนะ
+4K
Hate Speech is not Free Speech.
ไปอ่านเคสของ Chick-fil-A เอาเองครับ เนื้อเรื่องกลับกัน
เจ้าของบริษัทมีทัศนคติ Anti-LGBT พอเกิดเรื่อง CEO ออกมาต่อต้านปุ๊บ เจ้าของไล่ CEO คนนี้ออกไปเลย
ถ้าโดนไล่แล้วไม่พอใจก็ไปฟ้องศาลแรงงานเอาครับ
ถ้าจะฟ้องเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมในสหรัฐฯ ต้องดูว่ารัฐไหนอีก เพราะหลายๆ รัฐมีกฎหมายเชิง Hire At Will และ Fire At Will (pun intended)
ทุกอย่างมีขอบเขตครับ ถ้าก้าวข้ามขอบเขตนั้นไปแล้ว อะไรก็เกิดขึ้นได้
นับถือใน "ความพยายาม" จริงๆ แต่เหมือนว่าคุณพยายามจะมองข้ามประเด็นเรื่องการคุกคามและไม่เป็นมิตรต่อเพื่อนร่วมงานออกไปทุกๆ ครั้งที่คุณตอบ ซึ่งถ้าตามอ่านข่าวเก่าๆ (ที่ไหนก็ได้) จะเห็นว่า James Damore มีพฤติกรรมไปในเชิงคุกคามเพื่อนร่วมงานเพศหญิงทุกคน โดยการส่งจดหมายเวียนเรื่องความหลากหลายทางเพศที่ไม่เป็นไปในเชิงการสนทนา (แถมมันเป็นเรื่องที่พูดไปก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร) หัวหน้าก็สั่งให้เขาหยุดแต่เขาไม่ยอมหยุด จึงทำให้ทาง Google ตัดสินใจไล่เขาออกเพื่อยุติปัญหานี้ครับ
ปล. ผมไม่รู้ว่าแต่ละที่มีนโยบายเรื่องจดหมายเวียนยังไง แต่ที่ที่ทำงานผมทุกคนสามารถส่งจดหมายเวียนได้ แต่ต้องให้หัวหน้าอนุมัติก่อนครับ
"James Damore มีพฤติกรรมไปในเชิงคุกคามเพื่อนร่วมงานเพศหญิงทุกคน"
หัวหน้าก็สั่งให้เขาหยุดแต่เขาไม่ยอมหยุด"
ผมว่าผมคงตกข่าวจริง ๆ ผมตามข่าวนี้มาบ้าง
แต่ไม่เคยรู้เรื่องนี้เลย รบกวนลิงค์ข่าวนี้ให้ผมได้ไหมครับ
ถ้าไม่มีต้นทางที่น่าเชื่อถือมันก็จะเป็นการกล่าวหาลอย ๆเท่านั้น
ซ้ำ
คุณมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก ตราบเท่าที่ไม่ไปรบกวนสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น :v
สิทธิในการแสดงออกไม่ได้แปลว่าละเมิดผู้อื่นได้นี่ครับ เห็นเถียงยาว สุดท้ายทุกอย่างมันต้องมีกรอบสิไม่งั้นจะพูดอะไรก็ได้ไม่ต้องแคร์ผลกระทบเหรอ องค์กรใหญ่ขนาดนี้ก็ไม่แปลกที่จะดำเนินการแบบนี้นะครับ
ทำถูกแล้วแหละ องค์กรก็คือองค์กร ไม่ใช่ที่โต้วาทีเรื่องความถูกต้องทางการเมืองหรือสิทธิโน่นนี่ ลูกจ้างเข้ากับนายจ้าง เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ก็ต้องออกไป กูเกิลก็ยังเป็นกูเกิล เป็น Best company to work for อยู่ http://fortune.com/best-companies/list/
ในเมื่อพนักงานร่อนจดหมายเวียนจนเป็นข่าวออกมานอก บ. ถ้าเกิดนักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจในการทำงานในองค์กรขึ้นมา กลายเป็นว่ามูลค่า บ. ลดลง เป็นผมก็จะไล่ออกนะ
อ่านข้างบนแล้วเหนื๊อยเหนื่อย
ยาวมากครับ 555