Search Engine Optimization
ในยุคดิจิทัลที่ทุกคนเข้าถึงข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต การทำการตลาดบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่หลายธุรกิจให้ความสำคัญ แต่รู้หรือไม่ว่า การทำการตลาดบน Google หรือที่เรียกว่า SEO (Search Engine Optimization) นั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะ SEO คือการทำให้เว็บไซต์ของคุณปรากฏในอันดับต้น ๆ บนเครื่องมือค้นหา เมื่อผู้คนค้นหาสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณก็จะมองเห็นเว็บไซต์คุณแรก ๆ ทำให้มีโอกาสที่ลูกค้าจะเข้ามาเยี่ยมชมและซื้อสินค้าหรือบริการได้นั่นเอง
กูเกิลประกาศนโยบายการจัดอันดับการค้นหาใหม่ ภายใต้แนวทางการจัดการเว็บที่ใช้ความน่าเชื่อถือของตัวเองในทางที่ผิด (site reputation abuse) โดยมักเป็นการขายพื้นที่บนเว็บให้บุคคลภายนอกมาซื้อพื้นที่วางบทความโฆษณาหรือสแปม SEO
การพิจารณาว่าเว็บใดใช้ความน่าเชื่อถือของตัวเองในทางที่ผิดหรือไม่จะพิจารณาหลายอย่าง เช่น เว็บมีข้อตกลงนำบทความภายนอกมาโพสโดยระบุว่าเขียนเอง หรือการครอบครองบริษัทตลอดจนการทำข้อตกลงทางธุรกิจเพื่อนำความน่าเชื่อถือของเว็บมาใช้ โดยรวมเงื่อนไขมีความซับซ้อน และทางกูเกิลได้ชี้แจงไว้ใน Google Search Central
SEO เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับธุรกิจที่อยากจะเริ่มต้นทำการตลาดออนไลน์ เพราะเป็นการสร้างโอกาสให้ธุรกิจของคุณถูกค้นพบโดยลูกค้าเป้าหมายได้อย่างตรงจุด การจ้างบริษัทที่มีการรับทำ SEO จะช่วยให้คุณไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้เทคนิค SEO ที่ซับซ้อน และการใช้บริการ เอเจนซีรับทำ SEO ที่จะเข้ามาวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ในการปรับปรุงเว็บไซต์ของคุณให้ติดอันดับบนหน้าแรกของ Google ได้อย่างรวดเร็วจะเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์กว่า
เพราะเวลาที่ลูกค้าของคุณค้นหาสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณใน Google เว็บไซต์ของคุณก็มีโอกาสที่จะปรากฏอยู่ในอันดับต้น ๆ ทำให้ลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์และตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้ง่ายขึ้น
ในยุคที่การตลาดออนไลน์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก การมีเว็บไซต์และการเรียนทำ SEO จึงเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างธุรกิจให้เติบโตบนโลกออนไลน์ สำหรับใครที่กำลังมองหาสถาบันรับสอนทำ SEO คุณควรพิจารณาจากหลักสูตรที่มีการอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ มีผู้สอนที่มีประสบการณ์จริง และมี Case Study ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง การเลือกเรียน SEO กับสถาบันที่มีชื่อเสียงและมีรีวิวที่ดีจากผู้เรียนจริงจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าจะได้รับความรู้ที่มีคุณภาพและสามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Primal Digital Agency บริษัทรับทำ SEO เพื่อธุรกิจ เปิดตัวเทคนิคการทำ SEO แบบใหม่ ที่เน้นการเพิ่ม Conversion โดยการผสมผสานกลยุทธ์ระดับสูงเข้ากับแนวคิดใหม่ ๆ ในการตลาดดิจิทัล ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดที่ร้อนระอุและดุเดือดบนโลกออนไลน์ ซึ่งการทำงานของ Primal ที่ผ่านมาไม่ได้มีวัตถุประสงค์แค่เพิ่มยอด Traffic นำ Keyword ของแบรนด์ติดหน้าแรก เพิ่มโอกาสการค้นพบเพียงอย่างเดียว แต่ยังมี Keyword ที่เพิ่มโอกาสการขายสินค้าจากการค้นหาอีกด้วย แต่เพียงแค่นี้ อาจจะไม่เพียงพอต่อการทำธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน
Amazon ประกาศปิดเว็บ Alexa.com (ไม่เกี่ยวข้องกับบริการสั่งงานด้วยเสียง Alexa ที่เป็นของ Amazon เหมือนกัน) ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2022
Alexa Internet หรือที่รู้จักกันในชื่อ Alexa.com เป็นเว็บไซต์ที่ใช้จัดอันดับเว็บไซต์ยอดนิยมในอินเทอร์เน็ต และเป็นที่นิยมในการวัดทราฟฟิกของเว็บ คีย์เวิร์ดที่ใช้เข้าถึงสำหรับคนที่อยากทำ SEO
ตัวบริการเปิดมาตั้งแต่ปี 1996 และขายให้ Amazon ในปี 1999 นับถึงปัจจุบันคือเปิดกิจการมาแล้ว 25 ปี ทีม Alexa.com ไม่ได้อธิบายเหตุผลที่ปิดตัวลง บอกแค่ว่าขอบคุณผู้ใช้งานทุกคนตลอด 25 ปีที่ผ่านมา
กูเกิลประกาศการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผลเสิร์ช ผ่านบัญชี Twitter Search Liaison โดยระบุว่าเป้าหมายคือต้องการให้ผลเสิร์ชมีความหลากหลายมากขึ้น จากที่บางคำค้นอาจได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นเนื้อหาจากเว็บไซต์เดียวซ้ำกันเป็นชุด
โดยกูเกิลบอกว่าผลลัพธ์ใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงนี้ จะแสดงผลจากเว็บที่ซ้ำกันไม่เกิน 2 ครั้ง ในส่วนของ top result อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้น หากคำค้นหามีความเจาะจงเป็นพิเศษ ก็อาจให้ผลลัพธ์จากเว็บที่ซ้ำกันมากกว่า 2 ได้
เงื่อนไขเว็บซ้ำนั้นกูเกิลบอกว่าซับโดเมนต่าง ๆ จะถือว่ามาจากโดเมนหลักและเป็นเว็บเดียวกันด้วย แต่อาจมีข้อยกเว้นได้เช่นกัน
เจ้าของเว็บแต่ละเจ้าก็คงจะมีวิธีเพิ่ม SEO ในการดึงดูดผู้เข้าชมแตกต่างกันไป แต่คิดว่าไม่มีวิธีไหนจะ "เหนือ" ไปกว่า IKEA บริษัทเฟอร์นิเจอร์ยักษ์ใหญ่สวีเดน ที่เปลี่ยนชื่อสินค้าบนเว็บ ให้เป็นคำค้นหายอดฮิตบน Google
IKEA ได้เปิดเว็บ IKEARetailTherapy เพื่อแคมเปญการตลาดนี้โดยเฉพาะ โดยสินค้าทั้งหมดล้วนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นคำค้นหาบน Google ซึ่งก็ดูมีความเกี่ยวข้องกันอยู่บ้าง อาทิ โซฟา "Dating three at once", ตุ๊กตาน้องหมา "My dad is allergic to furry animals, เครื่องบดกระเทียม "How to say I'm not interested" และ เตียงคู่ "How to have a happy relationship" และผู้ใช้สนใจและกดซื้อ ก็จะเข้าไปสู่หน้าสินค้า IKEA โดยตรง
ระบบค้นหา Google Search ใช้สัญญาณหลายอย่างมาประมวลผลร่วมกันเพื่อจัดอันดับเว็บ เช่น คำค้น, ความใหม่ของเนื้อหา, พื้นที่ของผู้คนหา, จำนวนลิงก์ (ที่เราเรียกกัน PageRank)
สัญญาณประเภทหนึ่งที่กูเกิลนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2012 คือตัวคัดกรองสแปมผลการค้นหาชื่อ "Penguin" ที่ออกแบบมาจัดการกับพวกเว็บฟาร์มที่สร้างมาปั่นผลการค้นหาโดยเฉพาะ เดิมทีอัลกอริทึม Penguin จะปรับปรุงคะแนนของเว็บเป็นช่วงๆ แล้วค่อยนำคะแนนมาประมวลผลร่วมกับอัลกอริทึมหลัก (เว็บที่เคยถูกมองว่าเป็นสแปม ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะหลุดอันดับใน Penguin)
Google ออกมาเตือนการฝัง widget ลงบนหน้าเว็บ ที่อาจทำผิดกฎ Google Webmaster Guidlines และอาจมีผลต่อ SEO
widget ลักษณะนี้มีลิงก์ไปยังเว็บไซต์ต้นทาง ปัญหาอยู่ที่เจ้าของเว็บไม่สามารถควบคุมลิงก์และข้อความที่ทำลิงก์ (anchor text) ได้ เนื่องจากฝังอยู่ในสคริปต์ของ widget ทำให้ลิงก์เหล่านี้ได้คะแนน PageRank ไปฟรีๆ
กูเกิลจะมองลิงก์เหล่านี้ว่าเป็น unnatural link หรือลิงก์ที่ไม่ได้เกิดเองตามธรรมชาติ และถ้าเข้าข่ายสแปม กูเกิลจะแจ้งเตือนไปยังเจ้าของเว็บไซต์ที่ได้รับลิงก์เหล่านี้ผ่าน Search Console
คำแนะนำของกูเกิลคือให้เอาลิงก์ฝังใน widget เหล่านี้ออก หรือไม่ก็ใส่ rel="nofollow" เพื่อไม่ให้คิดคะแนน PageRank ก็ได้เช่นกัน
กูเกิลประกาศการเปลี่ยนแปลงของระบบค้นหา Google Search บนอุปกรณ์พกพา 2 เรื่อง ดังนี้
กูเกิลประกาศจะเพิ่มน้ำหนักให้ปัจจัยเรื่อง mobile-friendliness หรือความเป็นมิตรต่ออุปกรณ์พกพา ในการจัดลำดับผลการค้นหา โดยจะมีผลในเดือนพฤษภาคม 2016 เป็นต้นไป
เจ้าของเว็บไซต์ท่านใดที่อยากรู้ว่าเว็บของตัวเอง มีค่า mobile-friendliness มากน้อยแค่ไหน เช็คคะแนนได้ที่ Mobile-Friendly Test และอ่านคำแนะนำเรื่องการทำเว็บให้เหมาะกับอุปกรณ์พกพาที่ Mobile Friendly Websites
คนทำ SEO รุ่นก่อนคงคุ้นเคยกับการดูค่า PageRank ใน Google Toolbar กันเป็นอย่างดี แต่ช่วงหลังเมื่อกูเกิลปรับนโยบาย พยายามซ่อนไม่ให้เห็นค่า PageRank เป็นตัวเลข วิธีการเหล่านี้ก็ถูกลดความสำคัญลงเรื่อยมา (กูเกิลถอด PageRank ออกจาก Toolbar ของตัวเองมานานแล้ว แต่ยังมีเครื่องมือจาก 3rd party ที่ใช้ดูข้อมูลได้อยู่)
ล่าสุด กูเกิลยืนยันกับเว็บไซต์ Search Engine Land ว่าถอดฟีเจอร์ Toolbar PageRank อย่างเป็นทางการแล้ว ในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ตัวเลข PageRank เหล่านี้จะไม่ถูกแสดงผลอีกต่อไป
ข่าว กูเกิลเลิกแสดงโฆษณา AdWords ด้านขวามือในหน้าผลการค้นหา เพิ่มตำแหน่งโฆษณาด้านบน สร้างผลกระทบต่อวงการ SEO และ online marketing อยู่พอสมควร ซึ่ง Blognone เคยลงบทวิเคราะห์จากบริษัท iProspect มาแล้วครั้งหนึ่ง คราวนี้เป็นบทวิเคราะห์อีกชิ้นที่เขียนโดย Matt Lawson พนักงานของกูเกิลเอง
Lawson วิเคราะห์คล้ายๆ กันว่าสล็อตโฆษณาในหนึ่งหน้าลดจาก 11 สล็อตเหลือ 7 สล็อต โฆษณาที่ถูกแสดงผลจึงมีโอกาสตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
Richard Gingras หัวหน้าทีม Accelerated Mobile Pages (AMP) ของกูเกิล ให้สัมภาษณ์กับ Re/code เกี่ยวกับที่มาที่ไปและแผนการในอนาคตของ AMP
Gingras บอกว่า "เว็บ" ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์พกพาตั้งแต่แรก ทุกอย่างจึงช้าไปหมด และประสบการณ์การใช้งานที่แย่ทำให้คนอาจนิยมใช้เว็บน้อยลง ทางออกของกูเกิลจึงเป็น AMP ที่เร็วกว่าเว็บ 4 เท่า และใช้ปริมาณข้อมูลน้อยกว่า 10 เท่า
AMP ยังเปิดกว้างกว่า Instant Articles ของ Facebook เพราะเปิดให้บริษัทอื่น (เช่น Twitter, LinkedIn) ร่วมใช้งานได้ด้วย, ไม่ต้องโฮสต์อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล เหมือนกับกรณีของ Facebook หรือ Apple News และเปิดกว้างต่อระบบโฆษณาหลายค่าย ไม่จำกัดเฉพาะกูเกิล (แถมกูเกิลไม่หักส่วนแบ่งค่าโฆษณาด้วย)
สัปดาห์ที่ผ่านมา เราเห็นข่าว กูเกิลเลิกแสดงโฆษณา AdWords ด้านขวามือในหน้าผลการค้นหา เพิ่มตำแหน่งโฆษณาด้านบน
ตำแหน่งโฆษณา AdWords ที่เพิ่มเข้ามาเป็น 4 ช่อง และการตัดสล็อตด้านขวามือออก ส่งผลกระทบต่อทั้งวงการ SEO (ทำเว็บให้ติดอันดับแบบไม่จ่ายเงิน) และการโฆษณาออนไลน์ (จ่ายเงินเพื่อแสดงผลการค้นหา) เป็นอย่างมาก
เรื่องนี้ Alistair Dent จากบริษัท iProspect เขียนวิเคราะห์ลง Search Engine Land ผมคิดว่าน่าสนใจดีเลยนำมาสรุปอีกต่อหนึ่งครับ
กูเกิลประกาศสนับสนุนให้เว็บรองรับการใช้งานแบบเข้ารหัสด้วยการพิจารณาว่าเว็บใดรองรับ HTTPS เป็นหนึ่งในคะแนนการจัดอันดับเว็บในผลค้นหา
ช่วงแรกคะแนนจาก HTTPS จะมีผลน้อยมาก กูเกิลระบุว่าจะกระทบต่ออันดับเว็บเพียง 1% ทั้งโลกเท่านั้น แต่อาจจะพิจารณาเพิ่มน้ำหนักคะแนนต่อไปในอนาคต
พร้อมๆ กับการเพิ่มอันดับในผลค้นหา กูเกิลจะเผยแพร่ข้อมูลการทำเว็บให้ปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส HTTPS เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ที่มา - Google Online Security
Matt Cutts มือปราบสแปมในผลการค้นหาของกูเกิล ไปพูดที่งาน SXSW โดยเปิดเผยข้อมูลว่า กูเกิลจะเริ่มใช้มาตรการจัดการกับเว็บไซต์ที่ทำ SEO มากเกินไปภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อให้การแข่งขันในผลการค้นหายุติธรรมมากขึ้น และเปิดโอกาสให้เว็บที่มีเนื้อหาดีๆ ติดอันดับมากขึ้น
เขาบอกว่ากูเกิลกำลังพัฒนา GoogleBot ให้ฉลาดกว่าเดิม และตรวจสอบได้ว่าใครพยายามโกงผลการค้นหา เช่น การใส่คีย์เวิร์ดมากเกินไปในเพจ หรือ การแลกลิงก์ที่มากกว่าค่าปกติที่ควรจะเป็น
ที่มา - Search Engine Land
ข่าวนี้เป็นภาคต่อของ eHow โดนกูเกิลลดอันดับในหน้าผลการค้นหาแล้ว บริษัทวิจัยตลาด Experian Hitwise ได้วัดสถิติทราฟฟิกผู้เข้าชมเว็บไซต์ในเครือ Demand Media หลังโดนกูเกิลลดอันดับ ได้ผลดังนี้
ข่าวนี้เป็นภาคต่อครับ ต้องอ่านย้อนก่อน 3 ตอน กูเกิลประกาศสงครามกับ content farm, กูเกิลปรับอัลกอริทึมใหม่ ลดอันดับ content farm, กูเกิลเอื้อประโยชน์ให้ Demand Media เป็นพิเศษ?
ถึงแม้เว็บไซต์ eHow.com ในเครือ Demand Media ซึ่งถือเป็น content farm รายใหญ่สามารถเอาตัวรอดมาจากการปรับอัลกอริทึมของกูเกิลรอบก่อนได้จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ แต่ชัยชนะก็อยู่กับ eHow ได้ไม่นานอย่างที่คิด เพราะการปรับอัลกอริทึมของกูเกิลรอบล่าสุดที่เรียกกันว่า "Panda" อันดับของ eHow ตกฮวบทีเดียว
จากข่าวเก่าที่กูเกิลออก Chrome Extension เพื่อบล็อคเว็บขยะ วันนี้กูเกิลรวมความสามารถนี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการค้นหาแล้ว โดยกูเกิลจะเปิดความสามารถนี้ให้แก่ผู้ใช้ที่ลงทะเบียนเท่านั้น เพื่อไม่ให้รบกวนผลการค้นหาของคนอื่น ในช่วงแรกนี้จะเปิดให้กับผุ้ใช้ google.com ภาษาอังกฤษเท่านั้น และจะทยอยเปิดให้ผู้ใช้โดเมนอื่นและภาษาอื่นในภายหลัง
กูเกิลบอกว่าการบล็อคจะไม่มีผลต่อการจัดลำดับผลการค้นหา แต่ทางกูเกิลจะดูเนื้อหาของเว็บที่ถูกบล็อคเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับอัลกอริทึมต่อไป
ที่มา Official Google Blog
ต่อจาก กูเกิลปรับอัลกอริทึมใหม่ ลดอันดับ content farm ทางเว็บไซต์ Wired.com มีโอกาสคุยกับวิศวกรด้านการค้นหาของกูเกิลสองคนคือ Amit Singhal และ Matt Cutts ทำให้เราได้ข้อมูลเบื้องลึกของการปรับอัลกอริทึมครั้งนี้
Amit Singhal อธิบายว่าการปรับระบบดัชนีเว็บตัวใหม่ Caffeine เมื่อกลางปี 2010 ทำให้กูเกิลทำดัชนีเว็บได้เร็วและเยอะขึ้นมาก และได้เว็บพวก content farm ที่เนื้อหาคุณภาพต่ำเยอะตามมาด้วย
Overstock.com นับเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่รายล่าสุดที่โดนกูเกิลลงโทษ จากการทำ SEO ด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสม หลังจากก่อนหน้านี้ กูเกิลได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงคุณภาพผลการค้นหาด้วยการประกาศสงครามกับ content farm การปรับอัลกอริทึมเพื่อต่อต้านการสแปม และเพิ่งดำเนินการลงโทษเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่อย่าง Forbes.com และ JCPenney ซึ่งในครั้งนี้กูเกิลก็ดำเนินการกับเว็บไซต์ที่กระทำความผิดอย่างจริงจังอีกครั้ง โดยไม่สนว่าจะเป็นผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่เพียงใด
ข่าวนี้เก่าไปสัปดาห์นึงนะครับ เผอิญผมตั้งท่าจะเขียนเมื่ออาทิตย์ก่อนแต่ปรากฎว่ามันยาวกว่าที่คิด เลยต้องรวบรวมข้อมูล+เวลาสักหน่อย
ถ้าติดตามข่าวที่เกี่ยวข้องกับ search engine ในช่วงหลัง อาจสังเกตเห็นว่ากูเกิลเริ่มตอบโต้ SEO และ content farm มากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากปล่อยปละละเลยจนทำให้คุณภาพของการค้นหาตกลง
มาตรการต่อกรกับ SEO แบบผิดกฎของกูเกิลเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เพราะล่าสุดกูเกิลได้ลงโทษเว็บไซต์ Forbes.com ของนิตยสารชื่อดัง Forbes ข้อหาขายลิงก์บนหน้าเว็บเพื่อเพิ่ม PageRank ให้กับเว็บไซต์อื่นที่มาซื้อลิงก์
กูเกิลได้ส่งอีเมลแจ้งเว็บมาสเตอร์ของ Forbes.com ว่าละเมิดกฎของกูเกิลเรื่องลิงก์ปลอมหรือลิงก์ที่ไม่ปกติบนหน้าเว็บของตัวเอง ซึ่งเข้าข่ายจงใจปั๊ม PageRank ให้กับเว็บไซต์อื่น