เดิมหากกระจกหน้าจอของ iPhone และ Apple Watch เป็นรอย โดยไม่พบร่องรอยการกระแทก (single hairline cracks) Apple จะรับซ่อมให้ฟรีโดยอยู่ในประกัน
แต่ล่าสุดมีรายงานว่า Apple ส่งข้อมูลเอกสารการรับประกันชุดใหม่ให้กับผู้ให้บริการพาร์ทเนอร์ ว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่อยู่ในประกันแล้ว และจะถือว่าเป็นอุบัติเหตุทั้งหมด หากจะซ่อม ต้องเสียค่าบริการเพิ่ม
ทั้งนี้ยังพอมีข่าวดีอยู่บ้างคือหากปัญหาดังกล่าวพบบน iPad และ Macbook ประกันจะยังครอบคลุมให้เหมือนเดิม
ช่วงก่อนหน้านี้ไม่นาน วงการฮาร์ดแวร์พีซีพบปัญหาซีพียู AMD Ryzen 7000 ร้อนจนไหม้กันไปหลายเครื่อง หลังสอบสวนหาสาเหตุกันไปมาพบว่าศักย์ไฟฟ้าของซีพียูตอนโหลดสูงๆ พุ่งไปถึง 1.4V ทำให้เกิดปัญหาความร้อนจนไหม้ ทำให้ AMD ต้องออกแพตช์ควบคุมปริมาณศักย์ไฟฟ้าของชิปไม่ให้เกิน 1.3V และทยอยอัพเดตผ่านเฟิร์มแวร์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดยี่ห้อต่างๆ ซึ่งดูเหมือนเคลียร์กันจบแล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหากลับซับซ้อนขึ้นไปอีก เพราะมีคนพบว่า ASUS ออกเฟิร์มแวร์ BIOS รุ่นใหม่ที่ยังมีสถานะเป็น Beta กลับไม่ทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็น ไม่จำกัดศักย์ไฟฟ้าชิปที่ 1.3V และเมื่อซีพียูโหลดสูงๆ วัดค่าศักย์ไฟฟ้าได้ 1.34V แถมการใช้เฟิร์มแวร์ Beta ยังมีผลต่อการรับประกันสินค้าด้วย
แอปเปิลได้ปรับลดราคาแผนรับประกันเพิ่มเติม AppleCare+ สำหรับ MacBook Air และ MacBook Pro 13 นิ้ว ที่ใช้ชิป M1 โดยเงื่อนไขต่าง ๆ เหมือนเดิม
ผู้ที่ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายคนมักจะคุ้นเคยกับสติ๊กเกอร์ Warranty Void If Removed ที่เมื่อแกะแล้วผู้รับประกันมีสิทธิปฏิเสธการรับประกันได้ ล่าสุด FTC หรือคณะกรรมการการค้าแห่งสหพันธรัฐออกมากล่าวชัดเจนแล้วว่า บริษัทที่มีกฎการรับประกันดังกล่าวถือว่าผิดกฎหมาย และสั่งบริษัท Nintendo, HTC, Microsoft, Asus และ Hyundai ที่ยังมีกฎดังกล่าวเขียนไว้อยู่ให้ยกเลิกกฎเหล่านี้ทันที
FTC กล่าวว่าบริษัททั้งหมดนี้ผิดกฎ 1975 Magnuson-Moss Warranty Act ซึ่งระบุว่าสำหรับสินค้าในราคามากกว่า 5 ดอลลาร์ ห้ามผู้ผลิตสร้างข้อจำกัดในการซ่อมสินค้าที่มีประกัน จึงทำให้ FTC ส่งจดหมายเตือนไปทุกบริษัท พร้อมแนบคำที่ระบุไว้ในเงื่อนไขการรับประกันที่ผิดกฎหมาย
ถ้าจำกันได้ เมื่อปี 2013 โซนี่เปิดตัว Xperia ZR เป็นครั้งแรก และโฆษณาว่าสามารถถ่ายรูปใต้น้ำได้ และแนวคิดแบบนี้ก็ถูกโฆษณามากับ Xperia ทุกรุ่นที่กันน้ำได้ไปจนถึง Z3+ และ Z4 เมื่อต้นปี แต่ล่าสุดใน Xperia Z5 โซนี่ได้ปรับเงื่อนไขในเรื่องนี้ใหม่เรียบร้อยแล้ว
ถ้าจำกันได้ เดิมที HTC มีบริการ HTC Advantage ที่รับประกันว่าลูกค้าที่ซื้อโทรศัพท์มือถือของ HTC จะได้รับบริการเสริมที่ยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริการเปลี่ยนหน้าจอให้ฟรีถ้ามันแตก (เฉพาะในสหรัฐฯ) และการดูแลหลังการขายต่างๆ แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้ HTC คิดใหม่ทำใหม่ด้วยบริการ Uh-Oh (โอ๊ะ... โอ่....) ที่ขยายความคุ้มครองให้มากกว่าเดิมด้วย
เมื่อวาเลนไทน์ที่ผ่านมา HTC เพิ่งแอบใบ้บริการใหม่ของตัวเองด้วยภาพของมือถือจอแตกสองเครื่องวางกันเป็นรูปหัวใจ จนคนเดากันว่าเร็วๆ นี้น่าจะเปิดตัวบริการซ่อมหน้าจอให้ฟรี และก็มาตามคาดในชื่อ HTC Adventage
HTC Advantage คือบริการใหม่เอี่ยมจาก HTC ที่จะขยายการครอบคลุมของประกันของเดิม ให้สามารถเปลี่ยนหน้าจอได้ฟรีภายใน 6 เดือนแรกหลังจากซื้อเครื่องไป แถมยังได้พื้นที่บน Dropbox เพิ่มอีก 25GB-50GB เป็นของแถมอีกด้วย
บริการนี้จะถูกพ่วงมากับสมาร์ทโฟนซีรีย์ One ทั้ง HTC One, One max และ One mini ที่ซื้อเครื่องไปตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป รวมถึงจะได้การันตีอัพเดตในช่วงสองปีตามข่าวที่ออกมาก่อนหน้าด้วย
เว็บ AppleInsider ได้รับจดหมายที่แอปเปิลได้ส่งถึงศูนย์ซ่อมสินค้าที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องโดยแอปเปิล (Apple Authorized Service Providers หรือ AASP) จากประเทศบราซิล ว่าให้เตรียมพร้อมที่จะเริ่มซ่อมสินค้าตระกูล iOS แทนการเปลี่ยนเครื่องใหม่แล้ว
สำหรับ iPad ให้ศูนย์ซ่อมเตรียมตัวเปลี่ยนกระจกด้านหน้าของตัวเครื่องได้เองแล้ว โดยรายละเอียดจะถูกส่งให้อีกทีภายในสัปดาห์หน้า สำหรับไอโฟน ให้เตรียมตัวซ่อมแทนการเปลี่ยนเครื่องใหม่ โดยแผนและรายละเอียดจะตามมาในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้
เว็บ AppleInsider รายงานว่าแอปเปิลได้จัดการประชุมที่ Town Hall ภายในบริษัท แล้วได้มีการพูดถึงบริการ AppleCare หรือรับประกันสินค้าปัจจุบันว่าต่อไปนี้ แอปเปิลจะเริ่มเปลี่ยนวิธีการให้บริการลูกค้า ด้วยการซ่อมสินค้า iOS ที่มีปัญหา แทนการเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้กับลูกค้าโดยสิ้นเชิงแล้ว และคาดว่าแอปเปิลจะสามารถประหยัดเงินได้เกือบสามหมื่นล้านบาทจากการเปลี่ยนนโยบายใหม่ครั้งนี้
กฎหมายของประเทศออสเตรเลียบังคับให้ผู้ขายสินค้าต้องรับประกันคุณภาพของสินค้า "ในระยะเวลาที่เหมาะสมตั้งแต่วันจำหน่ายสินค้า" โดย "เวลาที่เหมาะสม" นี้สำหรับคอมพิวเตอร์คือสองปี โดยแอปเปิลในออสเตรเลียเช่นเดียวกับหลาย ๆ ที่ในโลก (ยกเว้นสหภาพยุโรป) แถมประกันสินค้าให้หนึ่งปี และผู้ใช้สามารถซื้อประกัน AppleCare ต่อเพิ่มได้อีกสองปี รวมทั้งหมดเป็นสามปี
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้แอปเปิลได้ส่งข้อมูลให้กับพนักงานร้านของตัวเอง และตัวแทนจำหน่ายแล้วว่าแอปเปิลจะแถมประกันสินค้าของตัวเอง จากเดิม 12 เดือนไปเป็น 24 เดือน ตรงกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของออสเตรเลีย
ผู้ใช้ไอโฟนอายุ 13 ปีชาวเกาหลีเตรียมที่จะขึ้นศาลกับ Apple Korea ในเดือนหน้ากรณีที่แอปเปิลไม่ยอมซ่อม iPhone 3G ของเธอ โดยก่อนหน้านี้พ่อของเธอได้ออกมาขอให้แอปเปิลจ่ายเงินเป็นจำนวน 251 ดอลลาร์สหรัฐเป็นค่าชดเชย หลังจากที่แอปเปิลได้ปฏิเสธที่จะรับซ่อม iPhone 3G ของลูกสาวของเขา แม้ว่าจะอยู่ในช่วงรับประกัน 1 ปีก็ตาม
สาเหตุจากการปฏิเสธที่จะรับซ่อมที่แอปเปิลได้อ้างไว้คือตัวมือถือได้รับความเสียหาย จากการโดนน้ำ โดยตัวเซ็นเซอร์ตรวจเช็คว่าตัวเครื่องโดนน้ำได้เปลี่ยนเป็นสีแดง แต่ทางครอบครัวของผู้เสียหายได้ทำการปฏิเสธ โดยหลังจากนี้ทีมกฎหมายของแอปเปิลได้ทำการติดต่อครอบครัวนี้ในภายหลังเพื่อที่จะพยายามปกปิดเรื่องดังกล่าว
มีเรื่องราวแปลกๆ เกิดขึ้น เมื่อมีลูกค้าแอปเปิล 2 รายที่ซื้อเครื่องแมคพร้อมกับประกัน AppleCare แต่ถูกปฏิเสธการรับประกัน เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกปนเปื้อนด้วย "ควันบุหรี่"
ลูกค้าทั้งสองรายต่างอยู่กันคนละพื้นที่ และไม่ได้ใช้บริการจากศูนย์แอปเปิลที่เดียวกัน แต่ได้รับการปฏิเสธจากทางแอปเปิลที่จะบริการซ่อมเครื่องให้ในกรณีใดๆ แม้ว่าจะจ่ายเงินก็ตาม โดยทางแอปเปิลได้อ้างว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ส่งซ่อมมีการปนเปื้อนของน้ำมันทาร์ที่มาจากบุหรี่ ซึ่งอยู่ในรายชื่อสารอันตรายของ OSHA (Occupational Safety and Health Administration) ดังนั้นแอปเปิลจึงไม่สามารถให้พนักงานของตนทำงานกับสารอันตรายเหล่านี้ได้