บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่องการทำธุรกรรมได้รับสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Right) ในการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก และเอฟเอคัพของอังกฤษ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตทีวี และดิจิทัลทีวี รวมทั้งชุดวิดีโอสั้น จำนวน 3 ฤดูกาล เริ่มตั้งแต่ต้นฤดูกาลฟุตบอลพรีเมียร์ลีก 2025/26 ในประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา
มูลค่าของธุรกรรมรวม 559.98 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท โดยเบื้องต้นธุรกรรมที่ได้รับสิทธิมีระยะเวลา 3 ฤดูกาล หรือบริษัทอาจได้ข้อตกลง 6 ฤดูกาล ถ้าได้รับแจ้งจาก FAPL อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 1 ธันวาคม 2567 ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ที่เป็นบริษัทในเครือ ได้ซื้อหุ้นบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTTBB ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 3BB ส่วน AIS บริษัทแม่ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน หรือ JASIF ตามข้อตกลง เสร็จสมบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566
AIS รายงานความคืบหน้าในการซื้อธุรกิจบรอดแบนด์ 3BB ที่ดำเนินการโดยบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) (TTTBB) จากกลุ่มบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) ผ่าน ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ JAS อนุมัติดีลนี้ไปแล้วเมื่อเดือนกันยายน
หลัง AIS ประกาศการเข้าซื้อกิจการ 3BB เมื่อเดือนกรกฎาคม ล่าสุดกลุ่มบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าผู้ถือหุ้นมีมติเห็นด้วย 97% ที่จะขาย 3BB และหุ้น JASIF ส่วนหนึ่งให้กับ AIS (ซื้อธุรกิจจากบรอดแบรนด์จาก บริษัท อคิวเมนท์ จำกัด (ACU) บริษัทลูก JAS และโครงสร้างพื้นฐานไฟเบอร์จาก JASIF)
ผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมลงมติเห็นด้วยเป็นสัดส่วน 97.2% และไม่เห็นด้วย 2.79% ซึ่งหลังจากนี้ต้องรอดูท่าทีของ กสทช. ต่อไป และหากผ่าน จะทำให้ AIS กลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านที่ส่วนแบ่งราว 41% ส่วน True อยู่ที่ราว 35.6%
AIS ประกาศซื้อธุรกิจบรอดแบนด์ 3BB จากกลุ่มบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) ในราคารวม 19,500 ล้านบาท และซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตจัสมิน (JASIF) สัดส่วน 19% คิดเป็นมูลค่า 12,920 ล้านบาท รวมธุรกรรมทั้งสองส่วน 32,420 ล้านบาท
ตัวธุรกิจบรอดแบนด์ 3BB ดำเนินการโดยบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) (TTTBB) ซึ่ง AIS เข้าซื้อหุ้นเกือบทั้งหมด 99.87% จากเจ้าของเดิมคือบริษัท อคิวเมนท์ จำกัด (ACU) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ JAS
หลังก่อนหน้านี้มีกระแสในโลกโซเชียลว่าบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS กำลังเตรียมขายกิจการ 3BB ให้กับบริษัท AIS จนอาจเกิดผลกระทบต่อราคาหุ้นได้ ล่าสุด JAS ทำจดหมายชี้แจงกับตลาดหุ้นแล้ว โดยระบุว่าบริษัทไม่ได้ดำเนินการหรือมีพัฒนาการใดๆ ในเรื่องการขายธุรกิจบรอดแบนด์ของ 3BB รวมทั้งไม่ได้รับการติดต่อจาก AIS
ปัจจุบัน 3BB คือผู้เล่นอันดับสองในตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในไตรมาส 3 ของปี 2021 มีผู้ใช้ทั้งหมด 3.6 ล้านราย จากทั้งตลาดราว 10 ล้านราย ส่วน AIS สิ้นไตรมาส 3 ปี 2021 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ AIS Fibre ราว 1.6 ล้านราย เป็นอันดับสามของตลาด
DataBreaches.net รายงานข่าวการแฮกข้อมูลบริษัท Jasmine International บริษัทแม่ของ 3BB และ Mono Group ของกลุ่มแฮกเกอร์ Altdos พร้อมหลักฐานข้อมูลที่เจาะมาได้ ทั้งข้อมูลด้านการเงินของบริษัท, ฐานข้อมูล HR, ไปจนถึงข้อมูลลูกค้าของ 3BB และช่องทีวี Mono รวมทั้งหมดกว่า 8 ล้านรายการ
อย่างไรก็ตามทาง Mono Group แถลงกับ DataBreaches ว่าบริษัทมีการวางมาตรการป้องกันเอาไว้แล้ว ทั้งเซิร์ฟเวอร์ในศูนย์ข้อมูลบริษัทและบนคลาวด์ ขณะที่ข้อมูลที่หลุดออกไปนั้นไม่มีข้อมูลด้านการเงิน บัตรเครดิตหรือภาพบัตรประชาชน ส่วนข้อมูลด้านการเงิน Mono Group ระบุว่าเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะอยู่แล้ว
ข้อมูลทางการเงินที่ Altdos อ้างว่าดึงออกไปได้ ได้แก่ ราคาค่าโฆษณาย้อนหลังไปจนถึงปี 2014, รายการโอนเงิน, ยอดเงินคงเหลือในบัญชีแต่ละวันย้อนหลัง 6 ปี
3BB ประกาศแพ็กเกจใหม่ FTTx 200/50 Mbps ราคา 1,200 บาทต่อเดือน นับเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับบ้านเรือนที่ให้ความเร็วอัพโหลดมากที่สุดในตอนนี้
แพ็กเกจระดับใกล้เคียงกันใช้ AIS Fibre 100/10Mbps ราคา 1,888 บาท (1,699 บาทสำหรับลูกค้า AIS) ส่วนทางฝั่งทรูนั้นความเร็วสูงสุดจำกัดอยู่ที่ 50/20Mbps ราคา 899 บาทต่อเดือน TOT มี 55/25Mbps ราคา 2,490 บาทต่อเดือน แม้บริการอื่นๆ จะต่างไปบ้างโดยมักมีบริการทีวีเพิ่มเข้ามา แต่หากนับความเร็วอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว งานนี้ 3BB ก็ได้เปรียบค่อนข้างมาก
ที่มา - 3BB
บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ JAS ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ในเช้าวันนี้ว่า นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริษัท ได้ทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ JAS ภายในวงเงิน 42,500 ล้านบาท ที่ราคาหุ้นละ 7.25 บาท
ปัจจุบันคุณพิชญ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ของ JAS มีหุ้นอยู่ 1,844 ล้านหุ้น คิดเป็น 25.84% โดยในดีลนี้นอกจากซื้อหุ้นสามัญแล้ว ยังรวมถึงการเสนอซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิ JAS-W3 ด้วย
ในเอกสารชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้ระบุว่าหากการขอซื้อหุ้นคืนสำเร็จเสร็จสิ้น JAS จะทำอย่างไรต่อไป ขณะที่นักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน มองว่า JAS ไม่น่าถอดบริษัทฯ ออกจากตลาดฯ และอาจมีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นในอนาคต
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์ฯ และบทวิเคราะห์ของโนมูระ พัฒนสิน
วันนี้ JAS บริษัทแม่ของ แจส โมบาย บรอดแบนด์ (JASMBB) ได้มีหนังสือแจ้งต่อผู้ถือหุ้นและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าได้รับหนังสือแจ้งตัวเลขค่าปรับจากการไม่ชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ที่ประมูลมาได้ จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แล้ว มียอดปรับเป็นจำนวนเงิน 199,423,991.16 บาท โดยระบุว่าเป็น "ชำระค่าใช้จ่ายในการประมูลใหม่และอื่นๆ" และต้องชำระภายใน 15 วัน (ผิดไปจากตัวเลขที่เคยเป็นข่าวลือไปพอสมควร)
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รายงานข่าวที่ยังไม่ได้รับการประกาศหรือยืนยันอย่างเป็นทางการว่า คณะทำงานพิจารณาความรับผิดชอบกรณี JAS Mobile ไม่มาชำระเงินค่าประมูล ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะมีการประชุมกันในวันนี้ โดยจะสรุปหลักฐานและเรื่องทั้งหมด ส่งให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ของสำนักงาน กสทช. เพื่อพิจารณา โดยระบุว่าอาจปรับเพิ่มนอกเหนือจากการริบเงินค้ำประกันการประมูลเป็นจำนวนไม่เกิน 130-150 ล้านบาท
แม้ว่า JAS จะตัดสินใจทิ้งคลื่น 4G ไปแล้ว แต่ผลจากการตัดสินใจดังกล่าวยังไม่น่าจะจบลงง่ายๆ เมื่อล่าสุด เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รายงานว่าคณะทำงานพิจารณาความรับผิดชอบกรณี JAS Mobile ไม่มาชำระเงินค่าประมูล ของ กสทช. ที่มีอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นประธาน เตรียมเรียกผู้บริหารของธนาคารกรุงเทพเข้าพบเพื่อชี้แจง หลังจากที่ทาง JAS โดยนายพิชญ์ โพธารามิก ระบุว่าได้มีการหารือกับ นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ เกี่ยวกับการไม่ยอมออกหนังสือค้ำประกันจากทางธนาคาร จนเป็นเหตุให้ JAS ไม่สามารถนำเงินมาชำระได้ทันเส้นตายของ กสทช.
หลังจากเงียบหายไปนาน เมื่อวานนี้ นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ JAS ไปชี้แจงกับ กสทช. ในกรณีไม่เข้ามาจ่ายเงินค่าประมูลคลื่น 900MHz
นายพิชญ์ ยืนยันว่าจริงจังกับการประมูลและต้องการเป็นโอเปอเรเตอร์รายที่ 4 แน่นอน ถึงแม้ไม่ได้เข้าประมูลเอง แต่วางกรอบตัวเลขให้ทีมงานที่เข้าห้องประมูลไว้ 80,000 ล้านบาท
หลังจากที่เมื่อวานนี้ JAS Mobile Broadband (JASMBB) บริษัทลูกของ Jasmine International (JAS) ยอมทิ้งใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ที่ประมูลมาได้ด้วยการไม่ชำระเงิน มาวันนี้จึงเริ่มมีผลกระทบเกิดขึ้นมาบ้างแล้ว โดยเมื่อเช้านี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกาศพักการซื้อขายหุ้น JAS ที่เป็นบริษัทแม่ของ JAS Mobile (ขึ้นเครื่องหมาย H หรือ Halt) ตั้งแต่การซื้อขายของวันนี้ในรอบเช้า จนกว่าจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนว่าทำไมถึงไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของการประมูล ความเสียหาย รวมถึงผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของ JAS ในฐานะบริษัทแม่ เพราะ JASMBB มีเงินกู้ยืมจาก JAS กว่า 302 ล้านบาทนอกเหนือไปจากทุนจดทะเบียนที่ 350 ล้านบาท
มาถึงตอนนี้ เลยเส้นตายการจ่ายค่าประมูลคลื่น 900MHz ที่บริษัท JAS ในเครือ Jasmine ชนะการประมูลเมื่อปลายปี 2558 ไปเรียบร้อยแล้ว นั่นแปลว่า JAS ยอมทิ้งคลื่นที่ประมูลได้มาในราคาแพงระดับโลก
JAS ยังไม่แถลงข้อมูลหรือเหตุผลที่ไม่จ่ายค่าคลื่น (รอคำอธิบายจาก JAS กันต่อไป) คำถามที่หลายคนสงสัยคือ ต่อจากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่ง Blognone มีบทวิเคราะห์ดังนี้
เมื่อวานนี้ บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ JAS แจ้งผู้ถือหุ้นและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอซื้อหุ้นคืนจำนวน 1,426 ล้านหุ้น (ราว 20% ของหุ้นทั้งหมด) ด้วยมูลค่าหุ้นละ 5 บาท คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 6,000 ล้านบาท
กระบวนการต่อไปคือ JAS จะเรียกประชุมสามัญประจำปี แล้วขออนุมัติแผนการซื้อหุ้นคืนต่อไป
การเสนอซื้อหุ้นคืนครั้งนี้เป็นการเสนอทั่วไป (tender offer ใครที่มีหุ้น JAS ก็สามารถขายคืนบริษัทได้หมด) ซึ่งหลายคนมองว่านี่คือสัญญาณว่า JAS ถอดใจกับการหาเงินไปจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่น 900MHz แล้ว และนำเงินสดที่มีอยู่ในมือไปซื้อหุ้นคืนแทน
หนังสือพิมพ์ Bangkok Post รายงานว่าทั้ง แจสโมบาย และทรูมูฟ เอช ผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz อาจไม่สามารถชำระเงินค่าใบอนุญาตงวดแรกได้ภายในเดือนนี้ จากที่ก่อนหน้านี้ประธาน กทค. ออกมาให้ข่าวว่าทั้งสองบริษัทจะมาชำระเงินภายในสัปดาห์นี้
การประมูลคลื่น 900 MHz ได้รับการรับรองผลประมูลอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ล่าสุดมีรายงานจาก พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และ ประธาน กทค. ที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กสทช. ว่า แจสโมบาย-ทรูมูฟ เอช จะเข้ามาจ่ายค่าใบอนุญาตพร้อมวางแบงค์การันตีภายในอาทิตย์นี้ ซึ่งเมื่อการดำเนินการเรียบร้อย คณะกรรมการ กทค. ก็จะจัดการประชุมเพื่อออกใบอนุญาตภายในสัปดาห์หน้า
หลังจากจบประมูล 4G ในเดือนธันวาคมนี้ไปหมาดๆ JAS ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ชนะการประมูล 4G ในย่านคลื่นความถี่ 900MHz ได้เปิดรับสมัครผู้สนใจและบุคคลทั่วไป เพื่อให้เช่าพื้นที่ในการติดตั้งเสาสัญญาณ 4G ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป โดยได้ทำหน้า Banner บนเว็บไซต์ 3BB Internet เพื่อโปรโมทผู้ที่สนใจดังกล่าวข้างต้น โดยผู้สนใจสามารถกรอกข้อมูลผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ หรือพิมพ์แบบฟอร์มออกมาเขียนเองได้ตามปกติ
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถไปลงทะเบียนได้ตามลิงก์ที่มาของข่าวนี้เลยครับ
ช่วงเช้าวันนี้ ค่าย JAS หรือกลุ่มจัสมิน น้องใหม่ของวงการโทรศัพท์มือถือที่หลายคนจับตามอง ออกมาแถลงข่าวครั้งแรกหลังชนะการประมูล มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
คุณพิชญ์ โพธารามิก ซีอีโอ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ได้เปิดเผยว่าจัสมินเตรียมเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่สำหรับ 4G โดยประเมินเงินลงทุนไว้ราว 25,000-35,000 ล้านบาท ซึ่งจะลงทุนร่วมกับพันธมิตรของบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญใน 4G
ในส่วนของเงินลงทุน (เผื่อคนแถวนี้มีหุ้น) บริษัทจะใช้เงินที่ได้จากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน 10,000 ล้านบาท เงินจากพันธมิตรอีก 10,000 ล้านบาท และเงินจากการเพิ่มทุนอีก 15,000 ล้านบาท ซึ่งหากไม่พอก็จะใช้วิธีกู้ยืมเงินเพิ่ม
จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ปัจจุบันมีธุรกิจหลักคือบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ 3BB ซึ่งหากบริษัทได้คลื่น 4G ไปก็จะเป็นการต่อยอดการให้บริการข้อมูลที่ครอบคลุมการใช้งานมากขึ้น