ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขียนวิเคราะห์การประมูลคลื่นความถี่ 900MHz โดยมีประเด็นสำคัญว่าผู้เข้าร่วมประมูลทุกรายจริงจังกับการประมูล ไม่ใช่แค่การดันราคาต้นทุนของคู่แข่ง ด้วยเหตุผลแตกต่างกันไป
การประมูลคลื่น 900 MHz ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด หลังจากเคาะเดือดเลือดสาดกันมาตั้งแต่เช้าวันที่ 15 ธันวาคม ผ่านมาสองวันราคาคลื่นทะลุแสนล้านบาท กสทช. เลยจัดแถลงข่าวในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการหลังจบการประมูลรอบที่ 113
กสทช. ชี้ว่า แนวทางในการเปลี่ยนผ่านระบบสัมปทานสู่การมอบใบอนุญาตประกอบการนั้นเป็นการเดินทางที่ถูกต้อง ประชาชน และประเทศชาติได้รับผลประโยชน์อย่างชัดเจน และ กสทช. ขอยืนยันแนวทางเดิมว่าจะไม่หยุดเพียงเท่านี้ แต่เราจะเดินหน้าดำเนินการต่อไปเพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับประโยชน์จากการใช้งานคลื่นความถี่อย่างเต็มที่
การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz จบวันที่สองไปแล้วและยังไม่มีทีท่าจะยุติง่ายๆ โดยผ่านไปรอบล่าสุดคือรอบที่ 108 มีผลการเสนอราคาดังนี้
ราคารวมตอนนี้อยู่ที่ 96,890 ล้านบาท โดยในการเสนอราคารอบที่ 106 นั้น ปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาครบทั้ง 4 ราย เป็นการยืนยันว่ายังไม่มีผู้ประมูลรายใดที่ใช้สิทธิ Waiver ครบหมดจนต้องถอนตัว
การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz เข้าสู่วันที่สอง โดยเริ่มตั้งแต่เช้าเวลา 9 นาฬิกา และเพิ่งพักการประมูลไปเมื่อเวลา 21 นาฬิกา โดยรอบล่าสุดคือรอบที่ 90 นั้น มีผลการเสนอราคา ดังนี้
ทำให้ราคารวมตอนนี้พุ่งสูงถึง 85,298 ล้านบาท มากกว่าการประมูลคลื่น 1800 MHz ซึ่งจบที่ 80,778 ล้านบาท โดยมีการประมูล 86 รอบ
ความน่าสนใจเริ่มขึ้นในรอบที่ 84 ซึ่งไม่มีผู้เสนอราคาในสล็อตที่ 1 เป็นครั้งแรก จากที่ผ่านมามีการเสนอราคาต่อเนื่องกันทั้ง 2 สล็อต และราคาของสล็อตที่ 1 ก็ไม่ขยับเลยจนกระทั่งถึงรอบที่ 89 ที่มีผู้เสนอราคาเพิ่มอีกครั้ง
การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ยังคงดำเนินต่อไปหลังจากจบรอบที่ 36 ก็เริ่มทำการประมูลต่อตั้งแต่เมื่อเที่ยงคืนที่ผ่านมา โดยถึงตอนนี้ยังไม่มีท่าทีว่าผู้เข้าประมูลแม้แต่รายเดียวถอนตัว ราคาล่าสุดหลังจบรอบที่ 54 เมื่อเวลา 5:55 น. เป็นดังนี้
การประมูลจะพักอีก 3 ชั่วโมง และเริ่มทำการประมูลต่อรอบที่ 55 ในเวลา 9:00 น. โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่าเท่าที่ทำการตรวจสอบ พบการขอสิทธิไม่เสนอราคาหรือ Waiver รวมทั้งหมด 2 ครั้ง จากที่แต่ละบริษัทสามารถใช้สิทธิได้ 3 ครั้งตลอดการประมูล
และแล้วก็มาถึงการประมูล 900 MHz เสียที โดยกติกาในการประมูลรอบนี้ยังคงเหมือนกับรอบ 1800 MHz คือเปิด 15 นาที พัก 5 นาที ผู้เข้าประมูลเลือกเสนอราคาในสล็อตที่ตัวเองสนใจดังนี้
การประมูลเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เวลา 9.00 น. จนบัดนี้ครบ 12 ชั่วโมง การเคาะผ่านไปทั้งหมด 36 ครั้ง โดยที่ยังไม่มีคนขอใช้สิทธิ์ถอนตัว ราคาเสนอล่าสุดคือ 26,066 ล้านบาทเท่ากันทั้งสองสล็อต ราคารวมอยู่ที่ 52,132 ล้านบาทครับ
โดย กสทช. ได้ให้พักการประมูลตั้งแต่เวลา 20.55 น. และจะเริ่มการประมูลใหม่อีกครั้งในเวลา 0.00 น. เป็นต้นไป
เหลือเวลาอีกสองวัน ก็จะถึงวันประมูลคลื่น 900 MHz ซึ่งนับเป็นการประมูลที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่สองในปีนี้ แต่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา แจ้งผลวินิจฉัยข้อร้องเรียนของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทีโอที (สรท.) ว่าทีโอทีเป็นผู้มีสิทธิ์ในคลื่นความถี่ดังกล่าว
หลังจากเป็นประเด็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องกลุ่ม True ยังไม่ยื่นหนังสือค้ำประกันเงินประมูล 1800MHz งวดที่ 2-3 วันนี้ทาง True เข้ามายื่นหนังสือค้ำประกันเงินประมูล ตามที่ออกข่าวไว้ว่าเป็นฤกษ์มงคล 2 ธันวาคม เวลา 13.00 น.
เงินประมูลของกลุ่ม True งวดแรก 20,493.72 ล้านบาท จ่ายให้ กสทช. เรียบร้อยตั้งแต่สัปดาห์ก่อน ส่วนหนังสือค้ำประกันเงินประมูลงวดที่ 2 และ 3 รวมกันมูลค่า 21,288.72 ล้านบาท ยื่นให้ กสทช. ในวันนี้
update: คำชี้แจงจากทางทรู
การออกใบอนุญาตคลื่น 1800MHz ของค่าย True เกิดอาการสะดุดซะแล้ว หลังจากที่ AIS เข้าไปชำระเงินค่าประมูลคลื่นงวดแรกและรับใบอนุญาตไปแล้ว เมื่อวานนี้ (25 พ.ย.) ฝั่งของบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น ที่เป็นผู้ชนะประมูลอีกรายหนึ่งก็นัดเข้าไปชำระเงินค่าประมูลกับ กสทช. เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม บริษัท ทรู มูฟ เอช ชำระเงินค่าประมูลงวดแรก 20,492.72 ล้านบาท แต่บริษัทกลับไม่ได้จัดส่งหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินประมูลงวดที่สองและสามให้กับสำนักงาน กสทช. ด้วย ทำให้ กสทช. ยังไม่สามารถออกใบอนุญาตคลื่น 1800MHz ให้ได้แบบ AIS
บทความโดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ภายหลังการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่แข่งขันประมูลกันอย่างเข้มข้น หลายคนสงสัยว่าราคาชนะประมูลในระดับแปดหมื่นล้านบาทนั้นจะทำให้อัตราค่าบริการ 4G แพงขึ้นหรือไม่ และทำไมก่อนเปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz บางค่ายก็โฆษณาบริการ 4G แล้ว สิ่งที่โฆษณานั้น ตกลงเป็น 4G แท้หรือ 4G เทียม
หนึ่งวันก่อนการประมูล เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นเมื่อสหภาพฯ กสท โทรคมนาคม ยื่นฟ้อง กสทช. ขอระงับการประมูลคลื่น 1800 MHz กับศาลปกครองกลาง และในวันเดียวกันตุลาการศาลได้ลงมติรับคำร้องไว้พิจารณา แต่ไม่ออกคำสั่งคุ้มครอง ทำให้ในวันที่ 11-12 พฤศจิกายน มีการจัดการประมูลคลื่นตามปกติ และก็ได้ผู้ชนะอย่างเป็นทางการเรียบร้อย
หลังผ่านการประมูลไปสามวัน วันนี้คณะกรรมการ กทค. ได้รับรองผลการประมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชัน จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เป็นผู้ชนะอย่างเป็นทางการ
โดยในวันพรุ่งนี้ สำนักงาน กสทช. จะส่งหนังสือรับรองผลประมูลไปแจ้งต่อผู้ชนะการประมูล เพื่อให้เตรียมการเข้ามาจ่ายเงินค่าประมูลงวดแรก 50% (20,493 ล้านบาท) ภายใน 90 วันนับจากนี้ (สิ้นสุด 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559)
การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz ของ กสทช. ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา มีผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมายทั้งในแง่ตัวเลขเงินที่ประมูล และความยืดเยื้อยาวนานของการประมูลที่กินเวลารวมเกือบ 2 วันเต็ม
คำถามที่หลายคนสงสัยคือคลื่น 1800MHz มีอะไรน่าสนใจ จนบรรดาโอเปอเรเตอร์ต้องต่อสู้กันดุเดือดถึงเพียงนี้ อันนี้เป็นบทวิเคราะห์ขั้นต้นแบบด่วนๆ หลังประกาศผลประมูลครับ (ข้อมูลอาจไม่ครบถ้วนนัก และวิเคราะห์ด้วยยอดรวมการประมูลของแต่ละบริษัทเท่านั้น ไม่ได้สนใจจังหวะการประมูลแต่ละขั้นตอนนะครับ)
การประมูลคลื่น 1800MHz วันที่สองยังไม่ได้ข้อยุติ ส่งผลให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ตัดสินใจหยุดพักการประมูลตั้งแต่เวลา 17.30 น. ของวันนี้ (12 พฤศจิกายน) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประมูลได้พักผ่อน และจะกลับมาประมูลต่อวันพรุ่งนี้ (13 พฤศจิกายน) เวลา 10.00 น.
ผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละบริษัทจะพักค้างคืนในสำนักงาน กสทช. โดยแยกห้องพักกันชัดเจน และมีเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช. คอยดูแลไม่ให้แต่ละบริษัทติดต่อกันได้ ในกรณีผู้ร่วมประมูลที่ต้องการสิ่งของ เช่น เสื้อผ้าหรือยา จากที่บ้าน สามารถแจ้งทางเจ้าหน้าที่ให้ติดต่อแทนได้
ส่วนราคาประมูลล่าสุด ณ เวลาที่เขียนข่าว (17:20 น.) นับเป็นรอบที่ 79 คลื่นชุดที่หนึ่ง 37,802 ล้านบาท และคลื่นชุดที่สอง 38,598 ล้านบาท
เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (12 พฤศจิกายน) คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้ออกมาเปิดเผยว่า หลังจากเสร็จสิ้นการประมูลคลื่น 1800 MHz แล้ว คณะกรรมการ กทค. จะเรียกประชุมด่วนเพื่อเตรียมการประมูลคลื่น 900 MHz ใหม่ทั้งหมด หลังจากที่เมื่อคืนวานนี้ต้องลงมติเร่งด่วนให้ประมูลกันแบบต่อเนื่องจนกว่าจะได้ผู้ชนะ แทนการเข้ามาประมูลใหม่ในเวลา 9.00 น. ของวันนี้
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ลงมติเลื่อนการประมูลคลื่น 900MHz จากเดิม 12 พฤศจิกายน 2558 กลับไปเป็น 15 ธันวาคม 2558 ตามกำหนดการแรกสุด ด้วยเหตุผลว่าโดนวิจารณ์ถึงการจัดประมูลที่ติดกับคลื่น 1800MHz ในวันที่ 11 พฤศจิกายน จนอาจส่งผลต่อการเคาะราคาประมูลของผู้รับใบอนุญาตทั้ง 4 รายที่ประมูลคลื่นทั้ง 2 ช่วงความถี่ได้
กสทช. ระบุว่าการเลื่อนการประมูลคลื่น 900MHz ออกไปอีกประมาณ 1 เดือน จะไม่ส่งผลต่อการเปิดบริการ 4G บนคลื่น 900MHz มากนัก และยังอยู่ในกรอบเวลาเดิมที่เคยกำหนดไว้ตั้งแต่แรกด้วย ส่วนคลื่น 1800MHz จะยังเดินหน้าประมูลวันที่ 11 พฤศจิกายนตามกำหนดเดิม
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
กทค. เลื่อนวันประมูลคลื่น 900 MHz เป็นกรอบเวลาเดิม 15 ธ.ค. 2558
จากกรณีที่บอร์ดทีโอทีเตรียมยื่นฟ้อง กสทช. เพื่อทวงสิทธิ์ในการบริหารคลื่น 900 MHz กลับมาจากการนำออกไปประมูล ในการประชุมบอร์ดทีโอทีครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ยังไม่ได้ผลสรุปเกี่ยวกับคำฟ้องที่จะยื่นฟ้องในเร็วๆ นี้ โดยบอร์ดคาดว่าจะมีการสรุปผลอีกครั้งในวันที่ 30 ตุลาคม (13 วันก่อนการประมูล)
วันนี้ (22 ต.ค. 2558) กสทช. เปิดรับเอกสารเข้าร่วมการประมูลคลื่น 900MHz โดยต้องวางหลักประกันการประมูลเป็นเช็คเงินสด 644 ล้านบาท หลังปิดรับเอกสารเวลา 16.30 น. สรุปแล้วมีผู้ยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูล 4 ราย ได้แก่
บริษัททั้ง 4 รายเป็นบริษัทเดียวกับที่ยื่นเอกสารเข้าประมูลคลื่น 1800MHz ก่อนหน้านี้ คาดว่าคลื่น 900MHz จะจัดประมูลจริงในวันที่ 12 พฤศจิกายน หลังจากการประมูลคลื่น 1800MHz หนึ่งวัน
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
การดำเนินงานเกี่ยวกับคลื่น 900 MHz จากทางฝั่ง กสทช. ยังคงมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากที่เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามารับซองประมูลตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน (ซึ่งเข้ามาเอาแล้ว 6 บริษัท) และทิ้งท้ายว่าจะนำเรื่องวันประมูลไปหารือในที่ประชุม กทค. อีกครั้งเพื่อให้ได้วันที่เร็วขึ้น ซึ่งวันนี้ก็มีการลงมติในเรื่องนี้เป็นที่เรียบร้อย
โดยที่ประชุมกทค. วันนี้ ได้มีมติให้เลื่อนวันประมูลคลื่น 900 MHz จากเดิมคือวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เข้ามาเร็วขึ้นเป็นวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดยเปิดประมูลต่อจากการประมูลคลื่น 1800 MHz ทันที
ความคืบหน้าของการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz หลังจากมีผู้รับเอกสารการประมูลไปทั้งหมด 7 บริษัทจาก 5 ค่าย วันนี้ กสทช. เปิดให้ยื่น "คำขอรับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่" พร้อมค่าพิจารณาคำขอจำนวน 535,000 บาท และหลักประกันการประมูลเป็นเช็คเงินสด 796 ล้านบาท ผลสรุปคือมี 4 บริษัทที่เข้ามายื่นเอกสารและจ่ายเงิน ได้แก่
ความคืบหน้าล่าสุดของการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต วันนี้ กสทช. เปิดให้มารับเอกสารการประมูลเป็นวันสุดท้าย สรุปแล้วมีทั้งหมด 7 บริษัท (5 ค่าย) มารับเอกสารการประมูลไปพิจารณา ก่อนจะเข้ามายื่นเอกสารตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2558 (บางบริษัทอาจรับเอกสารแต่ไม่ยื่นประมูล)
หัวข้ออาจจะดูคุ้นๆ แต่ข่าวนี้ คือคลื่น 900 MHz ครับ
เมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา กสทช. ได้เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz มารับซองเอกสารเพื่อเตรียมการยื่นซองขอเข้าประมูลในวันที่ 22 ตุลาคม 2558 ต่อไป ซึ่งในวันดังกล่าว ก็มีเอกชนเข้ามารับซองเงื่อนไขแล้วทั้งสิ้น 6 ราย ดังต่อไปนี้ครับ
และแล้วก็จบลงด้วยดี สำหรับกรณีการขอคืนคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 4.8 MHz ของดีแทค ซึ่งเมื่อวานนี้คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้เปิดเผยว่า กระทรวง ไอซีที ได้ส่งหนังสือตอบรับว่า กสท โทรคมนาคม ได้ส่งมอบคลื่นความถี่จำนวน 4.8 MHz คืนมาให้เรียบร้อยแล้ว
โดยในหนังสือตอบรับ กระทรวงไอซีทียังได้ลงความเห็นจากบอร์ด กสท โทรคมนาคมมาให้ด้วย กล่าวคือ การคืนคลื่นความถี่ในครั้งนี้ เป็นการคืนโดยไม่มีเงื่อนไขผูกมัดใดๆ ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาตามมาตรา 43 ของ พรบ. ร่วมทุนเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งการคืนคลื่นในครั้งนี้ยังส่งผลให้มีจำนวนคลื่นให้บริการประชาชนที่มากขึ้น และยังสร้างรายได้เข้ารัฐได้มากกว่า 6,000 ล้านบาทอีกด้วย
วันนี้ในที่ประชุมกสทช. (16 กันยายน) ได้มีมติให้ผ่านหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900MHz เพื่อนำไปประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อเชิญชวนให้เข้าร่วมประมูลในวันที่ 24 กันยายนถึง 25 ตุลาคม และเปิดให้ยื่นซองประมูลวันที่ 26 ตุลาคมนี้
รายละเอียดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900MHz โดยรวมจะคล้ายกับของการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz แต่จะมีจุดแตกต่างไปบางส่วน สรุปโดยสังเขปมีดังนี้
หลังจากที่ประชุม กสทช. อนุมัติหลักเกณฑ์การประเมินทั้งคลื่นความถี่ 900MHz และ 1800MHz พร้อมตั้งเป้าเปิดให้ประมูลในเดือนพฤศจิกายนนี้ ต่อเนื่องจากที่อนุมัติคำร้องขอคืนคลื่น 1800MHz จากกสท. โทรคมนาคม ตอนนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมมาแล้ว