ในวันนี้ (30 พฤศจิกายน) กสทช. ได้จัดงานเชิญชวนให้ประชาชนที่เดินทางข้ามไปเกาะสมุยจากอำเภอดอนสักเข้าร่วมรับชมทีวีดิจิทัล ที่เพิ่งจะเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้ โดยตัวแทนของ บริษัท ซีทราน เฟอร์รี่ จำกัด กล่าวว่าบริษัทได้เริ่มติดตั้งระบบรับสัญญาณทีวีดิจิทัลบนเรือเฟอร์รี่ของบริษัทมาได้ระยะหนึ่ง และเริ่มทำการรับสัญญาณจริงเมื่อเร็วๆ นี้
BBC ประกาศหยุดออกอากาศช่อง BBC Three ที่เป็นช่องสำหรับเด็กต้นปี 2016 และจะปรับเป็นช่องออนไลน์อย่างเดียว หลังพบว่าเด็กรุ่นใหม่สนใจดูทีวีตามเวลาน้อยลง
BBC Three เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2003 ในยุคที่เด็กวัยรุ่นอายุ 16-24 ปีแทบไม่มีสมาร์ตโฟนใช้งาน ตอนนี้เด็กในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ดูวิดีโอโดยไม่ผ่านเครือข่ายโทรทัศน์ และ 90% มีสมาร์ตโฟน
รายการใน BBC Three จะดำเนินการต่อไป แต่จะฉายผ่านบริการ iPlayer ผ่านแอปและคอนโซลเช่น PS4 ที่เข้าถึงเด็กรุ่นใหม่ได้ง่ายกว่า
ที่มา - BBC
ข่าวด่วนครับ เมื่อเวลา 0.00 ที่ผ่านมา ไทยพีบีเอส ในฐานะผู้ให้เช่าอุปกรณ์รวมสัญญาณไทยทีวีได้ดำเนินการตัดสัญญาณของช่องไทยทีวี และโลกา เข้าสถานะจอดำด้วยตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่มีคำสั่งจาก กสท.
จากประกาศบังคับให้ทีวีเคเบิลและดาวเทียมทำการเรียงช่องใหม่ทั้งหมด และยกช่องทีวีดิจิทัลขึ้นมาเป็นช่อง 1-36 เหมือนกันทุกระบบ ล่าสุดเริ่มมีเสียงตอบรับจากฝั่งผู้ให้บริการท้องถิ่นว่ากฎข้างต้นนี้ไม่เป็นธรรมอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อการให้บริการธุรกิจอย่างรุนแรง
วันนี้ กสทช. ได้เรียนเชิญผู้ให้บริการเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และผู้ประกอบการดิจิทัลทีวีทั้ง 36 ช่องเข้ามารับทราบเงื่อนไขการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกใหม่ โดยสาระสำคัญหลักของเงื่อนไขนี้ คือการห้ามมิให้ช่องดิจิทัลทีวีทั้ง 36 ช่อง (ที่อยู่ตั้งแต่ช่อง 11-46) ขึ้นมาอยู่ช่อง 1-10 ของแพลตฟอร์มเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม
พร้อมกันนี้ กสทช. ยังออกข้อบังคับให้ช่องดิจิทัลทีวีที่ขึ้นมาอยู่ช่อง 1-10 ทำการย้ายช่องกลับไปอยู่ลำดับเดิมของตัวเอง (11-46) ตามปกติ หรือ แปลงสภาพตนเองให้เข้ากับกติกาของผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม ซึ่งก็คือลดเวลาโฆษณาจากเดิมไม่เกิน 12 นาที เป็นไม่เกิน 6 นาที และเข้ามาขอรับใบอนุญาตประกอบการทีวีดาวเทียมกับ กสทช. ถึงจะสามารถออกอากาศทางช่อง 1-10 ต่อไปได้ตามปกติ
รัฐบาลเม็กซิโกใจป้ำ แจกโทรทัศน์ดิจิทัลฟรีให้แก่ประชาชนกว่า 10 ล้านเครื่อง มูลค่ากว่า 56.57 พันล้านบาทเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลให้เร็วขึ้น
การเปลี่ยนผ่านนี้มีกำหนดเส้นตายอยู่ที่วันที่ 31 ธันวาคมนี้ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องออกนโยบายเพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงโครงข่ายโทรทัศน์ใหม่ได้รวดเร็วขึ้น โดยปัจจุบันดำเนินการแจกจ่ายไปได้ถึงวันละ 30,000 - 40,000 เครื่อง รวมแล้วกว่า 4.6 ล้านเครื่อง โดยทีวีที่แจกมีขนาดจอ 24 นิ้ว ไม่ได้ระบุยี่ห้อหรือรุ่น ราคาราวๆ เครื่องละประมาณห้าพันบาท
เมื่อวานนี้ กสทช. ได้จัดงาน กสทช. พบ Blogger และชาวเน็ต ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เพื่อร่วมกันประชาสัมพันธ์ข้อมูลของโครงการทีวีดิจิทัลในประเทศไทยที่ได้ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่ง โดยไฮไลต์สำคัญภายในงานนี้ คือการเข้าเยี่ยมชมห้องส่งสัญญาณกลางของทางไทยพีบีเอส ณ โรงแรมใบหยกสกาย (อาคารใบหยก 2) ถนนราชปรารภ ซึ่งผู้ให้บริการสัญญาณทุกเจ้าต้องเชื่อมสัญญาณจากตัวรวมสัญญาณหรือ MUX เข้าห้องนี้ ก่อนนำขึ้นเสาส่งสัญญาณที่ชั้น 85 ของโรงแรมต่อไป
ภายในการเยี่ยมชม ผมได้รับเกียรติจากคุณแมว ธนกร สุขใส ผู้จัดการฝ่ายข้อมูลและวางแผนวิศวกรรม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้ข้อมูลประกอบในครั้งนี้ครับ
ในวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. ได้มีการหยิบวาระในเรื่องการขออนุมัติการยุติการดำเนินการโครงข่ายโทรทัศน์ระบบแอนาล็อกของสถานีโทรทัศน์ในระบบแอนาล็อก 4 ช่อง ขึ้นมาพิจารณา ซึ่งผลการพิจารณาก็คือ กสท. อนุมัติแผนข้างต้นทั้งหมด โดยมีรายละเอียดการดำเนินการดังต่อไปนี้ครับ
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เสนอมา 6 ระยะ ได้แก่
ในวันนี้คณะกรรมการ กสท. ได้มีวาระการประชุมพิเศษ เพื่อพิจารณาเรื่องที่ไทยทีวีส่งหนังสือพิจารณาขอยุติการดำเนินการทีวีดิจิทัลทั้งสองช่อง ซึ่งผลการประชุมในนัดนี้ ได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการว่า ให้ไทยทีวี ยุติการทำทีวีดิจิทัลได้ และประกาศให้ทั้งสองช่องพ้นสภาพการเป็นทีวีดิจิทัลประเภทบริการธุรกิจระดับชาติในทันที
อย่างไรก็ตาม กสท. ยังได้ออกคำสั่งเพิ่มเติมเพื่อให้ไทยทีวีนำไปดำเนินการต่อ ซึ่งหลังจากนี้ไทยทีวีจะต้องดำเนินการตามคำสั่งของ กสท. ดังต่อไปนี้ให้ครบทุกข้อด้วยครับ
ต่อจากประเด็น ไทยทีวีทำหนังสือขอบอกเลิกใบอนุญาตทีวีดิจิตอลทั้ง 2 ช่อง และไม่จ่ายเงินค่าธรรมเนียมการประมูลในงวดที่ 2
วันนี้สำนักงาน กสทช. แถลงข่าวเรื่องนี้โดยมีประเด็นดังนี้
หลังจากเมื่อวานนี้เป็นวันกำหนดชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทีวีดิจิตอล งวดที่ 2 วันสุดท้าย และมีบริษัทไทยทีวี ในเครือทีวีพูล เจ้าของช่อง ไทยทีวี และ LOCA ไม่มาจ่ายเงินเพียงรายเดียว ล่าสุดมีรายงานว่าทางบริษัทได้ทำหนังสือถึง กสทช. เพื่อขอบอกเลิกใบอนุญาตทีวีดิจิตอลทั้ง 2 ช่องแล้ว และขอให้มีผลภายใน 15 วัน
บริษัทไทยทีวี ระบุว่านโยบาย กสทช. มีความบกพร่องและไม่เป็นไปตามแผนงาน เช่นการขยายโครงข่าย MUX และการแจกคูปองล้วนล่าช้า ทำให้จำนวนผู้ชมไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงทำให้บริษัทตัดสินใจขอคืนใบอนุญาตและจะกลับไปผลิตรายการทางทีวีดาวเทียมแทน
หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บอร์ด กสทช. กลับลำ ลงมติไม่ให้เลื่อนจ่ายค่าธรรมเนียมทีวีดิจิตอล งวดที่ 2 วันนี้ (25 พ.ค.) เวลา 16:30 น. ถือเป็นเส้นตายที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลต้องมาจ่ายเงินค่าธรรมเนียมงวดที่ 2 กัน
ผลสรุปคือผู้ประกอบการ 22 ช่องจากทั้งหมด 24 ช่องมาจ่ายเงินกันตามกำหนด ขาดไป 2 ช่องคือช่อง ไทยทีวี และช่อง LOCA ซึ่งมาจากบริษัทในเครือทีวีพูลเหมือนกัน พร้อมกับข่าวตามหน้าสื่อหลายแห่งว่า ทีวีพูลตั้งใจจะไม่จ่ายเงินค่าประมูลในงวดนี้ (คิดเป็นจำนวนเงิน 288.472 ล้านบาท)
ขั้นต่อไปคือ กสทช. จะส่งหนังสือเตือนให้บริษัทรีบมาชำระเงิน พร้อมเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
ให้หลังจากที่ บอร์ด กสทช. เห็นชอบในหลักการ เลื่อนจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลงวดที่สองไปอีก 1 ปี เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ล่าสุดมีหนังสือสำคัญด่วนที่สุดที่ อส 0005/6086 จากสำนักงานอัยการสูงสุด ส่งตรงถึง กสทช. ระบุว่า กสทช. ไม่มีสิทธิ์ที่จะเลื่อนการจ่ายค่าใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลงวดที่สองออกไป ตามที่ผู้ประกอบการโทรทัศน์ดิจิทัลเรียกร้องมา
ที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันนี้ (22 เมษายน 2558) เห็นชอบ "ในหลักการ" ข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ที่ขอเลื่อนการจ่ายเงินค่าประมูลงวดที่ 2 ออกไป โดยบอร์ด กสทช. ให้เหตุผลว่าผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากทั้งปัญหาเศรษฐกิจ-การเมือง และการขยายโครงข่ายที่ไม่เป็นไปตามแผน
อย่างไรก็ตาม แนวทางของ กสทช. ยังไม่ชัดเจนว่าจะเลื่อนกำหนดการจ่ายเงินงวดที่ 2 (งวดแรกจ่ายไปแล้วหลังประมูล) ออกไปอีก 1 ปีเพียงงวดเดียว หรือจะเลื่อนกำหนดการจ่ายเงินงวดอื่นๆ ที่เหลือออกไปอีก 1 ปีพร้อมกันด้วย ซึ่ง กสทช. จะนำประเด็นนี้ไปรับฟังความเห็นสาธารณะให้เสร็จภายใน 15 วัน
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
ประเทศนอร์เวย์ประกาศแผนการยกเลิกใช้คลื่นวิทยุแบบแอนะล็อก หรือวิทยุ FM ที่เรารู้จักกันดี โดยจะเริ่มปิดสัญญาณแอนะล็อก (switch off) พื้นที่แรกในวันที่ 11 มกราคม 2017 และกระบวนการจะสิ้นสุดในวันที่ 13 ธันวาคม 2017 หลังจากนั้น นอร์เวย์ถือว่าเปลี่ยนมาใช้วิทยุดิจิทัลทั้งหมด (ถือเป็นประเทศแรกในโลกที่เลิกใช้วิทยุแอนะล็อก)
นอร์เวย์ให้วิธีกระจายสัญญาณวิทยุแบบคู่ขนานคือแอนะล็อกและดิจิทัล ตามมาตรฐาน DAB (Digital Audio Broadcasting) มาได้สักพักใหญ่แล้ว จนตอนนี้ประชากรกว่า 90% สามารถฟังวิทยุดิจิทัลได้เรียบร้อยแล้ว ข้อดีของวิทยุแบบดิจิทัลก็เหมือนกับคลื่นทีวีดิจิทัลคือมีจำนวนช่องเยอะกว่าบนแบนด์วิธคลื่นเท่ากัน
และแล้วก็สิ้นสุดกันเสียทีกับมหากาพย์ความขัดแย้งของ กสทช. และ ช่อง 3 ที่กินเวลาไปกว่าหนึ่งเดือน (อ่านย้อนหลังที่แท็ก TV3) ซึ่งหลังจากที่ศาลปกครองกลางช่วยไกล่เกลี่ยให้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมาและได้ข้อสรุปที่ว่า กสท. และ ช่อง 3 มีข้อตกลงร่วมกันที่จะยินยอมให้ช่อง 3 ออริจินัล ขึ้นไปออกอากาศที่ช่อง 3 เอชดี ช่อง 33 เมื่อวานนี้ผู้บริหารของช่อง 3 ทั้งช่อง 3 ออริจินัล และช่อง 3 ดิจิทัล ได้ยืนยันว่าพร้อมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงกับ กสท. เป็นที่เรียบร้อย
หลังจากที่ไม่มีความเคลื่อนไหวร่วมสัปดาห์ หลังช่อง 3 ประกาศไม่รับมติของ กสท. ที่ให้ช่อง 3 ส่งผังรายการมาใหม่เพื่อพิจารณาว่าสามารถออกอากาศคู่ขนานบนดิจิทัลทีวีได้หรือไม่ ล่าสุดในวันนี้ที่ศาลปกครองได้นัดทั้งสองฝ่ายมาให้ความคืบหน้าในกรณีนี้นั้น ต่างก็ได้ผลสรุปเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ
เมื่อวานนี้ กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์ โพสต์ข้อความผ่านโซเชียล อธิบายประเด็นเรื่องช่อง 3 ถึงมติบอร์ด กสท. เรื่องการออกอากาศคู่ขนาน (ที่ช่อง 3 บอกว่าไม่แก้ปัญหา) หลังจากได้หารือกับตัวแทนช่อง 3 ช่วงเย็นเมื่อวานนี้
โพสต์ต้นฉบับค่อนข้างยาว ฉบับเต็มอ่านได้ท้ายข่าว ส่วนประเด็นแบบสรุปมีดังนี้
เมื่อช่วงบ่าย บอร์ด กสท. ลงมติ ช่อง 3 ออกอากาศคู่ขนานไม่ผิดกฎหมาย โดยให้เสนอผังรายการมาพิจารณา แต่ล่าสุด นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธ์ุ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ได้เปิดเผยกับทางไทยรัฐว่า บริษัทคงจะทำตามมติของ บอร์ด กสท. ที่ออกมาไม่ได้ เพราะไม่ได้ตอบคำถามที่ช่อง 3 ถามอย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม ช่อง 3 ยังคงยินดีออกคู่ขนาน ถ้า กสทช. สามารถให้คำตอบได้ชัดเจนกว่านี้
ส่วนกรณีที่ พันเอกนที เสนอแก้ไขมาตราที่ 9 ใน พ.ร.บ.กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์นั้น ทางช่องคงต้องขอดูรายละเอียดข้อกำหนดใหม่ก่อน ถึงจะให้คำตอบได้แน่ชัดกว่านี้
วันนี้ บอร์ด กสท. มีมติว่าการที่ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3 ดิจิตอล) อยากนำรายการของ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (ช่อง 3 ดั้งเดิม) มาออกอากาศ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ และไม่ถือว่าบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ไม่ได้ประกอบกิจการด้วยตัวเอง
กสท. จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. แจ้งบีอีซี-มัลติมีเดีย ให้ยื่นผังรายการที่จะออกอากาศคู่ขนานมาให้คณะกรรมการพิจารณาอีกครั้ง โดยมีเงื่อนไขว่าผังรายการจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบการทีวีดิจิตอลด้วย
มติกสท. แจ้งบีอีซี – มัลติมีเดีย ยื่นผังรายการช่อง ๓ ได้ ตามเงื่อนไขใบอนุญาต
วันนี้ตัวแทนของช่อง 3 ยื่นคำร้องกับศาลปกครอง ให้ทุเลาคำสั่งการบังคับคดีเดิม (ที่ช่อง 3 ฟ้องให้ยกเลิกมติ กสท. แต่ศาลปกครองไม่สั่งคุ้มครอง) ซึ่งทั้งฝ่ายของ กสทช. และช่อง 3 มีความเห็นร่วมกันว่าขอให้ศาลทุเลาการบังคับคดีไปอีก 15 วัน (นับจนถึงวันที่ 11 ตุลาคม 57 เวลา 16.30 น.) ซึ่งศาลมีคำสั่งทุเลาตามที่ขอ
ผลจากคำสั่งศาลครั้งนี้ทำให้ช่อง 3 จะยังไม่จอดำในระบบเคเบิล/ดาวเทียมไปจนถึงวันที่ 11 ตุลาคม และช่วยยืดเวลาให้ช่อง 3 สามารถเจรจาเรื่องการออกอากาศคู่ขนานกับ กสทช. ได้นานขึ้นอีก 15 วัน ซึ่งช่อง 3 จะต้องรีบเสนอแผนเข้ามาให้ กสทช. พิจารณาต่อไป
เมื่อวานนี้ นายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้เข้ายื่นหนังสือสอบถามตรงต่อ พันเอกนที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการ กสท. โดยมีหัวข้อให้พิจารณาสองหัวข้อ คือขอให้พิจารณาตัวข้อกฎหมายของ กสทช. ว่าช่อง 3 สามารถทำ Simulcast ขึ้นดิจิทัลทีวีได้หรือไม่ เนื่องจากสถานีเป็นคนละนิติบุคคล และขอให้ กสท. ทบทวนมติการยุติการออกอากาศของช่อง 3 ในวันที่ 30 กันยายนนี้
ในที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. ในวันนี้ (22 กันยายน) ได้มีการลงมติในกรณีที่ ช่อง 3 และ ช่อง 7 ได้ยื่นข้อเสนอในการขอลดค่าธรรมเนียมดิจิทัลทีวี 4% ออกไปก่อนจนกว่าจะหมดสัมปทาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับสถานีโทรทัศน์ที่ต้องออกอากาศคู่ขนานและต้องแบกรับต้นทุนสองทาง แต่เนื่องจากยังมีข้อเหลื่อมล้ำเรื่องการแข่งขัน มตินี้จึงยังไม่ได้นำมาพิจารณา จนกระทั่งในวันนี้ คณะกรรมการ กสท. ได้ยกมติดังกล่าวขึ้นมาพิจารณากันใหม่ และได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ดังนี้
หลังจากที่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (15 กันยายน) คณะกรรมการ กสท. มีคำสั่งให้ช่อง 3 แต่งตั้งบุคคลที่มีอำนาจเข้าร่วมหารือกับคณะกรรมการเมื่อวานนี้ (16 กันยายน) อย่างไรก็ดีการประชุมนัดนอกรอบเมื่อวานนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปและแนวทางที่แน่ชัด จนทำให้การประชุมคณะกรรมการ กสทช. ในวันนี้ ไม่สามารถยกประเด็นนี้ขึ้นมาหารือต่อได้
ทั้งนี้คุณสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. กล่าวเพิ่มเติมด้วยความเห็นส่วนตัวว่า เบื้องต้นข้อเสนอของช่อง 3 ออริจินัล คือทำ Simulcast ขึ้นดิจิทัลทีวีช่อง 33 (ช่อง 3 เอชดี) แต่กลับกัน ช่อง 3 เองก็ได้เสนอเงื่อนไขการเยียวยามากจนเกินไป ซึ่งทั้งนี้ คณะกรรมการ กสท. ยังไม่ได้นำเงื่อนไขเยียวยานี้มาพิจารณาหาข้อสรุปแต่อย่างใด
หลังจากที่เมื่อคืนมีข่าวว่า กสท. จะนำข้อเสนอในการทำ Simulcast ของช่อง 3 มาพิจารณาในที่ประชุมวันนี้ ซึ่งหลังการประชุม ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ 5 เสียง ให้ช่อง 3 สามารถทำ Simulcast หรือการออกอากาศคู่ขนานขึ้นดิจิทัลทีวีได้ แต่ช่อง 3 จะต้องแต่งตั้งผู้มีอำนาจมาเข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาและชี้แจงข้อกำหนดในวันพรุ่งนี้