หลังเป็นเรื่องเป็นราวบนหน้าสื่อกันมาพักใหญ่ สำหรับกรณีช่อง 3-กสทช. (อ่านเหตุการณ์ย้อนหลังที่แท็ก TV3) ล่าสุดคุณสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. เปิดเผยว่า ในที่ประชุมของ กสท. ในวันพรุ่งนี้ ทางคณะกรรมการจะหยิบข้อเสนอในการออกอากาศแบบ Simulcast บนดิจิทัลทีวีของช่อง 3 ขึ้นมาพิจารณา หลังจากที่ คุณประวิทย์ มาลีนนท์ ผู้บริหาร บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้บอกกับคุณสุภิญญาภายในงานเมื่อวันก่อนว่าทางสถานียินดีที่จะออกอากาศแบบคู่ขนานแล้ว
ต่อจากข่าว กสท.ส่งจดหมายถึงผู้ให้บริการเคเบิล ดาวเทียม หยุดออกอากาศช่อง 3 ภายใน 15 วัน เมื่อวันจันทร์ วันนี้ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ หนึ่งในกรรมการ กสท. ออกมาแถลงผลการหารือกับผู้ประกอบการทีวีบอกรับสมาชิก (ดาวเทียม-เคเบิ้ล) ได้ข้อสรุปว่าผู้ประกอบการทั้งหมดยินดีให้ความร่วมมือ โดยลำดับต่อไป กสท. จะส่งคำสั่งไปยังผู้ประกอบการทุกราย และคำสั่งจะมีผลหลังจากนั้นอีก 15 วัน - ช่อง 7, Nation TV
หลังจากที่เป็นเรื่องราวกันมาหลายวันพอสมควร ล่าสุดมีข่าวว่าผู้บริหารของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ยื่นหนังสือข้อเสนอต่อคณะกรรมการ กสท. ในกรณีที่คณะกรรมการต้องการให้ ช่อง 3 ออกอากาศ Simulcast หรือการออกอากาศคู่ขนานบนระบบดิจิทัลทีวี
ซึ่งข้อเสนอที่ทางสถานีได้ยื่นมาก็คือ สำนักงาน กสทช. จะต้องดำเนินการเจรจาเรื่องสัมปทานกับ บมจ. อสมท ที่เป็นคู่สัมปทานให้ โดยสถานีจะยอมรับทุกข้อเสนอ ไม่ว่าจะเป็นการลดระยะเวลาสัมปทาน หรือดำเนินการในเรื่องอื่นๆ ตามที่สำนักงาน กสทช. เห็นสมควร แต่ทั้งนี้ผลการเจรจาจะต้องไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายประมาณ 200-250 ล้านบาทต่อปีด้วย
สำหรับคนที่สนใจประเด็นปัญหาระหว่าง กสทช. กับ ช่อง 3 ทางกลุ่ม NBTC Rights ซึ่งเป็นทีมงานของ กสทช. ด้านคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมผู้บริโภคทั้งสองท่าน (คุณสุภิญญา กลางณรงค์ และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา) ได้จัดทำแผนภาพ infographic แสดงลำดับเวลาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด
เริ่มตั้งแต่การออกประกาศ Must Carry ในปี 2555 และการออกมติ ประกาศ รวมถึงคดีฟ้องร้องต่างๆ ในปี 2557 ครับ (เนื้อหาจะคล้ายกับบทความ อธิบายปัญหา ช่อง 3 กับระบบดิจิตอล แต่ละเอียดกว่าในแง่ข้อมูลที่เป็นทางการ)
รูปขนาดใหญ่กดดูเพิ่มเองตามลิงก์ของรูป
จากประเด็นเรื่องช่อง 3 กับทีวีดิจิตอล เมื่อวานนี้ (2 กันยายน) บอร์ด กสท. มีมติให้สำนักงาน กสทช. ทำหนังสือหารือไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถึงแนวทางการปฏิบัติตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 27/2557 ว่าต้องทำอย่างไร และเชิญตัวแทนช่อง 3 พร้อมช่องดิจิตอลอื่นๆ ร่วมหารือในบ่ายวันนี้ (3 กันยายน) - กสทช.
วันนี้ (3 กันยายน) นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวของช่อง 3 จากรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ได้อธิบายปัญหาเรื่องทีวีดิจิตอล และอ่านคำชี้แจงของทางช่อง 3 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
จากข่าว กสท. ลงมติให้ "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3" (ช่อง 3 Analog) สิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นโทรทัศน์ทั่วไประดับชาติ ผมเชื่อว่ามีคนสับสนเรื่องนี้ไม่น้อยเพราะมันซับซ้อนมาก บทความนี้จะพยายามอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง ช่อง 3 กับทีวีดิจิตอลครับ
ก่อนอื่นเลยต้องแยกแยะกันสักนิดว่าคำว่า "ช่อง 3" ในปัจจุบันมี 4 ความหมายที่ต้องเจาะจงว่าหมายถึงอะไรกันแน่
เป็นเรื่องราวมายาวนานพอสมควร สำหรับกรณีที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 หรือช่อง 3 Analog ที่บริหารสถานีโดย บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นฟ้องร้อง กสทช. ต่อศาลปกครอง และยื่นหนังสือตรงถึง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อขอความคุ้มครองให้ช่อง 3 Analog สามารถออกอากาศผ่านระบบจานดาวเทียม/เคเบิลทีวี/ไอพีทีวีได้ตามปกติหลังจากที่ผ่านการคุ้มครองขั้นต้น 100 วัน (เริ่มนับตั้งแต่ 25 พฤษภาคม ซึ่งจะหมดลงในคืนวันนี้พอดี) ตามกฎการให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัลเป็นการทั่วไป หรือ Must Carry
ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติวันนี้ ให้ช่องทีวีดาวเทียมซึ่งถูกระงับการออกอากาศตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 15/2557 กลับมาออกอากาศได้อีกครั้งเพิ่มเติมอีก 7 ช่อง จากก่อนหน้านี้ Voice TV และ TNEWS ได้ออกอากาศไปแล้ว
วันนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บอร์ด กสท.) เห็นชอบการยกเลิกประกาศ กสทช. เรื่องการจัดเลขช่องทีวีที่แตกต่างกันในแต่ละระบบ (ดาวเทียม, เคเบิ้ล, ดิจิตอล) และเตรียมออกประกาศฉบับใหม่ที่เรียงเลขช่องเหมือนกันทั้งหมด
ประกาศฉบับเดิมกำหนดให้ทีวีดิจิตอล เริ่มต้นนับจากช่อง 1 (ช่อง ททบ. 5 เดิม) แต่กลับระบุให้ช่องดาวเทียม-เคเบิ้ลเริ่มจากช่อง 11 (ททบ. 5 อยู่ช่อง 11) และเว้นช่อง 1-10 ให้ผู้ประกอบการดาวเทียม-เคเบิ้ลนำไปจัดสรรกันเอง ส่งผลให้ผู้ชมสับสน จนเป็นเหตุให้ True Visions ยื่นฟ้องศาลปกครองกลางให้ยกเลิกประกาศฉบับเดิมในที่สุด
ส่วนประกาศฉบับใหม่จะให้ทีวีทุกระบบเริ่มที่ช่อง 1 เหมือนกันทั้งหมด และกำหนดช่อง 37-60 ให้ผู้ประกอบการดาวเทียม-เคเบิ้ลไปจัดสรรอย่างอิสระแทน
หลังมีข่าวออกมาค่อนข้างสับสนในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ตอนนี้ทุกอย่างลงเอยอย่างเป็นทางการแล้วครับ โดยที่ประชุม กสทช. วันนี้ (12 มิ.ย.) มีมติจ่ายค่า "เสียโอกาส" ให้กับบริษัท อาร์ เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเมนท์ จำกัด เจ้าของลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2014 เป็นเงิน 427 ล้านบาท เพื่อถ่ายทอดฟุตบอลโลกทั้ง 64 นัดผ่านฟรีทีวี โดยใช้เงินจากกองทุน กทปส. (กองทุนรายได้จากการประมูลและค่าปรับต่างๆ)
ตอนแรกสุดนั้น RS เสนอ "ค่าเสียโอกาส" เป็นจำนวน 766.515 ล้านบาท มายังบอร์ดกองทุน กทปส. ซึ่งตัดเหลือ 492.481 ล้านบาท พอเรื่องถูกเสนอมายังบอร์ด กสทช. ก็ถูกปรับลดลงเล็กน้อยเหลือ 427 ล้านบาท
อัพเดต - โพสต์ทูเดย์อัปเดตเพิ่มเมื่อไม่กี่นาที (ก่อนผมเอาข่าวขึ้น) ว่าช่อง 5 แจ้งมาว่าขอยกเลิกงานแถลงข่าวก่อน เนื่องจากตอนนี้ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เพราะงั้นข่าวนี้ขอเอาลงจากหน้าแรกก่อนนะครับ
เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมาเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ได้ออกข่าวด่วนว่า มีหนังสือด่วนส่งมาจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) ใจความว่าในวันพรุ่งนี้เวลา 14:00 น. ทางสถานีจะจัดงานแถลงข่าว "ททบ.5 คืนความสุขคนไทยส่งใจไปบอลโลก" ร่วมกับทางอาร์เอส และคสช. โดยรายละเอียดก็คือทางสถานีจะทำการเชื่อมสัญญาณในการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกจากอาร์เอสอีก 38 นัด หรืออาจจะขอเพิ่มไปจนถึง 42 นัดที่ช่อง 7 และช่อง 8 ไม่ได้รับสิทธิ์ในการถ่ายทอด มาถ่ายทอดสดให้ประชาชนได้รับชมจนครบทุกนัด
ตลอดระยะเวลา 1-2 เดือนที่ผ่านมา ผู้อ่านหลายๆ คนน่าจะทราบถึงกรณีที่ กสทช. พยายามจะไล่บี้ให้ อาร์เอส ยอมถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกในฟรีทีวีให้ครบ 64 แมตช์ รวมแมตช์ชิงชนะเลิศในทุกช่องฟรีทีวี จาก 22 แมตช์ที่อาร์เอสได้ทำสัญญาไว้กับ บจก. อาร์.เอส.เทเลวิชัน (ช่อง 8) และ บจก. กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ (ช่อง 7/ช่อง 7 HD) เอาไว้ จนกลายเป็นคดีความใหญ่ขึ้น
อธิบายก่อนว่า มาตรฐาน HbbTV (Hybrid Broadcast Broadband TV) คือมาตรฐานสำหรับ "ฟีเจอร์เสริม" ของทีวีดิจิตอล (DVB) ที่ช่วยให้ส่งข้อมูล (data) ไปแสดงเป็นเนื้อหาเสริมจากการแพร่ภาพปกติ
ตัวอย่างบริการที่ส่งผ่าน HbbTV ได้แก่ ผังตารางอิเล็กทรอนิกส์ (EPG), รายการย้อนหลัง, การแสดงข้อความบนจอ (teletex), โฆษณา, โหวตความคิดเห็น เป็นต้น
จุดเด่นของการส่งข้อมูลผ่าน HbbTV คือสามารถส่งได้ทั้งผ่านคลื่นโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตแบบมีสายตามปกติ (hybrid ตามชื่อ) ส่วนการแสดงผลบนทีวีใช้เทคโนโลยีเว็บ (HTML/JavaScript) เป็นพื้นฐาน
จากประกาศ คสช. ฉบับที่ 15/2557 ที่ระงับการออกอากาศของช่องทีวีดาวเทียมจำนวน 14 ช่อง ทางผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมหลายรายได้ยื่นคำร้องขอออกอากาศอีกครั้ง โดยยินดีจะปรับปรุงผังรายการให้สอดคล้องกับประกาศ คสช. ฉบับที่ 14/2557 และ 18/2557
คสช. ได้มอบหมายให้ กสทช. ที่นำโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) พิจารณา ซึ่งในที่ประชุม กสท. วันนี้ (9 มิ.ย.) ก็เห็นชอบ "คำขอความอนุเคราะห์" ของช่อง Voice TV และ TNEWS ในการประกอบกิจการโทรทัศน์ตามปกติ ซึ่งทั้งสองช่องรายการได้ปรับปรุงแก้ไขผังรายการให้เป็นไปตามประกาศของ คสช. แล้ว
ขั้นถัดไป สำนักงาน กสทช. จะส่งเอกสารของทั้งสองช่องไปยัง คสช. เพื่อให้ คสช. พิจารณาต่อไป
ยักษ์ใหญ่วงการโทรคมนาคม AT&T ประกาศข่าวการเข้าซื้อบริษัททีวีดาวเทียมแบบเก็บค่าสมาชิก DirecTV ของสหรัฐอเมริกา มูลค่าการซื้อกิจการครั้งนี้ 48.5 พันล้านดอลลาร์ โดยจ่ายเป็นทั้งเงินสดและหุ้น
AT&T อธิบายเหตุผลของการซื้อกิจการว่าต้องการสร้าง "ช่องทางกระจายคอนเทนต์" (content distribution) ที่สมบูรณ์ ครอบคลุมทั้งบรอดแบนด์ ทีวี มือถือ ซึ่ง DirecTV มีครบทั้งฐานลูกค้า (20 ล้านรายในสหรัฐ และ 18 ล้านรายในละตินอเมริกา), คอนเทนต์รายการ (โดยเฉพาะด้านกีฬา) และแพลตฟอร์มเทคโนโลยีทีวีดาวเทียม
หลังจากที่มีข่าวว่ากสทช. กำลังประชุมถกกันอย่างเร่งด่วนเรื่องการแจกคูปองดิจิตอลทีวีนั้น ล่าสุดมีข่าวจากไทยรัฐว่ากสทช. ได้เริ่มเรียกผู้ประกอบการร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้ารายต่างๆ เข้ารับทราบเงื่อนไขและวิธีการใช้งานของคูปองแลกซื้อดิจิตอลทีวีเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ
โดยในเบื้องต้น มูลค่าของคูปองจะอยู่ที่ 1,000 บาท แต่มูลค่าสามารถปรับเปลี่ยนได้เนื่องจากยังเคาะยอดไม่ลงตัว ส่วนวิธีการใช้งาน ก็คือผู้ซื้อจะสามารถใช้คูปองเป็นส่วนลดสำหรับแลกซื้ออุปกรณ์ได้ 1 ใน 4 ตามรายการด้านล่างได้ดังต่อไปนี้
ต่อเนื่องจากการเปิดทดลองออกอากาศดิจิตอลทีวีเมื่อวานนี้ มาในวันนี้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด ได้ประกาศเปิดตัวช่อง 3 รูปแบบใหม่ นั่นก็คือ ช่อง 3 SD ซึ่งเป็นหนึ่งในสามช่องที่บริษัทสามารถประมูลมาได้ครับ
ในวันนี้ถือว่าเป็นก้าวสำคัญใหม่ของวงการโทรคมนาคมไทย หลังจากที่ในช่วงปลายปีที่แล้วได้มีการประมูลดิจิตอลทีวี และรับรองผล รวมถึงประกาศเลขช่องอย่างเป็นทางการ ไปนั้น ขั้นตอนต่อไปก็คือการทดสอบการออกอากาศจริงหลังจากที่เลื่อนจากแผนเดิมในเดือนมีนาคมมานานพอสมควร
วันนี้ อสมท เปิดตัวกล่องเซ็ตท็อปสำหรับรับชมทีวีดิจิตอล DVB-T2 ในชื่อ MCOT HD Box จำนวนทั้งหมด 3 รุ่น แบ่งได้เป็น
กล่องทั้งสามรุ่นรองรับการแสดงผล 1080p, มีระบบ PVR ในตัว อัดรายการได้ ตั้งเวลาได้, มีความสามารถด้าน media player
Twitch เพิ่งประกาศ Mobile Broadcasting SDK สำหรับถ่ายทอดการเล่นเกมบนมือถือผ่านอินเทอร์เน็ต วันนี้เกมแรกที่สามารถเล่นโชว์คนบนเน็ตได้มาแล้ว (เปิดตัวที่งาน GDC 2014)
Twitch จับมือกับค่าย Gameloft พัฒนาให้เกมขับรถ Asphalt 8: Airborne เวอร์ชัน iOS สามารถเชื่อมต่อกับแอพ Twitch for iOS ได้ โดยทีมงานผู้พัฒนาเกม Asphalt ได้ฝังโค้ดบางส่วนของ Twitch ลงในตัวเกมด้วย อัพเดตตัวนี้จะปล่อยบน App Store ในเร็วๆ นี้
สำหรับคนที่อยากดูการเล่นเกม Asphalt 8 แบบสดๆ จากงาน GDC สามารถดูสตรีมได้จาก Gameloft Twitch ครับ
Twitch บริการถ่ายทอดสดการเล่นเกมขึ้นเน็ต รุกจากเกมพีซีและคอนโซลเข้าสู่โลกของเกมบนอุปกรณ์พกพาอย่างเต็มตัวผ่าน Twitch Mobile Software Development Kit (ปัจจุบันแอพ Twitch บน iOS/Android ทำได้แค่ดูวิดีโออย่างเดียว)
ตัว SDK จะออกในเร็วๆ นี้ แต่ยังไม่ประกาศวันครับ
ที่มา - Twitch
กสทช. เปิดตัวมาสค็อต "น้องดูดี" สำหรับประชาสัมพันธ์การผลักดันทีวีดิจิตอลในประเทศไทย ซึ่งเราคงได้เห็นมาสค็อตตัวนี้กันบ่อยๆ ในอนาคตอันใกล้นี้
ในโอกาสเดียวกัน กสทช. ยังทำพิธีมอบ "ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล" (ใบอนุญาตโครงข่าย) ให้กับหน่วยงานของรัฐ 4 รายเจ้าของช่องฟรีทีวีเดิม คือ กองทัพบก, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), กรมประชาสัมพันธ์ และ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) ด้วย
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
เมื่อวานนี้ (17 ก.ค.) ที่ประชุม กสทช. ชุดใหญ่ลงมติอนุมัติกฎเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิตอลเรียบร้อยแล้ว (เอกสารอย่างเป็นทางการชื่อ (ร่าง)ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ...) ด้วยคะแนน 8 ต่อ 3
โดยฝั่ง กสทช. เสียงข้างน้อยที่ "สงวนความเห็น" (เรียกเป็นภาษาพูดคือไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ) คือ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์
ขั้นตอนต่อไปคือ กสทช. จะนำประกาศฉบับดังกล่าวลงเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา และเริ่มเดินหน้ากระบวนการประมูลทีวีดิจิตอลธุรกิจจำนวน 24 ช่อง ในช่วงประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้
แม้ว่า ESPN จะส่ายหัวเกี่ยวกับระบบการออกอากาศ 3 มิติที่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน แต่ล่าสุด BBC ประกาศจะออกอากาศรายการเทนนิส Wimbledon ในรูปแบบ 3 มิติอีกครั้งในนัดรองชนะเลิศ และนัดชิงชนะเลิศ ทั้งชายและหญิง