NFT ยังเป็นกระแส และถูกพูดถึงในไทยต่อเนื่อง KASIKORN X หรือ KX ผู้พัฒนา Coral แพลตฟอร์มจำหน่ายงานศิลปะ NFT จึงร่วมกับ สภากาชาดไทย จัดงาน Digital Arts NFT RedCross x KX เพื่อจัดแสดงผลงานศิลปะจากฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ถือเป็นครั้งแรกที่ผลงานศิลปะของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถูกแปลงเป็นดิจิทัลไฟล์ และผู้สนใจสามารถครอบครองงานศิลปะดังกล่าวผ่านเทคโนโลยี NFT ได้ ทั้งยังได้บุญผ่านการบริจาคให้สภากาชาดไทยเพื่อใช้ช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติต่าง ๆ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา วงการ NFT ค่อนข้างเป็นที่คึกคัก ได้รับความสนใจทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยเฉพาะการถูกนำมาเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายผลงานศิลปะ ให้ศิลปินมีช่องทางการขายและสร้างชื่อเสียงได้ง่ายขึ้น ขณะที่นักสะสมก็สามารถแสดงเป็นเจ้าของผลงานศิลปะนั้นได้จริงๆ
แต่หากกลับมามองในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ทั้งศิลปินและนักสะสม ยังต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างประเทศแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งก็อาจมีอุปสรรคและปัญหาในหลายๆ ส่วน ไม่รวมวงการศิลปะเองที่กำลังเผชิญปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ ผลงานถูกขโมยและนำไปวางขายในแพลตฟอร์มต่างประเทศ ยากแก่การดำเนินเรื่อง ขณะที่แพลตฟอร์มเองก็ยากที่จะพิสูจน์ว่าผลงานดังกล่าวเป็นของผู้ที่วางขายจริงหรือไม่
กูเกิลเปิดตัว Coral Dev Board Mini บอร์ดรันโมเดลปัญญาประดิษฐ์สำหรับนักพัฒนามาตั้งแต่ต้นปีพร้อมกับโมดูลสำหรับผู้ผลิตรุ่นอื่นๆ สัปดาห์นี้ก็เพิ่งเริ่มวางขายบอร์ดจริง โดย SeeedStudio เป็นผู้จัดจำหน่ายในราคา 99.99 ดอลลาร์
ตัวบอร์ดใช้ซีพียู MediaTek 8167s พร้อมแรม 2GB และหน่วยความจำแฟลช 8GB รองรับ Wi-Fi 5 และ Bluetooth 5.0 แต่จุดเด่นคือชิป Edge TPU ที่สามารถรันคำสั่งได้ระดับ 4 TOPS (ล้านล้านคำสั่งต่อวินาที) โดยกินไฟเพียง 2 วัตต์ ทำให้น่าสนใจกับงานที่มีเงื่อนไขการใช้ไฟฟ้า สำหรับงานที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้มากๆ บอร์ด NVIDIA Jetson Nano รุ่นใหม่ สเปคดีกว่าหลายด้านในขณะที่ราคาถูกกว่า
ASUS นอกจากจะเป็นผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ ยังมีสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์จิ๋ว (single board computer) ในแบรนด์ Thinker มาตั้งแต่ปี 2017 ปีนี้บริษัทก็เปิดตัวบอร์ดรุ่นใหม่ Tinker Edge T ที่เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่องานปัญญาประดิษฐ์
หัวใจหลักของ Tinker Edge T คือ Coral System-on-Module ที่มีทั้งซีพียู, แรม, และหน่วยความจำแฟลชมาแล้วในตัว โดยรุ่นที่ ASUS ใช้เป็นรุ่นแรม 1GB ส่วนบอร์ด I/O ที่ ASUS มาทำนั้น มี LED ในตัว, ขา GPIO, HDMI ขนาดเต็ม, USB-A, USB-C, แลนกิกะบิต พร้อมพัดลมระบายความร้อน
บอร์ด Tinker Edge T จะเริ่มขายเร็วๆ นี้ และฟีเจอร์บางส่วน เช่น ชุดเครื่องมือแฟลชระบบปฎิบัติการ หรือหน้าจอช่วยให้ใช้งานง่าย จะมาภายในสิ้นเดือน
ปีที่แล้วกูเกิลเปิดตัวชิปเร่งความเร็วปัญญาประดิษฐ์ในแบรนด์ Coral มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ก่อนหน้านี้มีขายเฉพาะชุดพัฒนา ปีนี้กูเกิลก็ประกาศเตรียมวางขายชิปสำหรับผู้ผลิตนำไปประกอบเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว โดยมี 2 รูปแบบ
สัปดาห์ที่ผ่านมา กูเกิลเปิดตัวผลิตภัณฑ์สาย AI หลายตัว ส่วนใหญ่เป็นซอฟต์แวร์ในตระกูล TensorFlow เช่น TensorFlow 2.0 Alpha, TensorFlow JS, TensorFlow Privacy, TensorFlow Lite 1.0 แต่ก็ยังมีโครงการฮาร์ดแวร์เปิดตัวด้วยเช่นกัน
โครงการฮาร์ดแวร์ใช้ชื่อแบรนด์ว่า Coral มันเป็นชุดฮาร์ดแวร์ DIY เพื่อประมวลผล AI แบบโลคัล ไม่ต้องส่งขึ้นคลาวด์
กูเกิลเปิดตัว Edge TPU ชิปประมวลผลปัญญาประดิษฐ์สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว โดยบอกว่าจะขายทปลายปี 2018 แต่หลังจากเลยกำหนดมาพักใหญ่ ตอนนี้บอร์ดพัฒนา และตัวเร่งแบบ USB-C ก็วางขายแล้วทั้งคู่ ในแบรนด์ Coral
ตัว Coral Dev Board ใช้ชิป NXP i.MX 8M ภายในเป็น Cortex-A53 สี่คอร์ และไมโครคอนโทรลเลอร์ Cortex-M4F แรม 1GB และหน่วยความจำ eMMC 8GB รองรับ Wi-Fi 802.11ac และ Bluetooth 4.1 พอร์ตแลนกิกะบิต, USB-C, USB-A 3.0, และ micro USB สำหรับคอนโซล ต่อจอภาพด้วย HDMI 2.0a, MIPI-DSI 24 pin, และต่อกล้องด้วย MIPI-CSI2 และชิป Edge TPU ราคา 149.99 ดอลลาร์