Charoen Pokphand Group
ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทุกคนสามารถหาข้อมูลได้ง่ายแค่ปลายนิ้วบนโลกออนไลน์ ธุรกิจมากมายต้องเผชิญกับ Digital Transformation หลายอุตสาหกรรมจึงต้องปรับตัวเข้าสู่ยุค New Economy 5.0 ให้ทันต่อความท้าทายครั้งนี้
ภาคเอกชนไทยอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ที่ดำเนินธุรกิจหลากหลายทั้งอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ ถือเป็นกรณีศึกษาที่เห็นได้ชัดถึงการทรานฟอร์มธุรกิจได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกอยู่ตลอดเวลา เพื่อเตรียมพร้อมที่จะปรับโฉมสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม - Tech Company ในอนาคต
หลังจากที่เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี ได้เปิดวิสัยทัศน์ในการตั้งเป้าองค์กรสู่การเป็น Tech Company ไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพื่อยกระดับธุรกิจในเครือฯ ให้ทันต่อการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก
การจะนำพาซีพีสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยีได้จิ๊กซอว์สำคัญคือการสร้างนวัตกรรมและงานวิจัย ดังนั้นเครือซีพีจึงได้เร่งจัดทัพองค์กรสร้าง Innovation Ecosystem ในกลุ่มธุรกิจต่างๆ พัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับกระบวนการทำงานในธุรกิจที่หลากหลาย โดยได้จัดตั้ง CP IP Service Center หนึ่งในจิ๊กซอว์สำคัญที่จะช่วยทำหน้าที่รวบรวมนวัตกรรมต่างๆ ขององค์กร ในการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ให้แก่ทุกกลุ่มธุรกิจในเครือฯ ไปพร้อมกับการสร้างเครือข่ายพันธมิตรด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
หลังจากที่เครือซีพีได้ก่อตั้งเครือข่ายองค์กรพันธมิตรด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี “CPG Open Innovation Ecosystem Partner” ไปเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา พร้อมเปิดวิสัยทัศน์การยกระดับองค์กรสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี หรือ Tech Company
วันนี้ Blognone มีโอกาสได้พูดคุยกับ ดร.จอห์น เจียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา เครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อสอบถามและพูดคุย เกี่ยวกับเส้นทางที่จะมุ่งไปยังเป้าหมายในการเป็นบริษัทเทคโนโลยีของเครือซีพี ไปจนถึงมุมมองเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะมีความสำคัญต่อประเทศไทยในยุคดิจิทัล
ธนาคารไทยพาณิชย์ทำหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารมีมติให้ บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ตกลงร่วมมือกับกับบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (CPG) จัดตั้งกองทุน Venture Capital มูลค่า 600-800 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 20,000-27,000 ล้านบาท
ปัญหาโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change) ที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นกระทบต่อระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิต เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เป็นวาระสำคัญลำดับต้นๆ ของโลก หลายปีมานี้หลายประเทศได้ร่วมกำหนดทิศทางและปฏิบัตการเชิงรุกเพื่อรับมือภาวะโลกร้อนอย่างเต็มกำลัง อาทิ ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่ถือเป็นข้อตกลงประวัติศาสตร์ที่นานาประเทศกว่า 189 ประเทศ ผนึกกำลังร่วมเป็นภาคีในการทำให้อุณหภูมิโลกไม่เพิ่มสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส หรือควบคุมอุณหภูมิโลกให้สูงไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ทั้งยังได้วางหมุดหมายร่วมกันที่จะต้องเห็นผลว่านานาประเทศดำเนินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2030
นับตั้งแต่เกิดวิกฤตโรคระบาด โควิด-19 เรามองเห็นความเคลื่อนไหวของซีพีในการใช้ทรัพยากรที่มี สร้างโซลูชันเร่งด่วนเพื่อแก้วิกฤตมาโดยตลอด ยกตัวอย่างเช่น การใช้ AI มาเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบคุณภาพหน้ากากอนามัยที่เครือซีพีตั้งโรงงานผลิตเพื่อส่งมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้เปราะบางตั้งแต่โควิดรอบแรกจนถึงปัจจุบัน
วิกฤตโควิดรอบนี้ เครือซีพีผนึกกำลังกับบริษัทในเครือร่วมทำโครงการซีพีร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19 สนับสนุนภารกิจโรงพยาบาลสนาม โดย Blognone ได้พูดคุยกับ คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เกี่ยวกับการผนึกกำลังของซีพีและทรู ร่วมนำทรัพยากรและเทคโนโลยีมาสนับสนุนภารกิจภาคสาธารณสุข อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสาร พัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เสริมประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และช่วยเหลือคนไทยให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ในสถานการณ์โควิด-19
นับตั้งแต่เกิดวิกฤตขาดแคลนหน้ากากอนามัยใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดยคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือซีพี ได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยแจกจ่ายฟรีแก่ แพทย์ พยาบาล ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่เป็นด่านหน้าที่ต้องรับมือกับวิกฤตโควิด-19 อย่างเร่งด่วน รวมทั้งประชาชนที่ขาดโอกาส เพื่อเร่งบรรเทาวิกฤตการขาดแคลนหน้ากากอนามัย
จึงได้ก่อตั้ง บริษัท ซีพี โซเชียล อิมแพคท์ จำกัด ขึ้นมาดูแลเปิดโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยซีพีใช้เวลาก่อสร้างด้วยความรวดเร็วภายใน 5 สัปดาห์ ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการผลิตตั้งแต่การออกแบบห้องคลีนรูม (Clean Room) นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตและเชื่อมต่อกับระบบ AI ที่ได้รับความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการผลิตและการบรรจุ ซึ่งในทุกขั้นตอนเชื่อมต่อเป็นระบบอัตโนมัติและใช้กำลังคนน้อยที่สุดเพื่อให้หน้ากากอนามัยที่ผลิตปลอดเชื้อเป็นไปตามมาตรฐานสากล
จุดเริ่มต้นเรื่องการใช้หุ่นยนต์ของบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด มาจากนโยบายของประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ เมื่อ 4-5 ปีก่อน ที่อยากให้นำหุ่นยนต์มาใช้ในร้านค้าปลีกของเครือ ทำให้ทุกบริษัทในเครือซีพีเข้ามาศึกษาเรื่องนี้ ถ้านับเฉพาะในส่วนของ True เอง มีทีมที่เรียกว่า True Robotics ซึ่งในช่วงแรกเน้นการสรรหาหุ่นยนต์จากทั่วโลกมาใช้งาน แต่ภายหลังก็คิดว่า คนไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์เองได้ จึงเริ่มโครงการพัฒนาหุ่นยนต์ด้วย
เว็บไซต์สายคริปโต The Block รายงานข่าวที่ยังไม่ยืนยันอย่างเป็นทางการว่า กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บรรลุข้อตกลงซื้อ Omise สตาร์ตอัพด้านการจ่ายเงินของไทย ด้วยมูลค่าราว 150 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4,800 ล้านบาท)
Omise เริ่มต้นจากการเป็น payment gateway และภายหลังก็ขยายธุรกิจมาสู่เงินคริปโตในชื่อ Omise Go (ตัวย่อ OMG) และถือเป็นเงินคริปโตที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของตลาดคริปโต (ข้อมูลขณะที่เขียนคือมีมูลค่าประมาณ 280 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นอันดับ 26 จากเหรียญทั้งหมด - CoinMarketCap)
อัพเดต คุณ Jun Hasegawa ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ได้ปฏิเสธข่าวนี้แล้วทางทวิตเตอร์