ธุรกิจไทยซื้อกันเอง SYNQA Group (บริษัทแม่ของ Omise) ประกาศซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของ Eventpop สตาร์ตอัพด้านระบบการจัดอีเวนต์ของไทย โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Eventpop ระบุว่าได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด ทำให้ธุรกิจอีเวนต์หายไป บริษัทจึงนำเทคโนโลยีด้าน O2O (Online to Offline) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยหนึ่งในนั้นคือธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซแบบ Omnichannel ที่ร่วมพัฒนากับ SYNQA อยู่ก่อนแล้ว
Omise สตาร์ทอัพบริการ payment gateway ของไทย ประกาศรับเงินเพิ่มทุนรอบล่าสุดโดยไม่มีการเปิดเผยวงเงิน จากกลุ่มการเงินรายใหญ่ของญี่ปุ่น Nomura Holdings โดยเงินทุนดังกล่าว Omise จะนำมาใช้ลงทุนขยายธุรกิจที่มีทั้ง Omise (Payment Gateway), OmiseGo (เงินดิจิทัล) และ Go.Exchange (บริการแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัล)
ผู้ลงทุนเดิมของ Omise มีทั้งกองทุน Global Brain ของญี่ปุ่น, กองทุน Krungsri Finnovate ของธนาคารกรุงศรี, บริษัทจัดการกองทุน SBI และกองทุน Golden Gate Ventures ที่มี SCB ร่วมลงทุน
เว็บไซต์สายคริปโต The Block รายงานข่าวที่ยังไม่ยืนยันอย่างเป็นทางการว่า กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บรรลุข้อตกลงซื้อ Omise สตาร์ตอัพด้านการจ่ายเงินของไทย ด้วยมูลค่าราว 150 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4,800 ล้านบาท)
Omise เริ่มต้นจากการเป็น payment gateway และภายหลังก็ขยายธุรกิจมาสู่เงินคริปโตในชื่อ Omise Go (ตัวย่อ OMG) และถือเป็นเงินคริปโตที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของตลาดคริปโต (ข้อมูลขณะที่เขียนคือมีมูลค่าประมาณ 280 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นอันดับ 26 จากเหรียญทั้งหมด - CoinMarketCap)
อัพเดต คุณ Jun Hasegawa ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ได้ปฏิเสธข่าวนี้แล้วทางทวิตเตอร์
Omise ผู้ให้บริการ payment gateway ลงนามความตกลงกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA เพื่อเข้ามาช่วยพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนดิจิทัล ในโครงการ National Digital ID
ผมสอบถามช้อมูลเพิ่มเติมของข้อตกลงนี้ไปยังคุณนฤดม รุ่งศิริวงศ์ หนึ่งในทีมเทคนิคของโครงการ National Digital ID ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทาง Omise จะเข้ามาช่วย ETDA พัฒนา Federated Proxy ที่เป็นความรับผิดชอบของ ETDA ตามเอกสาร whitepaper ของโครงการ
กระทรวงการคลังเริ่มทดสอบการจ่ายค่าอาหารในโรงอาหารด้วย Omise FacePay เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเป็นวันแรกตามกำหนดที่ประกาศตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา
Omise FacePay เปิดตัวตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเทคโนโลยีแยกเป็นส่วนของการค้นหาภาพผู้ใช้จากคลังผู้ใช้ (face recognition) หากไม่สามารถหาได้ก็ยังสามารถใช้ข้อมูลอื่นเพื่อเช่นหมายเลขโทรศัพท์ จากนั้นระบบจะเทียบใบหน้าของผู้ใช้กับใบหน้าในฐานข้อมูล เมื่อยืนยันการจ่ายเงินก็จะเก็บภาพถ่ายไว้เป็นหลักฐานในกรณีที่มีความพยายามโกงเงินจากระบบ
ระบบนี้เคยทดสอบกับร้านกาแฟ Amazon มาก่อนหน้านี้แล้ว
Omise ผู้ให้บริการเกตเวย์รับจ่ายเงิน (payment gateway) ประกาศความร่วมมือกับ Alipay เปิดช่องทางให้ผู้ค้าออนไลน์ในไทยรับเงินผ่าน Alipay ได้แล้ว เป้าหมายหลักของผู้ใช้คือนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมายังเมืองไทย และอาจจะต้องการซื้อสินค้าออนไลน์
คาดว่านักท่องเที่ยวจีนจะเดินทางมายังประเทศไทยในปีนี้ถึง 9.8 ล้านคน และอาจใช้จ่ายเงินถึง 30% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่มียอดค่าใช้จ่ายรวม 2.6 ล้านล้านบาท
ที่มา - Omise
Omise บริการ payment gateway ที่ผ่านการรับรอง PCI-DSS 3.0 มาตั้งแต่ปี 2014 ผ่านมาสองปีทางบริษัทก็ระบุว่าผ่านการรับรอง PCI-DSS 3.2 เรียบร้อยแล้ว พร้อมระบุว่าเป็นบริษัทแรกในไทยที่ผ่านการรับรองมาตรฐานรุ่นล่าสุดนี้ ทั้งการจัดเก็บ, การประมวลผล, และการส่งข้อมูลบัตร
มาตรฐานความปลอดภัย PCI-DSS 3.2 เพิ่มความเข้มงวดในการเข้าถึงระบบเพิ่มเติม และต้องรายงานกระบวนการย้ายออกจาก SSL และ TLS รุ่นเก่าหากยังมีการใช้งานอยู่
ที่มา - Omise
Omise บริษัท Payment Gateway ในไทย ประกาศระดมทุน Series B ซึ่งรอบนี้ได้รับเงินลงทุนรวม 17.5 ล้านดอลลาร์ โดยผู้ลงทุนหลักคือกองทุน SBI Investment จากประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมี Golden Gate Ventures ที่ SCB ไปลงทุนไว้อีกด้วย โดยการระดมทุนครั้งนี้ถือเป็นการระดมทุน Series B ของบริษัท Fintech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง