Google Cloud มีบริการรันงานแบบ serverless / event-driven อยู่สองตัวคือ Cloud Functions ที่เปิดตัวครั้งแรกปี 2016 ใช้ระบบจัดการเซิร์ฟเวอร์ที่กูเกิลพัฒนาเอง จำกัดภาษาโปรแกรมเท่าที่กูเกิลรองรับ รันได้เฉพาะบน GCP และ Cloud Run ที่เปิดตัวปี 2019 ใช้ Kubernetes (Knative) รันบนคลาวด์ยี่ห้ออื่นได้ ใช้รันไทม์ใดๆ ก็ได้ตามต้องการ
ทิศทางของกูเกิลชัดเจนว่า Cloud Run คืออนาคต และล่าสุดกูเกิลแปลงร่าง Cloud Functions เดิมมาทำงานบนเทคโนโลยีของ Cloud Run และใช้ชื่อใหม่ว่า Cloud Run Functions
กูเกิลปรับบริการ Cloud Functions (GCF) ครั่งใหญ่ (2nd gen) โดยจุดสำคัญคือการเพิ่มระยะเวลารันให้ยาวขึ้นจากเดิมจำกัด 9 นาทีเป็น 60 นาที และสามารถสร้างเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ จากเดิมขนาดหน่วยความจำไม่เกิน 2GB เป็น 16GB
เทียบกับ AWS Lambda ที่เป็นบริการแบบเดียวกัน รองรับแรมสูงสุด 10GB และรันได้ไม่เกิน 15 นาที นอกจากการเพิ่มฟีเจอร์พลังประมวลผลแล้ว เวอร์ชั่นนี้ยังเพิ่มอีเวนต์จาก Eventarc เข้ามาทำให้ GCF รับอีเวนต์จากแหล่งต่างๆ ใน Google Cloud กว่า 90 รายการ
Google Cloud Functions บริการ Function as a Service (FaaS) หรือบ้างก็เรียกการประมวลผลแบบ serverless ประกาศรองรับภาษา PHP แล้ว โดยจะเป็น PHP เวอร์ชัน 7.4 และยังมีสถานะเป็น public preview
PHP นับเป็นภาษาที่ 7 ที่ใช้งานกับ Cloud Functions ได้ โดยภาษาที่รองรับมาแล้วก่อนหน้านี้คือ Node.js, Python, Go, Java, .NET, Ruby
การรองรับ PHP ยังทำให้ Cloud Functions เป็นบริการ serverless ตัวแรกที่รองรับภาษานี้ด้วย เพราะคู่แข่งโดยตรงทั้ง AWS Lambda และ Azure Functions ยังไม่รองรับ PHP ทั้งคู่
Google Cloud Functions บริการประมวลผลแบบ serverless ของฝั่งกูเกิล (ที่เทียบได้กับ Amazon Lambda ของฝั่ง AWS) ประกาศรองรับรันไทม์อีก 2 ภาษาคือ .NET Core 3.1 และ Ruby
ประกาศนี้ทำให้ตอนนี้ Cloud Functions รองรับภาษาทั้งหมด 6 ภาษาคือ Java 11, Node.js (8/10/12), Python (3.7/3.8) และ Go
การเพิ่มจำนวนภาษาที่รองรับในรอบนี้ ทำให้ Cloud Functions ทัดเทียมกับคู่แข่ง Lambda ที่รองรับทั้งหมด 7 ภาษา (6 ภาษาแรกเหมือนกัน เพิ่ม PowerShell มาอีกหนึ่งภาษา) ในขณะที่ Azure Functions ของไมโครซอฟท์รองรับ .NET Core 3.1 (C#/F#), Node.js, Java, Python, PowerShell, TypeScript
Google Cloud Functions บริการประมวลผลแบบ serverless ของฝั่งกูเกิล ที่เปิดตัวครั้งแรกปี 2016 และออกรุ่นเสถียรปี 2018 ประกาศรองรับ Java 11 แล้ว (ยังมีสถานะเป็น Beta)
Java 11 ถือเป็นแพลตฟอร์ม Java รุ่นซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) รุ่นต่อจาก Java 8 ที่นิยมใช้กันแพร่หลาย การที่ Cloud Functions รองรับ Java 11 ช่วยให้แอพพลิเคชันสำหรับลูกค้าองค์กร รองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ ของภาษารุ่นใหม่ด้วย
กูเกิลยังบอกว่าเฟรมเวิร์คยอดนิยมของโลก Java อย่าง Spring Cloud Function และ Micronaut ก็รองรับ Cloud Functions เรียบร้อยแล้วเช่นกัน
Google Cloud Functions บริการคลาวด์แบบ serverless ของกูเกิล ประกาศรองรับภาษาโปรแกรมเวอร์ชันต่างๆ เพิ่มเติมดังนี้
Google Cloud เปิดตัวรันไทม์สำหรับภาษา Go สำหรับการใช้งานบน Cloud Functions บริการคลาวด์แบบ serverless ของ Google เพิ่มเติมจากรันไทม์ Node.js และ Python ในปัจจุบัน
Google ระบุว่า Cloud Functions รองรับภาษา Go เวอร์ชันล่าสุด 1.11 รวมถึงแพคเกจอื่น ๆ ของ Go ผ่าน Go modules ด้วย โดยผู้ใช้เพียงสร้างไฟล์ go.mod ไว้ ซึ่งเมื่อดีพลอยลง Cloud Functions ระบบก็จะติดตั้งแพคเกจที่ระบุไว้ในไฟล์ให้
ตอนนี้ Cloud Functions ได้เริ่มเปิดให้ผู้ใช้ทดสอบรันไทม์ Go 1.11 เวอร์ชันเบต้าแล้ว รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จาก Google Cloud Docs
แนวทางการบริหารระบบเซิร์ฟเวอร์ยุคใหม่มีคำว่า Serverless ที่ไม่ต้องเปิดเซิร์ฟเวอร์ค้างไว้ แต่ให้ระบบทำงานต่อเมื่อมีเหตุการณ์ที่ระบุเกิดขึ้น (event-driven) ซึ่งผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ทุกเจ้าก็มีบริการแบบนี้ เช่น Amazon Lambda ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2014 หรือ Azure Functions ในปี 2016
ฝั่งกูเกิลออก Cloud Functions ในปี 2016 เช่นกัน ก่อนเปิดให้ทดสอบทั่วไปในปี 2017 และมาถึงปี 2018 ก็ได้เวลาเปิดบริการเต็มรูปแบบ (generally available หรือ GA)
แนวคิดบริการคลาวด์แบบ serverless ไม่ต้องเปิดเครื่องรันทิ้งไว้ ทำงานเมื่อถูกเรียกใช้งาน กำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มจาก AWS Lambda ที่เปิดมาก่อนเพื่อน
ฝั่ง Google Cloud Platform ก็ออกบริการแบบเดียวกันในชื่อ Cloud Functions ที่เปิดตัวครั้งแรกช่วงต้นปี 2016 โดยยังจำกัดวงทดสอบแบบอัลฟ่า
เวลาผ่านมา 1 ปี บริการก็เปิดให้คนทั่วไปทดสอบแบบ public beta แล้ว
Google ได้อัพเดต Firebase บริการ backend ครบวงจรสำหรับนักพัฒนาแอพ โดยมาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ Google บอกว่าเป็นการทำให้ Firebase เข้าใกล้กับ Google Cloud Platform มากยิ่งขึ้น
ฟีเจอร์แรกคือ Cloud Functions for Firebase บริการรันโค้ดบนโดยไม่ต้องเปิดเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมา ซึ่งตอนนี้ได้เข้าสู่ public beta แล้ว และ Cloud Functions จะแชร์โครงสร้างพื้นฐานของ Firebase และ Cloud ทำให้สามารถใช้ฟังก์ชันหรือเข้าถึงทรัพยากรข้ามกันไปมาได้
ถัดไปคือ Firebase Storage เปลี่ยนชื่อเป็น Cloud Storage for Firebase และขยายความสามารถจากเดิมที่สามารถเก็บไว้ที่ bucket หนึ่งในสหรัฐฯ ให้เก็บไว้ที่ bucket ของ Cloud Storage ที่ไหนก็ได้ในโลก
กูเกิลเปิดตัว Google Cloud Function รุ่นอัลฟ่า บริการรันโค้ดบนคลาวด์โดยไม่ต้องเซ็ตเครื่องขึ้นมาใช้งาน โดยระหว่างช่วงอัลฟ่านี้ต้องขอใช้งานเป็นรายคน
บริการนี้เป็นคู่แข่งโดยตรงของ AWS Lambda สำหรับการรันโค้ดที่มักจะไม่ซับซ้อนนักเพื่อจัดการกับข้อมูลที่เข้ามา กรณีเช่นมีการอัพโหลดภาพใหม่แล้วต้องการให้สร้างภาพย่อ (thumbnail) เตรียมไว้เสมอ กรณีของ Cloud Function ตัวโค้ดสามารถถูกเรียกจากบริการ Pub/Sub (ซึ่งทำให้เรียกจาก Cloud Logging และ Gmail ได้ด้วย), HTTP, Google Cloud Storage สำหรับการพัฒนาก็สามารถเรียกตรงจาก SDK ของ Google Cloud ได้โดยตรง