เมื่อวานนี้ผู้ใช้แอป Microsoft Teams จำนวนมากได้รับ notification ประหลาด ข้อความจำนวนมากระบุว่าเป็นการทดสอบ วันนี้ทางเว็บ The Register ก็พูดคุยกับ Abhishek Dharani นักวิจัยความปลอดภัยที่เพิ่งรายงานช่องโหว่กุญแจ Firebase Cloud Messaging (FCM) หลุดไปกับตัวแอป โดย Dharani คาดว่ามีคนอื่นอ่านรายงานช่องโหว่ของเขาแล้วนำไปทดสอบกับแอปอื่นๆ
ช่องโหว่นี้เป็นช่องโหว่ของแอปที่เก็บรักษากุญแจ FCM ผิดพลาด โดยติดกุญแจไปกับตัวแอปจนคนร้ายสามารถดึงออกมาจากไฟล์ APK บนแอนดรอยด์ได้ แม้แต่กูเกิลเองก็พลาดในเรื่องนี้จน Dharani สามารถดึงกุญแจสำหรับแอป Google Hangouts และ Google Play Music ออกมาได้ ทำให้กูเกิลจ่ายเงินรางวัลสำหรับรายงานช่องโหว่ถึง 30,000 ดอลลาร์
บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ Comparitech ตรวจสอบแอปกว่าห้าแสนตัวใน Google Play และพบว่าในจำนวนนี้ 4.8% ใช้ Firebase เป็นสตอเรจสำหรับแอป และพบว่าแอป 4,282 รายการนั้นคอนฟิก Firebase อย่างไม่ถูกต้อง ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าไปดาวน์โหลดฐานข้อมูลออกมาได้
Firebase Realtime Database เป็นระบบฐานข้อมูลหลักของบริการในกลุ่ม Firebase ที่นิยมใช้เก็บข้อมูลผู้ใช้ในแอป โดยค่าเริ่มต้นของฐานข้อมูลนั้นจะเปิดให้เฉพาะผู้ใช้ที่ล็อกอินแล้วเท่านั้น แต่ไม่ได้จำกัดข้อมูลว่าใครเป็นเจ้าของบ้าง โดยนักพัฒนาต้องคอนฟิกกฎเพิ่มเติมภายหลังเอง
นักพัฒนาแอพมือถือ คงทราบดีว่าควรทดสอบแอพของตัวเองกับผู้ใช้กลุ่มเล็กๆ ก่อนออกตัวจริง และเผยแพร่ต่อผู้ใช้ในวงกว้าง ซึ่ง App Store และ Play Store ต่างก็มีฟีเจอร์นี้ แต่ถ้าเรามีแอพอยู่บนทั้งสองแพลตฟอร์ม ก็ต้องทดสอบ 2 รอบ โดยใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันไป
ล่าสุด Firebase เปิดตัว App Distribution บริการจัดการเรื่องการทดสอบแอพแบบข้ามแพลตฟอร์ม รองรับการเผยแพร่แอพทั้งบน App Store และ Play Store โดยใช้หน้าแดชบอร์ดของ Firebase เพียงตัวเดียว และช่วยจัดการเรื่องเวอร์ชันของแอพที่ทดสอบ รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลการแครชของแอพเข้ากับ Crashlytics ซึ่งเป็นบริการจัดการข้อมูลแครชของ Firebase เช่นกัน
Firebase เติบโตขึ้นมาในฐานะบริการ backend บนคลาวด์ที่ช่วยสนับสนุนนักพัฒนาแอพมือถือมานาน เริ่มต้นจากการเป็นฐานข้อมูลบนคลาวด์ แล้วขยายมายังบริการอื่นๆ อีกมาก เช่น วิเคราะห์ข้อมูล (analytics/crashlytics), ล็อกอิน (authentication), ส่งข้อความแจ้งเตือน (cloud messaging), ทดสอบ (A/B testing) ฯลฯ
ล่าสุดในงาน Firebase Summit ปี 2019 กูเกิลก็ประกาศขยายจักรวาล Firebase ด้วยโมเดล Firebase Extensions เพื่อเพิ่มความสามารถของ Firebase ให้หลากหลายขึ้นอีกมาก
ในฝั่งของนักพัฒนาเองก็ประหยัดเวลาจากการเขียนฟังก์ชันพื้นฐานซ้ำๆ เพราะกดติดตั้งและ deploy เพื่อเช่าใช้งานจาก Firebase ได้เลย
หลังจาก Google เปิดตัวโดเมนใหม่ web.app ไว้ในงาน Google I/O 2019 ที่ผ่านมา เพื่อใช้สำหรับบริการ Firebase Hosting บริการโฮสติ้งสำหรับเว็บแบบ Static.
ตอนนี้โดเมน web.app ได้เปิดให้ใช้งานได้แล้ว ซึ่งการปรับอัพเดตนี้จะมีผลไปยังโปรเจคทั้งหมดเองโดยอัตโนมัติ และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มเติม. แต่สำหรับโปรเจคเก่าที่สร้างไว้ก่อนเดือนพฤษภาคมนี้ จะสามารถใช้โดเมนใหม่นี้ได้ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2019 เป็นต้นไป
ส่วนโปรเจคใหม่ที่สร้างขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นไป จะสามารถใช้ทั้ง 2 โดเมนได้แล้ว คือ
ในเบื้องต้น Google ยังไม่มีแผนที่จะยกเลิกโดเมน firebaseapp.com .
Google เข้าซื้อ Fabric เครื่องมือสำหรับนักพัฒนาแอพมาจาก Twitter ตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว โดย Google ก็มีแผนรวมเข้ากับ Firebase และในครั้งนี้ Google ก็ประกาศแผนใหม่เพื่อให้นักพัฒนาเริ่มเตรียมการย้ายจาก Fabric ก่อนที่จะหยุดให้บริการในกลางปีหน้า ดังนี้
Firebase เครื่องมือช่วยสนับสนุนนักพัฒนาแอพแห่งยุคสมัย ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง ฟีเจอร์สำคัญคือ In App Messaging สำหรับให้นักพัฒนาส่งข้อความป๊อปอัปในแอพไปหาผู้ใช้งานได้ นักพัฒนาสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อความ สี ภาพ ได้ตามต้องการ และวัดผลการคลิกลิงก์ของผู้ใช้ผ่านคอนโซลของ Firebase ได้ด้วย
ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ ที่ประกาศพร้อมกันได้แก่
กูเกิลเปิดตัวชุดพัฒนา ML Kit สำหรับใช้งานโมเดลปัญญาประดิษฐ์สำเร็จรูป หรือโมเดล TensorFlow Lite ที่พัฒนาเอง โดยรวมชุดเข้ากับชุดพัฒนา Firebase
ML Kit มีโมเดลสำเร็จรูปเพื่อใช้งานบนอุปกรณ์ นำมาจาก Google Vision API ได้แก่ การแปลงภาพเป็นข้อความ, ตรวจจับใบหน้า สแกนบาร์โค้ด, จัดหมวดหมู่ภาพ (ใหม่) ส่วนโมเดลที่รันบนคลาวด์ได้แก่ การแปลงภาพเป็นข้อความเพิ่มความแม่นยำจากการรันบนอุปกรณ์เอง, การจัดหมวดหมู่ภาพ, และการจดจำสถานที่สำคัญ
ส่วนการรันโมเดล TensorFlow Lite เป็นการรวมตัวระหว่างซอฟต์แวร์ TensorFlow Lite และ Neural Network API ทำให้นักพัฒนาสามารถรันโมเดลได้จาก SDK ชุดเดียว
กูเกิลเปิดตัว ML Kit บริการในเครือ Firebase สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการฟีเจอร์ด้าน AI สำหรับแอพของตัวเอง ใช้ได้ทั้ง Android และ iOS
ML Kit ประกอบด้วยฟีเจอร์ด้าน AI พื้นฐานหลายอย่าง เช่น ตรวจจับใบหน้า แปลงภาพเป็นข้อความ คัดแยกประเภทรูปภาพ อ่านบาร์โค้ด ค้นหาสถานที่จากรูปภาพ รวมถึงฟีเจอร์ Smart Reply แบบในแอพ Gmail/Inbox บนมือถือ
ML Kit จะทำงานทั้งบนคลาวด์และบนอุปกรณ์ โดยรันบนเอนจิน TensorFlow Lite ที่รองรับทั้ง Android กับ iOS
Firebase ประกาศปรับสถานะบริการ Firebase Crashlytics เป็น GA (general availabilty) เหมาะแก่การใช้งานทั่วไป และหลังจากนี้จะแนะนำให้นักพัฒนาที่ต้องการใช้ระบบวิเคราะห์การแครชของแอป หันไปใช้ Crashlytics
บริการเดิม คือ Firebase Crash Reporting จะถูกซ่อนไว้ภายในเมนู และจะปิดการทำงานวันที่ 8 กันยายนนี้
นอกจากการปรับสถานะบริการแล้วยังมีการเพิ่มฟีเจอร์ เช่น การทำงานร่วมกับ Google Analytics for Firebase, วิเคราะห์หาสาเหตุที่เป็นไปได้ของการแครชให้อัตโนมัติ, ล็อกเวอร์ชั่นสำคัญ
ที่มา - Firebase
Google ได้เปิดตัว Cloud Firestore ระบบฐานข้อมูลภายใต้บริการของ Firebase ที่ออกแบบมาเพื่อให้ประสิทธิภาพสูง พร้อมระบบจัดการเต็มรูปแบบเพื่อให้นักพัฒนาไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับระบบจัดการฐานข้อมูลของแอพ
Cloud Firestore มาพร้อมกับชุดเครื่องมือ SDK สำหรับ iOS, Android และเว็บแอพ รองรับการรันฐานข้อมูลในโหมดออฟไลน์ ดังนั้นผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลของแอพพลิเคชั่นได้แม้จะไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ดังนั้นผู้ใช้ก็สามารถใช้แอพในพื้นที่ที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ และซิงค์ได้เมื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
Firebase ประกาศเพิ่มความสามารถของ Firebase Auth จากเดิมรองรับการยืนยันตัวตนด้วยอีเมล, เฟซบุ๊ก, กูเกิล, ทวิตเตอร์, และ GitHub มารองรับการยืนยันตัวตนด้วยหมายเลขโทรศัพท์เพิ่มเติม
การยืนยันตัวตนด้วยหมายเลขโทรศัพท์จาก Firebase จะตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ให้อัตโนมัติหากทำได้ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องกรอกหมายเลขโทรศัพท์เอง และหากผู้ใช้เคยยืนยันตัวตนบนโทรศัพท์เครื่องนั้นมาไม่นานก็จะล็อกอินได้ทันทีโดยไม่ต้องส่ง SMS ซ้ำอีก
ค่าบริการการยืนยันตัวตนด้วยหมายเลขโทรศัพท์ จะฟรี 10,000 ครั้งต่อเดือน หลังจากนั้นจะคิดค่าบริการ 0.01 ดอลลาร์ในสหรัฐฯ, แคนาดา, และอินเดีย ส่วนประเทศอื่นๆ จะคิดค่าบริการ 0.06 ดอลลาร์
เริ่มใช้งานได้แล้ววันนี้
Google ได้อัพเดต Firebase บริการ backend ครบวงจรสำหรับนักพัฒนาแอพ โดยมาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ Google บอกว่าเป็นการทำให้ Firebase เข้าใกล้กับ Google Cloud Platform มากยิ่งขึ้น
ฟีเจอร์แรกคือ Cloud Functions for Firebase บริการรันโค้ดบนโดยไม่ต้องเปิดเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมา ซึ่งตอนนี้ได้เข้าสู่ public beta แล้ว และ Cloud Functions จะแชร์โครงสร้างพื้นฐานของ Firebase และ Cloud ทำให้สามารถใช้ฟังก์ชันหรือเข้าถึงทรัพยากรข้ามกันไปมาได้
ถัดไปคือ Firebase Storage เปลี่ยนชื่อเป็น Cloud Storage for Firebase และขยายความสามารถจากเดิมที่สามารถเก็บไว้ที่ bucket หนึ่งในสหรัฐฯ ให้เก็บไว้ที่ bucket ของ Cloud Storage ที่ไหนก็ได้ในโลก
ในที่สุดข่าวลือที่ว่ากูเกิลจะซื้อทวิตเตอร์ก็เป็นความจริง แม้จะเป็นแค่เพียงส่วนเดียวของทวิตเตอร์ก็ตาม
ทวิตเตอร์มีแผนกหนึ่งชื่อว่า Fabric ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2014 เป็นชุดเครื่องมือสำหรับสนับสนุนนักพัฒนาแอพ ประกอบด้วยเครื่องมือหลายตัว เช่น Crashlytics ตัววิเคราะห์ล็อกการแครชของแอพ, MoPub เครือข่ายโฆษณาสำหรับแอพ
อย่างไรก็ตาม ทวิตเตอร์ประสบปัญหาธุรกิจอย่างหนักในช่วงหลัง จึงตัดสินใจขาย Fabric ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไปให้กูเกิล โดยกูเกิลจะนำ Fabric ไปรวมกับ Firebase ชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาในลักษณะเดียวกัน
Google ประกาศว่า Google Play Services 10.0.0 และ Firebase 10.0.0 ไคลเอนท์ไลบราลี่สำหรับ Android จะเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่จะรองรับ Android API ตั้งแต่ level 9 จนถึง 13 โดยไลบรารีเวอร์ชันถัดไปคือตั้งแต่ 10.2.0 ที่จะออกในต้นปี 2017 จะรองรับ Android API เฉพาะ level 14 ขึ้นไปเท่านั้น
หมายความว่า หากผู้ใช้ต้องการอัพเดต Google Play Services 10.2.0 หรือใหม่กว่า จำเป็นต้องใช้ Android 4.0 Ice Cream Sandwich หรือใหม่กว่าเท่านั้น ทำให้ Android 2.3 Gingerbread และ Android 3.0, 3.1, 3.2 Honeycomb ไม่รองรับไลบรารีรุ่นใหม่นี้
ทั้งนี้ หากนักพัฒนาเลือกที่จะพัฒนาแอพให้รองรับ API ที่รองรับ level ที่ขนาดต่ำกว่า 14 ก็สามารถทำได้อยู่ โดยใช้โค้ดดังนี้
เมื่อปลายปี 2014 กูเกิลซื้อบริษัท Firebase ผู้ให้บริการ backend สำหรับนักพัฒนาแอพในการซิงก์ข้อมูลระหว่างแอพกับคลาวด์ จากนั้น Firebase ก็เงียบหายไปราวปีครึ่ง ก่อนจะกลับมาอย่างยิ่งใหญ่กับ Firebase 2.0 ที่เปิดตัวบนเวทีงาน Google I/O 2016
Firebase 2.0 กลายร่างจากบริการ backend เก็บข้อมูลอย่างเดียว มาเป็น 'แพลตฟอร์ม' ครบวงจรสำหรับนักพัฒนาแอพ (รองรับ iOS, Android, Web) รองรับบริการแทบทุกอย่างที่นักพัฒนาแอพต้องใช้งาน เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูล แจ้งเตือนการแครช ส่งข้อความ โฆษณา ฯลฯ แถมกูเกิลยังเปลี่ยนชื่อบริการบางตัวให้เข้ามาอยู่ในชุด Firebase ด้วย
กูเกิลประกาศข่าวซื้อบริษัท Firebase ผู้ให้บริการโฮสต์สำหรับซิงก์ข้อมูลแบบเรียลไทม์
Firebase ขายบริการกลุ่มเมฆสำหรับนักพัฒนาแอพที่ต้องการซิงก์ข้อมูลจำนวนมากๆ แต่ไม่อยากทำระบบเซิร์ฟเวอร์เอง ก็สามารถเช่าเซิร์ฟเวอร์ของ Firebase สำหรับการซิงก์ข้อมูลแทนได้ (ราคาเริ่มต้นที่ 49 ดอลลาร์ต่อเดือน มีบริการฟรีให้ใช้งาน จำกัดที่ 50 การเชื่อมต่อ)
ปัจจุบัน Firebase มีลูกค้าเป็นนักพัฒนามากกว่า 1 แสนราย ตัวไลบรารีใช้งานได้กับแพลตฟอร์มดังๆ เช่น iOS, Android, JavaScript (ยังมี REST API ให้เลือกใช้)