Google ประเทศไทยจัดกิจกรรม Safer Songkran ระหว่างวันที่ 3-6 เมษายน ที่สามย่านมิตรทาวน์ ภายใต้โครงการ Safer with Google ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 พร้อมประกาศความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในการเสริมสร้างความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ให้กับคนไทยผ่านฟีเจอร์และแคมเปญใหม่ ได้แก่
กูเกิลประกาศเพิ่มความสามารถของ Chrome ในการตรวจสอบเว็บไซต์ที่อันตรายหรือ Safe Browsing ตามที่ประกาศก่อนหน้านี้ จากเดิม Chrome ใช้ข้อมูลเว็บไซต์ที่เก็บใน local และอัพเดตทุก 30-60 นาที แต่กูเกิลบอกว่าเว็บไซต์อันตรายปัจจุบันมีระยะเวลาปรากฏเฉลี่ยที่ 10 นาทีเท่านั้น เบราว์เซอร์จึงต้องจัดการเรื่องนี้ด้วยเวลาที่สั้นลง
กูเกิลรายงานผลของการนำ Machine Learning มาใช้กับเบราว์เซอร์ Chrome รวมทั้งโครงการในอนาคต เพื่อให้เป็นเบราว์เซอร์ที่ปลอดภัย และปรับแต่งให้เข้ากับการใช้งานแต่ละคนมากยิ่งขึ้น
โดย Safe Browsing ฟีเจอร์แจ้งเตือนเว็บไซต์ที่อันตราย กูเกิลบอกว่าตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ปรับปรุง ML ใหม่ ทำให้ตรวจจับเว็บไซต์ที่อันตรายได้มากขึ้น 2.5 เท่า
ส่วนต่อมาคือการปรับปรุงประสบการณ์ใช้งาน โดยเฉพาะ Web Notification ซึ่งในอัพเดตถัดไป Chrome จะเรียนรู้รูปแบบการโต้ตอบกับการขอแจ้งเตือนของเว็บไซต์ต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน และบล็อกหรืออนุญาตอัตโนมัติในการถามครั้งถัดไปที่ระดับอุปกรณ์เลย
ผู้ใช้เว็บเบราว์เซอร์ทุกวันนี้คงคุ้นเคยกับบริการ Google Safe Browsing ของกูเกิล ที่แจ้งเตือนหน้าเว็บไม่ปลอดภัยเป็นสีแดงเต็มหน้าจอ ปัจจุบันเบราว์เซอร์ที่เรียกใช้ Safe Browsing API ไม่ได้มีแค่ Chrome แต่ยังรวมถึง Firefox และ Safari ด้วย
ล่าสุดกูเกิลออกส่วนขยาย Suspicious Site Reporter สำหรับ Chrome ให้ผู้ใช้ช่วยกันรายงานเว็บไซต์น่าสงสัยเข้าไปยังกูเกิลอีกช่องทางหนึ่ง เป้าหมายเพื่อให้บ็อตของกูเกิลเข้าไปตรวจสอบเว็บไซต์นั้นได้เร็วขึ้น และส่งผลให้ Safe Browsing ทำงานได้แม่นยำกว่าเดิม
Google ใส่ Safe Browsing เข้ามาใน WebView ตั้งแต่ Android Oreo ด้วยเอนจินต์เดียวกับที่ใช้บน Chrome ทำให้นักพัฒนาแอปสามารถเลือกเปิด Safe Browsing บน WebView ได้
แต่ล่าสุด Google ระบุว่า Safe Browsing จะเปิดเป็นค่าดีฟอลต์ใน WebView เวอร์ชัน 66 เท่ากับแอปบนแอนดรอยด์ที่มีการเชื่อมต่อเว็บจะถูกกรองผ่าน Safe Browsing ให้อัตโนมัติ อย่างไรก็ตามนักพัฒนาแอปยังสามารถปิดได้ผ่าน API และสามารถทดสอบ Safe Browsing บน WebView Beta ได้ด้วย URL chrome://safe-browsing/match?type=malware
กูเกิลขยายขอบเขตของตัวกรองความปลอดภัย Google Safe Browsing มาสู่แอพบน Android โดยจะแจ้งเตือนถ้าหากแอพเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้โดยไม่แจ้ง
นโยบายนี้จะมีผลทั้งแอพที่เผยแพร่ผ่าน Google Play และแอพนอก Google Play โดยนักพัฒนามีเวลา 60 วัน ปรับปรุงแอพให้แจ้งผู้ใช้ว่าเก็บข้อมูลอะไรไปบ้าง พร้อมแสดงนโยบายด้านความเป็นส่วนตัว (privacy policy) ภายในแอพด้วย ถ้าหากนักพัฒนาไม่ทำตาม ก็มีโอกาสที่ผู้ใช้เปิดแอพแล้วจะเห็นหน้าแจ้งเตือนสีแดงของกูเกิล
กูเกิลยังเข้มงวดกับการเก็บข้อมูลที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับแอพตัวนั้น ว่าจะต้องแจ้งเตือนว่าจะนำข้อมูลนั้นไปใช้ทำอะไร และให้ผู้ใช้กดยืนยันการให้ข้อมูลด้วย
ช่วง 1-2 วันนี้ กูเกิลประกาศฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยหลายอย่าง ข่าวนี้เอาเฉพาะของ Chrome อย่างเดียวก่อนครับ
ฟีเจอร์แรกคือบางครั้งที่เราติดตั้งส่วนขยาย (Extension) แล้วมันมาเปลี่ยนค่าใน Settings โดยที่เราไม่รู้ตัว (เช่น เปลี่ยน search engine ไปเป็นยี่ห้ออื่น) ตอนนี้ Chrome สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ และจะถามผู้ใช้ว่าต้องการรีเซ็ตกลับเป็นเหมือนเดิมหรือไม่
บริการ Safe Browsing ของกูเกิลนับเป็นบริการที่น่ากลัวสำหรับคนทำเว็บ เพราะหากพลาดท่าเว็บกลายเป็นแหล่งแพร่มัลแวร์ กูเกิลจะบล็อคผู้ใช้ไม่ได้เข้าถึงหน้าเว็บพร้อมกับแจ้งเตือนว่าเว็บมีอันตราย ที่ผ่านมาหากแก้ปัญหาได้สำเร็จก็จะจบปัญหาเป็นรอบๆ ไป แต่นโยบายใหม่ของ Safe Browsing จะตรวจสอบว่าเว็บที่เป็นแหล่งแพร่มัลแวร์บ่อยเกินไปหรือไม่ หากบ่อยเกินไปจะถูกปรับสถานะใหม่เป็น Repeat Offenders
เว็บที่ถูกปรับเป็น Repeat Offenders จะไม่สามารถยื่นคำร้องขอให้ Safe Browsing เข้าตรวจสอบเว็บอีกครั้งนานถึง 30 วัน โดยระหว่างนั้นจะมีคำเตือนแสดงให้ผู้ใช้เห็นตลอดเวลา
บริการ Safe Browsing ของกูเกิลเป็นบริการที่หลายเว็บต้องระวังตัวอย่างมาก เพราะหากมีหน้าใดหน้าหนึ่งถูกรายงานว่ามีอันตราย เบราว์เซอร์หลักๆ อย่างโครมและไฟร์ฟอกซ์จะแจ้งเตือนผู้ใช้ด้วยหน้าจอที่น่ากลัวจนกระทั่งเสียจำนวนผู้เข้าชมไปจำนวนมาก แต่วันนี้เว็บ Google.com ก็ถูกรายงานว่าอันตรายบางส่วน
หน้ารายงาน Safe Browsing ระบุเหตุผลที่รายงานเช่นนี้ว่ามีบางหน้าบน Google.com พยายามติดตั้งมัลแวร์บนเครื่องผู้ใช้, หลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งซอฟต์แวร์, ส่งผู้ใช้ไปยังเว็บอัตราย, และมีเว็บที่ถูกรายงานว่าเป็นอันตรายบางเว็บส่งผู้ใช้มายังบางหน้าของ Google.com
ผู้ใช้ Chrome บนพีซีคงคุ้นเคยกับหน้าจอเตือนภัยมัลแวร์สีแดง หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ Google Safe Browsing กันมาพอสมควร คราวนี้กูเกิลขยายฟีเจอร์นี้มาใช้กับ Chrome for Android แล้ว
การใช้งาน Google Safe Browsing ต้องใช้ Chrome 46 และ Google Play Services 8.1 ที่ออกมานานแล้วทั้งคู่ (ดังนั้นแทบทุกคนน่าจะใช้ได้กันหมดแล้ว) การเตือนภัยจะถูกเปิดใช้เป็นค่าดีฟอลต์ ส่วนรูปแบบการเตือนภัยก็ยังเหมือนเดิมคือเป็นหน้าสีแดงที่บอกว่าเว็บนั้นอันตราย
ที่มา - Google Online Security
ชาว Blognone อาจเคยเจอกับเว็บหรือโฆษณาที่ปลอมตัวเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ชื่อดัง แจ้งเตือนว่าซอฟต์แวร์ของเราไม่อัพเดตแล้ว และให้ดาวน์โหลดไฟล์ (ซึ่งจริงๆ เป็นมัลแวร์) เพื่ออัพเดต
ในบางกรณี เว็บไซต์บางแห่งยังปลอมเป็นหน้าแจ้งเตือนมัลแวร์ของ Chrome ซะเองว่าคอมพิวเตอร์ของเราติดมัลแวร์แล้ว และให้ติดต่อกูเกิลตามที่อยู่ที่ระบุ (แน่นอนว่าเป็นที่อยู่ปลอม) บางครั้งอาจเป็นเบอร์โทรศัพท์ที่คิดเรตการโทรแพงๆ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสบการณ์มากหน่อยคงไม่มีปัญหา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผู้ใช้ที่พลาดพลั้ง ตกเป็นเหยื่อของเว็บไซต์เหล่านี้อยู่เรื่อยๆ
เมื่อต้นปีนี้ Google Safe Browsing เพิ่มการเตือนเว็บที่หลอกให้โหลดมัลแวร์-ซอฟต์แวร์น่ารำคาญ มาแล้วรอบหนึ่ง ล่าสุดกูเกิลออกมาประกาศว่า Chrome จะแสดงการแจ้งเตือนลักษณะนี้มากขึ้นกว่าเดิม
กูเกิลบอกว่าเป้าหมายหลักของ Safe Browsing คือปกป้องผู้ใช้จากมัลแวร์ ซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์ และการหลอกหลวง (phising) แต่ Safe Browsing จะไม่ขึ้นเตือนผู้ใช้ในกรณีอื่นๆ
กูเกิลยังบอกว่าซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์จะถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ด้วยวิธีการหลายแบบ เช่น ad injection หรือแสดงผ่านเครือข่ายโฆษณาที่ไม่เข้มงวดมากนัก ซึ่ง Safe Browsing ถือเป็นปราการด่านสุดท้ายที่ช่วยปกป้องผู้ใช้จากอันตรายเหล่านี้
กูเกิลประกาศปรับปรุง Google Safe Browsing จากเดิมที่เคยเตือนเฉพาะ "เว็บไซต์อันตราย" จะเพิ่มเป็นการเตือนว่า "เว็บไซต์นี้มีโปรแกรมอันตราย" (harmful programs) หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์/น่ารำคาญ (unwanted software) และพยายามหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งโปรแกรมเหล่านี้
ปีที่แล้ว Chrome สามารถช่วยกรองไฟล์ไม่พึงประสงค์ได้แล้ว แต่จะช่วยกรองเฉพาะก่อนดาวน์โหลดไฟล์ลงเครื่องเท่านั้น คราวนี้ Safe Browsing จะเตือนตั้งแต่เข้าเว็บเป็นหน้าเพจสีแดงเลย ซึ่ง API นี้ถูกเรียกใช้งานโดย Chrome, Firefox และ Safari อยู่แล้ว
กูเกิลมีบริการชื่อ Safe Browsing ช่วยกรองเว็บและการดาวน์โหลดไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย (Chrome และ Firefox ใช้ฐานข้อมูลจาก Safe Browsing เพื่อตรวจสอบการเข้าเว็บของผู้ใช้งาน)
ล่าสุด Safe Browsing เตรียมขยายการตรวจสอบจากเดิมที่เช็คว่าไฟล์เป็นมัลแวร์หรือไม่ เพิ่มมาเป็นการตรวจว่าไฟล์นั้นทำตัว "หลอก" ว่าเป็นไฟล์มีประโยชน์ แต่เอาจริงแล้วแอบเปลี่ยนค่าต่างๆ ภายในเครื่อง เช่น ปรับค่าของเบราว์เซอร์หรือเปลี่ยนหน้าโฮมเพจ ซึ่งผู้ใช้ย่อมไม่ต้องการให้เปลี่ยน
จากนี้ไป Chrome จะแจ้งเตือนการดาวน์โหลดไฟล์ลักษณะนี้ โดยระบุว่าเป็นไฟล์ที่ "อาจจะเป็นอันตรายต่อประสบการณ์ท่องเว็บ" (may harm your browsing experience)
ตอนนี้หลาย ๆ คนคงรู้จักกับ Google Chrome เป็นอย่างดี เพราะถือเป็น Internet Browser ที่มาทีหลัง แต่กลับมาแรงแซงหน้ารุ่นพี่ที่มาก่อนหลาย ๆ เจ้าอย่างขาดลอยทั้งเรื่องความเร็ว หรือ ด้านอื่น ๆ และเวอร์ชั่นทดลองล่าสุด Chrome ได้เพิ่มฟังก์ชั่นปกป้องการดาวน์โหลดภัยคุกคามมาด้วย
Chrome มีเทคโนโลยี “Safe Browsing” ซึ่งแต่เดิมเน้นเฉพาะการปกป้องผู้ใช้จาก เว็บไซต์อันตรายที่แพร่กระจายภัยคุกคามได้โดยเพียงผู้ใช้คลิกเข้าไปดูเท่านั้น แต่ด้วยเวอร์ชั่นใหม่นี้ได้ครอบคลุมถึงการพยายามติดตั้งไฟล์อันตรายจากเว็บไซต์ เมือไฟล์หรือเว็บไซต์เหล่านั้นมีโอกาสที่จะเป็นอันตรายสูง Chrome ก็จะขึ้นเตือนผู้ใช้งานขึ้นมา ซึ่งผู้ใช้ก็ควรที่จะปฏิเสธในการติดตั้งไฟล์เหล่านั้นทิ้งเสีย
คนที่ใช้ Firefox/Chrome/Safari อาจเคยเข้าเว็บไซต์บางแห่ง และพบคำเตือนจากเบราว์เซอร์ว่า "เว็บนี้เป็นอันตราย" ขึ้นเป็นจอสีแดงๆ กระบวนการตรวจสอบเว็บไซต์เหล่านี้ทำผ่าน Google Safe Browsing API ซึ่งเปิดให้นักพัฒนาภายนอกเรียกใช้ได้ด้วย
ล่าสุดกูเกิลกำลังขยาย Safe Browsing API ให้ครอบคลุมไปถึง "ไฟล์" ที่ดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย โดยเบื้องต้นจะเริ่มจากไฟล์ .exe ของวินโดวส์ และแน่นอนว่าเบราว์เซอร์ตัวแรกที่รองรับฟีเจอร์นี้ย่อมหนีไม่พ้น Chrome ซึ่งตอนนี้เข้ามาใน Dev Channel แล้ว
ฟีเจอร์นี้มีครั้งแรกใน IE9 เพียงแต่ไมโครซอฟท์ใช้ระบบตรวจจับของตัวเอง