หลังจากที่มีข่าวรั่วเกี่ยวกับ Google CL2 เมื่อเดือนที่แล้ว ตอนนี้เราสามารถใช้ Google Calendar กันได้แล้ว เท่าที่ลองใช้รู้สึกประทับใจกับ Quick Add มาก "Blognone Tech Day on April 22 at 13:00" แค่นี้ก็เรียบร้อย นอกนั้นก็คือความเร็ว เร็วจนนึกว่าใช้โปรแกรมบนเครื่อง
น่าแปลกใจที่คราวนี้ Google ยังไม่ได้ประกาศ แ่ต่ Scripting.com ดันรู้ซะก่อน แม้แต่ Google Blog ก็ไม่มีรายละเอียดซักนิด
ถ้าใครที่ยังเรียนหนังสืออยู่ หรือว่าทำงานในแวดวงวิชาการ คงคุ้นเคยกับ CiteSeer Research Index หรือว่า Google Scholar กันเป็นอย่างดี เพราะว่า Search Engine เหล่านี้ ถูกออกแบบมาให้ช่วยค้นหาเอกสารทางวิชาการโดยเฉพาะ ซึ่งตอนนี้ไมโครซอฟท์ ก็ได้กระโดดลงมาในตลาดนี้เหมือนกัน โดยจะเปิดบริการที่ชื่อว่า Windows Live Acadmeic Search โดยผู้ใช้สามารถที่จะค้นหาเอกสารทั้งที่เป็นเอกสารการประชุมวิชาการ (Conference paper) หรือว่าจากวารสารทางวิชาก
ลองยกหูโทรศัพท์ แล้วพูดคำว่า
"หาร้านวิดีโอในรัศมีสิบเมตรซิ" "ขอเว็บที่มีเพลงพี่ฟิล์มให้โหลดน่ะค่ะ"
จากนั้นคำตอบก็ไหลออกมาซิครับ บริการแบบนี้น่าจะเริ่มเป็นจริงได้เร็วๆ นี้ เพราะ Google ได้จดสิทธิบัตรที่มีชื่อว่า "Voice interface for a search engine" เรียบร้อยไปเมื่อวานนี้ ถึงแม้ Google จะไม่พูดอะไร แต่ก็มีคนของ Google เองเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เหมือนกัน คาดกันว่าบริการที่น่าจะได้ใช้แน่นอนก็คือ Google Mobile
ที่มา - Ars Technica
กูเกิลประกาศซื้อสิทธิในการใช้อัลกอลิธึมเพื่อการค้นหาข้อมูลจากมหาวิทยาลัย New South Wales ที่สร้างขึ้นโดยนักศึกษาระดับปริญญาเอกที่ชื่อว่า Ori Allon
อัลกอลิธึม Orion ที่ถูกซื้อไปนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการค้นเอกสารที่มีความเกี่ยวเนื่องกันในด้านเนื้อหา โดยงานวิจัยนี่มีความโดดเด่นถึงขั้นที บิลล์ เกตต์ เคยต้องออกปากชมกันมาครั้งหนึ่ง ซึ่งทางมหาวิทยาลัยก็ยอมรับว่าก่อนการเข้าซื้อจากกูเกิลนี้ ทั้ง MSN และ Yahoo! ก็เคยติดต่อมาก่อนหน้านี้แล้ว
ใครใช้ Google Talk บนวินโดวส์สามารถโหลดเวอร์ชันเบต้าตัวใหม่ (1.0.0.92) ที่ใส่ Diplay Picture ได้ซะที และก็เลือกธีมในหน้าต่างสนทนาได้อีกด้วย
(ผมใช้ Gaim 2.0 Beta 3 ยังต้องรอต่อไป)
ที่มา - Google Talkabout, Howforge
ข่าวแถมคือใครใช้ Bloglines จะมีปุ่มซ่อนรายการเฟรมด้านซ้ายมือเพิ่มเข้ามาครับ ไม่รู้มันเรียกว่าไง (ใน Mozilla เหมือนจะเรียกกว่า splitter)
เชื่อว่าทุกคนรู้จัก Gmail กันดี ส่วน Pine เป็นโปรแกรมเมลแบบเท็กซ์สุดคลาสสิคที่คนยังใช้กันอยู่เยอะ
เรื่องมีอยู่ว่ามีแฟน Pine คนนึงที่ใช้มาตลอดชีวิต แต่ดันไปทำงานที่ Google ผลก็เลยโดนคนแถวๆ นั้นกดดันให้ใช้ Gmail ด้วยเหตุผลงู้นงี้ เค้าเลยลองใช้ Gmail เป็นเวลา 5 อาทิตย์และก็กลับมาใช้ Pine อย่างเดิม ที่ไม่ธรรมดาก็คือพี่แกเอาความสามารถดีๆ หลายอันใน Gmail มา patch ให้กับ Pine ด้วย
นอกจากนี้เค้ายังเขียนเปรียบเทียบความสามารถระหว่างทั้งสองตัว ซึ่งน่าสนใจดี
เป็นที่รู้กันว่ากูเกิลกำลังค่อยๆ ปรับความละเอียดภาพของ Google Earth ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อที่ 23 ที่ผ่านมา กูเกิลก็ปล่่อยภาพควมละเอียดที่ระดับ 3" ซึ่งนับว่าสูงมาก ระดับที่มองเห็นหัวคนเป็นจุดได้ในบางส่วนของลาส เวกัสออกมา
นอกจากลาส เวกัสแล้ว ยังมีเมืองอื่นๆ ได้รับการปรับปรุงภาพตามปรกติ รวมถึงเกาะเต่า และเกาะอื่นๆ ของไทย
สงสัยจะเตรียมไปเที่ยวกัน....
บริการใหม่ของกูเกิลมาอีกแล้ว คราวนี้เป็นบริการหาคู่ออนไลน์ (ขยันออกกันจริงๆ)
ฟีเจอร์หลักๆ ก็คล้ายกับเวบหาคู่ทั่วไป แต่ที่ต่างไปคือกูเกิลใช้อัลกอริทึม Soulmate Search ที่อ้างว่าหาค้นคู่ได้แม่นยำอย่างกับค้นหาเวบ
ลองทัวร์ดูฟีเจอร์ได้ - ที่นี่
หลังจากที่กูเกิ้ลมีปัญหากับรัฐบาลจีนด้านการเซ็นเซอร์การค้นหาบางอย่าง เช่น "ประชาธิปไตย" มานาน วันก่อนนี้กูเกิ้ลได้ประกาศว่ากูเกิ้ลได้โอนหุ้นให้รัฐบาลจีนถึง 140 ล้านหุ้น ทำให้ผู้ถือหุ้นใหม่คือกระทรวงข้อมูลของรัฐบาลจีน โดยทางเจ้าของเก่าออกมาประกาศว่า
"โอย ที่นี่(Mountain View)ฝนตกหนักมากและแมวของฉันก็กำลังหิวข้าว เราเลยคิดว่าเราควรเปลี่ยนระบบการเงินของบริษัทเรา เราจึงขายบริษัทให้ประเทศจีน ขอให้สนุกกับวันหยุดเน้อออ ฮ่าๆๆๆๆ"
ที่มา - The Register
Gmail for your domain คือการใช้เอนจินของ Gmail เหมือนปกติ เก็บเมลไว้ที่เครื่องของกูเกิล ได้ที่ 2GB เพียงแต่ใช้อีเมลตามโดเมนเนมของคุณเอง (เช่น @blognone.com) ตอนนี้กูเกิลได้เปิดบริการเบต้าสำหรับมหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นๆ ให้ลองเอาไปใช้ได้ โดยจะจำกัดที่ 25 อีเมลต่อโดเมน
มีคนที่ได้สิทธิ์ทดสอบไป เขียนรีวิวกันให้อ่าน การใช้งานก็ไม่ต่างจาก Gmail ธรรมดา ส่วนการติดตั้งก็ง่ายๆ แค่ระบุ MX record เท่านั้น
มีมือดีแอบไปเจอหน้าตาใหม่ตอนแสดงผลค้นหาของกูเกิลอีกแล้วครับ
หน้าตาใหม่เปลี่ยนแปลงไม่มาก แค่เอาแถบ Web, Image, Frooge ที่เคยอยู่ด้านบนของหน้า มาแสดงไว้ด้านซ้าย พร้อมกับจำนวนผลลัพธ์ (เหมือนแถบของ PageRank) แต่นี่อาจเป็นแสดงให้เห็นความพยายามของกูเกิล ในการกระตุ้นให้ผู้ใช้เห็นบริการค้นหาอื่นๆ นอกเหนือจาก Web Search ก็เป็นได้
ลองเล่นดูได้ วิธีการตามลิงก์
ที่มา - Ars Technica
ใครรอ GDrive อยู่คงต้องรอกันไปก่อน เมื่อกูเกิลออกบริการใหม่มาคั่นเวลาให้คนเล่นหุ้นได้ตื่นต้นกัน ด้วยบริการ Google Finance ที่ให้ผู้ใช้ตรวจสอบราคาหุ้นได้เกือบเท่าเวลาจริง โดยจะมีการหน่วงเวลาเท่าๆ กับรายอื่นๆ คือ 15 นาทีสำหรับ Nasdaq และ 20 นาทีสำหรับตลาด AMEX และ NYSE ที่น่าสนใจคือการทำงานร่วมกับ Google News ได้อย่างดี ทำให้สามารถตรวจสอบข่าวเกี่ยวกับหุ้นที่ดูอยู่ได้ พร้อมหน้าจอรวมที่เก็บ History
เห็นนักเล่นหุ้นไทยชอบใช้ Yahoo! Finance กันมากเพราะมีหุ้นไทยด้วยไม่รู้เมื่อใหร่ตัวนี้จะรองรับ
ที่มา - Google Finance
Amazon พึ่งเปิดตัวบริการ S3 ไปเมื่อวาน บริการนี้มีชื่อเต็มว่า Simple Storage Service มีไว้สำหรับนักพัฒนาเท่านั้น เอาไว้สำหรับงานที่ใช้เนื้อที่มหาศาล และไม่อยากเก็บเอง S3 ก็จะมี APIs ให้เอาไว้สำหรับ เขียน อ่าน ลบ ข้อมูลที่ฝากไว้ใน S3 แต่ต้องเน้นว่า ไม่ฟรีนะครับ $0.15 ต่อ GB ไม่แพงเกินไป ที่น่าสนใจคือเลือกได้ว่าจะดึงข้อมูลออกไปทาง HTTP หรือ BitTorrent
บริการ Google Book Search ของกูเกิลนั้นนับว่าเป็นบริการที่สร้างปัญหาให้กับกูเกิลมากที่สุดบริการหนึ่ง ด้วยความที่สำนักพิมพ์กลัวว่าบริการนี้จะทำให้ยอดขายลดลง แต่ต่อจากนี้เรื่องนี้อาจจะเปลี่ยนไป เมื่อกูเกิลประกาศชัดว่าจะมีบริการซื้อขายหนังสือผ่านทางหน้าเว็บในเร็วๆ นี้
การให้บริการซื้อขายนี้ อาจจะทำให้กูเกิลถูกมองไม่ต่างไปจากอเมซอนที่ให้บริการซื้อขาย โดยมีการให้ดูหน้าตัวอย่างอยู่จำนวนหนึ่งเช่นเดียวกัน แต่ของกูเกิลนี้จะค้นหาคำได้ทั้งเล่ม และแสดงผลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งยังไม่แน่ชัดนักว่าสำนักพิมพ์จะยอมรับในจุดนี้ได้หรือไม่
หลังจากที่ออกแผนที่โลกกับแผนที่ดวงจันทร์ให้ดังกระฉ่อนไปก่อนหน้านี้ ตอนนี้คุณก็ดูดาวอังคารจากที่บ้านด้วย Google Mars ได้แล้ว โดยแผนที่ที่กูเกิลใช้งานนำมาจากแผนที่ที่เขียนโดย Percival Lowell ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1895 แล้วนำมารวมเข้ากับภาพจากนาซ่าและ Arizona State University เลยได้เว็บให้เรามานั่งส่องดาวอังคารกันจากที่บ้าน
งานนี้จะมีคนเจอพีระมิด มนุษย์ต่างดาว ฯลฯ อีกมั้ยเนี่ย
ที่มา - Google Mars
ข่าวเก่า: แนะนำ Writely
ตอนที่จับมือเป็นพันธมิตรกับซันนั้น ชาวบ้านก็คิดว่ากูเกิลต้องเอา OpenOffice.org มาทำเป็นเวอร์ชันออนไลน์แน่ๆ ซึ่งทั้งกูเกิลและซันก็ปฏิเสธเป็นพัลวัน (โค้ดของ OOo ใหญ่มาก มันไม่ได้ทำกันง่ายๆ ในทางเทคนิคอยู่แล้วด้วย)
แต่ตอนนี้ท่าทีของกูเกิลในการลุยตลาดโปรแกรมออฟฟิศออนไลน์ ก็เป็นความจริงซะที เมื่อเข้าซื้อกิจการ Writely ซึ่งเป็นเวิร์ดโปรเซสเซอร์ผ่านเว็บ (รายละเอียดก็อ่านในข่าวเก่า) อ่านคำแถลงใน Google Blog
และแล้วบริการปฎิทินที่คาดกันมานานว่ากูเกิลต้องออกมาแน่ๆ ก็เริ่มมีภาพหน้าจอมาให้ดูกันแล้ว โดยในตอนนี้ยังไม่มีคำแถลงใดๆ จากกูเกิลว่าภาพทั้งหมดเป็นของจริงหรือไม่
แต่ข่าวระบุว่าภาพเหล่านี้หลุดออกมาจากหนึ่งในผู้ทดสอบจำนวนสองร้อยคน ที่ได้รับสิทธิให้ทดสอบแบบปิด โดยไม่มีใครได้รับอนุญาตให้แชร์ปฎิทินได้นอกจากการใช้งานทั่วไปเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าในตอนนี้บริการนี้ยังห่างไกลจากการให้บริการจริงอีกมาก
จริงๆ ผมก็เห็นข่าวนี้หลายวันแล้วแต่เขียนช้าไปหน่อย
Google Safe Browsing เป็น extension ของกูเกิลไว้ตรวจสอบว่า เว็บที่เราเข้าอยู่นี้เป็นเว็บหลอกหรือเปล่า โดยเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของ Anti-Phishing Working Group ถ้าเข้าข่าย ก็จะแสดงไอคอนใน URL bar เตือนให้ทราบ ปัญหา phishing นี้เป็นอะไรที่เมืองนอกตื่นตัวกันมาก แต่บ้านเราผมแทบไม่เห็นใครสนใจเลยนะ
กูเกิลมีการประชุมผู้ถือหุ้นพร้อมๆ กับการวิเคราะห์อนาคตของกูเกิลเอง หลังการประชุมก็มีการนำไฟล์พาวเวอร์พอยต์ [PDF, 10.7MB] ที่ใช้ในงานมาขึ้นเว็บ
ที่น่าสนใจคือตัวโน้ตที่อยู่ในไฟล์พาวเวอร์พอยต์ต้นฉบับที่มีข้อความระบุว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่ของกูเกิลต้องไม่มีขีดจำกัด ทั้งพื้นที่ แบนด์วิดท์ และพลังการประมวลผล และกูเกิลมีแผนที่จะรวมข้อมูลทั้งหมดเข้าไว้ในกูเกิล ไม่ใช่แค่บางส่วน
การแถลงของกูเกิลนี้ทำให้เชื่อกันว่ากูเกิลกำลังจะออกบริการใหม่ที่ให้เก็บข้อมูลส่วนตัวไว้บนกูเกิลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านพื้นที่
คิดว่าคนแถวนี้คงใช้ Google Talk กันถ้วนหน้า แต่โปรแกรมต้นฉบับมันมีแต่บนวินโดวส์ ผมที่ใช้ทั้งแมคและลินุกซ์ย่อมต้องหาโปรแกรมอื่น (3rd party) ที่ต่อกับเครือข่าย Gtalk ได้มาแทน
สถิตินี้ไม่รวมการคุยผ่านหน้าเว็บ Gmail นะครับ (นับเป็น 1st party) อันดับหนึ่งคือ Gaim (48%) ตามมาด้วย iChat (14%) และ Trillian (11%) ที่น่าสนใจคือเว็บแชทอย่าง Meeboมีคนใช้เยอะระดับนึงเหมือนกัน (6%)
แหล่งข่าวในกูเกิลระบุว่ากูเกิลกำลังเริ่มใช้ซีพียูออปเทอรอน 64 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่จะซื้อในระยะนี้ เรื่องนี้ทำเอาหุ้นเอเอ็มดีทะยานขึ้นกันเป็นเรื่องเป็นราว เพราะก่อนหน้านี้เซิร์ฟเวอร์กว่าสองแสนตัวของกูเกิลนั้นใช้ชิปอินเทลเป็นหลัก
โฆษกของเอเอ็มดีไม่ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ แต่บอกเพียงว่ากูเกิลนั้นเลือกซื้อเซิร์ฟเวอร์โดยอาศัยราคาและประสิทธิภาพเป็นหลัก ด้านนักวิเคราะห์มีการคาดว่ากูเกิลกำลังจะเป็นลูกค้ารายใหญ่ของเอเอ็มดีในไม่ช้า
แต่เซิร์ฟเวอร์ตัวแรกของกูเกิลที่ผมจำได้นี่ มันใช้ซันด้วยนะ
ออราเคิลเริ่มเข้่าสู่ตลาดเสิร์ชด้วยการส่ง Oracle Secure Enterprise Search 10g เข้าสู่ตลาด โดยโปรแกรมนี้จะมีความสามารถในการค้นหาเอกสารหลายรูปแบบตั้งแต่อีเมล เอกสาร ไปจนถึงข้อมูลในฐานข้อมูลซึ่งเป็นจุดแข็งของออราเคิลอยู่แล้ว
โปรแกรมของออราเคิลจะมีฟีเจอร์ในการตรวจสอบสิทธิการเข้าถึงในทุกๆ ข้อมูลที่รวบรวมไว้ในโปรแกรม ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงไม่สามารถเสิร์ชไปยังข้อมูลนั้นได้
กูเกิลเพิ่งร่วมมือกับบริษัท BearingPoint เพื่อเตรียมให้บริการที่คล้ายๆ กันในเดืิอนที่แล้ว ในตอนนี้จึงเหมือนว่าทั้งสองบริษัทกำลังจะเป็นคู่แข่งกันเต็มตัวไปแล้ว
บริการใหม่ล่าสุดจากกูเกิลคราวนี้เป็นคิวของ Google Page Creator หรือโปรแกรมสร้างเว็บนั่นเอง
แน่นอนว่าต้องใช้เทคโนโลยีอย่าง AJAX เช่นเดียวกับบริการอื่นๆ ทำให้สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้นกว่าโปรแกรมในยุคก่อน (อย่างเช่นตัวสร้างเวบของ geocities)
เวบ็ที่สร้างขึ้นจะมี URL เป็นแบบ http://username.googlepages.com และมีเนื้อที่ให้อัพโหลดไฟล์รูปภาพขึ้นไปใส่ รวมทั้งใช้งานได้ทั้งหมดคนละ 100 เมกกะไบต์
เชื่อว่าทุกคนอยากไปทำงานที่กูเกิล และอาจจะเคยได้ยินเสียงร่ำลืออย่างงี้อย่างโง้น ว่าชีวิตใน Googleplex รื่นรมย์ขนาดไหน แต่มาดูภาพจริงๆ ให้เห็นกับตาดีกว่าใน Life in the Googleplex ของนิตยสาร TIME
ผมว่าร้านทำผมหรือเลี้ยงหมาก็ดูโอเค แต่วอลเลย์บอลชายหาดนี่เข้าขั้นไม่ธรรมดาแล้ว
ปีที่แล้ว Larry Page กับ Surgey Brin ได้ประกาศว่าจะดำเนินกิจกรรมของกูเกิลเพื่อการกุศล ตอนนี้ Google.org พร้อมจะเดินหน้าแล้ว โดยได้เงินทุนตั้งต้นจาก Page กับ Brin มาจำนวน 1% ของราคาหุ้น Google.com ซึ่งมูลค่าเป็นตัวเงินคือ 1.1 พันล้านเหรียญ (ซื้อชินคอร์ปได้ 1 ใน 4)
โดยเป้าหมายหลักจะแก้ปัญหาความยากจน พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ก่อตั้งทั้งสองหวังว่าภายในสิบปี ผลงานของ Google.org นี้จะมีผลกระทบต่อสังคมโลกขนาด "eclipse Google itself" เลยทีเดียว