Gradle ซอฟต์แวร์ build automation ชื่อดัง เดิมทีต้องใช้ภาษา Groovy เขียนสคริปต์คอนฟิกวิธีการ build แต่ล่าสุดเปลี่ยนมาใช้ภาษา Kotlin เป็นดีฟอลต์แทนแล้ว
Gradle เริ่มสร้างในปี 2008 โดยตอนนั้นยังรองรับเฉพาะ Groovy เป็นภาษาแบบ domain-specific language (DSL) เพื่อเป็น build script แต่ในปี 2016 ก็เพิ่ม Kotlin DSL เข้ามาเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
Grails เฟรมเวิร์คการพัฒนาเว็บที่เขียนเลียนแบบ Ruby on Rails (แต่ใช้กับภาษา Groovy แทน Ruby) ออกรุ่น 2.0 ตัวจริงแล้ว
แพลตฟอร์ม Groovy/Grails นั้นรันอยู่บน Java VM (แต่ใช้ภาษา Groovy ที่ต่างออกไปจากภาษา Java) และพัฒนาโดยบริษัท Springsource เจ้าของเดียวกับ Spring (เดิมที Grails พัฒนาโดยบริษัท G2One แต่โดน Springsource ซื้อกิจการทีหลัง)
วันที่ 11 พฤษจิกายน 2551 SpringSource บริษัทที่อยู่เบื่องหลัง Spring ประกาศว่าได้ทำการซื้อกิจการของบริษัท G2One บริษัทที่อยู่เบื่องหลัง Groovy และ Grails เทคโนโลยี การซื้อกิจการในครั้งนี้จะทำให้ SpringSource ขยายฐานอำนาจออกไปอีก
การควบรวมในครั้งนี้มีการคาดการว่าจะทำให้ Spring, Groovy และ Grails จะกลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบน JVM เนื่องจากถ้าเรามองจากสถิติแล้ว Groovy เป็นภาษาสคริปบน JVM ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดโดยตัวมันเองถูกดาว์นโหลดมากกว่า 30,000 ครั้งต่อเดือน ทางด้านสถิติของ Grails นั้นเพิ่มจาก 7,000 เป็น 70,000 ต่อเดือน สุดท้าย Spring นั้นเป็นที่ยอมรับกันอย่างไม่เป็นทางการอยู่แล้วว่าเป็นเฟรมเวิร์คทางเลือกที่ได้รับความนิยมที่สุด ในหมู่นักพัฒนาภาษาจาวา
InfoWorld มีสกู๊ปเกี่ยวกับอนาคตของภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก ว่าจะไปในทิศทางใด จำนวน 10 ข้อ
จากตอนเดิม สัมภาษณ์ Guillaume Laforge ผู้ดูแลโครงการ Groovy คำตอบมาแล้ว ขอบคุณคุณ cblue ที่ช่วยประสานงานให้ด้วยครับ
ทำไมคุณและทีมงานถึงได้สร้าง Groovy ขึ้นมา?
อะไรเป็นแรงบันดาลใจของคุณ?
แพลตฟอร์ม/ภาษาโปรแกรมเดิมที่มีนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการงั้นหรือ?
Groovy เกิดขึ้นเพราะเราอีดอัดกับข้อจำกัดของจาวา หลังจากที่คุณได้ลองเขียน Python, Smalltalk หรือ Ruby แล้ว คุณจะพบว่ามีฟีเจอร์หลายอย่างที่เราอยากให้มีในจาวาด้วย
Groovy นำฟีเจอร์มาจากภาษาเหล่านี้
โดยเราต้องการใส่ความเป็นไดนามิกลงไปในภาษาแบบจาวา
ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมโปรแกรม Google Summer of Code ปีนี้ โดยทำงานให้กับโครงการ Groovy ของ Codehaus
Google Summer of Code คือโปรแกรมส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์แวร์เสรีที่ผลักดันด้วยทุนของกูเกิ้ล โดยผู้ที่สามารถจะเข้าร่วมโปรแกรมได้จะต้องมีสถานะเป็นนักเรียน/นิสิต/นักศึกษาในระดับใดก็ได้ตั้งแต่ปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก และทำงานให้กับองค์กรที่เข้าร่วมโครงการตลอดฤดูร้อน ซึ่งกินเวลาประมาณ 3 เดือน
เริ่มสมัคร