Istio ซอฟต์แวร์ service mesh สำหรับจัดการคลัสเตอร์ Kubernetes ที่ริเริ่มโดยกูเกิลเมื่อปี 2017 ยื่นเรื่องขอเข้าเป็นโครงการของมูลนิธิ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) แล้ว (หลังไปทำแยกเองเป็นเวลานาน 5 ปี)
กูเกิลสร้างกรรมการ Open Usage Commons (OUC) สำหรับควบคุมการใช้ชื่อและโลโก้ของโครงการโอเพนซอร์สของตัวเอง โดยส่งโครงการโอเพนซอร์สเข้าร่วม ได้แก่ Istio, Gerrit, และ Angular
แม้ว่าโครงการเหล่านี้จะเป็นโอเพนซอร์สทำให้ใช้โค้ดได้อิสระ แต่ตัวเครื่องหมายการค้าอย่างชื่อโครงการและโลโก้นั้นเป็นทรัพย์สินของกูเกิลโดยตรงที่อาจจะบังคับการใช้งานอย่างไรก็ได้ OUC จะกำหนดแนวทางการใช้งานตลอดจนการทดสอบความเข้ากันได้กับโครงการที่ต่อยอดไปจากโครงการหลัก แนวทางแบบนี้คล้ายกับแอนดรอยด์ที่กูเกิลควบคุมผู้ผลิตโทรศัพท์ที่จะระบุว่าเป็นโทรศัพท์แอนดรอยด์ได้ต่อเมื่อผ่านการทดสอบจากกูเกิลเท่านั้น โดย OUC ควบคุมโดยกรรมการที่กูเกิลตั้งขึ้น เริ่มต้นมีกรรมการ 6 คน
โครงการ Istio ที่เป็นแพลตฟอร์มทำ service mesh ควบคุมการสื่อสารระหว่าง microservice ประกาศเปลี่ยนสถาปัตยกรรมใหม่ จากเดิมเซิร์ฟเวอร์หลักแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ ถึง 5 ชิ้น ได้แก่ Mixer, Pilot, Gallery, Citadel, และ Injector มาเหลือ istiod ไบนารีเดียวเท่านั้น โดย Mixer เป็นส่วนขยายที่ลงแยกได้ และเวอร์ชั่นใหม่จะไม่ลงเป็นค่าเริ่มต้น
สำหรับซอฟต์แวรร์ที่รันบนโหนดก็จะรวบจาก Node Agent และ Istio Agent เหลือ Istio Agent ตัวเดียวเช่นกัน
โครงการ Knative เป็นซอฟต์แวร์ที่กูเกิลพัฒนาขึ้นเพื่อขยายความสามารถของ Kubernetes ให้จัดการรันงานที่เป็น serverless ได้ (Run serverless containers on Kubernetes with ease)
กูเกิลสร้าง Knative ขึ้นมาใช้กับ Google Cloud Platform ของตัวเอง แม้ตัวซอฟต์แวร์เป็นโอเพนซอร์สตามสไตล์กูเกิล แต่กระบวนการพัฒนายังอิงอยู่กับทีมงานของกูเกิลเป็นหลัก ไม่มีองค์กรกลางขึ้นมาดูแลแบบเดียวกับ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) ที่ปัจจุบันดูแลการพัฒนา Kubernetes และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องตัวอื่นๆ
กูเกิลออก Istio ซอฟต์แวร์จัดการคลัสเตอร์ (หรือชื่อเรียกในวงการคือ service mesh) เวอร์ชันใหม่ 1.4
Istio เป็นแกนหลักของ Anthos ชุดจัดการคลาวด์ Kubernetes ที่กูเกิลออกมาจับตลาดองค์กร โดยกูเกิลบอกว่าฟีเจอร์หลายอย่างของ Istio 1.4 เกิดจากสิ่งที่กูเกิลเรียนรู้จากลูกค้าองค์กรของ Anthos
ฟีเจอร์ใหม่ของ Istio 1.4 คือ Mixer-less telemetry ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลการใช้งาน (telemetry) เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบคลัสเตอร์ โดยไม่ต้องพึ่งพาซอฟต์แวร์ Mixer ของเดิม ช่วยให้ลดทรัพยากรที่ต้องใช้ลง
Istio เป็นซอฟต์แวร์สำหรับจัดการคลัสเตอร์คอนเทนเนอร์ หรือที่เรียกกันว่า service mesh ที่รันอยู่เหนือ Kubernetes อีกชั้นหนึ่ง ทำหน้าที่มอนิเตอร์, เก็บล็อก, จัดการความปลอดภัย ฯลฯ เพื่อให้ระบบทำงานสมบูรณ์มากขึ้น
Istio เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่พัฒนาโดยกูเกิล ร่วมกับ IBM และ Red Hat มาตั้งแต่ปี 2017 และเริ่มใช้งานแพร่หลายในวงการ Kubernetes มาได้สักระยะหนึ่ง (Istio แปลว่า แล่นเรือ ในภาษากรีก)
ล่าสุดกูเกิลประกาศว่า Google Kubernetes Engine (GKE) บริการคลัสเตอร์บน Google Cloud Platform เตรียมรองรับ Istio แล้ว โดยจะเปิดบริการรุ่นเบต้าในเดือนหน้า
กูเกิลเปิดตัว Cloud Services Platform รวมชุดของบริการสำหรับรันแอพพลิเคชันยุคใหม่ ที่ทำงานได้ทั้งบนคลาวด์ของกูเกิล และในเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรแบบ on-premise เพื่อให้สามารถย้ายงานไปมาได้สะดวกสำหรับลูกค้าที่ต้องการทำ hybrid cloud
แกนหลักของ Cloud Services Platform คือ Kubernetes ซอฟต์แวร์จัดการคลัสเตอร์ และ Istio ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ช่วยจัดการไมโครเซอร์วิสบนคลาวด์ การรัน Kubernetes จะรันอยู่บน Google Kubernetes Engine (GKE) บนคลาวด์ หรือจะรันบนเซิร์ฟเวอร์ตัวเองก็ได้ โดยกูเกิลออก GKE On-Prem มาเพิ่มให้ สถานะยังเป็นรุ่นอัลฟ่า, ส่วน Istio ก็ประกาศเวอร์ชัน 1.0 และออก Managed Istio สำหรับรันบนคลาวด์ GKE มาให้เช่นกัน
Google, IBM, Lyft จับมือกันสร้างโครงการโอเพนซอร์สใหม่ Istio สำหรับช่วยสนับสนุนการทำงานของแอพพลิเคชันฝั่งเซิร์ฟเวอร์ยุคใหม่
Istio นิยามตัวเองว่าเป็น 'service mesh' ที่ช่วยทำงานด้านบริหารจัดการและมอนิเตอร์แอพพลิเคชัน ทางโครงการอธิบายว่าแอพพลิเคชันฝั่งเซิร์ฟเวอร์แบบเดิมๆ ที่มีขนาดใหญ่และมีฟีเจอร์จำนวนมาก กำลังเปลี่ยนมาเป็น microservice ขนาดเล็กที่รันบนคลาวด์ แต่ microservice เหล่านี้ก็ต้องเจอปัญหาหลายอย่างบนสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบกระจายศูนย์ เสียเวลาและทรัพยากรในการจัดการ โครงการ Istio จึงเกิดมาเพื่อแก้ปัญหานี้