Jigsaw หน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยีในเครือ Alphabet กำลังพัฒนาเครื่องมือใหม่ Assembler ที่ช่วยตรวจจับรูปภาพที่ผ่านการดัดแปลง ปลอมแปลง หรือใช้เทคโนโลยี deepfake เป้าหมายคือให้นักข่าวสามารถนำเครื่องมือไปใช้ตรวจสอบเนื้อหาได้ เพื่อสู้กับข่าวปลอม
ในขณะที่รูปภาพถ้าผ่านการดัดแปลงผ่าน Photoshop ตามนุษย์ยังพอสังเกตความผิดปกติในรูปภาพได้ แต่ก็ยัง
มีการดัดแปลงรูปภาพอีกหลายอย่างที่คอมพิวเตอร์สามารถมองออก เช่น แพทเทิร์นซ้ำๆ กันในรูปภาพ และภาพที่ดัดแปลงจาก deepfake ซึ่งมีความแนบเนียนมากขึ้นทุกที
ช่วงเวลานี้ ข่าวสารกำลังตึงเครียด และการอ่านคอมเม้นท์ใต้ข่าว อาจทำให้เราเครียดกว่า ล่าสุด Jigsaw หน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยีของ Google เปิดตัว Tune ส่วนขยายใน Chrome ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปิดคอมเม้นท์ตามโซเชียลมีเดียได้
การทำงานของ Tune คือ ผู้ใช้จะสามารถตั้งค่า volume ของคอมเมนท์จากทั้ง YouTube, Facebook, Twitter, Reddit และ Disqus ได้ โดยสามารถเลือกระดับของ Tune ของตัวเอง การใช้งานเหมือนหมุนระดับเครื่องทำน้ำอุ่น โดยมีโหมดเปิดให้เห็นทุกคอมเม้นท์ กับ zen mode ที่ซ่อนคอมเม้นท์ทั้งหมด ถ้าหมุนให้อยู่ระดับกลางๆ จะยังคงเห็นคอมเม้นท์อยู่บ้าง แต่ระบบจะกรองเอาคอมเม้นท์รุนแรงออกไป
กูเกิลเปิดตัวแอพ Intra ที่ช่วยให้แอนดรอยด์รุ่นเก่าตั้งแต่ 4.0 เป็นต้นไปสามารถใช้งาน DNS over HTTPS (DoH) ได้ ทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่สามารถดักแก้ไขค่าไอพีของการเชื่อมต่อเว็บได้
หลายประเทศอาศัยการสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตดักแก้ไขค่า DNS ระหว่างที่ผู้ใช้กำลังขอค่าไอพีโดเมนปลายทาง ทำให้การเชื่อมต่อไม่สามารถเชื่อมต่อไปยังเว็บที่ถูกต้องได้ แม้ว่าเว็บปลายทางจะเปิดใช้งาน HTTPS ไว้ก็ตาม แต่สุดท้ายเนื่องจากการเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ผิดตัว ก็ไม่สามารถเปิดเว็บได้อยู่ดี
ต่อจากโครงการ Jigsaw เบี่ยงเบนความสนใจของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายอยากร่วมกับกลุ่ม Isis ล่าสุด Jigsaw เดินหน้าอีกขั้นด้วยการแสดงคอนเทนต์อื่นทันทีที่ผู้ใช้ค้นหาเนื้อหาเกี่ยวกับการก่อการร้ายใน YouTube หรือคำที่ตีความได้ว่าต้องการร่วมกลุ่มก่อการร้าย โดยคอนเทนต์ที่แสดงจะมีเนื้อหาไปในอีกทางหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นว่าความเชื่อนั้นผิด
กลยุทธ์นี้มีชื่อเรียกว่า the Redirect Method เป้าหมายเจาะจงไปที่กลุ่มคนที่รู้สึกว่าตัวเองมีความแปลกแยก และมีแนวโน้มจะกลายเป็นคนหัวรุนแรงจากการเสพสื่อและซึมซับโฆษณาชวนเชื่อจากกลุ่มก่อการร้าย
Google Ideas หรือในชื่อปัจจุบันคือ Jigsaw เป็นหน่วยงานที่นำเทคโนโลยีไปแก้ปัญหาเชิงรัฐศาสตร์-ความมั่นคง โดยเฉพาะการก่อการร้าย ล่าสุดลองหาวิธีรับมือคอนเทนต์และโฆษณาชวนเชื่อรับสมัครคนเข้าร่วมกลุ่ม Isis ที่ไม่ใช่แค่ตรวจจับได้ว่าอะไรเข้าข่าย แต่สามารถเบี่ยงเบนความสนใจกลุ่มเป้าหมายที่ Isis เล็งจะชวนเข้าร่วมกลุ่มได้
โครงการที่ว่าคือ Redirect Method ตั้งเป้าว่าจะเปิดใช้เฟสใหม่ภายในเดือนหน้า ใช้การประสานกันของแพลตฟอร์มวิดีโอ อัลกอริทึมโฆษณา ทำข้อมูลดักกลุ่มคนที่มีแนวโน้มสนใจแนวทางของ Isis แล้วส่งข้อมูล-ข้อความห้ามปรามที่ไม่โจ่งแจ้ง หรือประนามกลุ่ม Isis รุนแรงเกินไปมาดักแทน เช่น วิดีโอภาพความลำบากของคนในซีเรียที่ต้องต่อแถวเพื่อเอาอาหาร และวิดีโอหญิงชราลุกขึ้นมาพูดต่อต้านกลุ่ม Isis ซึ่งอาจจะช่วยเปลี่ยนความเชื่อของคนกลุ่มนี้ได้
เมื่อปี 2013 ทาง Google เปิดตัวโครงการ Project Shield ด้วยเป้าหมายเพื่อช่วยเว็บไซต์ในการเอาตัวรอดจากการโจมตี DDoS ซึ่งแรกเริ่มใช้ระบบการเชิญให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์บางเว็บเท่านั้นให้เข้าใช้บริการได้ แต่ตอนนี้ Google เปิดให้เว็บไซต์ข่าวโดยทั่วไปสมัครขอใช้งาน Project Shield กันได้ฟรีแล้ว
Google Ideas หน่วยงานคลังสมอง (think tank) ของกูเกิล ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "Jigsaw" และปรับบทบาทใหม่เป็นหน่วยงานที่นำเทคโนโลยีไปแก้ปัญหาเชิงรัฐศาสตร์-ความมั่นคง เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย, แก้ปัญหาเซ็นเซอร์เนื้อหาออนไลน์, ลดผลกระทบจากการโจมตีไซเบอร์ ฯลฯ กูเกิลเรียกหน่วยงานใหม่ว่าเป็นหน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยี (technology incubator)
Google สร้างโครงการใหม่ชื่อ Project Shield (ชื่อเดียวกันกับเครื่องเล่นเกมพกพาของ NVIDIA แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด) โดยมุ่งช่วยให้เว็บไซต์ต่างๆ ให้รอดจากปัญหาเว็บล่มอันเนื่องจากการถูกโจมตีแบบ DDoS
การโจมตีทางอินเทอร์เน็ต DDoS เป็นวิธีการโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบเป้าหมายที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ระบบเป้าหมายไม่สามารถให้บริการได้ โดยการโจมตีจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันจากคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ซึ่งเว็บไซต์ที่ไม่มีระบบรับมือที่ดีพอก็จะล่มเอาได้ง่ายๆ เมื่อโดนโจมตีในลักษณะนี้