Marc Lore ซีอีโอ Walmart ร้านค้าปลีกรายใหญ่ของอเมริกา ส่วนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (ซึ่งเขามาจาก Jet ที่ Walmart ซื้อกิจการ) ร้านค้าปลีกรายใหญ่ของอเมริกา ประกาศตั้งโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ (incubator) ชื่อ Store No. 8 ซึ่งจะดำเนินงานใน Silicon Valley
เป้าหมายของโครงการนี้เพื่อร่วมมือกับบรรดาสตาร์ทอัพ นักลงทุน VC ตลอดจนสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะมาต่อยอดกับธุรกิจค้าปลีก ซึ่งหัวข้อที่ถูกพูดถึง อาทิ หุ่นยนต์, VR, AR, Machine Learning และ AI
Lore บอกว่าจุดแข็งของ Walmart คือเครือข่ายร้านค้าที่มีอยู่ทั่วประเทศ ต่างจากผู้เล่นอีคอมเมิร์ซอีกรายที่ไม่มีหน้าร้าน ทำให้ Walmart เหนือกว่าในช่องทางจัดจำหน่ายแบบผสมผสาน omnichannel
ที่มา: Bloomberg
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ร่วมมือกับ RISE ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (corporate accelerator) เปิดตัวโครงการบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ตอัพด้าน FinTech ในชื่อว่า Krungsri RISE
โครงการจะเปิดรับสมัครสตาร์ตอัพสาย FinTech จำนวน 10 ราย เข้าร่วมแคมป์บ่มเพาะธุรกิจนาน 8 สัปดาห์ เพื่อเร่งสปีดการเติบโตของสตาร์ตอัพ ก่อนช่วยหานักลงทุนทั้งในไทยและต่างประเทศมาช่วยลงทุนต่อไป
จุดเด่นของ Krungsri RISE นอกจากเน้นสตาร์ตอัพด้าน FinTech ยังมีเรื่องโปรแกรมการบ่มเพาะที่ไม่ตายตัว แต่ปรับตามความต้องการของผู้เข้าร่วม, เชิญผู้เชี่ยวชาญและสตาร์ตอัพรุ่นพี่มาแนะนำและให้ประสบการณ์, พื้นที่ทำงานที่อาคารอัมรินทร์พลาซ่า (ชิดลม) อีกทั้งไม่มีข้อกำหนดเรื่องการถือหุ้นของสตาร์ตอัพที่เข้าร่วมโครงการด้วย
ยุคนี้ใครก็ทำสตาร์ทอัพ แม้แต่ Sundar Pichai ซีอีโอของ Google ก็ออกมายอมรับว่า บริษัทมีแผนจะตั้งศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพให้กับพนักงานในชื่อ Area 120
ซีอีโอ Google ระบุว่าโครงการนี้ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างมากนัก โดยเหตุผลในการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะ ก็เพื่อต้องการสนับสนุนและผลักดันให้พนักงานคิดโปรเจ็คใหม่ๆ รวมถึงผลักดันพนักงานที่อยากจะกลายเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งปกติ Google เองก็จะอนุญาตให้พนักงานใช้เวลาประมาณ 20% ของเวลางานในแต่ละวัน ไปกับโปรเจ็คอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานหลักอยู่แล้ว
ที่มา - Forbes
เว็บไซต์ข่าว The Information รายงานข่าววงในว่ากูเกิลเตรียมแก้ปัญหาพนักงานลาออกไปเปิดสตาร์ตอัพ โดยเปิดศูนย์บ่มเพาะสตาร์ตอัพชื่อ Area 120 ที่พนักงานสามารถเสนอโครงการ 20% ตามเวลาว่าง มาทำแบบเต็มเวลาได้
พนักงานต้องเสนอแผนธุรกิจ และถ้าผ่านการอนุมัติก็สามารถนั่งทำงานโครงการที่ตัวเองสนใจได้แบบเต็มเวลา และไม่ต้องกังวลว่าจะเสียสถานะพนักงานกูเกิลไป หากโครงการไม่ประสบความสำเร็จในภายหลัง
มาถึงตอนนี้ต้องบอกว่าโครงการ dtac accelerate เป็นโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพอันดับ 1 ของไทย จากผลงานที่ผ่านมาตลอด 3 ปี มีทีมเข้าร่วมทั้งหมด 11 ทีม ตอนนี้มูลค่ารวมของสตาร์ตอัพเหล่านี้รวมกัน 1 พันล้านบาท และ 70% ของทีมเหล่านี้ได้รับเงินลงทุนแล้ว เทียบกับค่าเฉลี่ยของสตาร์ตอัพในตลาด มีเพียง 20% เท่านั้นที่ได้เงินลงทุน
สตาร์ตอัพที่โดดเด่นได้แก่ Claim Di ที่ได้รับเงินลงทุนระดับซีรีส์ A จำนวน 2 ล้านดอลลาร์ (มูลค่าบริษัท 10 ล้านดอลลาร์) โตขึ้น 15 เท่าภายในระยะเวลา 12 เดือน สร้างสถิติรับเงินซีรีส์ A สูงที่สุดในวงการสตาร์ตอัพไทย ส่วนกองทุน 500 TukTuks ที่ลงทุนในสตาร์ตอัพไทยหลายแห่ง มีทีมจากโครงการ dtac accelerate ถึงครึ่งหนึ่งของทีมทั้งหมดที่ลงทุนไป
โครงการ dtac Accelerate เดินหน้ามาถึง Batch 4 แล้ว ปีนี้ประกาศจัดใหญ่กว่าเดิม เพื่อตอบรับความสนใจต่อตลาดสตาร์ตอัพไทยที่เพิ่มขึ้นสูงมาก
รูปแบบโครงการ Batch 4 ยังคล้ายกับปีก่อนๆ คือเปิดรับสตาร์ตอัพเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะเป็นเวลา 4 เดือน โดยมีพี่เลี้ยงเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในไทย และวิทยากรที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ
สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในปีนี้คือโครงการบ่มเพาะไม่ได้มีแต่ทีมจากประเทศไทยเท่านั้น แต่ dtac จะเชิญทีมจาก Digi Malaysia และ Telenor Myanmar มาร่วมอบรมด้วย เพื่อให้สตาร์ตอัพไทยมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมจากประเทศเพื่อนบ้าน
Google Ideas หน่วยงานคลังสมอง (think tank) ของกูเกิล ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "Jigsaw" และปรับบทบาทใหม่เป็นหน่วยงานที่นำเทคโนโลยีไปแก้ปัญหาเชิงรัฐศาสตร์-ความมั่นคง เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย, แก้ปัญหาเซ็นเซอร์เนื้อหาออนไลน์, ลดผลกระทบจากการโจมตีไซเบอร์ ฯลฯ กูเกิลเรียกหน่วยงานใหม่ว่าเป็นหน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยี (technology incubator)
เอไอเอสยังคงเดินหน้าสนับสนุนบริษัทหน้าใหม่ (startup) อย่างต่อเนื่องผ่านโครงการ AIS The StartUp 2015 ที่จัดมาถึงปีที่ 5 ซึ่งปีนี้จะเน้นไปในส่วนของการสนับสนุนให้บริษัทหน้าใหม่ สามารถขยายเข้าไปสู่ระดับสากลได้ โดยมีพาร์ทเนอร์รายใหญ่เข้ามาร่วมโครงการอีกหลายราย
โครงการ dtac Accelerate Batch 3 ถือเป็นการบ่มเพาะสตาร์ตอัพไทย ติดต่อกันเป็นปีที่สามของบริษัท dtac โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่ Telenor Group
รูปแบบโครงการยังคล้ายของปีที่แล้ว นั่นคือคัดเลือกสตาร์ตอัพที่โดดเด่นเพื่อไปพัฒนาความสามารถ และผลักดันให้เติบโตในเวทีโลก
สิ่งที่สตาร์ตอัพที่ผ่านการเข้ารอบจะได้รับ มีตั้งแต่
HAXLR8R โครงการบ่มเพาะผู้พัฒนาฮาร์ดแวร์จากเซินเจิ้น (อ่านรายละเอียด รู้จักกับ HAXLR8R เมื่อสตาร์ทอัพไม่ได้จำกัดแค่ซอฟต์แวร์) ประกาศเปลี่ยนชื่อตัวเองโดยยังมีคำอ่านคล้ายเดิม แต่สะกดชื่อให้ชาวบ้านทั่วไปเข้าใจง่ายขึ้น HAX Accelerator หรือเรียกสั้นๆ ว่า HAX
HAX ยังขยายวงเงินการสนับสนุนสตาร์ตอัพจากเดิม 100,000 ดอลลาร์เป็น 300,000 ดอลลาร์ และประกาศโครงการอบรมบ่มเพาะชื่อ Boost เข้าแคมป์นาน 6 สัปดาห์เพื่อสอนวิชาการขายและช่องทางจัดจำหน่ายด้วย เนื่องจาก HAX พบว่าสตาร์ตอัพหลายรายเก่งเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการผลิต แต่มักมาตายเรื่องการขายและการตลาด
ดีแทคต่อยอดโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ dtac Accelerate เป็นปีที่สาม (ข่าวของปีที่แล้ว) โดย dtac Accelerate Batch 3 จะเปิดรับใบสมัครจากสตาร์ตอัพถึงวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ และประกาศผล 20 ทีมที่เข้ารอบในวันที่ 5 มิถุนายน
สิ่งที่ผู้เข้ารอบจะได้รับคือ
Andy Rubin บิดาแห่ง Android ลาออกจากกูเกิลเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว วันนี้เขาได้ฤกษ์เปิดตัวบริษัทใหม่ Playground Global ซึ่งเป็นศูนย์บ่มเพาะ (incubator) ผู้สร้างฮาร์ดแวร์
Playground Global จะให้การสนับสนุนผู้สร้างฮาร์ดแวร์ทั้งในเชิงเทคนิค การผลิต การเงิน การจัดจำหน่าย แลกกับหุ้นของบริษัทฮาร์ดแวร์เหล่านั้น (ไม่ได้ลงทุนเป็นตัวเงินแต่ลงแรงแทน) Rubin บอกว่าเขาอยากให้ Playground เป็นเหมือนสตูดิโอที่เหล่าผู้สร้างและผู้ประกอบการมารวมตัวกัน สร้างฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ โดยยังไม่ต้องสนใจเรื่องธุรกิจเลย ผู้สร้างมีหน้าที่สร้างผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นได้จริง
หลังจากประกาศชื่อห้าทีมที่เข้ารอบสุดท้ายของโครงการ dtac Accelerate ครั้งที่สองไปเมื่อสามเดือนก่อน วันนี้ dtac ก็เผยรายชื่อของผู้ชนะที่จะได้ไปต่อในเวทีต่างประเทศออกมาแล้ว
ในปีนี้จะมีผู้ชนะทั้งสิ้นสองรางวัลได้แก่ รางวัล Digital Winner ที่จะเป็นตัวแทนจาก dtac ไปแข่งขันกับตัวแทนจากเทเลนอร์ทั้ง 13 ประเทศ ณ ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งรางวัลนี้เป็นทีม Anywhere to go ผู้พัฒนาแอพเคลมประกันอย่างง่าย Claim Di เป็นผู้ชนะไป
อีกรางวัลผู้ชนะจะได้สิทธิ์ไปร่วมโครงการ Black Box ที่ซิลิคอนวัลเลย์ เพื่อเข้าร่วมเวิร์คช็อปเป็นเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน ซึ่งผู้ชนะรางวัลนี้คือ Piggipo แอพจัดการการเงิน ที่ทำให้ไม่ต้องวุ่นวายเรื่องค่าใช้จ่ายบัตรเครดิตอีกต่อไป
หลังจากประกาศ 5 ทีมสุดท้ายที่ผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการ True Incube รุ่น 2 เมื่อเดือนพฤษภาคมกันไปแล้ว ในที่สุดก็ถึงเวลาแสดงความพัฒนาหลังจากผ่านการอบรมจากบรรดา mentor เป็นเวลากว่าสามเดือน ว่าแต่ละทีมมีการพัฒนาไปอย่างไรกันบ้าง
ก่อนจะไปถึงความคืบหน้าของ 5 ทีมสุดท้ายในรุ่นที่ 2 ลองย้อนกลับไปดูความสำเร็จของทีม startup รุ่นพี่ที่เริ่มขยับขยายไปสู่ต่างประเทศแล้วอย่างทีมถามครู ที่เพิ่งระดมทุนเพิ่มอีก 620,000 เหรียญ (ประมาณ 20 ล้านบาท) และอีกทีมอย่าง Sellsuki ผู้ช่วยแม่ค้าบนเฟซบุ๊กก็มีลูกค้ามากกว่า 3,729 รายเข้าให้แล้ว ในขณะที่ทีมอื่นๆ ในรุ่นเดียวกันก็กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในแง่ของยอดดาวน์โหลดแอพ และในส่วนของการขยายคู่ค้า
วันนี้ทรูได้เปิดตัว 5 ทีมสตาร์ทอัพสุดท้ายที่ผ่านการคัดเลือก ในโครงการ True Incube รุ่น 2 ซึ่งเป็นโปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพของกลุ่มทรู ภายใต้แนวคิด อย่ามัวแต่คิด ลงมือทำ จากผู้สมัครกว่า 100 ทีม ซึ่ง 1 ใน 5 ทีมนี้จะได้รับโอกาสไปเรียนรู้การทำงานและนำเสนอแผนธุรกิจกับ 500 Startups ซึ่งเป็นโปรแกรมสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพชั้นนำของโลกที่ซิลิคอน วัลเลย์ สหรัฐอเมริกา โดย 5 ทีมสุดท้ายที่ผ่านการคัดเลือกในรุ่นที่ 2 นี้ประกอบไปด้วย
Course Square
เป็นแพลตฟอร์ม e-Learningในรูปแบบมัลติมีเดีย สำหรับองค์กร เพื่อช่วยในการอบรบพนักงาน รวมไปถึงติดตามและวัดผลของตัวพนักงานในองค์กร คิดค้นขึ้นโดยอดีตอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
Hankster
โครงการ AIS The Startup ของปี 2014 เปิดรับสมัครมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และใกล้เวลาปิดรับสมัคร 23 มีนาคมนี้เข้ามาทุกทีแล้ว
โครงการของ AIS ปีนี้ต่างจากปีที่แล้วตรงที่ของเดิมไม่เจาะจงประเภทของ startup ตายตัว แต่ในปีนี้ AIS ขยับมาเน้น startup ที่จะเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์กับ AIS ในธุรกิจโทรคมนาคม (และใช้โมเดล revenue sharing หรือแบ่งรายได้กัน)
ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการทำธุรกิจร่วมกับ AIS และเข้าถึงเครือข่ายระดับภูมิภาคของ AIS ทั้งนักลงทุนในอาเซียน รวมถึงช่องทางการเข้าถึงลูกค้าของ SingTel ในภูมิภาคกว่า 500 ล้านคน
หลังจากประกาศผู้ชนะในโครงการ dtac Accelerate ครั้งแรก ไปเมื่อเดือนสิงหาคมของปีที่แล้ว ในปีนี้ก็ถึงเวลาของการเปิดโครงการปีที่สองอย่างเป็นทางการแล้ว
ในปีนี้โครงการ dtac Accelerate นอกจากจะมุ่งเน้นไปที่การเฟ้นหาบริษัทหน้าใหม่ เพื่อช่วยอบรมบ่มเพาะทางธุรกิจ (Incubation) แล้วยังมีแผนจะพัฒนาบริษัทที่มีธุรกิจอยู่แล้ว ให้มีผลงานและทิศทางที่ชัดเจนขึ้น (Accelerate) โดยขยายขอบเขตความครอบคลุมบริการจากเดิม เพิ่มไปเป็น 11 ประเภท ตั้งแต่แอพบนอุปกรณ์พกพา เกม อีคอมเมิร์ซ บริการทางการเงินออนไลน์ บริการชำระเงิน บริการเกี่ยวกับสุขภาพ ระบบศึกษาออนไลน์ บริการอิงกับสถานที่ บริการบนกลุ่มเมฆ บริการสำหรับองค์กร และ Social Technology Venture
AIS ประกาศเปิดตัว AIS The Startup 2014 โครงการสนับสนุน startup ที่จัดขึ้นเป็นปีที่สาม หลังจากปีก่อนได้ผู้ชนะเป็นทีม Noonswoon แอพหาคู่ที่นอกจากจะได้รางวัลจากทาง AIS แล้ว ยังได้เป็นหนึ่งในคอนเทนต์พาร์ทเนอร์ของ AIS (Incubated Content Provider "iCP") อีกด้วย
ในปีนี้ ธีมของโครงการ AIS The Startup 2014 จะเน้นไปที่การเติบโตไปกับพาร์ทเนอร์ (Growing with Partnership) มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีบริการ หรือผลิตภัณฑ์ซึ่งพร้อมจะต่อยอดได้แล้ว ซึ่งขยับจากปีก่อนหน้าที่เน้นปั้นผู้ประกอบการรายใหม่โดยเฉพาะ และขยายความครอบคลุมของ startup ไปมากกว่าเป็นแค่แอพบนอุปกรณ์พกพา โดยเพิ่มเป็นสามหมวดหมู่หลักๆ ดังนี้
ปีที่แล้ว กลุ่ม True เป็นโอเปอเรเตอร์รายสุดท้ายที่เปิดตัวโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการไอทีในชื่อ True Incube (ข่าวเก่า) แต่ปีนี้ True Incube เปิดรับสมัครผู้ประกอบการไปทำ startup เป็นรายแรก
โครงการปีที่สองจะเปิดให้สมัครเข้าร่วมระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2556 จนถึง 26 มกราคม 2557 โดยจะประกาศผล 40 ทีมที่เข้ารอบในวันที่ 1 กุมภาพันธ์, ให้นำเสนอวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ และประกาศชื่อ 5-10 ทีมสุดท้ายที่เข้ารอบช่วงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์
dtac ยังคงเดินหน้าเสริมแกร่งให้โครงการ accelerate ของตัวเองด้วยการประกาศความร่วมมือกับ Founder Insitute โครงการอบรมผู้ประกอบการรายใหญ่จากซิลิคอนวัลเลย์ หลังจากเพิ่งเสร็จสิ้นโครงการของตัวเอง Wizard of Apps ไปเมื่อไม่นานมานี้
Founder Insitute นั้นเป็นโครงการอบรมผู้ประกอบการที่เริ่มต้นและเติบโตในซิลิคอนวัลเลย์ ปัจจุบันก่อตั้งมาได้เป็นเวลากว่า 4 ปีแล้ว และมีผลงานผลักดันบริษัทได้มากกว่า 1,000 แห่งจาก 42 เมืองทั่วโลก มีผู้ผ่านการอบรมอยู่ที่ประมาณ 550 คน
เมื่อครั้งก่อน True เพิ่งประกาศหกทีมที่เข้ารอบสุดท้ายในโครงการสนับสนุน startup ของค่ายตัวเองอย่าง Incube ไป เมื่อเร็วๆ นี้ทาง True ก็ได้พาหนึ่งในทีมที่เข้ารอบมาเผยความก้าวหน้าของแอพดังกล่าว ซึ่งก็ยังอยู่ในช่วงพัฒนาระหว่างโครงการอยู่อย่างทีม Taamkru (ถามครู)
Taamkru เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับสอนเด็กวัยเรียน ในเบื้องต้นรองรับเฉพาะชั้นอนุบาล และประถมก่อน ตัวบริการมีทั้งบนเว็บไซต์ และแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต (ตอนนี้มีแค่บน iOS) โดยบริการครอบคลุมประมาณนี้ครับ
ในต่างประเทศมีโครงการปั้นบริษัทหน้าใหม่ (accelerator/incubator) อยู่หลายโครงการ รูปแบบก็คงแตกต่างกันไปตามแนวทางของแต่ละเจ้า (ที่ดังหน่อยคงหนีไม่พ้น Y Combinator หรือ 500 Startups)
โครงการสนับสนุน startup ของค่าย True ในชื่อ Incube เดินทางมาใกล้ปิดม่านปีแรกแล้ว หลังจากเปิดตัวมาตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม วันนี้ True ประกาศรายชื่อ 6 ทีมสุดท้ายที่เข้ารอบตัดสินมาเป็นที่เรียบร้อย (เพิ่มมาหนึ่งทีมจากประกาศตอนแรกว่าจะมี 5 ทีม)
ส่วน 6 ทีมสุดท้ายจาก 150 ทีมที่ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการ มีดังนี้ครับ
เมื่อปลายเดือนที่แล้ว ค่าย True ได้แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ True Incube เพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ถือเป็นค่ายมือถือค่ายที่สามของบ้านเราถัดจาก AIS และ dtac ที่ต่างก็เริ่มสร้างโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการของตัวเอง
การที่ค่ายมือถือใหญ่ทั้งสามของบ้านเราหันมาทำโครงการแนว incubator/accelerator ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก ผมจึงพยายามติดต่อเพื่อขอสัมภาษณ์กับผู้ดูแลโครงการของทั้งสามค่ายเพื่อสอบถามมุมมองและยุทธศาสตร์ต่อโครงการ รวมถึงความเห็นต่อวงการ startup ในบ้านเรา รอบนี้เป็นของ True Incube ก่อนนะครับ ส่วนอีกสองรายที่เหลือจะตามมาในโอกาสต่อๆ ไป
ค่าย True เดินหน้าเปิดตัวโครงการสนับสนุน startup เช่นเดียวกับ AIS และ dtac โดยใช้ชื่อโครงการว่า True Incube และจับมือกับพาร์ทเนอร์คือ 500 Startups และ Gobi Partners ช่วยจัดโปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ
เบื้องต้นโครงการของปีนี้เปิดรับสมัครทีมผู้สนใจไม่เกิน 5 คน ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 56 จากนั้นคัดเหลือ 40 ทีม ตัดตัวลงมาเรื่อยๆ จนเหลือ 5 ทีม รางวัลสำหรับ 5 ทีมที่ผ่านเข้ารอบคือเงินทีมละ 1 แสนบาทจาก SIPA, เงินลงทุนจาก True รายละ 5 แสนถึง 1 ล้านบาท พร้อมการอบรม Boot Camp นาน 99 วัน สุดท้ายจะมีหนึ่งทีมได้เข้าโครงการของ 500 Startups ที่สหรัฐอเมริกาด้วย