ช่วงนี้ข่าวซอฟต์แวร์ออกรุ่นใหม่ค่อนข้างเยอะ หลังจากที่ได้รีวิว Songbird 1.0 ไปแล้ว โปรแกรมจัดการเพลงอีกตัวที่ได้รับความนิยมสูงบนลินุกซ์ (โดยเฉพาะฝั่งที่ใช้ KDE) ซึ่งก็คือ Amarok ได้ออกเวอร์ชัน 2.0 เช่นกัน
Amarok 2.0 เป็นการเขียนใหม่เกือบทั้งหมด เพราะต้องปรับฐานเทคโนโลยีตาม KDE 4 ด้วย ซึ่งทีมงานใช้เวลาไปเกือบ 2 ปี สิ่งที่ได้คือ Amarok ตัวใหม่ที่เรียกใช้พลังของ KDE 4 ได้อย่างเต็มที่ เช่น สนับสนุน Phonon, Solid และ Plasma
หลังจากที่ออก KDE 4.0 มาได้สักพักหนึ่ง และได้เสียงตอบรับจากผู้ใช้ทั้งในแง่ดีและแง่เสีย ซึ่งในแง่เสียส่วนมากจะมีปัญหาในเรื่องของความเสถียร ซึ่งทางทีมงาน KDE เองก็ประกาศชัดว่า KDE 4.0 เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์ม "KDE 4" เท่านั้น สำหรับฟีเจอร์ที่ยังขาดไปจะเริ่มทยอยมาใน KDE 4.1 (ข่าวเก่า)
ทีมงานจึงได้ฤกษ์ออก KDE 4.1 Beta1 มาให้ทดสอบฟีเจอร์ใหม่ๆ โดยที่น่าสนใจคือการนำโปรแกรมที่ยังตกค้างอยู่จาก KDE 3 มายัง KDE 4.1 โดยเฉพาะโปรแกรม Kontact ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภท PIM ซึ่งถูกนำมาปรับปรุงให้เข้ากับการใช้งานทางธุรกิจมากขึ้น
กระทรวงศึกษาธิการของประเทศบราซิลประกาศเตรียมดำเนินการในโครงการ ProInfo ที่กำลังติดตั้งคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บกว่า 29,000 ห้องในปีนี้ และเพิ่มเป็น 53,000 ห้องแล็บในปีหน้า ทำให้เมื่อโครงการสำเร็จจะมีนักเรียนที่เข้าถึงคอมพิวเตอร์ลินุกซ์กว่า 52 ล้านคน
โครงการนี้แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบตามความต้องการและงบประมาณ เช่นโรงเรียนในเมืองที่มีงบประมาณจะใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องต่อนักเรียนสองคนโดยแชร์ซีพียูระหว่างกัน ส่วนโรงเรียนที่งบประมาณน้อยกว่านั้นอาจจะใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องต่อกับหน้าจอและคีย์บอร์ดได้ถึงห้าชุดเพื่อประหยัดงบประมาณ
ลินุกซ์ที่ใช้งานในครั้งนี้คือ Linux Education 2.0 ที่สร้างขึ้นมาบนฐานของลินุกซ์ตระกูล Debian ใช้ซอฟต์แวร์จากตระกูล KDE เป็นหลัก
ถ้าใครเป็นแฟน KDE อาจเคยเห็นความพยายามในการพอร์ต KDE ไปลงบนแมคอินทอช (ซึ่งทำได้ไม่ยากนักผ่าน Apple X11 เช่นเดียวกับโปรแกรมจากลินุกซ์อื่นๆ อย่าง GIMP) แต่ล่าสุด KDE สามารถพอร์ตไปรันบนวินโดวส์ได้แล้ว
ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ Qt ซึ่งเป็น toolkit แบบข้ามแพลตฟอร์มที่ใช้ใน KDE ซึ่งใน Qt 4 ที่ออกมาได้สักระยะนั้น ทางบริษัท Trolltech ได้ปรับสัญญาอนุญาตจากเดิมที่จำกัดเงื่อนไขบนวินโดวส์ มาเป็น GPLv2 สำหรับทุกแพลตฟอร์ม (และล่าสุดเพิ่ม GPLv3 ให้ด้วย ดูข่าวเก่า)
หลัง KDE 4.0 ออกมาโดยมีเสียงตอบรับยังไม่ค่อยดีนัก (ว่ายังไม่สมบูรณ์พอจะแทน KDE 3.5 ในปัจจุบันได้) บรรดาดิสโทรลินุกซ์เลยมีท่าทีแตกต่างกันไปว่าจะนำ KDE 4.0 เข้ามารวมในดิสโทรเวอร์ชันต่อไปของตัวเองหรือไม่
หลังจากเลื่อนมาแล้วสองรอบ KDE 4.0 ตัวจริงก็ได้ฤกษ์ออกเสียที ถ้าเทียบกับ KDE 3.x แล้ว KDE 4.0 เปลี่ยนแปลงแทบทุกอย่างตั้งแต่รากฐานไปจนถึงชุดไอคอน (อ่านรายละเอียดในข่าวเก่า) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเยอะขนาดนี้ ทำให้ฟีเจอร์หลายอย่างในระดับผู้ใช้ (ไม่ใช่ระดับสถาปัตยกรรม) ยังไม่เทียบเท่า KDE 3.5.x ที่พัฒนามายาวนาน
ทางทีมงาน KDE เองก็ประกาศชัดว่า KDE 4.0 เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์ม "KDE 4" เท่านั้น สำหรับฟีเจอร์ที่ยังขาดไปจะเริ่มทยอยมาใน KDE 4.1
ตอนนี้ KDE ได้ปล่อยตัวอัปเดตล่าสุดของรุ่น 3.5 ออกมาแล้วครับคือรุ่น 3.5.8 (แก้ขัดโรคเลื่อน KDE 4.0) โดยหลักๆ ก็จะเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดที่มีอยู่จากรุ่นก่อนๆ โดย
จากเดิม KDE 4.0 มีกำหนดออกเดือนตุลาคม (ข่าวเก่า) แต่เพราะเวอร์ชันนี้มีการยกเครื่องขนานใหญ่ในระดับล่างๆ ทำให้การพัฒนาล่าช้าออกไปบ้าง โครงการ KDE จึงประกาศเลื่อนวันออก KDE 4.0 ออกไปเป็นเดือนธันวาคม
ส่วนเดือนตุลานี้ KDE4 จะออก KDE Development Platform ซึ่งเป็นชุดไลบรารีและส่วนประกอบพื้นฐานออกมาก่อน (เทียบได้กับ GNOME Development Platform) เพื่อให้บรรดา 3rd party ทั้งหลายมีเวลาปรับโปรแกรมของตัวเองให้เข้ากับ KDE4 ตัวจริงเดือนธันวาคม
คาดว่าในนี้คงมีเซียนด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกและการถ่ายภาพอยู่ไม่น้อย...
หลายๆ คนคงทราบกันแล้วว่า KDE 4 จะมาพร้อมไอคอนธีมใหม่ที่ชื่อ Oxygen ดังนั้นจะให้ใช้ภาพพื้นหลังแบบเดิมๆ ก็กระไรอยู่ สามศิลปินของ KDE (David Vignoni, Kenneth Wimer และ Nuno Pinheiro) เลยจัดให้มีการประกวดภาพพื้นหลังสำหรับ KDE 4 ขึ้นมา
กติกาคร่าวๆ มีดังนี้
เอนจิน KHTML ที่ใช้ใน Konqueror ถือเป็นเอนจินที่ฮิตมาก นอกจากจะเป็นโอเพนซอร์สแล้วยังมีขนาดเล็ก พัฒนาต่อได้ง่าย (เมื่อเทียบกับ Gecko ของ Mozilla) ทำให้มีคนนำ KHTML ไปพัฒนาต่อกันเป็นแถว ตัวอย่างที่ดังที่สุดคงไม่มีอะไรเกิน Safari ซึ่งแอปเปิลนำ KHTML ไปพัฒนาต่อในชื่อ WebKit (จริงๆ แล้วมันคือ KHTML + KJS)
KDE 3.5.7 ออกแล้วครับ โดยรุ่นนี้เป็นรุ่นแก้ Bugs ของ 3.5 Series และมีการเพิ่มความสามารถเข้าไปในส่วนของ KDE PIM หลายๆ อย่าง เช่นการปรับปรุง KMail (ไม่รู้นอกจากผมแล้วมีใครใช้รึเปล่า :P) ให้ทำงานกับ IMAP ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีการปรับปรุงแอพพลิเคชั่นอื่นๆ อีก 2-3 ตัว เช่น
ในที่สุด KDE ก็ได้ปล่อยตัว KDE 4.0-alpha1 ออกมาให้ได้ยลโฉมกันแล้วในโค้ดเนมว่า "Knut" (ชื่อหมีหรือเปล่า) โดยการออกเวอร์ชั่น Alpha มาก็หมายความว่า ต่อไปจะไม่มีการเพิ่มความสามารถอะไรลงไปใน KDE4 อีก นอกจากจะได้รับความยินยอมจากผู้ดูแลก่อน (Feature freeze)
ส่วนความสามารถเด่นๆ ในเวอร์ชันนี้ก็คือสิ่งที่ KDE ได้โฆษณามานานแล้ว ได้แก่:
เอาใจแฟนๆ KDE กันหน่อย (คงไม่ใช่เจ้าของเว็บ) ด้วยกำหนดการปล่อยตัวของ KDE 4.0 อย่างเป็นทางการ (ในนั้นบอกว่ามัน Finalise แล้ว แต่ไม่รู้มันจะมีเปลี่ยนอีกหรือเปล่า)
ช่วงนี้ข่าว KDE4 เริ่มเยอะ (ข่าวเก่า) แสดงถึงความคืบหน้าของโครงการ สำหรับฟีเจอร์ทั้งหมดของ KDE4 ไว้ใกล้ๆ ออกแล้วคงได้เขียนถึงแบบเต็มๆ นะครับ
ทีมงาน KDE ได้โชว์ความสามารถด้าน SVG ใน KDE 4.0 โดยเปรียบเทียบโปรแกรมต่างๆ บน KDE 3.5.5 ที่ใช้ภาพบิตแมป กับโปรแกรมเดียวกันบน KDE 4.0 pre-alpha ที่เปลี่ยนมาใช้ภาพเวกเตอร์แทน ตัวอย่าง 4 โปรแกรมที่ยกมานี้มีเกมซะ 3 ที่ทำได้สวยมากคือเกม KMahjongg แนะนำให้กดเข้าไปดู
ในส่วนของหน้าตา KDE 4.0 ยังมีโครงการลูกอื่นๆ อีกหลายตัว เช่น Oxygen ไอคอนใหม่ที่ดูสมจริง (มาแนว OS X, Vista) หรือโครงการ Plasma ซึ่งเป็นการรวม taskbar กับ desktop เข้าด้วยกัน เป็นต้น
โครงการ Portland เป็นโครงการเชื่อม API บางส่วนของ KDE กับ GNOME เข้าด้วยกัน (ข่าวเก่า) ได้ฤกษ์ออกเวอร์ชันแรกแล้ว
โครงการนี้เป็นผลงานของ Open Source Development Labs (ที่ Linus ทำงานอยู่) ต่อไปเวลาเขียนโปรแกรมบนลินุกซ์ เราก็หมดห่วงไปได้บ้างว่ามันจะผสานกับ KDE ได้ แต่ GNOME ไม่ได้ อะไรทำนองนี้
Qt 4.2 และ GNOME 2.16 ที่เพิ่งออกไปนั้นสนับสนุน Portland เรียบร้อยแล้ว และดิสโทรหลายๆ เจ้าก็เริ่มนำไปใช้แล้วเช่นกัน
ที่มา - Ars Technica
ทีมงานของ openSUSE ได้โชว์วิดีโอเดโมของ Start Menu อันใหม่รหัส "Kickoff" ที่จะเข้ามาใน openSUSE 10.2 ซึ่งเจ้าเมนูนี้จะคล้ายๆ กับ Start Menu ของ Windows XP SP2 และ Vista มากขึ้น มีีฟีเจอร์ที่ตอนนี้เริ่มเป็นมาตรฐานอย่าง Search, Favourite, Recent Applications/Document มาเรียบร้อย ลองดูเดโมแล้วก็คิดว่าเข้าท่าดีครับ ไม่รู้ใช้จริงๆ จะต้องปรับตัวจากเดิมเยอะขนาดไหนเหมือนกัน
เมนูใหม่จะไปเปิดตัวในงานประชุม aKademy 2006 ของ KDE เดือนกันยายนนี้
Qt เป็นทูลคิท GUI แบบข้ามแพลทฟอร์มที่ใช้ใน KDE และโปรแกรมอื่นๆ อีกหลายตัว รวมถึงโปรแกรมตระกูลฝังตัวด้วย ปัจจุบัน Qt ออกถึงเวอร์ชัน 4.1 และมีแผนจะออก 4.2 ช่วงสิ้นปีนี้ ทางบริษัท Trolltech ผู้พัฒนาจึงได้ออก 4.2 Technology Preview มาให้ลองใช้กัน
สำหรับนักพัฒนาโปรแกรมบน KDE คงดีใจกันถ้วนหน้า เมื่อ KDE ปล่อย โปรเจค Phonon ซึ่งเป็น Library และ API สำหรับทำงานด้านมัลติมีเดียโดยเฉพาะ ซึ่งผู้เขียนไม่ต้องไปยุ่งกับการติดต่อฮาร์ดแวร์ หรือติดต่อในระดับๆลึกเลย
ส่วนผู้ใช้ก็ได้รับผลประโยชน์ใน การปรับแต่งเรื่องเสียง/ภาพ หรือ ฮาร์ดแวร์เกี่ยวกับมัลติมีเดียได้ง่ายขึ้นมาก
สำหรับนักพัฒนาน่าจะคล้ายๆกับ DirectDraw และ DirectSound มั้ง
ที่มา - OSNews
KOffice 1.5 ชุดออฟฟิศของทางฝั่ง KDE ออกตัวจริงแล้ว ในเวอร์ชันนี้มีของใหม่ที่สำคัญคือ การสนับสนุน OpenDocument และโปรแกรมใหม่ๆ หลายตัว
OpenDocument นั้นยังไม่สนับสนุนเต็มรูปแบบนัก แต่ในโปรแกรมหลัก 3 ตัว คือ KWord, KSpread และ KPresent นั้นสนับสนุนเต็มรูปแบบแล้ว เหลือแค่ส่วนของ Chart กับ Formula ที่สนับสนุนแต่ยังไม่หมด
โปรแกรมใหม่ๆ เน้นไปทางกราฟิกหลายตัว ได้แก่ Krita (Bitmap), Karbon (Vector), Kivio (Flowchart) นอกจากนั้นก็มี Kexi (เทียบกับ MS Access) และ KPlato (Project Management)
ตอนนี้มีให้เล่นใน Kubuntu และ SuSE แล้ว ส่วน KOffice 2.0 จะเป็นส่วนหนึ่งของ KDE 4.0
Open Source Development Labs องค์กรอิสระที่ Linus ทำงานอยู่ ได้เปิดตัวโปรแกรม Portland ในงาน LinuxWorld Expo ที่บอสตัน ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมที่ใช้กับ Gnome และ KDE ได้พร้อมกัน ที่ผมอ่านคร่าวๆ มันแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วน command line ที่ช่วยในการติดตั้ง และไลบรารีกลางที่ไปเรียกไลบรารีของแต่ละ Desktop อีกที
ที่มาของชื่อมาจากการประชุมของ OSDL ที่เมืองพอร์ตแลนด์ กำหนดออกเบต้าพฤษภาคมนี้ ส่วนตัวจริงก็เดือนมิถุนา
ที่มา - ZDNet
ก่อนอื่นต้องบอกว่าผมใช้ GNOME ครับ ยอมรับเลยว่า KDE เก่งกว่ามากในหลายๆ เรื่อง แต่เหตุผลที่ผมไม่ใช้คือหน้าตามันรกเข้าขั้นมากถึงมากที่สุด
ใน KDE4 พยายามแก้ไขปัญหานี้ แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งใช้วิธีดัดแปลง KDE เดิมให้มีตัวเลือกน้อยลง หน้าตาสะอาดขึ้น ในโครงการ SimpleKDE ถ้าสนใจดู screenshot หรืออ่าน สัมภาษณ์คนทำก็ได้
อธิบายก่อนว่า Dashboard เป็นคุณสมบัติหนึ่งใน Mac OS X 10.4 Tiger (รายละเอียด) เนื้อแท้ของมันแล้วคือ HTML ที่ใช้แท็ก <canvas> และจาวาสคริปต์ผสมกัน ที่สามารถทำอย่างนี้ได้เพราะว่าตัวเอ็นจินของ Dashboard ใช้ตัวเรนเดอร์เว็บเพจตัวเดียวกับของ Safari ในการแสดง widget ต่างๆ
ไม่รู้ไปโกรธอะไรกันมาระหว่างไลนัส และทีมงาน Gnome ที่อยู่ดีๆ ก็ทะเลาะกันแรงพอควรใน เมลลิ่งลิสต์ของ Gnome โดยไลนัสระบุว่าส่วนตัวของเขาแล้่วแนะนำให้คนใช้ KDE เพราะ Gnome ขาดฟีเจอร์ที่จำเป็นและขาดความยืดหยุ่น แถมด้วยประโยคเด็ด
Gnome seems to be developed by interface nazis, where consistently the excuse for not doign something is not "it's too complicated to do", but "it would confuse users".
[ดูเหมือนว่า Gnome จะถูกพัฒนาจากนาซีด้านอินเทอร์เฟซ ที่ให้เหตุผลที่จะไม่ทำอะไรบางอย่างด้วยเหตุผลว่า "มันทำให้คนใช้สับสน" แทนที่จะเป็น "มันยุ่งยากเกินไป"]