Lalamove สตาร์ทอัพบริการขนส่งสินค้า สำนักงานใหญ่อยู่ฮ่องกงประกาศหยุดบริการส่งอาหารหรือ Lalafood ในฟิลิปปินส์ มีผล 15 กุมภาพันธ์นี้ โดยจะเน้นที่บริการหลักคือส่งของ Lalamove บอกด้วยว่าจะขยายบริการโลจิสติกส์ในกรุงมะนิลาและจังหวัดปัมปังกา
Lalamove เปิดตัว Lalafood ในฟิลิปปินส์ปี 2018 โดยมี Grab และ Foodpanda เป็นคู่แข่งด้วย ในข้อความแถลงฟยุดบริการ Lalafood ระบุว่า ปี 2021 จะยังคงเป็นอีกปีที่ Lalamove เติบโตอย่างแข็งแกร่งในฟิลิปปินส์ มีความมุ่งมั่นจะเสริมความแข็งแกร่งให้กับการลงทุนในฟิลิปปินส์เพื่อให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้นและมอบโอกาสที่มากขึ้นให้กับผู้ขับขี่และพนักงาน
รัฐบาลอินเดียสั่งแบนแอพจากประเทศจีนมาแล้ว 3 รอบ ล่าสุดหลังจากเว้นไปพักใหญ่ๆ ก็ประกาศแบนแอพจีนรอบ 4 จำนวน 43 ตัว
แอพที่เด่นๆ ในรอบนี้คือ AliExpress, WeTV, Lalamove India (Lalamove เป็นบริษัทฮ่องกง), DingTalk, Taoboa Live ส่วนที่เหลือเน้นไปที่แอพสายนัดเดทและเกม
ที่มา - PIB.gov.in, xda, ภาพจาก Facebook AliExpress
Lalamove สตาร์ทอัพบริการขนส่งสินค้าซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ฮ่องกง ประกาศเพิ่มทุนซีรี่ส์ C อีก 100 ล้านดอลลาร์ โดยมีนักลงทุนหลักคือ ShunWei Capital ซึ่งไม่มีการเปิดเผยสัดส่วนการลงทุน แต่ซีอีโอ Chow Shing-yuk บอกว่ามูลค่ากิจการนั้นใกล้แตะ 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งในวงการสตาร์ทอัพเรียกว่าเป็นยูนิคอร์นนั่นเอง
ปัจจุบัน Lalamove มีให้บริการอยู่ 100 เมือง ด้วยผู้ใช้งานกว่า 15 ล้านคน เน้นภูมิภาคจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเงินลงทุนก้อนใหม่นี้จะนำไปขยายอยู่ตลาดเมืองใหม่ๆ ทั่วทั้งเอเชีย ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
Lalamove ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่สามารถเรียกใช้ได้ผ่านแอพ ประสบความสำเร็จในการระดมเงินทุนจากบริษัทลงทุนอีก 10 ล้านดอลลาร์ และในปีนี้ทาง Lalamove ประเมินว่าจะสามารถสร้างกำไรจากการดำเนินงานได้เสียทีหลังก่อตั้งมา 2 ปีเศษ
Lalamove ก่อตั้งขึ้นที่ฮ่องกงในเดือนธันวาคมปี 2013 ก่อนจะขยายบริการสู่จีนแผ่นดินใหญ่ และตามมาด้วยไต้หวันและไทย การระดมทุนในครั้งนี้ก็ได้เงินทุนจากบริษัทในกลุ่มประเทศที่ Lalamove ให้บริการ มีทั้ง China’s Crystal Stream (จีน), AppWorks (ไตัหวัน), Aria Group (ฮ่องกง) ซึ่งต่างเคยร่วมลงทุนใน Lalamove มาก่อนแล้ว แต่ครั้งนี้มีบริษัทจากไทยเพิ่มขึ้นมาร่วมสนับสนุนเงินทุนอีกราย นั่นคือ Asia Plus ทำให้รวมแล้วจนถึงตอนนี้ Lalamove ได้รับเงินทุนสะสมทั้งหมดจากบริษัทลงทุนแล้ว 30 ล้านดอลลาร์
LINE ประเทศไทย เปิดตัวแอพใหม่ LINE MAN อย่างเป็นทางการ แอพตัวนี้สร้างขึ้นเพื่อต่อยอด วิสัยทัศน์ Beyond Chat ไปไกลกว่าการแชท แนวคิดคือเชื่อมต่อโลกออนไลน์กับออฟไลน์เข้าด้วยกัน (Online-to-Offline หรือ O2O)
LINE MAN คือแอพเรียกผู้ช่วยส่วนตัวมาช่วยทำงานให้เรา (LINE พาร์ทเนอร์กับ Lalamove ที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้อยู่แล้ว) ในระยะเบื้องต้น "มนุษย์ LINE" ช่วยงานเราได้ 3 อย่าง
สรุปเนื้อหาจาก งานเสวนา Sharing Economy 'เศรษฐกิจแบ่งปัน' เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2558 ที่ร้าน Books&Belongings สุขุมวิท 91 ร่วมจัดโดย กลุ่ม Digital Culture Thailand ร่วมกับมูลนิธิ Heinrich Böll Stiftung และ Siam Intelligence Unit
ช่วงหลังมานี้เราเริ่มเห็นธุรกิจประเภท "จับผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการมาเจอกัน" ผ่านแพลตฟอร์มแอพมือถือเกิดขึ้นมากมาย เช่น Uber (รถยนต์) หรือ Airbnb (ห้องพัก)
ล่าสุดมีบริการอีกรายที่น่าสนใจคือ EasyVan บริการจับคู่คนส่งของกับรถส่งของ (มีในสิงคโปร์และฮ่องกงมาก่อนแล้ว) บุกเข้ามาทำตลาดไทยแล้วในชื่อว่า lalaMove