Twitter ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่สำหรับระบบการซื้อขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม นั่นคือการไลฟ์ขายสินค้า โดยในหน้าไลฟ์นั้น จะมีแถบสินค้าปรากฏขึ้นสำหรับการเลือกซื้อลงตะกร้า ไปจนถึงสามารถเข้าไปดูสินค้าที่เว็บไซต์ของแบรนด์นั้น และสามารถรับชมไลฟ์ไปพร้อมกันผ่านเบราว์เซอร์ in-app เริ่มทดสอบกับร้านค้าในอเมริกาก่อน
Twtter บอกว่าการไลฟ์เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ทำให้คนนึกถึง Twitter อยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสของธุรกิจที่จะนำไลฟ์ขายสินค้านี้มาสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ
ไมโครซอฟท์ประกาศซื้อกิจการ Peer5 บริษัทจากอิสราเอลผู้พัฒนาระบบวิดีโอสตรีมมิ่งสำหรับลูกค้าองค์กร โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่าของดีลนี้ ซึ่งไมโครซอฟท์จะนำเทคโนโลยีของ Peer5 มาใช้กับ Microsoft Teams
Alibaba Cloud กลุ่มธุรกิจให้บริการคลาวด์ของ Alibaba ประกาศเพิ่มโซลูชันใหม่ เป็นบริการไลฟ์สตรีม สำหรับร้านค้าในอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีเครื่องมือครบสำหรับการนำเสนอสินค้าในไลฟ์สด การแสดงตัวหนังสือข้อความระหว่างไลฟ์ รวมถึงเครื่องมือสำหรับทำการซื้อขาย
โซลูชันสำหรับไลฟ์สดขายสินค้านี้ น่าจะทำให้ Alibaba Cloud มีจุดขายที่แตกต่างจากผู้ให้บริการคลาวด์รายอื่นโดยเฉพาะจากฝั่งตะวันตก โดยในภาพรวมตลาดผู้ให้บริการคลาวด์นั้น Alibaba Cloud มีส่วนแบ่งอันดับ 4 รองจาก Amazon, Microsoft และ Google ตามลำดับ
Alibaba บอกว่าเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการไลฟ์สดคือ Narrowband HD ที่ทำให้ได้ภาพคมชัดแม้ลดบิตเรต ช่วยลดต้นทุนแบนด์วิธ และยังมี latency ต่ำประมาณ 2 วินาที จึงเหมาะกับไลฟ์สดที่อาจมีการทำแฟลชเซลล์
StreamYard แพลตฟอร์มทำไลฟ์ถูกเข้าซื้อด้วยดีล 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยบริษัท Hopin ผู้ทำโซลูชั่นไลฟ์ให้กับการจัดอีเว้นท์ต่างๆ ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตในช่วง COVID-19
StreamYard ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 สามารถใช้เบราว์เซอร์ให้ผู้ใช้สตรีมวิดีโอสดไปยัง Facebook, YouTube และ LinkedIn ได้โดยตรง ส่วน Hopin เองก็มีแพลตฟอร์มสตรีมสดอยู่แล้ว แต่ผู้ใช่้งานก็นำเข้าสตรีมจากภายนอกอย่าง YouTube, Vimeo, Wistia และ StreamYard เข้ามาได้ด้วยเช่นกัน การเข้าซื้อ StreamYard ช่วยให้ StreamYard เป็นตัวเลือกเริ่มต้นสำหรับ Hopin ในการถ่ายทอดสด
Twitter ประกาศว่าบริการไลฟ์ Periscope จะปิดให้บริการในรูปแบบแอปแยกมีผลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2021 เป็นต้นไป โดยให้ใช้คุณสมบัติการไลฟ์ผ่าน Twitter Live ในแอป Twitter แทน
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Twitter ระบุว่าตัวแอป Periscope เองไม่เสถียรมาระยะหนึ่งแล้ว ผู้ใช้งานผ่านแอป Periscope โดยตรงก็มีจำนวนลดลงมาโดยตลอด ทั้งนี้หลังปิดให้บริการในเดือนมีนาคม วิดีโอเก่าจะยังเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์
Twitter ซื้อกิจการ Periscope เมื่อปี 2015 ตั้งแต่ก่อนบริการจะเปิดตัว และนำบริการไลฟ์มาไว้ในแอป Twitter ตั้งแต่เมื่อปี 2016
Instagram ประกาศขยายเวลาไลฟ์สดได้เต็มที่ 4 ชั่วโมง จากเดิมทำได้เพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น เท่ากับว่าสามารถทำไลฟ์คอนเสิร์ต, เปิดคอร์สสอนต่างๆ , เปิดพูดคุย Q&A บน Instagram ได้แล้ว นอกจากนี้ยังสามารถเก็บวิดีโอไลฟ์บน archive ได้สูงสุด 30 วันก่อนจะถูกลบออก
Huya และ DouYu สองเว็บให้บริการสตรีมมิ่งเกมในจีน ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อควบรวมกิจการกัน โดยในขั้นตอนควบรวมนั้น Huya จะเป็นฝ่ายเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของ DouYu ด้วยวิธีการแลกเป็นหุ้น โดยทั้งสองบริษัทต่างมีการซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้นอเมริกา
ดีลควบรวมนี้เป็นข้อเสนอมาจาก Tencent ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในทั้งสองบริษัท โดย Tencent ถือหุ้นใน Huya ครึ่งหนึ่ง และ DouYu ประมาณ 1 ใน 3 ภายหลังการควบรวมซีอีโอของทั้งสองบริษัทจะเป็นซีอีโอร่วมในบริษัทใหม่
ข้อมูลจาก MobTech ระบุว่าภายหลังการควบรวม จะทำให้บริษัทใหม่นี้มีส่วนแบ่งการตลาดในบริการสตรีมมิ่งเกมของจีนมากกว่า 80%
Ninja สตรีมเมอร์ดังกลับสู่อ้อมอก Twitch อีกครั้ง เซ็นสัญญาหลายปี และสตรีมให้ Twitch แบบ exclusive
NVIDIA เปิดตัว NVIDIA Broadcast App ซอฟต์แวร์ใหม่สำหรับการสตรีมเกมถ่ายทอดสดหรือประชุมออนไลน์โดยไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์อย่าง ไมโครโฟนคุณภาพสูง, ห้องเก็บเสียง, หรือฉากหลัง แต่ใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาประมวลผลภาพและเสียงแทน โดยมี 3 ฟีเจอร์ได้แก่
จุดเริ่มต้นของ Amazon Web Services คือการที่ Amazon ต้องการนำเทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ภายใน มาหารายได้จากการให้องค์กรอื่น (ที่มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีเยอะไม่เท่า) มาเช่าใช้งานด้วย ภายหลังจึงค่อยพัฒนามาเป็นบริการคลาวด์อันดับหนึ่งของโลกในยุคปัจจุบัน
แต่แนวคิดการนำเทคโนโลยีภายในมาเปิดใช้งานยังคงอยู่ ล่าสุด Amazon เปิดเทคโนโลยีด้านไลฟ์สตรีมมิ่งที่เราคุ้นกันจาก Twitch มาให้องค์กรอื่นใช้งาน ในรูปบริการตัวใหม่ของ AWS ชื่อว่า Interactive Video Service (Amazon IVS)
จากข่าว ไมโครซอฟท์ปิดบริการไลฟ์สตรีม Mixer ย้ายผู้ใช้ไป Facebook Gaming เว็บไซต์ GeekWire ไปสัมภาษณ์ Matt Salsamendi ผู้ร่วมก่อตั้ง Mixer (ช่วงก่อนหน้านั้นใช้ชื่อว่า Beam พอไมโครซอฟท์ซื้อแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Mixer) ว่าคิดอย่างไรในเรื่องนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศปิด Mixer บริการไลฟ์สตรีมสำหรับเกมเมอร์ ที่ซื้อกิจการตั้งแต่ปี 2016 (ชื่อในขณะนั้นคือ Beam) ด้วยเหตุผลว่าไม่สามารถขยายฐานผู้ใช้ได้มากอย่างที่คิด
ไมโครซอฟท์ระบุว่าจะย้ายกลุ่มสตรีมเมอร์ Mixer ไปใช้ Facebook Gaming แทน ซึ่งทั้งสองบริษัทก็เพิ่งเซ็นสัญญาความร่วมมือด้านเกมเพิ่มเติมด้วย เน้นที่การนำ Project xCloud บริการเกมสตรีมมิ่งไปเชื่อมกับ Facebook Gaming ให้สามารถสลับโหมดจากการดูไลฟ์มาเป็นการเล่นเกมได้ทันที (แบบเดียวกับที่ Stadia จะทำกับ YouTube)
Twitch ได้ว่าจ้าง Tracy Chan มาเป็นหัวหน้าผลิตภัณฑ์และดูแลงานวิศวกรรมดนตรี โดย Chan เคยทำงานที่ Spotify มาก่อน 4 ปีในตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการผลิตภัณฑ์มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบวิเคราะห์หลังบ้านสำหรับศิลปิน
สำหรับบทบาทใหม่ของ Chan ใน Twitch เขาจะเน้นไปที่การพัฒนาประสบการณ์ไลฟ์ของศิลปินอิสระบนแพลตฟอร์ม รวมถึงพัฒนาประสบการณ์การมีส่วนร่วมกันระหว่างศิลปินและแฟนๆ แบบเรียลไทม์
ในช่วงโรคระบาดนี้ Twitch ถือเป็นอีกแพลตฟอร์มที่นักดนตรีและศิลปินอิสระมาไลฟ์เพื่อเชื่อมต่อกับแฟนๆ เปิดคอนเสิร์ตขนาดย่อม รวมถึงหารายได้จากการ donate ของแฟนๆ ได้
The New York Times รายงานว่าได้ข้อมูลมาจากเฟซบุ๊กว่าบริษัทเตรียมจะเปิดตัวแอป Facebook Gaming ในวันจันทร์นี้ตามเวลาในสหรัฐ (คืนนี้หรือพรุ่งนี้บ้านเรา) บนแอนดรอยด์และ iOS
ตัวแอปจะออกมาลักษณะเดียวกับ YouTube Gaming ที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จก่อนหน้านี้ ทั้งการสร้างคอนเทนท์และรับชมการสตรีมเกม รวมถึงมีเกมง่าย ๆ ขนาดเล็กให้เล่นและคอมมิวนิตี้เกมภายในตัว โดยแผนเดิมของเฟซบุ๊กคือจะออกแอปนี้ในช่วงเดือนมิถุนายน แต่โรคระบาดที่ทำให้คนอยู่บ้านกันหมดกลายเป็นตัวเร่งให้เฟซบุ๊กรีบออกแอปมาตอบโจทย์กลุ่มคนเหล่านี้
Twitch คือแพลตฟอร์มไลฟ์ที่เกมเมอร์ใช้งานเป็นหลัก แต่เทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นคือ แม้แต่คนทำเพลง,โปรดิวเซอร์เพลงอิเล็กทรอนิกส์เองก็ใช้ Twitch ในการส่งเพลงและสื่อสารกับแฟนๆ และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย
จุดเริ่มต้นที่ทำให้คนทำเพลงอิเล็กทรอนิกส์หันมาสนใจ Twitch คือ ดีเจดัง Steve Aoki จัดไลฟ์คอนเสิร์ตบน Twitch ในปี 2014 หลังจากนั้น Twitch ก็เป็นที่สนใจของคนทำเพลงและดีเจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะดีเจอิสระ เช่น JVNA, HANA, Flux Pavilion, Dan Le Sac และ Grimes รวมถึงค่ายเพลงอิเล็กทรอนิกส์อย่าง Monstercat และ Anjunabeats
Eventpop แพลตฟอร์มจองตั๋วออนไลน์สำหรับงานอีเวนต์ (และเป็นพาร์ทเนอร์ของ Blognone ในการจัดงาน Blognone Tomorrow ที่ผ่านมา) ปรับตัวตามสถานการณ์อีเวนต์แบบออฟไลน์หดหาย ด้วยฟีเจอร์ Online Event สำหรับการถ่ายทอดสดออนไลน์แทน
Eventpop ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ Pro Plugin FrogLive และ LiveTube ผู้เชี่ยวชาญการถ่ายทอดสดออนไลน์ในประเทศไทย และ True Digital Park, Thailand eSports Arena เพื่อให้บริการด้านสถานที่ รวมถึงสตูดิโอระดับมืออาชีพที่มีอุปกรณ์ครบครันด้วย
เราเห็นข่าว สตรีมเมอร์ดังๆ บน Twitch หลายคนอย่าง Ninja, Shroud หรือ King Gothalion ย้ายค่ายไปอยู่กับ Mixer ของไมโครซอฟท์
ล่าสุดเกิดเหตุคล้ายๆ กันแต่เป็นการย้ายไป Facebook Gaming แทน โดย Facebook เซ็นสัญญากับ Jeremy Wang หรือที่รู้จักกันในชื่อ "Disguised Toast" สตรีมเมอร์อีกคนที่มีผู้ติดตามเกิน 1 ล้านราย
เว็บไซต์ไลฟ์สตรีมมิ่ง Twitch ประกาศของใหม่หลายอย่างในงาน TwitchCon 2019 สิ่งที่น่าสนใจคือระบบ "ดูสตรีมแลกแต้ม" หรือ Channel Points ที่เปิดให้ผู้ชมนั่งดูสตรีมตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อสะแสม "แต้ม" ของช่องนั้นๆ ไปแลกของรางวัลได้
ตัวอย่างที่ Twitch นำเสนอคือ ดูครบ 250 แต้มเพื่อแลก "อีโมท" (Emote เป็นชื่อเรียกอีโมจิบนแพลตฟอร์ม Twitch) หรือดูครบ 750 แต้มเพื่อไฮไลท์ข้อความของเราในช่องคอมเมนต์ เป็นต้น ซึ่งสตรีมเมอร์เจ้าของช่องสามารถปรับแต่งเงื่อนไขของรางวัลได้เอง
ระบบ Channel Points เป็นอีกกรรมวิธีหนึ่งของ Twitch ที่ดึงให้แฟนๆ มีส่วนร่วมกับช่องมากขึ้น ตอนนี้ระบบนี้เริ่มเปิดใช้งานกับสตรีมเมอร์บางกลุ่มแล้ว และจะเปิดบริการทั่วไปในเดือนมกราคม 2020
เฟซบุ๊กประกาศเปิดตัว Facebook Gaming เป็นแอพพลิเคชั่นแยกในไทย ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูคอนเทนต์จากสตรีมเมอร์ได้ บริจาคเงินสนับสนุนเกมเมอร์ได้ หรือจะไลฟ์เล่นเกมของตัวเอง หรือเกมจาก Instant Game สามารถแชร์คลิปไปยังบัญชีเฟซบุ๊กของตัวเองได้ด้วย ตัวแอพล่าสุดยังเป็นเวอร์ชั่นเบต้า และสามารถโหลดได้เฉพาะผู้ใช้งานแอนดรอยด์เท่านั้น
Donald Trump บุกเข้ามายังโลกการไลฟ์สตรีมแล้ว ด้วยการเปิดบัญชีบน Twitch เพื่อใช้ถ่ายทอดสดงานหาเสียงที่เมือง Minneapolis เมื่อวานนี้
การหาเสียงผ่าน Twitch ครั้งแรกของ Trump มีผู้ชมประมาณ 65,000 คน และปัจจุบัน บัญชี DonaldTrump มีผู้กดติดตามจำนวน 60,000 คน
Trump ไม่ใช่นักการเมืองคนแรกที่ขึ้นมาอยู่บน Twitch เพราะก่อนหน้านี้ Bernie Sanders ผู้สมัครประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต เริ่มใช้งาน Twitch มาก่อนแล้ว
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ช่วงที่ผ่านมา Trump โพสต์โจมตี Amazon และ Jeff Bezos อยู่เรื่อยๆ แต่ก็หันมาใช้ Twitch ซึ่งเป็นบริการในเครือ Amazon ด้วยนั่นเอง
อุปกรณ์สำคัญเมื่อจะ Live Streaming ก็หนีไม่พ้นฉากหลังเขียว (Green screen) หรือไม่ก็ต้องมี Webcam ที่สร้างเอฟเฟคฉากหลังเขียวได้แต่แบบไหนก็เสียเงินทั้งนั้น ปัญหานี้หมดไปเมื่อ NVIDIA ส่ง SDK สำหรับการ์ดจอซีรี่ย์ RTX ให้สร้างฉากหลังเขียวได้แม้จะใช้กล้อง Webcam ทั่ว ๆ ไปก็ตาม
โดยฟีเจอร์ใหม่ NVIDIA เปิดตัวไปในงาน TwitchCon ในชื่อ "RTX Broadcast Engine" ทำงานโดยใช้ Tensor Cores และ AI ในการ์ดจอซีรี่ย์ RTX มาประมวลผล มีสามฟีเจอร์หลัก คือ:
จากกรณีสตรีมเมอร์ชื่อดัง Ninja ย้ายค่ายจาก Twitch ไปอยู่กับ Mixer เวลาผ่านไปไม่นานก็เกิดความขัดแย้งตามมา
ปกติแล้วเวลาช่องสตรีมใน Twitch ไม่ได้ไลฟ์สดอยู่ในตอนนั้น จะขึ้นสถานะเป็นออฟไลน์พร้อมรูปภาพนิ่งๆ ไม่มีอะไรให้รับชม แต่ Ninja ออกมาโวยผ่านทวิตเตอร์ว่า หลังเขาย้ายไป Mixer แล้ว Twitch เปลี่ยนช่องของเขา (ที่ควรจะออฟไลน์) เป็นวิดีโอโฆษณาสตรีมเมอร์คนอื่นๆ ซึ่งบางครั้งมีช่องที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม (NSFW) สำหรับเด็กๆ ด้วย
ยุคสมัยนี้ใครๆ ก็ต้องมีระบบไลฟ์ของตัวเอง ล่าสุดเป็นคิวของ Discord แอพแชทชื่อดังขวัญใจเกมเมอร์ ที่ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ "Go Live" สำหรับสตรีมเกมให้คนอื่นรับชมผ่าน Discord ได้ด้วย
ฟีเจอร์ Go Live ของ Discord ยังออกแบบมาสำหรับการสตรีมเกมในหมู่เพื่อนๆ เป็นหลัก เพราะจำกัดจำนวนผู้ชมที่ 10 คนเท่านั้น ส่วนผู้ชมสามารถชมไลฟ์ได้จากแอพเดสก์ท็อปหรือเบราว์เซอร์ (แอพมือถือกำลังตามมา) ฟีเจอร์นี้จะเริ่มให้บริการในวันที่ 15 สิงหาคมนี้
Twitch เปิดตัว Twitch Studio แอปสำหรับจัดการการสตรีมมิงเกม ซึ่ง Twitch บอกว่าเป็นแอปแบบออลอินวัน สามารถจัดการทุกอย่างได้อย่างง่ายๆ ในแอปเดียว ตั้งแต่ตั้งค่าสตรีมมิงไปจนถึงพูดคุยและมีส่วนร่วมกับชุมชนคนเล่นเกม
Twitch Studio ยังอยู่ในเวอร์ชันเบต้าที่ทาง Twitch ปล่อยทดสอบแบบจำกัดฟีเจอร์ให้กับกับผู้ใช้บางคนก่อนเท่านั้น หากสนใจสามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ที่นี่
ที่มา - Twitch
จากกรณี Ninja สตรีมเมอร์ชื่อดังย้ายค่ายจาก Twitch ไป Mixer ก็ดูเหมือนเป็นยุทธศาสตร์ที่ได้ผล เพราะเขาใช้เวลาเพียง 5 วันสร้างฐาน subscriber บน Mixer แตะหลัก 1 ล้านคนได้สำเร็จ
ต้องรอดูกันว่าการใช้คนดังอย่าง Ninja ดึงคนไป Mixer จะยั่งยืนในระยะยาวหรือไม่ หรือสุดท้ายจะกลายเป็นแค่จำนวน subscriber ในช่วงแรก แต่ไม่มีคนดูสตรีมจริงๆ เมื่อระยะเวลาผ่านไป
นอกจาก Ninja แล้ว ไมโครซอฟท์ยังทยอยดึงสตรีมเมอร์คนอื่นๆ เข้าสังกัดด้วยเช่นกัน ตัวอย่างอีกคนคือ Dr DisRespect ที่ประกาศย้ายมา Mixer แล้ว