Twitch ประกาศเพิ่มการลง Stories แบบวิดีโอ หลังจากที่ Twitch มีฟีเจอร์ Stories ให้ครีเอเตอร์ใช้งานมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นลงได้เฉพาะรูปภาพและข้อความ
วิดีโอที่ลงใน Stories ของ Twitch รองรับความยาวสูงสุด 60 วินาที และมีลูกเล่นอื่นตามสไตล์การลง Stories เช่น ตั้งคำถาม ทำโพลล์สำรวจ หรือเมนชันหาบัญชีอื่น เป็นต้น
Stories ใน Twitch จะแสดงผลเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ก่อนถูกลบออกไป หรือสามารถกำหนดระยะเวลาให้สั้นลงกว่านั้นก็ได้ ซึ่ง Twitch บอกว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ติดตามได้รับอัปเดตล่าสุดจากครีเอเตอร์
ที่มา: Twitch
Twitch เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลล่าสุดที่ประกาศคืนบัญชีให้กับ Donald Trump อดีตประธานาธิบดีและผู้สมัครชิงประธานาธิบดีสหรัฐ 2024 หลังจากประกาศปิดบัญชี Twitch อย่างไม่มีกำหนดในปี 2021
Twitch ให้เหตุผลว่าเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม เข้าถึงเนื้อหาจากผู้สมัครชิงตำแหน่งโดยตรงเท่าที่ทำได้ โดยแพลตฟอร์มยังคงควบคุมตามกฎของการใช้งาน
Amazon Prime Video เตรียมฉายตอนแรกของซีรีส์ Fallout บนแพลตฟอร์ม Twitch ผ่านช่องของสตรีมเมอร์ชื่อดังหลายคน เช่น Shroud, BrookAB และ TheOnlyRyann โดยจะฉายพร้อมกับตัวซีรี่ส์บน Prime Video ในวันที่ 11 เมษายนนี้
ซีรีส์ Fallout นำแสดงโดย Ella Purnell, Walton Goggins และ Aaron Moten ผลิตโดย Kilter Films บริษัทโปรดักชั่นที่เคยสร้างซีรีส์ Westworld ของ HBO มาก่อนมี Jonathan Nolan (น้องชายของ Christopher Nolan) เป็นผู้อำนวยการสร้าง และกำกับในบางตอน
ตัวซีรี่ส์จะเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ในหลุมหลบภัย Vault หมายเลข 33 แถบเมืองลอสแอนเจลิส ที่ไม่เคยโผล่ในเกมมาก่อน ตัวเอกหลักภาคนี้คือ Lucy ลูกสาวของผู้นำ Vault 33 ที่ตัดสินใจออกจากหลุมหลบภัยมาสู่โลกกว้างภายนอก
Twitch ทำจดหมายเปิดผนึกจากซีอีโอ Dan Clancy ถึงผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม เกี่ยวกับแผนงานที่จะทำตลอดปี 2024 โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อทำให้แพลตฟอร์มดีขึ้น รองรับความต้องการผู้ใช้งาน
Clancy บอกว่ามี 3 ส่วนหลักที่ Twitch จะโฟกัสในปีนี้คือ (1) การแชร์คอนเทนต์ลงแพลตฟอร์ม, (2) เพิ่มการร่วมมือกับระหว่างสตรีมเมอร์ และ (3) ปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานบนสมาร์ทโฟน
Twitch ประกาศความร่วมมือกับ OBS Studio และ NVIDIA เปิดตัวฟีเจอร์ Twitch Enhanced Broadcasting ที่สามารถไลฟ์สตรีมวิดีโอความละเอียด 3 ระดับพร้อมกันได้
ปัญหาของสตรีมเมอร์ในยุคนี้คือ ควรเลือกสตรีมเกมที่ความละเอียดระดับไหนดี เพราะผู้ชมมีความต้องการหลากหลาย บางคนเน็ตเร็ว บางคนเน็ตช้า การสตรีมวิดีโอต้นฉบับแล้วแปลงความละเอียดที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ก็มีปัญหาเรื่องความล่าช้า ไม่ทันท่วงทีต่อการไลฟ์สด
ทางออกของ Twitch Enhanced Broadcasting คืออย่ากระนั้นเลย ฝั่งขาส่งก็ส่งวิดีโอที่หลายความละเอียดตั้งแต่แรกเลย (เหมือนเป็นส่งสตรีมออก 3 สตรีมพร้อมกัน แต่คอนเทนต์เดียวกัน) โดยสามารถทำได้ผ่านตัวเข้ารหัสวิดีโอ NVENC ของการ์ดจอ NVIDIA ทั้งการ์ดกลุ่ม GTX และ RTX
มีรายงานว่า Twitch แพลตฟอร์มไลฟ์สตรีมเตรียมปลดพนักงานประมาณ 35% ของพนักงานทั้งหมด คิดเป็นจำนวนประมาณ 500 ตำแหน่ง
ปัจจุบัน Twitch มี Amazon เป็นเจ้าของ และตัวธุรกิจเองยังคงขาดทุน ช่วงที่ผ่านมาผู้บริหารระดับสูงของ Twitch ก็ทยอยลาออก และเพิ่งประกาศปิดการให้บริการในเกาหลีใต้ ที่เป็นหนึ่งประเทศตลาดสำคัญของบริการไลฟ์สตรีม เนื่องจากต้นทุนการเชื่อมต่อเครือข่ายที่สูง จนไม่สามารถทำธุรกิจให้มีกำไรได้
เมื่อปีที่แล้ว Twitch ก็ประกาศปลดพนักงานไปสองรอบ รวมประมาณ 400 ตำแหน่ง
Dan Clancy ซีอีโอ Twitch ประกาศว่า Twitch เตรียมปิดให้บริการในเกาหลีใต้ มีผลตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2024 เป็นต้นไป
Clancy ให้เหตุผลว่าที่ผ่านมาต้นทุนการให้บริการ Twitch ที่เกาหลีใต้นั้นแพงมาก ช่วงที่ผ่านมาบริษัทพยายามลดต้นทุนส่วนนี้หลายวิธี ทั้งการใช้ peer-to-peer หรือปรับความละเอียดให้สูงสุดที่ 720p แต่ค่าใช้จ่ายเชื่อมต่อเครือข่ายที่เกาหลีใต้ก็สูงกว่าประเทศอื่นถึง 10 เท่า ส่งผลให้ Twitch ที่เกาหลีใต้เป็นส่วนธุรกิจที่ขาดทุน และบริษัทมองไม่เห็นวิธีทำให้ส่วนธุรกิจนี้มีกำไร จึงตัดสินใจปิดให้บริการไปเลย
Amazon ประกาศปลดพนักงานในธุรกิจเกมออก 180 คน ซึ่งเป็นการปลดพนักงานออกรอบที่สองของปีนี้ (รอบแรกปลดไปแล้ว 100 คนช่วงเดือนเมษายน)
ธุรกิจกลุ่มที่โดนปิดคือคอนเทนต์เกมช่อง Crown บน Twitch และโครงการ Game Growth ที่สนับสนุนครีเอเตอร์สายเกม โดยบริษัทประกาศว่าจะหันมาโฟกัสที่การแจกเกมฟรีบน Amazon Prime Gaming ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุด
Twitch ประกาศยุติการสนับสนุนแอปบน Nintendo Switch โดยข้อมูลในหน้าซัพพอร์ตบอกว่า ตั้งแต่ 6 พฤศจิกายน 2023 เป็นต้นไป จะไม่สามารถดาวน์โหลดแอป Twitch ใน eShop ได้ ส่วนผู้ที่โหลดแอปอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว จะไม่สามารถใช้งานแอปได้อีกต่อไปเริ่มตั้งแต่ 31 มกราคม 2024
ตัวแทนของ Twitch ชี้แจงเพิ่มเติมว่านี่เป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากที่ต้องนำแอปออกจาก Nintendo Switch โดย Nintendo ยังคงเป็นพาร์ตเนอร์ที่มีคุณค่าและบริษัทขอบคุณชุมชนของ Switch ที่ให้การสนับสนุนมาโดยตลอด
Twitch ปรับเงื่อนไขการให้บริการ ผู้ใช้สามารถถ่ายทอดสตรีมไปยังบริการอื่น (Simulcasting) พร้อมกับบน Twitch ได้แล้ว
ก่อนหน้านี้ Twitch เพิ่งผ่อนคลายให้ถ่ายทอดสตรีมไปยัง TikTok และ Instagram ที่มีบริการไลฟ์แบบเดียวกัน ล่าสุดคือ Twitch เปิดให้ถ่ายทอดไปยังบริการใดๆ ก็ได้แล้ว แม้ว่าเป็นบริการคู่แข่งก็ตาม (ข้อยกเว้นเดียวของนโยบายใหม่นี้คือ สตรีมเมอร์มีข้อตกลงเอ็กซ์คลูซีฟกับ Twitch เท่านั้น)
เว็บไซต์ Engadget วิเคราะห์ว่าเหตุผลที่ Twitch ยอมผ่อนปรน เป็นเพราะช่วงหลังๆ สตรีมเมอร์ชื่อดังทยอยออกจาก Twitch มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการย้ายไปยัง YouTube ทำให้ Twitch ต้านไม่ไหว และมองว่ายอมให้ Simulcasting บนหลายแพลตฟอร์ม ยังดีกว่าเสียสตรีมเมอร์จากแพลตฟอร์มตัวเองไปเลย
Tiktok ประกาศ API ตัวใหม่เกี่ยวกับลงคอนเทนท์วิดีโอบนแพลตฟอร์มของตน ใช้ชื่อว่า Direct Post โดยได้รับความร่วมมือจากหลายแพลตฟอร์ม และโปรแกรม จากที่ก่อนหน้านี้รองรับแค่ CapCut ที่เป็นโปรแกรมตัดต่อวิดีโอจากทาง Tiktok เอง ซึ่ง API ตัวนี้จะทำให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถอัปโหลดคลิปวิดีโอไปยัง Tiktok ได้โดยตรง
โดยโปรแกรมที่รองรับ Direct Post ของ Tiktok มีดังนี้
กระแสคอนเทนต์วิดีโอสั้นแบบแนวตั้งยังคงอยู่ในกระแสต่อไปอีกเรื่อย ๆ ล่าสุด Twitch เป็นเจ้าล่าสุดที่กำลังกระโดดเข้ามาร่วมลงของกระแสนี้หลังจากที่ Instagram และ Youtube ตามกระแส Tiktok ไปเมื่อปีที่ผ่านมา โดย Twitch เรียกแถบการใช้งานนี้ว่า Discovery Feed ซึ่งจะปล่อยให้ผู้ใช้งานบางรายได้ทดลองใช้ก่อน
Discovery Feed จะแสดงคลิปวิดีโอจากเหล่าครีเอเตอร์ใน Twich ซึ่งตอนนี้อาจจะมีเพียงแค่คลิปแนวนอน แต่ในอนาคตใน Feed จะมีคลิปแนวตั้งด้วย ซึ่งการใช้งานก็คล้าย ๆ กับแอปก่อนหน้าที่ใช้การปัดขึ้นปัดลงเป็นเลื่อนดูคลิปต่าง ๆ ที่ Twitch แนะนำเข้ามา
Twitch ประกาศในงานแถลงข่าว TwitchCon Paris โดยเตรียมเพิ่มคุณสมบัติเก่าที่อื่น แต่ใหม่สำหรับที่นี่ นั่นคือ Stories โดยจะแสดงผลในหน้า Following ของแอปมือถือ เพื่อเป็นเครื่องมือเพิ่มเติมในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครีเอเตอร์กับผู้ติดตาม ฟีเจอร์ดังกล่าวจะเริ่มอัพเดตกับผู้ใช้งานในเดือนตุลาคม
นอกจากนี้ Twitch ยังประกาศฟีเจอร์อื่นที่จะเพิ่มเติมในอนาคต เช่น Discovery Feed แบบใหม่ เพื่อให้ครีเอเตอร์มีช่องทางเพิ่มผู้ติดตามแม้ขณะนั้นยังไม่ได้สตรีมอยู่ เนื้อหาที่แสดงจะมีทั้งไลฟ์และรายการที่บันทึกไว้
หลังจากที่ Twitch เพิ่ม Content Classification Labels และบังคับใช้กับสตรีมเมอร์ทุกคนให้ติดป้ายนี้หากเนื้อหานั้นเหมาะสำหรับผู้ใหญ่
ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของ Twitch ที่เป็นมาตลอดคือการกำหนดขอบเขตของเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ถึงขนาดที่ว่าศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกายังไม่สามารถฟันธงได้ แต่หลังจาก Twitch ออกข้อบังคับให้ติดป้ายนี้ Twitch ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า “การจูบบุคคลหรือวัตถุอื่นเป็นเวลานาน ๆ หรือซ้ำ ๆ” จำเป็นต้องมีป้ายกำกับว่าเป็นเนื้อหาทางเพศ เช่นเดียวกับ “การเสวนาที่ไม่เกี่ยวกับการศึกษา แต่แนวโน้มที่จะชี้นำให้เกิดสนทนาแบบผู้ใหญ่” ก็ต้องติดป้ายเช่นกัน
Twitch ประกาศเพิ่ม Content Classification Labels หรือเครื่องมือสำหรับใส่ป้ายกำกับ หากคอนเทนต์ของสตรีมเมอร์นั้นมีเนื้อหาที่ละเอียดอ่อนและเหมาะสำหรับผู้ชมผู้ใหญ่ โดยระบบ Labels นี้ จะทำมาแทนที่ปุ่ม Mature Content เดิม เพื่อให้สตรีมเมอร์สามารถลงรายละเอียดได้มากขึ้น ว่าเนื้อหาที่นำเสนอมีสิ่งใดที่อ่อนไหว
ตัวเลือกสำหรับการติดป้ายกำกับว่าเป็นเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ได้แก่ มีการเล่นเกมที่เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ (Mature-Rated), มีเนื้อหาทางเพศ, มีการใช้ยาเสพติด, มีภาพที่รุนแรง, มีคำหยาบคาย, มีการพนัน
Twitch ยกเลิกกฎเกี่ยวกับการแสดงโฆษณาบนแพลตฟอร์มที่พึ่งประกาศไป หลังโดนกระแสต่อต้านจากเหล่าสตรีมเมอร์และครีเอเตอร์อย่างหนัก
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Twitch ได้ประกาศไม่อนุญาตให้สตรีมเมอร์แสดงโฆษณาถึงผู้สนับสนุนแบบ burned in (โฆษณาที่ฝังลงในสตรีมโดยตรง) ทั้งรูปแบบ วิดีโอ ดิสเพลย์ และ เสียง อีกต่อไป โดยจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม กฎใหม่นี้จึงส่งผลกระทบต่อการหารายได้ทั้งสตรีมเมอร์และครีเอเตอร์ทั้งหลายในแพลตฟอร์ม
หลังประกาศกฎใหม่ สตรีมเมอร์จำนวนมากต่างออกมาแสดงความไม่พอใจว่าจะทำให้การสร้างรายได้ลำบากขึ้น จากเดิมที่ก็ลำบากอยู่แล้ว
ล่าสุด Twitch ได้ออกมาขอโทษบน Twitter พร้อมยอมรับว่ากฎดังกล่าวส่งผลเสียต่อทั้งสตรีมเมอร์และ Twitch โดยบริษัทจะยกเลิกกฎทันที
สำหรับแพลตฟอร์มสตรีมเกม Twitch ถือเป็นยืนหนึ่งมายาวนาน แม้จะมีคู่แข่งเข้ามาอย่าง Facebook Gaming หรือ Mixer ของไมโครซอฟท์ แต่สุดท้ายทั้ง 2 รายแพ้ โดยรายแรกแม้จะยังอยู่ แต่ก็มีรายงานว่า Facebook เลิกทุ่มเงินให้สตรีมเมอร์แล้ว ส่วนรายหลังปิดตัวไปแล้ว
Amazon ประกาศปลดพนักงานเพิ่มเติมอีก 9,000 คนหลักจากรอบปลายปี 2022 จนถึงมกราคม 2023 นั้นปลดไปแล้ว 18,000 คน โดย Andy Jessy ระบุว่ารอบที่แล้วบริษัทมีเวลาไม่พอที่จะวิเคราะห์ว่าจะลดคนส่วนใดได้บ้างทำให้มีการประกาศเพิ่มในรอบนี้
การปลดคนในรอบนี้กระทบคนทำงานในธุรกิจที่ทำกำไรได้ดีอยู่ด้วย เช่น ธุรกิจโฆษณา และ AWS หลังจากที่รอบก่อนหน้านี้เน้นไปที่ธุรกิจที่ไม่ทำเงินนัก เช่น ร้านค่าปลีก อย่าง Amazon Fresh และ Amazon Go รวมถึงทีมทำผู้ช่วยดิจิทัล Alexa
แม้จะประกาศออกมาแล้วว่าจะปลดคนแต่บริษัทก็ยังไม่ได้ตัดสินใจรายชื่อผู้ที่จะถูกปลดจริงๆ โดยจะแจ้งผู้ถูกปลดกลางเดือนเมษายนไปจนถึงสิ้นเดือน
Emmett Shear ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Twitch ประกาศลาออกจากตำแหน่งซีอีโอ มีผลทันที หลังจากทำงานกับบริษัทนี้มา 16 ปี 4 เดือน โดยให้เหตุผลเพื่อมีเวลากับการเลี้ยงลูกมากขึ้น ทั้งนี้ Shear จะยังอยู่กับ Twitch ในตำแหน่งผู้ให้คำแนะนำ
Dan Clancy ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นประธานบริษัท จะมาเป็นซีอีโอคนใหม่ Clancy ร่วมงาน Twitch มามากกว่า 3 ปี โดยมีตำแหน่งแรกคือรองประธานฝ่ายดูแลประสบการณ์ครีเอเตอร์และชุมชนผู้ใช้งาน
Twitch ออกเครื่องมือความปลอดภัยตัวใหม่ Shield Mode ให้บรรดาสตรีมเมอร์สามารถเปิดโหมดป้องกันภัยได้ทันทีระหว่างไลฟ์ (หรือจะให้แอดมินช่องช่วยกดเปิดให้แทนก็ได้) หากพบสถานการณ์ที่ถูกคุกคาม (harassment) จากผู้ชม
Shield Mode สามารถตั้งค่าไว้ล่วงหน้าได้ว่าจะควบคุมช่องของเราอย่างไร เช่น อนุญาตให้แชทได้เฉพาะคนที่ติดตามหรือเป็นสมาชิกเท่านั้น, ต้องยืนยันตัวตนก่อนแชทหรือไม่, สามารถสั่งแบนแชทโดยอิงตามข้อความที่ระบุได้ ฯลฯ เมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ ก็สามารถออกจาก Shield Mode ได้ทันที
Twitch ประกาศปรับส่วนแบ่งรายได้ระหว่างแพลตฟอร์มกับสตรีมเมอร์ จากปัจจุบันสตรีมเมอร์ส่วนใหญ่ จะได้ส่วนแบ่งรายได้ที่ 50% และตัวเลขอาจแตกต่างไป หากเป็นสตรีมเมอร์ที่มีฐานผู้ชมสูง โดยไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดข้อตกลงต่อสาธารณะ
ที่ผ่านมา Twitch บอกว่าดำเนินงานในรูปแบบนี้มาตลอด แต่ก็พบปัญหา ทั้งการไม่เปิดเผยข้อมูล เกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ซึ่งกระทบต่อสตรีมเมอร์ที่ใช้เกณฑ์ส่วนแบ่งทั่วไป 50% ด้วย จึงประกาศปรับโครงสร้างส่วนแบ่งรายได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสตรีมเมอร์ที่ได้ข้อตกลงพิเศษอยู่แล้วน้อยที่สุด
Twitch ประกาศว่าจะแบนสตรีมมิงการพนันที่เกี่ยวข้องกับสล็อต รูเล็ต และเกมลูกเต๋าที่ไม่มีใบอนุญาตว่าให้การคุ้มครองผู้บริโภคที่เพียงพอ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ โดยจะเริ่มในวันที่ 18 ตุลาคมนี้
เว็บไซต์พนันที่โดนแบนขณะนี้ ได้แก่ Stake.com, Rollbit.com, Duelbits.com และ Roobet.com และ Twitch อาจเพิ่มการแบนเว็บไซต์อื่น ๆ เพิ่มอีกหลังจากตรวจสอบเพิ่ม ทั้งนี้ Twitch ยังอนุญาตให้มีการสตรีมเว็บไซต์พนันที่เกี่ยวข้องกับกีฬา กีฬาแฟนตาซี และโป๊กเกอร์ และจะอัปเดตนโยบายฉบับเต็มของบริษัทให้ผู้ใช้ก่อนวันที่ 18 ตุลาคม
Twitch ประกาศปิด Host Mode มีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2022 เป็นต้นไป ผู้ใช้งานจะไม่สามารถใช้คำสั่ง /host ในช่องแชต หรือเปิด Host Mode ได้ โดยส่วนของ Autohost จะเปลี่ยนเป็น Suggested Channels แทนใน Settings
Host Mode เป็นฟีเจอร์ที่ Twitch ใส่เข้ามาตั้งแต่ปี 2014 ให้สตรีมเมอร์สามารถสตรีมคอนเทนต์จากช่องอื่นมาในช่องของตนได้อีกที (คล้าย ๆ การ Embed) แต่ระบบแชตจะแยกขาดจากกันเป็นของช่องที่นำมาสตรีมต่อ
Twitch อธิบายว่าฟีเจอร์นี้ในตอนแรก ถูกใช้เพื่อให้แต่ละช่องของสตรีมเมอร์เติบโตร่วมกัน สามารถส่งต่อคนดูไปให้ช่องอื่นได้หลังจบการสตรีม อย่างไรก็ตามเมื่อแพลตฟอร์มเติบโตถึงจุดหนึ่ง แนวทางที่ดีกว่าคือการให้คนดูได้สนทนากับสตรีมเมอร์ผ่านช่องทางหลักช่องทางเดียว
Pokimane หนึ่งในสตรีมเมอร์คนสำคัญของ Twitch ประกาศลดเวลาการสตรีมมิงบนแพลตฟอร์มดังกล่าว เพราะเหนื่อยจากการทำอาชีพสตรีมเมอร์ และต้องการแบ่งเวลาไลฟ์สตรีมไปสร้างเนื้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองในปัจจุบัน และนำไปโพสต์ลงบนแพลตฟอร์มอื่น เช่น Twitter, Instagram และ TikTok มากกว่า
ปัจจุบัน Pokimane อยู่ระหว่างหยุดพักสตรีมชั่วคราวมาตั้งแต่เดือน ก.ค. 2022 แต่การประกาศดังกล่าว Pokimane ยืนยันว่า จะไม่ใช่การเลิกไลฟ์สตรีมบนแพลตฟอร์ม Twitch เพียงแต่จะกลับมาเล่นเกม หรือพูดคุยกับคนดูบนแพลตฟอร์มนี้เมื่อเธอต้องการ
Streamlabs บริษัทซอฟต์แวร์สตรีมมิ่งออกรายงานว่ายอดผู้ชมสตรีมเกมและผู้ที่สตรีมเกมทั้งใน Twitch, Youtube Gaming และ Facebook Gaming ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ (เมษายน-มิถุนายน) ลดน้อยลงถึง 19.4 % จากไตรมาสแรก และจำนวนชั่วโมงของผู้ดูสตรีมเกมลดลง 18.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2563
สาเหตุของการสตรีมและการดูสตรีมเกมน้อยลงอาจมาจากการที่ผู้คนออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านกันมากขึ้นหลังจากกักตัวในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดย Twitch ยังเป็นแพลตฟอร์มสตรีมเกมที่มีคนดูมากที่สุดใน 3 แพลตฟอร์มดังกล่าว โดยมีส่วนแบ่งชั่วโมงคนดูอยู่ที่ 76.7% ส่วนส่วนแบ่งการสตรีมสูงถึง 92.7% แม้ชั่วโมงคนดูจะลดลง 13.2% และชั่วโมงที่สตรีมเกมละลดลง 16% จากไตรมาสก่อนก็ตาม