โครงการ Apache Mesos ที่เป็นคู่แข่งโดยตรงของ Kubernetes เงียบเหงาลงไปมากในช่วงหลัง โดยปี 2020 มีการออกรุ่นใหม่เพียงครั้งเดียว (ปี 2019 ออก 2 รุ่นใหญ่ 5 รุ่นย่อย) จนล่าสุดทีมพัฒนา Mesos เริ่มหารือกันว่าจะยุติการพัฒนาโครงการนี้แล้ว
Apache Mesos เป็นโครงการที่เริ่มตั้งแต่ปี 2009 โดยทีมพัฒนาชุดแรกได้ก่อตั้งบริษัท Mesosphere มาหารายได้ในเชิงพาณิชย์ แต่ช่วงหลังกลับทานกระแส Kubernetes ไม่ไหว จนบริษัท Mesosphere ต้องเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น D2iQ และหันมาทำธุรกิจกับ Kubernetes แทน ความสนใจพัฒนา Mesos จึงลดลงไปมาก
สงคราม container orchestration จบลงอย่างรวดเร็วด้วยชัยชนะของ Kubernetes ทำให้เราเห็นบริษัทไอทียักษ์ใหญ่เกือบทุกราย หันมาสนับสนุน Kubernetes อย่างเต็มตัว เช่น Red Hat, IBM, NetApp, VMware, Microsoft, HPE ฯลฯ
แต่บนชัยชนะของ Kubernetes ก็มีซากของผู้แพ้ บริษัทที่เข้ามาแข่งในตลาดซอฟต์แวร์ orchestration แต่ต้องพ่ายแพ้ไปก็คือ Docker Inc. และ Mesosphere (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น D2iQ)
Apache Mesos ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับสร้างคลัสเตอร์ ให้มองเห็นทรัพยากรคอมพิวเตอร์เสมือนเป็นก้อนเดียวกัน (virtual compute resource pool) เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 1.0 แล้ว
Apache Mesos (หรือชื่อเดิม Nexus) เกิดขึ้นจากโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัย UC Berkley ในช่วงปี 2009 หลังจากนั้นก็เติบโต และมีองค์กรใหญ่ๆ หลายแห่งนำมาใช้งานจริงจัง (เช่น Twitter และ Apple) ภายหลัง Benjamin Hindman ผู้สร้าง Mesos จึงก่อตั้งสตาร์ตอัพชื่อ Mesosphere เพื่อให้บริการ Mesos ในเชิงพาณิชย์ โดยได้รับเงินลงทุนจาก Microsoft กับ HPE ด้วย
Mesosphere สตาร์ตอัพด้านระบบปฏิบัติการ "คลัสเตอร์" สำหรับศูนย์ข้อมูล มีซอฟต์แวร์ชื่อ DC/OS ที่พัฒนาต่อมาจากโครงการโอเพนซอร์ส Apache Mesos ที่ถูกนำไปใช้งานในบริษัทใหญ่ๆ หลายราย (DC/OS ย่อมาจาก Datacenter Operating System)
วันนี้ Mesosphere ออกมาประกาศโอเพนซอร์สตัว DC/OS เรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลว่าอยากกระจายเทคโนโลยีนี้ออกไปในวงกว้างที่สุด โครงการ DC/OS ประกอบด้วยโครงการย่อยๆ หลายตัว เช่น ตัวจัดคิวงาน Apache Mesos, ตัวจัดการคลัสเตอร์ Marathon, ตัวติดตั้ง, อินเทอร์เฟซจัดการระบบ, ตัวจัดการแพ็กเกจซอฟต์แวร์ที่มารันบน DC/OS ฯลฯ ซึ่งโค้ดทั้งหมดจะถูกเปิดภายใต้สัญญาอนุญาต Apache 2.0
ไมโครซอฟท์เปิดบริการ Azure Container Service สำหรับการรันแอพพลิเคชันใน container บน Azure โดยมีเป้าหมายให้ผู้ใช้สามารถนำแอพพลิเคชันใน container ของตัวเองไปรันบนคลาวด์ Azure ได้ง่ายและเร็วที่สุด
Azure Container Service รองรับระบบจัดการ container (orchestration) ยอดนิยมสองตัวคือ DC/OS ของ Mesosphere ที่เพิ่งรับเงินลงทุนจากไมโครซอฟท์ไปเมื่อไม่นานมานี้ และ Docker Swarm ของค่าย Docker โดยตรง
ราคาของ Azure Container Service คิดตามขนาดของ instance รุ่นถูกที่สุดให้ซีพียู 1 คอร์, แรม 0.75GB, ดิสก์ 20GB คิดค่าใช้งานชั่วโมงละ 0.02 ดอลลาร์ หรือประมาณเดือนละ 15 ดอลลาร์ มีเครื่องรุ่นสเปกแรงใช้ SSD ให้เลือกด้วย
Mesosphere สตาร์ตอัพด้านระบบปฏิบัติการ "คลัสเตอร์" สำหรับศูนย์ข้อมูล ระดมทุนรอบใหม่ (Series C) อีก 73.5 ล้านดอลลาร์ ความน่าสนใจอยู่ที่มีบริษัทใหญ่ทั้ง Microsoft และ HPE มาร่วมลงทุนด้วย
ผลิตภัณฑ์หลักของ Mesosphere คือ Datacenter Operating System (DCOS) ที่พัฒนาต่อมาจาก Apache Mesos อีกทีหนึ่ง แนวคิดของมันคือมองเซิร์ฟเวอร์ทุกตัว (ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์จริง หรือ VM ในคลาวด์ใดๆ) เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว การนำแอพพลิเคชันใดๆ ไปรันจึงไม่ต้องคำนึงว่าจะรันบนเครื่องไหน เพราะ DCOS สามารถจัดการทรัพยากรให้เราอัตโนมัติ การใช้ทรัพยากรจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่มี VM ตัวไหนที่อยู่ว่างจนเกินไปและเปลืองพลังประมวลผลเสียเปล่า