Alpine Linux ดิสโทรขนาดเล็กยอดนิยมสำหรับ Docker ออกเวอร์ชั่น 3.20 อัพเดตซอฟต์แวร์สำคัญ แต่จุดเปลี่ยนใหญ่คือการรองรับ RISC-V 64 บิตเป็นทางการครั้งแรก
ผู้ใช้ชิป RISC-V นั้นใช้งาน Alpine ได้อยู่ก่อนแล้วเพราะมีหลายโครงการนำซอร์สโค้ดไป build กันเอง แต่การรองรับจากโครงการต้นน้ำก็ทำให้อุ่นใจได้ว่าต่อจากนี้จะได้รับอัพเดตต่อเนื่อง
นอกจากการรองรับแพลตฟอร์มใหม่แล้ว Alpine 3.20 ยังอัพเดตรันไทม์และคอมไพล์เลอร์ภาษาต่างๆ เป็นรุ่นใหม่ เช่น Node.js 20.10, LLVM 18, Python 3.12, Go 1.22 เป็นต้น
ที่มา - Alpine Linux
ไมโครซอฟท์ประกาศข่าวแอพดังๆ หลายตัวเริ่มรองรับ Windows on Arm นอกเหนือจาก แอพของ Adobe และแอพคอนซูเมอร์อื่นๆ ที่ประกาศบนเวทีหลัก ยังมีแอพฝั่งนักพัฒนา-โอเพนซอร์สอีกชุดใหญ่ดังนี้
Docker ร่วมกับ BastionZero สร้างโครงการ OpenPubkey ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ที่ล็อกอินผ่านทาง OpenID Connect (OIDC) อยู่แล้ว สามารถสร้างกุญแจ public/private ของตัวเองเพื่อนำไปเซ็นเอกสารหรือไฟล์อื่นๆ ได้
บริษัท Docker ประกาศปิดบริการ Docker Free Team ซึ่งเป็นบริการสร้างอิมเมจสำหรับองค์กร เวอร์ชันใช้งานฟรี โดยแจ้งให้อัพเกรดเป็น Docker Team เวอร์ชันเสียเงิน (300 ดอลลาร์/ปี) ภายใน 30 วัน ไม่อย่างนั้นข้อมูลจะถูกลบ
ประกาศนี้สร้างความแตกตื่นในชุมชนโอเพนซอร์ส เพราะมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหลายตัวที่ใช้ Docker Free Team เพื่อสร้างอิมเมจให้บริการแก่คนทั่วไป และจะเกิดผลกระทบต่อเนื่องเป็นวงกว้างหากอิมเมจเดิมหายไป ทำให้บริษัท Docker ถูกวิจารณ์อย่างหนักจากเรื่องนี้
Docker Inc. ปล่อย Docker Desktop รุ่น Technical Preview ทดสอบฟีเจอร์รองรับ WASM ในตัว โดยใช้ wasmedge runtime แต่ยังควบคุมด้วยคำสั่ง docker
เหมือนคอนเทนเนอร์ปกติ พร้อมกับสมัครสมาชิกเข้า Bytecode Alliance กลุ่มผลักดันให้ใช้งาน WASM ได้ทุกที่
ทาง Docker Inc. ร่วมมือกับ WasmEdge พัฒนาชุดครอบ runtime ทำให้ควบคุมได้เหมือน containerd ตัว docker engine จึงมองเห็นโปรแกรม wasm เหมือนคอนเทนเนอร์อื่นๆ
Docker ประกาศขึ้นค่าสมาชิกแบบ Team จาก 7 ดอลลาร์ต่อเดือนเป็น 9 ดอลลาร์ต่อเดือน และแบบ Business จาก 21 ดอลลาร์ต่อเดือนเป็น 24 ดอลลาร์ต่อเดือน โดยมีผลวันที่ 27 ตุลาคมนี้ โดยระบุเหตุผลว่าลงทุนกับการสร้างเครื่องมือเพื่อนักพัฒนาไปมาก
การประกาศครั้งนี้ยังไม่ขึ้นราคาแบบ Pro ที่ 5 ดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับนักพัฒนาทั่วไป แต่ก็เพิ่มข้อจำกัดแบบ Team ให้ใช้งานได้สูงสุด 100 คนเท่านั้น หากใช้งานเกินนั้นจะต้องใช้งานแบบ Business
Docker Inc ประกาศรับเงินทุนซีรี่ส์ C เพิ่มอีก 105 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการ 2,100 ล้านดอลลาร์ นำโดยนักลงทุนกลุ่มใหม่คือ Bain Capital Ventures ร่วมด้วย Atlassian Ventures, Citi Ventures, Vertex และ Four Rivers รวมทั้งนักลงทุนปัจจุบันคือ Benchmark, Insight
Docker รับเงินเพิ่มทุนซีรี่ส์ B เมื่อปีที่แล้ว 23 ล้านดอลลาร์ ตัวธุรกิจปัจจุบันคือ Docker Desktop และ Docker Hub ส่วน Docker Enterprise ได้ขายออกไปตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งบริษัทยังคงการเติบโตได้สูง มีลูกค้าจ่ายเงินมากกว่า 56,000 ราย กว่า 70% เป็นบริษัทระดับ Fortune 100 และมีทุกกลุ่มธุรกิจ รายได้เติบโตเฉลี่ยปีละมากกว่า 4 เท่าตัว
Rancher Desktop ออกเวอร์ชั่นย่อย 1.1.0 (และออก 1.1.1 แก้ไขบั๊กในไม่กี่วันถัดมา) แม้จะเป็นเพียงเวอร์ชั่นย่อย แต่ฟีเจอร์ที่สำคัญคือมันรองรับการปิด Kubernetes ทำให้สามารถใช้งานเฉพาะ container runtime หรือ dockerd
แม้ว่าทาง SUSE จะพยายามเลี่ยงว่า Rancher Desktop ไม่ได้พยายามมาแทนที่ Docker Desktop ที่เก็บเงินค่าใช้งานเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แต่การปรับฟีเจอร์เช่นนี้ก็ทำให้ Rancher Desktop สามารถใช้งานแทน Docker Desktop ได้อย่างเต็มตัว
SUSE ปล่อย Rancher Desktop รุ่น 1.0 เข้าสู่สถานะ GA เป็นที่เรียบร้อย หลังจากเปิดตัวครั้งแรกมาไม่ถึงปี เปิดทางใช้งานแทน Docker Desktop ได้แทบทั้งหมด แม้จะมีข้อจำกัดบางส่วน
Rancher Desktop ซอฟต์แวร์ Kubernetes สำหรับนักพัฒนาออกเวอร์ชั่น 0.7 มีฟีเจอร์สำคัญคือให้เลือกระหว่างเอนจิน containerd และ Moby (โครงการโอเพนซอร์สของ Docker) ทำให้ผู้ใช้ที่ติดตั้ง Rancher Desktop สามารถใช้งานผ่านคำสั่ง docker ได้
เวอร์ชั่นนี้ออกมาพอดีกับช่วงเวลาที่ Docker Desktop กำลังเตรียมคิดค่าใช้งาน ในวันที่ 31 มกราคมนี้ ฟีเจอร์นี้ทำให้ผู้ใช้ Rancher Desktop สามารถใช้งานคำสั่ง docker หรือ docker-compose ได้โดยตรง แม้จะไม่ได้ใช้งาน Kubernetes ก็ตามที
ผู้ใช้ Rancher Desktop ที่ไม่ต้องการใช้คำสั่ง docker ยังคงเลือกใช้เอนจิน containerd ได้เช่นเดิม แต่สามารถเลือกใช้งานได้ทีละเอนจินเท่านั้น
Docker Inc ประกาศปรับนโยบายการใช้งาน Docker Desktop โดยให้ใช้งานฟรีได้เฉพาะผู้ใช้ส่วนตัว, ใช้เพื่อการศึกษา, และใช้งานในองค์กรขนาดเล็กที่พนักงานไม่เกิน 250 คน และรายได้ปีล่าสุดไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์ (330 ล้านบาท) เท่านั้น ผู้ใช้ที่ไม่เข้าข่ายนี้จะต้องสมัครบริการ Docker แบบเสียเงินที่เริ่มต้นเดือนละ 5 ดอลลาร์ขึ้นไป
เดิม Docker Desktop นั้นให้ใช้งานฟรีมาโดยตลอด แม้ผู้ที่ไม่ได้จ่ายเงินจะพบความรำคาญไปบ้างเช่นการแจ้งเตือนให้อัพเดตโดยปิดไม่ได้หากไม่ได้สมัครแบบจ่ายเงิน
โครงการ BuildKit ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Docker รับแพตช์ Here-Documents สำหรับการฝังสคริปต์ลงใน Dockerfile ทำให้หลังจากนี้การฝังสคริปต์ลงใน Dockerfile โดยตรงจะสะดวกขึ้น
ก่อนหน้านี้การฝังสคริปต์แบบหลายบรรทัดใน Dockerfile ต้องอาศัยเครื่องหมาย backslash (\) เพื่อให้ Docker อ่านบรรทัดต่อเนื่องเป็นบรรทัดเดียวกัน แนวทางนี้ทำให้สคริปต์ดูรกไปบ้าง และแก้ไขได้ลำบากในบางกรณี หลายครั้งต้องแยกสคริปต์ออกเป็นไฟล์แยกทั้งที่สคริปต์ไม่ได้ยาวอะไรนัก
Docker Inc ปล่อย Docker Desktop สำหรับชิป Apple M1 อย่างเป็นทางการหลังจากปล่อยรุ่นทดสอบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และมีการรายงานบั๊ก 140 รายการ จากการดาวน์โหลดเวอร์ชั่นทดสอบ 45,000 ครั้ง
สำหรับผู้ใช้ทั่วไปคงไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงจากรุ่นทดสอบนักนอกจากบั๊กที่ถูกแก้ไปเรื่อยๆ แต่สำหรับลูกค้าองค์กรหรือผู้ที่สมัครแพ็กเกจ Pro ขึ้นไปจะสามารถขอซัพพอร์ตจากทาง Docker ได้เต็มรูปแบบ
Docker Desktop สามารถรันคอนเทนเนอร์ได้ทั้ง x86-64 และ arm64 การใช้งานบน Apple M1 จึงสามารถสร้างอิมเมจสำหรับเซิร์ฟเวอร์ x86 ได้ด้วย หรือจะใช้กับเซิร์ฟเวอร์ Arm เช่น Graviton 2 บน AWS ก็ได้
Docker Inc ได้รับทุนเพิ่มเติมรอบที่สอง (Series B) นำโดยบริษัท Tribe Capital ร่วมกับผู้ลงทุนเดิมคือ Benchmark และ Insight Partners โดยเงินลงทุนรอบนี้เป็นเงิน 23 ล้านดอลลาร์ รวมเงินลงทุนจากรอบก่อนๆ เป็น 58 ล้านดอลลาร์
ปัจจุบัน Docker มีสินค้าหลักคือ Docker Desktop และ Docker Hub ขายเป็นแพ็กเกจ 5-7 ดอลลาร์ต่อเดือน หลังจากแยกกิจการ Docker Enterprise ออกไปตั้งแต่ปี 2019
Docker Inc ผู้ดูแลโครงการ Docker ประกาศแยกโครงการส่วน Registry ออกมาเป็นโครงการใหม่ในชื่อ Distribution พร้อมกับบริจาคโค้ดเข้า CNCF ให้ดูแลโครงการ
แม้ Docker จะเป็นผู้ออกแบบฟอร์แมตไฟล์อิมเมจสำหรับรันคอนเทนเนอร์ทุกวันนี้ (จนคนเรียกสลับกันไปมาระหว่าง Docker และคอนเทนเนอร์) แต่ในโลกองค์กรก็มี Registry ใช้งานกันหลายยี่ห้อ เช่น Harbor ของ VMWare หรือ Quay (คี) ของ Red Hat ทาง Docker ระบุว่าหลายครั้งโครงการมัก fork จาก Docker ออกไปแล้วแก้นิดๆ หน่อยๆ แต่ไม่ส่งโค้ดกลับเข้าโครงการต้นน้ำ ทำให้ขาดความร่วมมือในการพัฒนา
O’Reilly รายงานผลสำรวจความนิยมเทคโนโลยีจากการใช้งาน O’Reilly Online Learning Platform ที่เป็นแพลตฟอร์มอ่านหนังสือ และเรียนออนไลน์ ซึ่งทำให้เห็นภาพรวมที่น่าสนใจเพราะเป็นอัตราการดูคอนเทนต์จริง เช่น อ่านหนังสือหรือเรียนวิชาออนไลน์ ไม่ใช่เพียงคำค้นเท่านั้น โดยรวมแล้วแพลตฟอร์มมีการใช้งานเพิ่มขึ้น 24% ทำให้เนื้อหาส่วนใดที่เติบโตต่ำกว่านี้นับว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
สำหรับภาษาโปรแกรมมิ่ง Python ยังคงได้รับความนิยมสูงสุด มีอัตราการเติบโตที่สูงถึง 27%, Java ได้รับความนิยมอันดับสองแต่อัตราการเติบโตกลับติดลบ 3% แสดงให้เห็นว่าความนิยมลดลงชัดเจน, JavaScript เติบโตถึง 40% แซงค่าเฉลี่ยไปได้มาก ที่น่าสนใจคือภาษา Rust ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นถึง 94% มาอยู่ดับดับ 9 แล้ว
Docker Inc. ปล่อย Docker Desktop รุ่น Technical Preview รองรับชิป Apple M1 เป็นครั้งแรก โดยสามารถรันได้ทั้งอิมเมจแบบ x86 และ Arm แม้จะเตือนว่าเวอร์ชั่นนี้ไม่ได้ทดสอบครบถ้วนเหมือนปกติ ทำให้ความเสถียรโดยรวมอาจจะแย่กว่า
ความยากของการพอร์ต Docker Desktop ไปยัง Apple M1 มี 3 ส่วน คือ การเปลี่ยน API ไปใช้ Virtualization Framework ตัวใหม่บน Big Sur, คอมไพล์โค้ดทั้งหมดใหม่บน Apple M1, และโครงสร้างพื้นฐานของการทดสอบซอฟต์แวร์
คาดว่า Docker Desktop รุ่น GA ที่จะรองรับ Apple M1 จะออกตัวจริงไตรมาสแรกของปี 2021
ดาวน์โหลดได้ที่เว็บ Docker
Docker ประกาศออก Docker Desktop 3.0.0 ที่ไม่มีฟีเจอร์ใหม่ แต่ปรับเปลี่ยนการทำงานให้ไฟล์อัพเดตมีขนาดเล็กลง ดาวน์โหลดเร็วขึ้น
ที่มา - Docker
จากกรณี Kubernetes หยุดรองรับ Docker ในฐานะรันไทม์ (คำอธิบายแบบละเอียด)
แกนกลางของปัญหาคือตัว Docker ไม่รองรับมาตรฐาน Container Runtime Interface (CRI) โดยตรง โครงการ Kubernetes จึงสร้าง dockershim มาเป็นตัวเชื่อมให้ แต่ก็เป็นปัญหาการดูแลในระยะยาว ทำให้ Kubernetes ประกาศว่าจะหยุดซัพพอร์ต dockershim ในอนาคต
ข่าวใหญ่สำหรับวงการคอนเทนเนอร์ที่ผ่านมา คือ Kubernetes ปรับ Docker ในฐานะคอนเทนเนอร์รันไทม์เข้าสู่ deprecated และเตรียมถอดออกในอนาคต ซึ่ง Kubernetes ได้เขียนอธิบายอีกครั้งอย่างละเอียดเกี่ยวกับการถอด Docker ออกจากการเป็นรันไทม์
Kubernetes ประกาศให้การซัพพอร์ต Docker ในฐานะการเป็นคอนเทนเนอร์รันไทม์เข้าสู่สถานะ deprecated อย่างเป็นทางการใน Kubernetes 1.20 และเตรียมถอดฟีเจอร์นี้ออกในอนาคต
โครงการ Kubernetes ระบุว่า ตัว kubelet ที่เป็นตัวติดต่อกับคอนเทนเนอร์รันไทม์ จะติดต่อผ่าน CRI (Container Runtime Interface) แต่ในกรณีของ Docker นั้น ทางโครงการเลือกใช้ dockershim โมดูลที่อิมพลีเมนต์ CRI ให้ Docker เพื่อเป็นตัวติดต่อระหว่าง Docker และ Kubernetes มาอย่างยาวนาน แต่ช่วงหลังโครงการพบประเด็นหลายอย่างกับ dockershim ทำให้ตัดสินใจว่าจะให้ระบบซัพพอร์ต Docker เข้าสู่สถานะ deprecated และเตรียมถอดออกจาก Kubernetes ในอนาคต
แอปเปิลเปิดตัวแมคที่ใช้ชิป Apple M1 หลายรุ่นรวมถึง Mac mini นี่เน้นตลาดนักพัฒนา แต่ปัญหาใหญ่คือเครื่องที่ใช้ชิป M1 ไม่สามารถใช้งาน Docker Desktop ได้ วันนี้ทาง Docker Inc. ก็ออกมาชี้แจงว่าติดอะไรบ้าง
แม้ว่าแอปเปิลจะระบุว่ามี Rosetta 2 สำหรับแปลงแอปที่รองรับสถาปัตยกรรม x86 แต่ Docker Desktop นั้นรันอยู่ใน virtual machine อีกชั้นหนึ่งทำให้ต้องพอร์ตซอฟต์แวร์ไปรันบนเฟรมเวิร์ค hypervisor ใหม่ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ตัวอื่นที่ Docker Desktop ใช้ในการพัฒนาทั้งโครงการ Go และ Electron ก็กำลังพัฒนาเพื่อรองรับชิป M1 อยู่
ตอนนี้ทาง Docker Inc กำลังวางระบบ CI ด้วย Mac mini 25 เครื่องเพื่อทดสอบ Docker Desktop บน M1 ต่อไป
Docker Hub แก้นโยบายจำกัดการดึงอิมเมจคอนเทนเนอร์ ที่กำลังค่อยๆ ลดลงจนเหลือเพียง 100 ครั้งต่อ 6 ชั่วโมง โดยยอมยกเว้นข้อจำกัดนี้หากโครงการเป็นโครงการโอเพนซอร์สที่เข้าข่าย
เงื่อนไขการเป็นโครงการโอเพนซอร์สตามนิยามของ Docker Hub ต้องเป็นโครงการสาธารณะไม่ทำการค้า, ใช้สัญญาอนุญาตตามแนวทาง OSI, ไม่จำกัดประเภทการใช้งาน กระบวนการขอเป็นโครงการโอเพนซอร์สยังต้องยื่นเรื่องให้ทาง Docker Hub ตรวจสอบ และยังมีการตรวจสอบซ้ำทุก 12 เดือน
AWS ประกาศเตรียมเปิดบริการรีจิสตรีคอนเทนเนอร์ ให้นักพัฒนาสามารถวางอิมเมจที่เปิดต่อสาธารณะได้ฟรี 50GB ขณะที่การดาวน์โหลดอิมเมจก็ฟรี 500GB ต่อเดือนโดยไม่ต้องล็อกอิน และหากล็อกอินด้วยบัญชี AWS ก็ดาวน์โหลดได้ถึง 5TB ต่อเดือน และหากดาวน์โหลดจากภายใน AWS เองจะไม่มีการจำกัดการดาวน์โหลดเลย
การประกาศครั้งนี้มาพร้อมกับการแจ้งเตือนผู้ใช้ AWS ว่าคลัสเตอร์ Kubernetes อาจจะมีปัญหาเนื่องจาก Docker Hub กำลังจำกัดอัตราการดึงอิมเมจเหลือเพียง 100 ครั้งต่อ 6 ชั่วโมงเท่านั้น แม้ว่าอิมเมจของลูกค้าที่ใช้บริการ Amazon EKS จำนวนมากจะโฮสต์อยู่บนบริการ ECR ของ AWS เอง แต่ก็มีบริการจำนวนหนึ่งดึงจาก Docker Hub โดยตรง
Docker Inc ประกาศตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่าจะจำกัดปริมาณการ pull คอนเทนเนอร์สำหรับบัญชีฟรี นับเป็นมาตรการจำกัดการใช้งานต่อเนื่องหลังจากเริ่มประกาศนโยบายลบคอนเทนเนอร์ที่ไม่มีคนใช้งานเป็นเวลานานเกินไป
มาตรการจำกัดการ pull ครั้งนี้เริ่มเที่ยงคืนเข้าวันที่ 3 พฤศจิกายนตามเวลาประเทศไทย โดยเริ่มจำกัดปริมาณการ pull เหลือ 5,000 ครั้งต่อ 6 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้แบบไม่ล็อกอิน หรือล็อกอินบัญชีฟรี จากนั้นจะค่อยๆ ลดเพดานลงเรื่อยๆ จนเหลือ 100 ครั้งต่อ 6 ชั่วโมงสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ได้ล็อกอิน และ 200 ครั้งต่อ 6 ชั่วโมงสำหรับผู้ใช้ที่ล็อกอินบัญชีฟรี ตัวคำสั่งแบบ CLI ของ Docker จะเปิดให้คิวรีได้ว่าเหลือโควต้าการใช้งานเพียงใด