นอกจากต้องเดินหน้าประเด็นร้อนอย่างการทำให้เมืองไทยมี Single Gateway แล้ว อีกผลงานของรมว. ไอซีทีคนใหม่ นายอุตตม สาวนายน คือกระบวนการร่างชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล ว่าด้วยร่างพ.ร.บ. ทั้ง 8 ฉบับที่เกี่ยวข้อง ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่าถูกดึงกลับมาทบทวนใหม่เกือบทั้งหมด
หลายวันนี้ข่าว Single gateway ได้ชิงพื้นที่จากหน้าสื่อไปพอสมควร ด้วยความที่เป็นประเด็นใหญ่ ซับซ้อน และมีผลกระทบตามมาเป็นจำนวนมาก
ผู้เขียนเชื่อว่า เราๆ ทุกท่าน ไม่ว่าจะสนใจด้านสารสนเทศกันแค่ไหน ล้วนควรจะได้รับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับ Single gateway จึงเป็นที่มาของบทความชุดนี้ ที่จะอธิบายว่า Single gateway คืออะไรในแบบภาษาชาวบ้าน (ที่อาจไม่รู้เรื่อง Infrastructure ต่างๆ) และผลกระทบที่จะตามมาครับ
ประเด็น Single Gateway วันนี้ ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงคือรัฐมนตรีไอซีที ดร.อุตตม สาวนายน ก็ออกมาให้สัมภาษณ์นักข่าว ระบุว่าโครงการนี้เป็นไปเพื่อเศรษฐกิจเป็นหลัก ไม่ใช่ความมั่นคง และไม่ได้ทำเร่งด่วน
อย่างไรก็ดี ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีที่เผยแพร่ในเว็บไซต์สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีล้วนสวนทางกับคำสัมภาษณ์ในครั้งนี้
ประเด็นร้อนเรื่อง Single Gateway มีความคืบหน้าเพิ่มเติม โดยนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวของ Voice TV ว่าจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป แต่จะรับฟังเสียงคัดค้านโครงการจากทุกภาคส่วนก่อนเริ่มโครงการ
นายอุตตม ยังยืนยันว่าโครงการ Single Gateway มุ่งประโยชน์ด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ ไม่ใช่เพื่อความมั่นคง และไม่ใช่โครงการเร่งด่วน
The proposal to unify all Internet gateways into a single entity was proposed back in May. There's nothing new regarding the proposal since then, but it was traveling in the process in the cabinet during these timr.
The prime minister's command dated August 27th, (PDF, Thai Lanaguage) assigned the Ministry of Information and Communication Technology (MICT) to take responsibilities for establishing the entity and report the progress within September.
แนวทางการตั้งทางออกอินเทอร์เน็ตทางเดียวทั้งประเทศ เป็นข้อเสนอมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แม้จะไม่มีข่าวไปช่วงหนึ่ง แต่ประเด็นนี้ก็อยู่ในมติรัฐมนตรีเรื่อยมา
เอกสารข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ฉบับล่าสุดที่พูดถึงเรื่องนี้ (PDF) คือการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมาระบุให้กระทรวงไอซีทีรับผิดชอบเร่งรัดการดำเนินงาน และรายงานความคืบหน้าภายในเดือนกันยายน
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บก.ปอท. (ผู้ดูแลเว็บ TCSD.in.th ไม่ใช่ TCSD.info) จัดสัมมนาหัวข้อ "ปกป้องสถาบันฯ รู้เท่าทันภัยไซเบอร์" ให้กับผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ตและผู้สนใจทั่วไป
การสัมมนานี้มีจัดในสี่จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ วันที่ 29 กันยายน และ 27 ตุลาคม, สงขลา วันที่ 6 ตุลาคม, ขอนแก่น วันที่ 12 ตุลาคม, และเชียงใหม่ วันที่ 19 ตุลาคม
หนึ่งในวัตถุประสงค์ของการจัดงานสัมมนาครั้งนี้คือการแสวงหาความร่วมมือจากผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการร้านเกม/ร้านอินเตอร์เน็ต หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนในท้องถิ่น ให้แจ้งเบาะแสให้
สามหน่วยงานด้านไอซีทีของไทยได้แก่ ETDA, ThaiCERT, และกระทรวงไอซีที ร่วมกันจัดงาน Thailand CTF 2015 แข่งขันเจาะระบบ เป็นการแข่งขันแบบทีม ทีมละ 3 คน
งานนี้มีเงื่อนไขคือต้องเป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 29 ปี, ไม่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดี, ไม่เป็นผู้ต้องห้ามเดินทางออกนอกประเทศ
ผู้ชนะจะได้ไปแข่งในงาน Cyber Sea Game ที่อินโดนีเซีย และหากชนะอีกก็จะได้ไปแข่งที่ SECCONCTF 2015 ที่ญี่ปุ่นต่อไป
การแข่งขันจะจัดช่วงวันที่ 5-6 กันยายนนี้ และกำหนดรับสมัครก็เปิดถึงวันที่ 2 กันยายนนี้เท่านั้น ใครสนใจรีบกันหน่อยครับ
ที่มา - Thailand CTF
ตามที่มีกระแสข่าวช่วงที่ผ่านมา ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้นำรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่มีการปรับเปลี่ยนในหลายตำแหน่งขึ้นทูลเกล้าฯ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้ว ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที โดยเปลี่ยนจาก ดร.พรชัย รุจิประภา เป็น ดร.อุตตม สาวนายน
หลังจากมีการร้องเรียนการจัดซื้อสติ๊กเกอร์ LINE ค่านิยม 12 ประการ ว่ามีราคาแพงเกินจริง ล่าสุดทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ได้ทำการรวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานทั้งหมดเสร็จแล้ว
พยานหลักฐานในครั้งนี้ได้แก่ การขอเอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการเชิญผู้เชี่ยวชาญการทำสติ๊กเกอร์มาให้ปากคำ โดยจะนำข้อมูลทั้งหมดเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในเร็วๆนี้ และหากผลมีมูลก็จะตั้งคณะกรรมการสอบสวน และอาจเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาชี้แจง
ต่อเนื่องจากข่าวปอท. ออกมาแจ้งว่าเว็บที่ถูกต้องของหน่วยงานคือ TCSD.in.th เท่านั้น พร้อมกับให้ช่วยแจ้งเว็บอื่นที่มีการแอบอ้าง หลังจากมีการรายงานข่าวไปไม่นาน ทางปอท. ก็ถอดโพสที่เกี่ยวข้องออกจากหน้าเฟซบุ๊กแล้ว
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บก.ปอท. โพสเฟซบุ๊กระบุว่าเว็บที่ถูกต้องคือ tcsd.in.th เท่านั้น และหากมีเว็บอื่นๆ แอบอ้างให้แจ้งไปทางปอท. ผ่านทางอีเมล webmaster@tcsd.in.th
การออกมาชี้แจ้งครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากมีผู้ใช้ในเว็บ ThaiSEOBoard ระบุว่าเว็บ tcsd.info ส่งผู้ใช้เข้าไปยังเว็บโป๊สองเว็บ ต่อมามีการแก้ไขออกไป แต่ยังมีร่องรอยในคอมเมนต์ HTML อยู่ และมีผู้นำไปโพสต่อในเว็บพันทิพ
และแล้วผลงานแรกของ คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็ออกสู่สายตาประชาชนเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ เมื่อในวันนี้ หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้เปิดเผยผลการประชุมของคณะกรรมการเตรียมการดิจิทัลฯ ที่เกิดขึ้นในวันนี้ว่า รัฐบาลจะเปิดประมูลคลื่นความถี่สำหรับใช้ทำ 4G โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนสิงหาคมนี้ครับ
รัฐศาสตร์ กรสูต ผู้จัดการทั่วไป LINE ประเทศไทยยื่นใบลาออกจากบริษัทแล้ว เพื่อไปทำงานภาครัฐในต้นเดือนมีนาคมนี้ โดยยังไม่มีข่าวว่าเป็นตำแหน่งอะไร
รัฐศาสตร์ เคยเป็นผู้อำนวยการเว็บไซต์ Sanook.com เขาระบุกับ Forbes Thailand ว่ามี "ผู้ใหญ่" ของกระทรวงไอซีทีชวนให้ไปช่วยงาน
ที่มา - Forbes Thailand
สรุปความจาก งานเสวนา NBTC Public Forum 1/2558 หัวข้อ "ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" ในส่วนของการวิจารณ์ร่างกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิทัล (ตอนที่ 1, ตอนที่ 2)
วันนี้ (29 ม.ค.) สำนักงาน กสทช. จัดเสวนา NBTC Public Forum 1/2558 หัวข้อ "ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" โดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ "ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล" ที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ตอนนี้มาร่วมเสวนา
ผมไปร่วมงานช่วงเช้า และได้ขอเอกสารนำเสนอของวิทยากรมาเผยแพร่ต่อ พร้อมสรุปประเด็นของวิทยากรแต่ละท่านนะครับ (คำเตือน: ภาพประกอบเยอะหน่อย)
เริ่มจากคุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ที่รู้จักกันในชื่อย่อ สพธอ. หรือ ETDA ในภาษาอังกฤษ การร่างกฎหมายชุดนี้ สพธอ. ถือเป็นแกนหลัก และคุณสุรางคณาในฐานะผู้อำนวยการก็เป็นหัวหน้าทีมร่างกฎหมายทั้งหมด
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีไอซีทียืนยันว่าพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ที่สร้างหน่วยงานใหม่ มีอำนาจดักฟังและสั่งการเอกชน ว่าจะเดินหน้าต่อ โดยทุกอย่างยังแก้ไขได้ทั้งในชั้นกฤษฎีกาและชั้นสนช.
ทางด้านพลเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด ก็ยืนยันแบบเดียวกันว่าขณะนี้ร่างอยู่ในชั้นกฤษฎีกา และหากมีข้อทักท้วงสามารถเสนอเข้าไปยังชั้นสนช.
งานนี้คงแสดงว่า ที่ปรึกษารองนายกออกมาพูด, สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ออกมาเรียกร้อง, หรือเครือข่ายพลเมืองเน็ตเข้าชื่อหยุดกฎหมาย ยังไม่มีผลอะไรครับ
กลุ่มพลเมืองเน็ตเปิดเผยเอกสารคำสั่งกระทรวงไอซีที ที่ 163/2557 ตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ โดยมีหน้าที่หลักคือทดสอบ "ระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ที่มีการเข้ารหัสป้องกันข้อมูล (SSL : Secure Socket Layer)"
คณะทำงานนี้จะทดสอบระบบนี้ กับผู้ให้บริการที่เชื่อมต่อกับต่างประเทศโดยตรงหรืออินเทอร์เน็ตเกตเวย์ จากคำสั่งตั้งคณะทำงานนี้ คณะทำงานเกือบทั้งหมดเป็นทหาร (สี่เหล่าทัพ เหล่าทัพละ 4 คน ผู้บัญชาการกองทัพไทยและสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมอีกหน่วยงานละสี่คน) นอกจากนี้ยังมีตัวแทน กสทช., ตัวแทน ปอท., และตัวแทนกระทรวงไอซีที ร่วมคณะทำงานนี้
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าคณะทำงานนี้ได้ทดสอบอุปกรณ์นี้อย่างไร หรือทดสอบเป็นวงกว้างแค่ไหน
ความเดิมจากตอนที่แล้ว โครงสร้างหน่วยงานด้านไอซีทีและเศรษฐกิจดิจิทัล จากร่างกฎหมายดิจิทัลชุดใหม่ จะเห็นว่ากฎหมายชุดใหม่ตั้ง "คณะกรรมการแห่งชาติ" (สังเกตคำว่า "แห่งชาติ" นะครับ) ขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อกำหนดนโยบายด้านดิจิทัลในภาพรวม มีผลบังคับใช้กับหน่วยงานของรัฐทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะกระทรวงไอซีที/กระทรวงดิจิทัลอย่างเดียว
คณะกรรมการชุดนี้มีชื่อว่า คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วัดตามศักดิ์ศรีแล้วถือว่าอยู่บนจุดสูงสุดของการกำหนดนโยบายดิจิทัลของประเทศ ดังนั้นผมขอขนานนามให้ว่าเป็น "มหาเทพแห่งวงการไอซีทีไทย"
บทความนี้จะมาแนะนำข้อมูล บทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ครับ
จากร่างกฎหมายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลชุดใหม่ 10 ฉบับ ที่เพิ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรีไปเมื่อเร็วๆ นี้ ถ้าอ่านร่างกฎหมายอย่างละเอียด (ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ Thai Netizen)จะพบว่าหน่วยงานด้านไอซีทีของประเทศไทยจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
เนื่องจากรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงมีมากพอสมควร ผมขอสรุปเป็นแผนผังและข้อมูลคร่าวๆ ตามนี้ครับ (หมายเหตุ: ผมอ่านกฎหมายแล้วมีความเห็นต่างจาก แผนผังของ Thai Netizen อยู่บ้างบางจุด แต่หลักๆ แล้วเหมือนกัน)
ครอบครัวข่าวรายงานถึงนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในตอนนี้ที่กำลังจะแก้กฎหมายจำนวนมาก มีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับคนทำงานไอทีหลายฉบับ
กฎหมายฉบับหนึ่งคือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ หรือพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่มีกระบวนการแก้ไขมานานแล้วก็เป็นหนึ่งในนโยบายที่กำลังจะแก้ไขกัน ตอนนี้ผมยังหาไม่เจอว่าร่างล่าสุดมีการแก้ไขอย่างใดไปแล้ว กฎหมายที่น่ากังวลอีกฉบับเพิ่มเข้ามาคือ พ.ร.บ.ความมั่นคงทางไซเบอร์ กฎหมายฉบับนี้ผมเองไม่เคยได้ยินชื่อหรือเห็นร่างมาก่อน ตอนนี้รู้เฉพาะชื่อโดยยังไม่มีเนื้อหาเปิดเผยออกมา
อีกร่างหนึ่งที่กำลังพิจารณากันคือ พ.ร.บ.กสทช. ที่มีแนวโน้มว่าจะถูกปรับการทำงานค่อนข้างแน่ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะปรับไปแบบไหนอย่างไร
โครงการสติ๊กเกอร์ LINE ค่านิยม 12 ประการ เปิดให้ดาวน์โหลดทาง Sticker Shop ในแอพ LINE แล้ว โดยสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีหลังจากกดเป็นเพื่อนกับบัญชี Digital Society ของกระทรวงไอซีทีก่อน
สติ๊กเกอร์มีทั้งหมด 16 ลาย (ตามที่เคยโชว์ภาพกันไปแล้ว) โดยเป็นสติ๊กเกอร์แบบเคลื่อนไหวได้ด้วยครับ
ในข้อมูลของ LINE ระบุเจ้าของสติ๊กเกอร์ชุดนี้คือกระทรวงไอซีที และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สติ๊กเกอร์เปิดให้โหลดถึงวันที่ 28 มกราคม 2015 โหลดแล้วสามารถใช้ได้นาน 90 วัน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ รวม 19 โครงการเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2558 ให้แก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล
โครงการเด่นๆ ได้แก่ สติ๊กเกอร์ LINE ค่านิยม 12 ประการ, งาน ICT Expo Grand SALE 2015 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์, บริการสืบค้นข้อมูลบริษัทซอฟต์แวร์โดย SIPA, ภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่อง “พระมหาชนก”, โครงการพัฒนาแอพภาครัฐหลายตัว
รายชื่อโครงการทั้งหมด 19 โครงการ
คำถามว่าสติกเกอร์ LINE ค่านิยม 12 ประการมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ จนตอนนี้ยังไม่มีเอกสารยืนยันเพราะเอกสารที่ออกมาก่อนหน้านี้เป็นราคากลางเท่านั้น แต่สัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีข้อมูลเพิ่มเติม
เมื่อวันพฤหัสที่แล้วรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีให้สัมภาษณ์กับช่องไบร์ททีวี ระบุว่า ค่าใช้จ่ายจริงของสติกเกอร์ LINE อยู่ที่ประมาณ 3 ล้านบาท และการออกแบบได้รับความร่วมมือจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
จากข่าวการ "สอดส่อง" ข้อความใน LINE มีข้อสงสัยว่าทำได้อย่างไร ตอนนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมคือทางกระทรวงไอซีทีอาศัยข้อความและประวัติการแชตจากที่มีผู้นำมาแจ้งความ โดยไม่ได้เข้าไปดูห้องแชตที่พูดคุยกันส่วนตัวแต่อย่างใด
โดยทางรัฐมนตรีระบุว่าที่เตือนนั้นเป็นการเตือนว่าการส่งต่อข้อความก็ถือเป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
นอกจากนี้ยังมีประเด็นการตามตัวผู้กระทำความผิด โดยสำหรับ LINE จะใช้การอ่านประวัติการสนทนาย้อนขึ้นไป เพื่อตามว่าผู้ส่งข้อความเป็นใคร ขณะที่การติดตามผ่านเว็บไซต์และเฟซบุ๊ก จะใช้การตามหมายเลขไอพีและฐานข้อมูล ที่ตามตัวได้ง่ายกว่า